การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ ต้นทุนทำนา 2,000 กว่าบาท+แจกสูตรฮอร์โมนขี้หมู ไข่ไก่ น้ำหมัก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ต้องยอมรับว่าปัจจุบันมีชาวนาจำนวนไม่น้อยที่โดนผลกระทบช่วงที่ราคาข้าวตกต่ำ จนทำให้หลายครอบครัวที่มีอาชีพหลัก “การทำนา” นั้น ต้องตกอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ จากต้นทุนการทำนาเคมีที่สูงขึ้น ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าจ้างแรงงาน ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นสวนทางกับราคาข้าว จึงทำให้เกิดภาระหนี้สินตามมา การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์

จากต้นทุนการทำนารูปแบบเคมีที่สูงขึ้น ทำให้ปัจจุบันมีเกษตรกรชาวนาหลายรายหันมาปรับเปลี่ยนทัศนติในการทำนา โดยใช้รูปแบบ “นาอินทรีย์” เพื่อเป็นหนทางในการลดต้นทุนในการเพาะปลูกข้าว อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค

1.ป้าริดเผยเป็นแฟนพันธุ์แท้นิตยสารข้าวเศรษฐกิจ
1.ป้าริดเผยเป็นแฟนพันธุ์แท้นิตยสารข้าวเศรษฐกิจ

การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์

ทีมงานนิตยสารข้าวเศรษฐกิจ ได้ลงพื้นที่ อ.หนองแค จ.สระบุรี พูดคุยกับ  คุณปพิชญา งามขำ หรือ (ป้าริด)  ผู้บุกเบิกข้าวไรซ์เบอรี่เป็นเจ้าแรกๆ ในจังหวัดสระบุรี ซึ่งปัจจุบันถือได้ว่าการทำไรซ์เบอรี่ของเขานั้นถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก มีผลผลิตเฉลี่ย 60 ถัง ต่อไร่ และมีต้นทุนการทำนาเพียงแค่ 2,000 กว่าบาท เกือบ 3,000 บาท  ต่อไร่ ซึ่งแตกต่างจากการทำนาเคมีถึงครึ่งต่อครึ่ง และด้วยต้นทุนที่ลดลงยังทำให้มีกำไรมากขึ้น ส่งผลให้ครอบครัวงามขำนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากเดิมมาก จนทำให้ชาวบ้านละแวกนั้นหันมาทำนาอินทรีย์กันตามๆ กัน

คุณปพิชญาเปิดเผยกับทีมงานว่า ตั้งแต่จำความได้ก็เห็นพ่อและแม่ทำนา จึงถูกปลูกผังวิถีชีวิตการทำนา พร้อมทั้งซึมซับการดำเนินชีวิตชาวนามาตั้งแต่เล็กๆ ซึ่งตนก็มีความชื่นชอบในการทำนา และเมื่อโตขึ้นก็ได้เดินตามเส้นทางชาวนาแบบเต็มตัวจนถึงปัจจุบัน และเมื่อเริ่มทำนาครั้งแรกได้ใช้พื้นที่ 17 ไร่ ของตน ทำการปลูกข้าวโดยยึดรูปแบบการทำเคมี ซึ่งในทำนาครั้งนั้นเขามีต้นทุนการทำนาต่อไร่สูงถึง 4,500-5,000 บาท ต่อไร่ เลยทีเดียว ซึ่งเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวกลับได้ผลผลิตเพียงแค่ 9 เกวียน เท่านั้น ในพื้นที่ 17 ไร่ ทำให้ป้าริดคิดหาทางลดต้นทุนในการทำนา เพื่อที่จะได้มีกำไรจากการทำนามากขึ้น

ต่อมาคุณปพิชญาได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องเทคนิคการทำนา ตลอดจนเทคนิคการลดต้นทุน และได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับ “การทำนาอินทรีย์” อยู่บ่อยๆ ตามที่เกษตรจังหวัดและกรมพัฒนาที่ดินจัดขึ้น จึงทำให้ค้นพบเทคนิคในการทำนาต่างๆ เทคนิคการเตรียมดิน และการลดต้นทุน การทำฮอร์โมนและน้ำหมักชนิดต่างๆจากการเข้าดูงานในครั้งนั้นทำให้เขาเล็งเห็นว่าการทำนารูปแบบอินทรีย์นั้นมีประโยชน์อย่างมาก และเป็นวิธีการที่จะช่วยในการแก้ปัญหาของตน จึงนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการทำนาของตน และประสบความสำเร็จในการทำนาเรื่อยมา จนทำให้ชาวนาหลายรายในพื้นที่ยอมสละเคมีเพื่อหันมาทำ

2.สภาพแปลงนาหลังจากปักดำ
2.สภาพแปลงนาหลังจากปักดำ
ต้นกล้าหลังจากปักดำ
ต้นกล้าหลังจากปักดำ

สภาพพื้นที่ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่

ปัจจุบันคุณปพิชญาปลูกข้าวทั้งหมดเกือบ 50 ไร่ เป็นพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่ทั้งหมด  ซึ่งเขาเปิดเผยว่าได้เริ่มรู้จักข้าวไรซ์เบอรี่จากการติดตามอ่านนิตยสารข้าวเศรษฐกิจ และเคยดูงานที่ ม.เกษตรฯ กำแพงแสน จึงทำให้ตนสนใจเพราะมีประโยชน์ทางโภชนาการสูง อีกทั้งเป็นพันธุ์ข้าวที่มีความทนต่อสภาพอากาศและโรคแมลงได้ดี และเนื่องจากเป็นข้าวที่มีราคาขายที่สูงกว่าข้าวทั่วๆ ไป ทำให้มีกำไรในการทำนามากขึ้น จึงตัดสินใจหาพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่มาทำการเพาะปลูกในแปลงนาของตนทั้ง 50 ไร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณปพิชญาย้ำว่าในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่นี้ ลำดับแรกต้องคำนึงถึงฤดูกาลปลูกด้วยถึงจะมีผลผลิตจำนวนมาก เพราะว่าสภาพอากาศก็เป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช และเป็นตัวกำหนดคุณภาพข้าวอีกด้วย ทั้งนี้เขาให้ความเห็นว่าในช่วงที่พอเหมาะ คือ ช่วงเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ซึ่งในการทำนาของเขานั้น ใน 1 ปี จะมีการปลูก 2 ครั้ง จึงจำเป็นต้องมีการวางระบบการปลูกข้าวให้สอดคล้องกับสภาพอากาศ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะตามมา ทั้งเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืช

คุณปพิชญาบอกต่อว่าเขาได้วางแผนการทำนารอบแรกในเดือนสิงหาคม และรอบสองในเดือนตุลาคม ซึ่งในส่วนของการเกี่ยวข้าวรอบ 2 นั้น จะไปเกี่ยวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จากนั้นก็จะเป็นการพักหน้าดินเพื่อบำรุงดิน โดยการหว่านปอเทือง และการไถกลบหน้าดิน และการใช้ปุ๋ยขี้หมูที่ทำขึ้นเองเป็นการปรับสภาพดินต่อไป

3.สูบน้ำเข้าแปลงนาเพื่อป้องกันหญ้า
3.สูบน้ำเข้าแปลงนาเพื่อป้องกันหญ้า

แจกสูตร ฮอร์โมนไข่ไก่ บำรุงดูแลต้นข้าว

นอกจากนี้หลังจากดำนาเสร็จแล้ว ก็สูบน้ำเข้าแปลงนาตั้งแต่วันแรกที่ทำการดำนาเพื่อเป็นการคุมหญ้า ในส่วนของระดับน้ำที่ใช้นั้นจะต้องคลุมดินเพื่อไม่ให้ต้นหญ้าเจริญเติมโตได้ “ถ้าพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ เป็นหล่ม เหมือนแปลงของป้า ก็จะต้องคุมน้ำไว้ตลอด เพื่อเป็นการรักษาระดับน้ำ ประมาณ 1 เดือน พอข้าวขึ้นคลุมพื้นดินก็จะปล่อยน้ำออกให้แห้ง เพื่อไม่ให้หญ้าขึ้น อย่างที่เขาเรียกว่า รูปแบบการแกล้งข้าว

และเมื่อข้าวเริ่มตั้งท้อง ก็จะมีการใช้ฮอร์โมนไข่ไก่ฉีดพ่นต้นข้าว เพื่อกระตุ้นให้ต้นข้าวมีการเจริญเติบสมบูรณ์ พร้อมทั้งยังเป็นการบำรุงลำต้น และช่วยในการออกรวง และการสร้างเมล็ดข้าว จนนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตข้าวนั่นเอง ซึ่งเขาได้เรียนรู้การทำฮอร์โมนชนิดนี้จากการที่เคยไปอบรมดูงานต่างๆ และมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างชาวนา

โดยในการทำ ฮอร์โมนไข่ไก่ นี้เป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายมาก โดยมีสูตรคือ:

  • ไข่แดงของไข่ไก่ในอัตราส่วน 5 กิโลกรัม
  • จากนั้นใช้ยาคูลท์ 1 ขวด และ
  • แป้งข้าวหมากที่เป็นหัวเชื้อจำนวน 2 ลูก
  • น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม

เมื่อได้ส่วนผสมครบแล้วก็นำมาตีรวมกันจนเข้ากัน แล้วนำไปเทลงถังน้ำหมักขนาด 200 ลิตร และใช้น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ลูก ในการหมัก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาการหมักประมาณ 30 วัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.ขั้นตอนการตีเทือก
4.ขั้นตอนการตีเทือก การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตข้าว

ทั้งนี้เขายังมีเทคนิคในการเพิ่มผลผลิตข้าวด้วยวิธีการใช้ “ ปุ๋ยขี้หมู” ที่หมักขึ้นเองและปุ๋ยอินทรีย์สำเร็จรูป ตราเก็บตะวัน ด้วยคุณสมบัติของปุ๋ยขี้หมูนั้นจะมีแร่ธาตุสารอาหารเหมาะสำหรับต้นข้าวอย่างมาก ช่วยให้ต้นข้าวเจริญเติมโตได้ดี และช่วยเสริมสร้างเมล็ดข้าวให้สมบูรณ์ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และช่วยเพิ่มในเรื่องของผลผลิตข้าวได้อย่างดี

ซึ่งจะใช้ฉีดต้นข้าวทุกๆ 15 วัน ในกระบวนการทำปุ๋ยขี้หมูนั้นก็จะมีการนำขี้หมูแห้งที่ซื้อจากผู้เลี้ยงหมูในพื้นที่ จำนวน 30 กิโลกรัม นำไปเทลงถังหมัก 200 ลิตร จากนั้นก็หมักไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ เมื่อครบกำหนดแล้วก็จะนำน้ำที่ได้จากการหมักขี้หมูนั้นไปผสมกับน้ำเปล่า ในอัตราส่วน 10 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร

ในส่วนของปุ๋ยอินทรีย์สำเร็จรูปนั้นก็จะใช้ในส่วนของที่ข้าวไม่ค่อยงาม ซึ่งไม่ได้ใช้ทั้งหมดในแปลงนา “จากการใช้ฮอร์โมนขี้หมู และฮอร์โมนไข่ไก่ และน้ำหมักชีวภาพต่างๆ นั้น ทำให้ป้าได้ข้าวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี จากครั้งแรกที่เปลี่ยนมาทำนาอินทรีย์ ฤดูกาลแรกได้ข้าวเพียงไม่กี่ถัง หลังจากนั้นในฤดูกาลต่อๆ มาก็ได้ข้าวเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันใน 1ไร่ จะได้ข้าวเฉลี่ย 50-60 ถัง และยังมีแนวโน้มว่าปีนี้จะได้ข้าวมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาอย่างแน่นอน” ป้าริดกล่าว

ฟาง เป็นสิ่งสำคัญ เราไม่ควรเผา ควรจะเลือกใช้วิธีการหมักจะดีที่สุด” นี่คือคำพูดของป้าริด ชาวนาหลายคนชอบบอกว่าปั่นลงไปแล้วมันเป็นก้อน และการหมักฟางนั้นใช้เวลานาน แต่หารู้ไม่ว่าในการเผาฟางและตอซังข้าวนั้นก่อเกิดผลเสียและผลกระทบต่อคุณภาพดินและระบบนิเวศอย่างมาก และยังส่งผลเสียอีกหลายๆ อย่างตามมาในระยะยาว ซึ่งป้าริดได้เลือกใช้วิธีการหมักฟางข้าวนี้มาตลอด

โดยเริ่มจากใช้รถปั่นมาลงปั่นในแปลงนา ด้วยกระบวนการทำงานของรถปั่นข้าวนั้น เมื่อปั่นดินแล้วดินจะกลบทับฟางข้าวไปในตัว เนื่องด้วยตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ วัตถุที่มีน้ำหนักมากอย่างดิน เมื่อปั่นแล้วจะไปกดทับฟางข้าวไว้ ทำให้ฟางข้าวจมอยู่ในน้ำ ซึ่งจากกระบวนการหมักฟางข้าวประมาณ 7-10 วัน จากนั้นทำให้ตอซังและฟางข้าวถูกย่อยสลายจนเน่าเปื่อยแทบไม่เหลืออะไรแล้ว ซึ่งวิธีการหมักฟางนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อชาวนา

ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรมักจะหลีกเลี่ยงวิธีการนี้ “เพราะคิดว่าใช้เวลานาน แต่จริงๆ แล้วใช่ว่าจะเสียเวลา อย่างน้อยก็ต้องแช่ข้าวอีกหลายวัน กว่าจะถึงการหว่าน ซึ่งมันก็ไม่ได้เสียเวลาแตกต่างกันมาก” ป้าริดให้ความเห็น และเปิดเผยว่าตนได้ ใช้ขี้หมูบำรุงดิน ทั้งนี้เขายังใช้ขี้หมูหว่านรองพื้นตอนตีเทือกแล้วใช้รถย่ำ ซึ่งวิธีการนี้สามารถใช้ก่อนหรือหลังการดำนาก็ได้ตามแต่สะดวก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งในรอบที่ผ่านมาป้าริดบอกกับทีมงานว่าขี้หมูมาไม่ทันทำให้ต้องหว่านขี้หมูหลังจากการดำนา โดยคุณสมบัติของขี้หมูนั้นจะมีแร่ธาตุสารอาหารเหมาะแก่ต้นข้าว ซึ่งช่วยให้ต้นข้าวมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ช่วยสร้างเมล็ดข้าวให้มีความสมบูรณ์ และมีคุณภาพ และที่สำคัญเป็นการเพิ่มผลผลิตได้ดีอีกด้วย

5.ข้าวไรซ์เบอรี่บรรจุถุงพลาสติก
5.ข้าวไรซ์เบอรี่บรรจุถุงพลาสติก
เมล็ดพันธุ์ข้าวพร้อมจำหน่าย
เมล็ดพันธุ์ข้าวพร้อมจำหน่าย การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ 

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายข้าวไรซ์เบอรี่

ป้าริดนั้นจำหน่ายทั้งข้าวเปลือกและเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่ และข้าวบางส่วนก็มีการจำหน่ายไปยังโรงสีในพื้นที่ ซึ่งข้าวไรซ์เบอรี่นั้นทางโรงสีจะมีการรับซื้อในราคาเกวียนละ 18,000 บาท ส่วนที่เหลือก็จะนำมาขายให้กับลูกค้าในพื้นที่และต่างจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพ่อค้าและแม่ค้ามารับข้าวไรซ์เบอรี่ไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง

ในส่วนของราคาป้าริดบอกว่าจะขายตามจำนวนปริมาณที่สั่ง

  • หากมีปริมาณตั้งแต่ 100 กิโลกรัมขึ้นไป ก็จะมีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 65 บาท
  • แต่หากเป็นลูกค้าที่ซื้อไว้บริโภคเองจำนวนไม่เยอะ ก็จะมีราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 70-80 บาท
  • หากเป็นราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท

นอกจากนี้ป้าริดยังมีการนำข้าวไรซ์เบอรี่มาแพ็คถุงขายในกิโลกรัมละ 100 บาท และเนื่องด้วยป้าริดเองเป็นคนที่มีชื่อเสียงในการทำข้าวอินทรีย์ไรซ์เบอรี่อย่างมาก จึงทำให้มีกลุ่มลูกค้าหลายรายจำนวนมากให้การตอบรับเป็นอย่างดี เพราะมั่นใจได้ว่าข้าวในแปลงนาของเขามีคุณภาพ และปลอดสารเคมี แน่นอน จึงไม่แปลกใจที่ทำให้มีประชาชนต่างเข้ามาซื้อข้าวไรซ์เบอรี่อย่างไม่ขาดสาย

6.การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์-ฉบับ-ป้าริด
6.การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์-ฉบับ-ป้าริด

ฝากถึงเกษตรกรชาวนา

คุณปพิชญาอยากฝากถึงเกษตรกรชาวนาว่า “การทำนาอินทรีย์นั้นมีประโยชน์ต่อชาวนามาก ทั้งเรื่องของการลดต้นทุนที่เห็นได้ชัดเจน แต่ก่อนป้าทำเคมี ต้นทุนสูงถึง 4,500-5,000 บาท แต่พอมาทำอินทรีย์แล้วต้นทุนเหลือเพียง 2,000 กว่าบาท เกือบ 3,000 บาท ต่อไร่ ซึ่งก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ทุกปี และที่สำคัญที่สุดการทำอินทรีย์นั้นทำให้ป้าสุขภาพดีขึ้น ส่งผลดีต่อสุขภาพชาวนา ผู้บริโภคก็ชื่นชอบ ได้กินข้าวอย่างเต็มปาก เพราะปราศจากสารเคมี”

ขอขอบคุณ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณปพิชญา งามขำ 14/4 ม.6 ต.กุมหัก อ.หนองแค จ.สระบุรี 18140

อ้างอิง : นิตยสารข้าวเศรษฐกิจ