เลี้ยง สาหร่ายพวงองุ่น 300 บาท/ก.ก. ผลงานของ ศพช.เพชรบุรี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เลี้ยง สาหร่ายพวงองุ่น 300 บาท/ก.ก. ผลงานของ ศพช.เพชรบุรี

ในวงการด้านการเกษตรในช่วที่ผ่านมา มีเข้ามาหลากหลายและหนึ่งในนั้นคือ สาหร่ายพวงองุ่น พืชเศรษฐกิจที่กำลังมาแรงที่สามารถทำเงินให้กับเกษตรกรที่สนใจได้เป็นกอบเป็นกำ โดยทั่วไปแล้วสาหร่ายพวงองุ่นจัดว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางอาหารสูงผู้คนนิยมนำมารับประทานสามารถทำได้หลากหลายเมนูเช่น ส้มตำสาหร่ายทะเล น้ำพริกสาหร่าย แถมคุณประโยชน์ที่หลากหลาย มีแคลอรี่ต่ำ ป้องกันท้องผูก ริดสีดวงทวาร สามารถช่วยปรับสมดุลในร่างกายเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนได้อีกด้วยและยังรักษาความชุ่มชื้นของเซลล์ผิว บำรุงสมอง บำรุงเส้นผม และอีกหลากหลายด้วยคุณประโยชน์ที่หลากหลายจึงทำให้ “ สาหร่ายพวงองุ่น ” เป็นที่ต้องการและได้รับความนิยมและมีราคาที่ค่อนข้างสูงในการบริโภค โดยทั่วไปแล้วสาหร่ายจะพบมากในพื้นที่น้ำเค็มเข้าถึงเกษตรกรที่เลี้ยงส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ติดชายทะเล

นิตยสารสัตว์น้ำ มีโอกาสเข้าสัมภาษณ์ คุณมนทกานติ  ท้ามตื้น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรี(ศพช.เพชรบุรี) ผู้วิจัยและพัฒนาเทคนิคการเลี้ยง สาหร่ายพวงองุ่น ที่สามารถทำเงินให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงได้จำนวนมาก ในการพัฒนาและวิจัยมามากกว่า 20 กว่าปีท่านผู้อำนวยการได้กล่าวว่า เมื่อก่อนยังไม่เป็นที่แพร่หลายตอนนั้นเลี้ยงสาหร่ายเพื่อใช้ในการบำบัดน้ำและเมื่อปี  2557 ทางกรมประมงมีนโยบายขยายผลในด้านการเลี้ยงสาหร่ายให้เป็นประโยชน์ในด้านการสร้างอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรต่อมาทางศูนย์วิจัยฯได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆและได้พัฒนาเทคนิคการเลี้ยงแบบเชิงพานิชย์ สามารถควบคุมคุณภาพของ สาหร่ายพวงองุ่น ได้ จากที่เมื่อก่อนเลี้ยงแบบหว่านลงพื้นในปัจจุบันท่านผู้อำนวยการได้ค้นคว้าและวิจัยพัฒนาต่อยอดจนมาได้วิธีการเลี้ยง “แบบแผง”จากการวิจัยพบว่าการเลี้ยงแบบแผงเป็นอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสม เหมาะสำหรับเกษตรกรที่จะนำไปเลี้ยงควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์น้ำ ระยะเวลาในการเลี้ยงจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต 4-6 สัปดาห์ก็สามารถเก็บผลผลิตออกจำหน่ายได้ ราคาในการจำหน่ายค่อนข้างสูง ผลผลิตที่ได้ไม่น้อยกว่า 5 กิโลกรัมต่อแผง โดยการขยายผลไปที่โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างและเกษตรกรที่สนใจ โดยพื้นที่ในโครงการทั้งหมดที่ เลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น ประมาณ 5 ไร่ ทดลองเลี้ยงสาหร่ายในเชิงพานิชย์มาในระยะเวลา 6 เดือนยอดสั่งจองผลผลิตประมาณ 1 ตันต่อเดือนแต่กำลังการผลิตของโครงการไม่เพียงพอ จึงต้องมีการส่งเสริมให้แก่เกษตรกรผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาอบรมจากโครงการ

บริเวณที่เลี้ยงสาหร่าย

พื้นที่ติดทะเลน้ำความเค็ม 27-33 ppm

การเลี้ยง สาหร่ายพวงองุ่น ในบ่อดิน จำเป็นอย่างมากในเรื่องความเค็มพื้นที่เลี้ยงส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณพื้นที่ชายฝั่งที่มีน้ำทะเลเข้าถึง ความเค็มที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 27-33 ppt  เนื่องจาก สาหร่ายพวงองุ่น เป็นสาหร่ายทะเล สำหรับเกษตรกรพื้นที่บริเวณชายฝั่งสามารถเลี้ยงได้โดยควบคุมความเค็มให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของสาหร่าย ลักษณะการเตรียมบ่อโดยทั่วไปแล้วทางโครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างจะมีการอบรมแนะนำให้กับเกษตรกรผู้ที่สนใจ โดยการใช้บ่อเดิมที่ทำการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการเลี้ยงโดยทั่วไปแล้วระดับความลึกของบ่อจะอยู่ประมาณ 1 เมตร ถ้าเป็นบ่อใหม่ควรปรับสภาพดินก่อนที่จะสูบน้ำใส่ ในเรื่องของอุณหภูมิที่เหมาะสมแก่การเลี้ยงสาหร่ายจะอยู่ในช่วง 25-30 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปแล้วสาหร่ายจะไม่ชอบอุณหภูมิที่สูงเกินไปจะทำให้สาหร่ายเติบโตช้า และจำเป็นที่จะต้องควบคุม (pH) ให้อยู่ในช่วง 8-9  ค่าความเป็นด่าง (Alkalinity) ให้อยู่ในช่วง 120-140 มิลลิกรัมต่อลิตร เกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่มีอุปกรณ์ในการตรวจสอบส่วนมากจะใช้ประสบการณ์และเทคนิคส่วนตัวเพราะการเลี้ยงสาหร่ายจริงๆแล้วไม่ได้ยุ่งยากเพียงแค่ต้องการความเอาใจใส่ในเรื่องคุณภาพน้ำ สารอาหารต่างๆ

การทำแผงเลี้ยงสาหร่าย

แนวทางการเตรียมบ่อ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในการเตรียมบ่อเลี้ยง สาหร่ายพวงองุ่น จำเป็นอย่างมากต้องปรับสภาพพื้นบ่อถ้าเป็นบ่อที่เคยเลี้ยงสัตว์น้ำมาแล้วควรทำการตากบ่อและกำจัดวัชพืชต่างๆจากนั้นทำการโรยปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน ทำการปักราวไม้ไผ่ บ่อขนาด 1 ไร่ จะทำการปักไม้ไผ่ 5 แถว เพื่อใช้เป็นที่แขวนแผงเลี้ยงสาหร่าย หลังจากนั้นทำการสูบน้ำทะเลเข้าบ่อ ในการสูบน้ำควรจะมีการกรองตะกอน ระดับความลึกของน้ำจะขึ้นอยู่กับพื้นที่บ่อของเกษตรกรเองก่อนที่จะทำการเลี้ยงสาหร่าย

ใช้ท่อ PVC ทำแผงวางกิ่งพันธุ์สาหร่าย

ในการเลี้ยงสาหร่ายเริ่มแรกหลังจากการเตรียมบ่อแล้วจะทำการประกอบแผงเพื่อที่จะใช้เลี้ยงสาหร่ายขนาดของแผงจะอยู่ที่ 0.5×0.5 เมตร ทำจากท่อพีวีซี ทรงสี่เหลี่ยมเมื่อได้ตัวแผงแล้วจะทำการใช้ตาข่ายพลาสติกขนาดตา 1 เซนติเมตร ตัดให้พอดีกับแผงสี่เหลี่ยมเพื่อใช้วางกิ่งพันธุ์สาหร่าย 1 แผงจะใช้ตาข่าย 2 อัน เมื่อได้แผงสาหร่ายเรียบร้อยแล้ว นำกิ่งพันธุ์สาหร่ายที่เตรียมไว้มาแผ่กระจายให้ทั่วแผง โดยอัตรา  500 กรัมต่อแผง หลังจากนั้นนำตาข่ายที่เตรียมไว้มาประกบกันและทำการยึดตาข่ายกับท่อพีวีซีให้แน่นเพื่อป้องกันสาหร่ายหลุดออกนอกแผงจากนั้นนำแผงสาหร่ายที่ทำเสร็จแล้วไปแขวนที่ร้าวไม้ไผ่ โดยจะแขวนแผงห่างกันประมาณ 0.5-1 เมตร ลึกจากผิวหน้าน้ำประมาณ 30 เซนติเมตรหรือระดับที่แสงส่องถึง ดูจากความขุ่นของน้ำถ้าน้ำมีความขุ่นสูงก็จะแขวนในระดับที่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร ในการแขวนจะอยู่ที่เทคนิคของเกษตรกรแต่ละราย ถ้าแขวนสูงเกินไปสาหร่ายก็จะได้รับแสงแดดมากเกิน ถ้าต่ำเกินไปสาหร่ายก็จะไม่ได้รับแสงจึงต้องให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม  สาหร่ายที่นำไปเลี้ยงจะแตกยอดอ่อนภายใน 3-7 วัน ใน 1 อาทิตย์จะทำการปัดตะกอน 2 ครั้ง เพื่อเป็นการทำความสะอาดเมื่อระยะเวลาครบ 1 เดือน ถึง 2 เดือน จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ โดยรวมแล้วต้นทุนต่อแผงไม่เกิน 100 บาท

ผลผลิต 4 เกรด/4ราคา

ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะมี 2 รูปแบบ คือ เก็บผลผลิตจากแผงและการเก็บผลผลิตจากพื้นบ่อ ในการเก็บผลผลิตระยะเวลา 1 เดือนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตขึ้นมาได้แล้วจะนำมาพักไว้ในบ่อพักสาหร่ายก่อนที่จะทำการตัดแต่ง 2 วัน เพื่อให้สาหร่ายฟื้นตัวหลังจากที่เก็บเกี่ยวมาได้ก่อนที่จะนำมาตัดแต่งในการตัดแต่งทางโครงการจะแบ่งเกรดไว้ 4 เกรด จะแบ่งเป็น A+ ราคา กิโลละ 800 บาท  A กิโลละ 500 บาท ราคา B  กิโลละ 400 บาทC ราคากิโลล่ะ 300บาทจะต่างกันที่ความยาวและขนาดเส้น และพวง  จะต้องมีเม็ดที่เน้นและพวงจะต้องสวยดูลักษณะแล้วดูน่าทาน ที่เวลาแบ่งเป็นเกรดจะต่างกันที่ความยาวจะต่างกัน เกรด C จะมีลักษณะเป็นช่อจะติดก้านด้วยนิดนึง ช่อ1 จะไม่เกิน 2-3 เส้น ยาวอยู่ที่ประมาณ 1 นิ้วไม่เกิน 2 นิ้ว ส่วนเกรด B  จะยาว 2นิ้วครึ่งไม่เกิน 3 นิ้วครึ่ง เกรด A จะยาว 4 นิ้วขึ้นไปแต่ไม่เกิน 5 นิ้ว ส่วน A+ จะยาว 5 นิ้วขึ้นไป เมื่อทำการตัดแต่งเสร็จแล้วจะนำไปล้างด้วยระบบสกิมเมอร์ลักษณะการล้างจะใช้ถังพลาสติกขนาดใหญ่จะล้างด้วยการใช้ลมในการทำความสะอาด ลักษณะลมที่ออกมาจะเป็นฟองเล็กฟองระเอียดจะเรียกว่าฟองโฟมซึ่งฟองโฟมจะมีอนุภาคเล็กไปซอกซอนทำความสะอาดตามซอกสาหร่ายได้ สังเกตดได้จากสิ่งสกปรกที่อยู่ในสาหร่ายจะจับอยู่ตามขอบถังพลาสติกเช้า เย็น จะให้เจ้าหน้าที่มาเช็คสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามขอบถังว่ามีมากหรือน้อยแค่ใหนว่าพร้อมใช้ได้หรือยัง ในขั้นตอนการล้างเราจะตีฟองโฟม 2-3 วันและก็จะย้ายไปเก็บในถังพักเพื่อรอการจำหน่ายต่อไป ผลผลิตที่ได้จะอยู่ที่ประมาณ200-300 กิโล คือกำลังการผลิตทางโครงมีกำจัดจึงจำเป็นต้องมีการเปิดอบรมเพื่อหาเกษตรกรที่สนใจ

ชื่อโครงการ

ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงสาหร่าย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัญหาการเลี้ยงสาหร่ายที่เจออยู่ในปัจจุบัน ตอนนี้เรื่องก็จะมีเรื่องคุณภาพน้ำความเค็มที่มันแก่จัด ความเค็มเกิน 35 ppt ถ้ามีความเค็มเกินจะทำให้เม็ดของสาหร่ายจะแกนและไม่สวยทำให้ขายไม่ได้ราคา ศัตรูที่พบเจอส่วนใหญ่จะเป็นพวกหนอนท่อที่ไปเกาะอยู่ในตัวสาหร่าย นอนท่อจะพบมากจากสาหร่ายที่มีการเลี้ยงตามพื้นบ่อเพราะนอนท่อสามารถไปเกาะได้ง่ายกว่าบนแผง ระดับความเค็มก็สำคัญต้องมีการควบคุมให้ดีต้องมีน้ำเปลี่ยนถ่าย หลักๆความเค็มมาอันดับแรก เพราะปีนี้มันแล้งน้ำทะเล 35 ppt ปกติที่เคยวัด 32 ppt  แต่ปีนี้แล้งเพราะช่วงนี้ไม่มีฝน พอมาเข้าบ่อก็จะระเหยยิ่งเค็มเข้าไปใหญ่ ทางศูนย์ของเราจะแก้ไขโดยการสูบน้ำบาดาลลงเติมแต่ค่าอัลคาไลน์ของน้ำบาดาลจะสูงทำการแก้ไขโดยเปิดเครื่องให้อากาศเพื่อที่จะให้อัลคาไลน์ระเหยออกไป

ตลาดรุ่ง…มุ่งโครงการฟาร์มทะเล

ตลาดในอนาคตมองว่าผู้สนใจไม่ว่ามันเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่มีมูลค่าในตอนนี้ก็มีการขยายผลมากขึ้น ผ่านมา2 ปีแล้วกระแสยังไม่ตก มีคนสนใจมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่เกษตรกรเลี้ยงแล้วตลาดยังแคบอยู่ ตอนนี้มีคนสนใจมากขึ้นก็มีการมาถามหาสาหร่าย ส่วนของศูนย์ก็ขยายผลไปที่โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่าง เราเอาเทคนิคนี้ไปให้โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่าง ก็รับจำหน่ายสาหร่ายที่ผ่านการตัดแต่งแล้ว ก็มีคนที่ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆเราก็ส่งเสริมให้เกษตรกรรายใหม่ได้มีอาชีพเสริมที่มีรายได้อีกทางตลาดส่วนใหญ่จะเป็นทางด้านร้านอาหาร

เลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น ควบคู่กับกุ้ง
การล้างสาหร่ายพวงองุ่น

เลี้ยงสาหร่ายควบคู่กุ้ง

ทางศูนย์ประมงวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรีมีการเผยแพร่ให้แก่เกษตรกรผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานผ่านศูนย์วิจัยฯและโครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างเริ่มแรกยังไม่ค่อยมีเกษตรกรรู้จักเท่าไรจึงจำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์โดยปี 2557 ได้มีการจัดอบรมให้แก่เกษตรกรที่สนใจมีการบรรยายให้ความรู้และสอนเทคนิคในการเลี้ยงสาหร่าย วิธีการทำแผงและวิธีการตัดแต่ง ในระยะเวลาไม่นานมีเกษตรกรสนใจเพิ่มมาขึ้น ถ้าเป็นเกษตรกรรายใหม่เยอะ มองว่าในปัจจุบันพื้นที่เรามีบ่อเลี้ยงกุ้ง ถ้าผลิตกุ้งเหมือนคนไทยเมื่อก่อน 5 แสนตัน กิน FCR เท่ากับ 1.1 ก็จะเป็นอาหารประมาณ 5 แสนตัน คิดเป็นโปรตีนเท่าไหร่ ไนโตรเจนเท่าไหร่ มันก็จะมีสารอาหารออกมาอยู่ในระบบน้ำ แต่ถ้าเรามีการเลี้ยงกุ้งและก็มีบ่อเลี้ยงสาหร่ายด้วยโมเดล ความเสี่ยงมันก็น้อยลงเราก็จะได้กุ้งด้วยและก็ได้สาหร่าย ซึ่งมูลค่าขายปากบ่อกิโลละ 50 บาทแล้ว เราสามารถใช้น้ำเลี้ยงกุ้งแล้วมาเลี้ยงสาหร่ายได้ หรือเลี้ยงควบคู่กันไปภายในบ่อเลยก็ได้เหมือนกันถึงผู้สนใจไม่ว่าจะเป็นผู้ต้องการผลิตเองหรือจำหน่ายเองก็สามารถมาขอความรู้ได้ทั้งที่ศูนย์ของเราและที่โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่าง มารับการอบรมได้ก็ยังมีโอกาสอีกเยอะเพรามันเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่มีมูลค่าในการอบรมจะเปิดเดือนละ 2 รอบ ระยะเวลาก็จะเป็นต้นเดือน กับปลายเดือน 

เบ็ญจมาศ กรีนคาเวียร์
เบ็ญจมาศ กรีนคาเวียร์

ปัจจุบันฟาร์มเบญจมาศ กรีน คาเวียร์ ซึ่งเป็นฟาร์มขยายผลของโครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างฯ ได้ขึ้นทะเบียนและขอรับใบรับรองการจัดการฟาร์มที่ดี (GAP) และในส่วนของโครงการกำลังดำเนินการขอมาตรฐานระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์จากกรมประมง ซึ่งเป็นระบบการผลิตสาหร่ายแบบเน้นวัสดุธรรมชาติหลีกเลี้ยงการใช้ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุดิบจากการสังเคราะห์และไม่ใช้พืชสัตว์หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม

โฆษณา
AP Chemical Thailand
คนเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น
ผู้จัดการฟาร์มขยายผล การเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น

การจัดอบรมของโครงการฟาร์มทะเลฯทุกเดือนในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ครั้งละประมาณ 50 คน ช่วงเวลา 13.00-16.00. ในรูปแบบการบรรยายเชิงปฏิบัติการที่เข้าใจง่าย ได้แก่ ชีววิทยาการและแพร่กระจายของสาหร่ายพวงองุ่น  หลักการจัดการบ่อ วัสดุอุปกรณ์ เทคนิคการเลี้ยง เทคนิคการเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การตลาดหรือช่องทางการจำหน่าย ตลอดจนพาชมบ่อเลี้ยงสาหร่ายภายในโครงการฯ และจัดสาธิตการทำแผงสาหร่าย การเด็ดสาหร่าย ระบบการล้าง เป็นต้น  สรุปง่ายๆว่าผู้มาอบรมใช้เวลาแค่ครึ่งวันก็สามารถทราบถึงเทคนิคการเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นและช่องทางการตลาด สามารถกลับไปทำฟาร์มเลี้ยงหรือออกร้านขายสาหร่ายได้เลย

ขนาดของสาหร่ายพวงองุ่น
ขนาดของสาหร่ายพวงองุ่น

สำหรับเกษตรกรผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่

1.โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่าง ต.บางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โทร 081-9484200 (ผจก.โครงการฟาร์มทะเลฯ)

2.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรี 122 หมู่ 1 .แหลมผักเบี้ย อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โทร.03-2770-750      

3.ทางเว็บไซค์/เฟศบุ๊ค ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรี

ขอขอบคุณ คุณมนทกานติ   ท้ามตื้น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ที่สละเวลาให้ความรู้ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น ณ โอกาสนี้

Facebook: ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรี

ขอขอบคุณ คุณมนทกานติ  ท้ามตื้น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรี

ที่สละเวลาให้ความรู้ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น ณ โอกาสนี้

[wpdevart_like_box profile_id=”377357182296025″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]