สวนน้ำทรัพย์ เซียนมะนาว ระบบมินิสปลิงเกลอร์ (ตอนที่ 2 ตอนจบ)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

Step 5

          หลังจากได้ปริมาณน้ำเป็นตัวเลขชัดเจนก็เป็นการเลือกลักษณะการจ่ายน้ำของหัวสปลิงเกอร์ว่าต้องการแรงดันเท่าไหร่ในที่นี้เลือกใช้หัวสปริงเกลอร์ที่มีอัตราการจ่ายน้ำ 120 ลิตร/ชม. ที่แรงดัน 1.5 บาร์ (แรงดันน้ำที่ดันขึ้นหัวจ่ายน้ำจะออกจากหัวจ่าย 1.5 ลิตรจึงจะได้น้ำ 120 ลิตร/ชม.) จะต้องใช้เวลาในการรดน้ำ =  93 ลิตร หารด้วย 120 ลิตร/ชั่วโมง = 0.78 ชม. ปัดเป็นจำนวนเต็มคือ 1 ชั่วโมงสามารถเอาตัวเลขดังกล่าวนี้ไปคำนวณในการจัดโซนการให้น้ำต่อไปได้

 

Step 6

แบ่งโซนการให้น้ำ ดังนั้นถ้าแบ่งการให้น้ำเป็น 6 ชั่วโมง/วันจะสามารถแบ่งพื้นที่การให้น้ำได้ครั้งละ 6 โซน ก็จะมีเวลาไปบริหารจัดการส่วนอี่นได้อีกมากพอสมควร ถ้ารอบการให้น้ำเป็น 2 วัน/ครั้ง เท่ากับว่าจะสามารถแบ่งการให้น้ำเป็น 12 โซนได้ โดยในวันแรกให้น้ำ โซน 1-6 เป็นเวลา 1 ชม. แล้วอีกวันก็ให้น้ำในโซน 7-12 เป็นเวลา 1 ชม. อีกวันก็สลับกลับมาให้โซนแรก หมุนเวียนกันไป แต่การแบ่งโซนที่สวนน้ำทรัพย์จะมีทั้งหมด 5 โซน (อีก 1 โซนกำลังจะตามมาในอนาคต) โซนที่ใหญ่ที่สุดคือจำนวนมะนาว 250 ต้น ซึ่งการคำนวณจะเอาจากโซนมากที่สุดเป็นเกณฑ์เพราะมีกำลังการใช้น้ำสูงสุด

 บริเวณสระน้ำมีการวางระบบท่อต่อไปถึงสายเมนย่อย

 

 

Step 7

          การตรวจสอบย้อนกลับอัตราการจ่ายน้ำของสปริงเกอร์ โดยเปรียบเทียบกับอัตราซึมน้ำของดินร่วนปนทราย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่ให้น้ำเร็วไปจนเกิดน้ำนองเป็นการสูญเสียน้ำและสิ้นเปลื้องโดยใช่เหตุ ในการตรวจสอบย้อนกลับนี้ก็มีสูตรการคำนวณที่วิศวกรจะเอาตัวเลขสำคัญๆ อย่างพื้นที่วงเปียก และอัตราการจ่ายน้ำต่อพื้นที่วงเปียกเมื่อคำนวณแล้วถ้าอยู่ในช่วง 10-20 มม./ชม.ถือว่าสปลิงเกอร์ที่เลือกมาใช้ได้ผลดีไม่มีอัตราสูญเสียของน้ำเกินความจำเป็น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

Step 8

หลังจากคำนวณเรื่องปริมาณน้ำที่ต้องจ่ายกับความต้องการที่พืชต้องใช้ได้แล้วก็ต้องมาดูเรื่องขนาดท่อและแรงเสียดทานภายในท่อที่มีผลต่อการจ่ายน้ำซึ่งการคำนวณหาขนาดท่อก็เพื่อให้การจ่ายน้ำสามารถเป็นไปตามตัวเลขที่เราคำนวณไว้เบื้องต้นได้โดยหาขนาดของท่อและแรงเสียดทานในท่อวิศวกรจะให้ความแตกต่างระหว่าง หัวท้ายไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ เช่นในท่อ B ที่เชื่อมไปยังจุด A มีสปริงเกลอร์ 21 หัว หัวละ 120 ลิตร/ชม. ระยะห่างหัวแรกถึงหัวสุดท้าย 15 เมตร แรงดันที่ยอมให้แตกต่างกันได้

= 15 x 20 % = 3 ม. อัตราการไหลของสปริงเกลอร์ 21 หัว คือ 120 x 21 = 2,520 ลิตร/ชม. ถ้าเลือกใช้ท่อขนาด 32  จะมีความเร็วน้ำ 1 ม./วินาที แต่เมื่อเอาตัวเลขทุกอย่างมาคำนวณรวมกันสรุปได้ว่าการสูญเสียแรงดันในท่อ 32 มม. = 1.96 มม. ถือว่าเป็นค่าที่ใช้ได้เพราะค่าความแตกต่างไม่เกิน 3 ม. ที่กำหนดไว้ ที่สรุปอันนี้คือ “ท่อแขนง”

ต่อไปคือ “ท่อเมนย่อย”  เลือกใช้ขนาด 6.75  จะได้ความเร็วน้ำที่ 1.3 ม./วินาที มีอัตราการสูญเสียแรงดันภายในท่อ 0.368 ม รวมกับการสูญเสียในท่อแขนง 1.96 เท่ากับ 2.328  (ยังไม่เกิน 3 ม. ที่กำหนด) สรุปท่อเมนย่อยที่ใช้งานได้ดีที่สุดคือขนาด 6.75

ท่อเมนหลักทางสวนน้ำทรัพย์คำนวณจากโซนที่ 4 ซึ่งเป็นโซนที่มีหัวจ่ายน้ำมากที่สุดคือ 247 จุด อัตราการไหล = 247 x 12 = 29,640 ลิตร/ชม.ความยาวของท่อตั้งแต่ปั๊มจนถึงท่อเมนหลักที่ไกลที่สุด = 200 ม. ถ้าเลือกท่อเมนหลักขนาด 90 จะได้ความเร็วน้ำที่ 1.67 ม./วินาที มีการสูญเสียแรงดัน4.07 %  เป็นการสูญเสียแรงดันในท่อ = 200 x  = 8.14 ม. และถ้าเลือกท่อเมนหลักขนาด 110 ได้ความเร็วน้ำ 1.11 ม./วินาที การสูญเสียแรงดัน 1.54 % สูญเสียแรงดันภายในท่อ = 200 x = 3.08 ม.

เมื่อเลือกชนิดของท่อและขนาดของท่อก็มาดูเรื่องการวางที่สวนน้ำทรัพย์ปัจจุบันมี 5 โซน มะนาวมากสุดคือโซน 247 ต้น แต่ละโซนมีท่อเมนเป็น HDPE ที่ฝังดินไว้ข้อดีของท่อประเภทนี้คือโดนกดทับก็ไม่แตกรองรับการทำงานของรถขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาในอนาคตได้ จากนั้นมีการแยกเป็นวาล์วคุมโซนแต่ละโซนมี 5 วาล์ว มีท่อเมนย่อแล้วแยกเป็นท่อแขนง การติดตั้งวาล์วก็เพื่อจะสามารถควบคุมการให้น้ำในแต่ละโซนได้อย่างมีประสิทธิภาพมองถึงการทำมะนาวนอกฤดูเป็นสำคัญด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

C360_2014-02-12-07-14-41-119

 

 

Step 9

คำนวณเครื่องสูบน้ำ การเลือกเครื่องสูบน้ำก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรจะเลือกให้สัมพันธ์กับขนาดของท่อและปริมาณน้ำที่ต้องการในที่นี้เทียบจากอัตราสูงสุดของน้ำประจำโซนที่มีมะนาวมากที่สุดมีอัตราเท่ากับ 29,640 ลิตร และเผื่อไปอีก 10 %  อัตราการไหลของปั๊มที่ควรเลือกมาทำงานคือ

29,640 x 1.1 = 32,604 ลิตร/ชม. คิดเป็นปริมาณน้ำก็คือ 33 คิว/ชม. วิศวกรสามารถเลือกซื้อปั๊มได้จากแคตตาล็อคของปั๊มที่ระบุการทำงานของปั๊มแต่ละชนิดไว้อย่างชัดเจน ด้วยตัวเลขนี้ก็ทำให้สามารถเลือกปั๊มที่เหมาะกับความต้องการได้มากที่สุดไม่จ่ายน้ำมากเกินไปไม่จ่ายน้ำน้อยเกินไปเป็นปริมาณการจ่ายน้ำที่พอดีกับความต้องการลดความสูญเสียในเรื่องค่าไฟได้ในระดับหนึ่งด้วย

 

การวางระบบไฟภายในสวน

 

หลังจากที่กล่าวมาพอสมควรหลายคนอาจจะสับสนบ้างเราก็จะมาสรุปให้ได้ทราบอีกทีในเรื่องลักษณะของปั๊มและขนาดของท่อจากระบบน้ำของสวนน้ำทรัพย์

1.แต่ละโซนใช้น้ำ 33 คิว /ชม.

2.แรงดันใช้งานที่หัวสปริงเกอร์ 1.5 บาร์ได้น้ำ 1.5 ลิตร/ชม.

โฆษณา
AP Chemical Thailand

3.ความดันสูญเสียในท่อแขนง (ท่อ LDPEขนาด 32)  1.96 ม.

ความดันสูญเสียของท่อเมนย่อย (ท่อ HDPEขนาด 6 .75)  0.368 ม.

ความดันสูญเสียในท่อเมนหลัก (ท่อ HDPE ขนาด 110)   7.03 ม.

4.ความดันสูญเสียในระบบปั๊ม   10 ม.

5.ความดันที่สูญเสียจากระดับผิวน้ำไปถึงตัวปั๊ม  4 ม.

6.ความดันที่สูญเสียจากพื้นที่ต่างระดับ 1 ม.

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สรุปเรื่องอุปกรณ์เสร็จหลายคนก็ยังรวบรวมความคิดไม่เป็นรูปเป็นร่างหลายคนบอกว่าตัวเลขมันเยอะเกินไปบางทีก็งงเอาเป็นว่าที่เราอธิบายคือส่วนหนึ่งของหลักการทางวิศวกรรมที่ส่วนใหญ่ในบริษัทใหญ่ที่ทำงานด้านนี้ก็ใช้วิธีคิดที่ใกล้เคียงกันแบบนี้ถ้าพูดกันจริงๆ จะงงยิ่งกว่านี้เพราะตัวเราเองก็ไม่ได้จบมาสายวิศวกรรมโดยตรงซะด้วย อธิบายได้แค่พอสังเขปแต่จะพยายามมาสรุปเป็นภาพกว้างๆ อีกทีแล้วกันเกี่ยวกับแนวทางการ “วางระบบน้ำ” ว่าเริ่มจากต้องรู้อะไรก่อนบ้าง

1.ต้องรู้ปริมาณน้ำสูงสุดที่พืชต้องการในแต่ละพื้นที่มีเรื่องของอัตราการระเหยของน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง

2.รู้ชนิดของดินในพื้นที่ วงเปียกของพืช ระยะของราก เพื่อการให้น้ำจะได้เพียงพอหรือไม่เกินความจำเป็นที่พืชต้องการ

3.รู้รอบเวรการให้น้ำว่าในควรเป็นระยะเวลาเท่าไหร่และระหว่างนั้นพืชมีการใช้น้ำเท่าใดเพื่อคำนวณหาปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อไปได้

4.ต้องเลือกระบบน้ำที่จะใช้และกำหนดประสิทธิภาพของระบบให้สามารถจ่ายน้ำได้เพียงพอต่อความต้องการ

5.เลือกแรงดันในหัวสปริงเกลอร์ว่าเหมาะสมที่เท่าไหร่ในเวลาในปริมาณน้ำที่ต้องการเพื่อง่ายต่อการจัดโซน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

6.กำหนดโซนการให้น้ำด้วยข้อมูลจากข้างต้นที่กล่าวมากำหนดจุดการจ่ายน้ำว่ามีเท่าไหร่ มีวาล์วจุดไหนอย่างไร เพื่อสะดวกในการให้น้ำ

7.การตรวจสอบย้อนกลับว่าระบบและข้อมูลตัวเลขที่คำนวณมาสามารถให้ประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างเต็มที่

8.เป็นการเลือกขนาดของท่อทั้ง 3 ชนิดคือท่อแขนง ท่อเมนย่อย ท่อเมนหลัก ให้มีความสัมพันธ์และเหมาะสมมีเรื่องของแรงเสียดทานเข้ามาร่วมด้วยเพื่อให้ได้ตัวเลขปริมาณน้ำที่พืชต้องการอย่างเต็มที่

9.เป็นการเลือกเครื่องสูบน้ำให้เหมาะสมจากตัวเลขทั้งหมดเอามาคำนวณว่าต้องการปริมาณน้ำเท่าไหร่ปั๊มแต่ละตัวมีการสูญเสียในระบบอย่างไรต้องเอามาคำนวณเพื่อให้ได้กำลังการจ่ายน้ำที่ตรงต่อความต้องการมากที่สุด

 

 

 

 

 

ซึ่งข้อมูลที่เราพูดถึงทั้งหมดนี้มาจาก “ สวนน้ำทรัพย์ ” ที่เพชรบุรี หมายความว่าตัวเลขต่างๆ ก็เป็นเฉพาะของที่สวนน้ำทรัพย์แห่งนี้ ดังนั้นถ้าเกษตรกรมีความสนใจในเรื่องการวางระบบน้ำก็ต้องมาคิดคำนวณทุกอย่างกันใหม่เพราะพื้นที่ในการปลูกแตกต่างกัน ลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน ลักษณะของพืชที่แตกต่างกัน ล้วนแล้วแต่มีผลในเรื่องการวางระบบน้ำทั้งสิ้น

ผู้ที่สนใจในเรื่องระบบน้ำแต่ไม่รู้จะทำอย่างไรปัจจุบันมีบริษัทที่ทำธุรกิจด้านนี้เป็นจำนวนมากสามารถให้คำปรึกษาหรือยินดีลงมือทำให้เกษตรกรตามความต้องการหรือถ้าอยากลงมือทำเองก็สามารถทำได้เพราะตามร้านขายปั๊มรายใหญ่หรือร้านขายท่อขนาดใหญ่ส่วนมากจะมีวิศวกรที่คอยให้ความรู้แก่เกษตรกรว่าในพื้นที่ของท่านกับการปลูกพืชนั้นๆ จะต้องวางท่อแบบไหน ขนาดเท่าไหร่ ใช้ปั๊มอะไร ถือว่าค่อนข้างง่ายเพียงแต่ท่านสนใจข้อมูลเรื่องนี้มีอยู่ทั่วไป งานทางด้านเกษตรกรรมและวิศวกรรมอดีตดูเหมือนว่าจะไปด้วยกันไม่ได้แต่ปัจจุบันถือว่าเข้ากันได้อย่างกลมกลืน วิศวกรเองที่หันมาในทางนี้ก็ต้องมีความรู้ทางเกษตรกรรมควบคู่กันด้วยถ้าไล่เรียงลำดับขั้นงานวิศวกรรมในด้านการเกษตรผู้ลงมือจะต้องมีความรู้เรื่องพืชก่อนถึงจะสามารถเอาความรู้ทางวิศวกรรมเข้าไปเสริมได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

tags: สวนน้ำทรัพย์ ระบบน้ำ ระบบน้ำในสวน ระบบน้ำเกษตร ระบบให้น้ำ ระบบน้ำในไร่ ระบบน้ำ สวนน้ำทรัพย์ เซียน มะนาว ระบบมินิสปลิงเกลอร์ ปลูกมะนาว ระบบน้ำมะนาว มะนาว

[wpdevart_like_box profile_id=”108666299214543″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]