ชี้เป็นชี้ตาย! สถานการณ์น้ำ ก.ค. นี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากสภาพฝนที่ตกตลอดในช่วงฤดูฝนปี 2557 อยู่ในเกณฑ์น้อย วัดปริมาณฝนตกเฉลี่ยสะสมทั้งประเทศ (1 ม.ค. – 31 ต.ค. 57) ได้ประมาณ 1,381 มิลลิเมตร ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติ (ค่าเฉลี่ยปกติอยู่ที่ 1,588 มิลลิเมตร) กระทบต่อปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำต่างๆ ค่อนข้างน้อย ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหลายแห่งมีน้ำน้อย โดยเฉพาะแหล่งน้ำต้นทุนขนาดใหญ่ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำให้กรมชลประทาน ต้องวางแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2557/2558 อย่างรัดกุม

ภัยแล้ง

ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศทั่วโลกได้พยากรณ์ว่าจะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งพัฒนาตัวขึ้นจนมีอิทธิพลต่อสภาวะภูมิอากาศในบริเวณทวีปเอเชียแล้ว ส่งผลให้ฝนทิ้งช่วงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติค่อนข้างมาก ตั้งแต่ อินเดีย ปากีสถาน พม่า ไทย ลาว พม่า ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น โดยในเดือนพฤษภาคม บริเวณภาคเหนือ มีปริมาณฝนปี 2558 น้อยกว่าค่าเฉลี่ยถึง 55% (ภาคเหนือตอนบนบริเวณเหนือเขื่อน ฝนตกน้อยที่สุดในรอบ 18 ปี พื้นที่ภาคเหนือตอนล่างบริเวณใต้เขื่อนฝนตกน้อยที่สุดในรอบ 30 ปี) และฝนตกกระจุกตัวบริเวณกึ่งกลางตอนบนของภาค ส่วนบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯมีปริมาณน้อย ส่วนในภาคกลาง ปริมาณฝนปี 2558 น้อยกว่าค่าเฉลี่ยถึง 69% (ฝนตกน้อยที่สุดในรอบ 30 ปี)

เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.58 ผลการประชุมกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร คาดการณ์สภาพภูมิอากาศว่า ปริมาณฝนในเดือนกรกฎาคมจะมีไม่มาก และไม่สม่ำเสมอ ฝนจะเริ่มตกชุกในเดือน ส.ค. และ ก.ย. 58 และปริมาณฝนจากปัจจุบันจนถึงสิ้นฤดู ปริมาณฝนทั้งหมดจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 7-10 % ประกอบกับในปัจจุบันมีปริมาณน้ำต้นทุนเหลือเพียง 1,067 ล้าน ลบ.ม. ใช้น้ำวันละ 33 ล้าน ลบ.ม. ใช้น้ำได้ 32 วัน ใช้ได้ถึงวันที่ 24 ก.ค.58 ซึ่งยังไม่ถึงช่วงฝนตกชุกตามที่ได้คาดการณ์ไว้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำทั้งระบบ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศอย่างรุนแรง ที่ประชุมมีมติปรับลดแผนการระบายน้ำจากเดิมวันละ 33 ล้าน ลบ.ม. ลงเหลือ 28 ล้าน ลบ.ม. ในปัจจุบันมีน้ำต้นทุน 1,067 ล้าน ลบ.ม. ใช้น้ำวันละ 28 ล้าน ลบ.ม. ใช้ได้ 45 วัน ใช้ได้ถึงวันที่ 10 ส.ค.58

การลดการระบายน้ำลงจากวันละ 33 ล้าน ลบ.ม. เหลือวันละ 28 ล้าน ลบ.ม. จะยังคงใช้สนับสนุนการใช้น้ำในส่วนของการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ในอัตราวันละ 13 ล้าน ลบ.ม. เท่าเดิม โดยไปลดการส่งน้ำสำหรับภาคเกษตรจากเดิมวันละ 20 ล้าน ลบ.ม.ลงเหลือวันละ 15 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจะส่งผลกระทบกับพื้นที่ปลูกข้าวนาปีที่ปลูกไปแล้วก่อนวันประกาศขอให้ชะลอการเพาะปลูก 3.44 ล้านไร่ประมาณ 25% หรือประมาณ 0.85 ล้านไร่

จึงอยากขอความร่วมมือเกษตรกรและผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนให้ประหยัดการใช้น้ำให้มากที่สุด โดยเกษตรกรขอให้ปฏิบัติการคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่กรมชลประทานโดยเคร่งครัด

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมในนิตยสารข้าวเศรษฐกิจ ฉบับ 59

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

ขอขอบคุณข้อมูล กรมชลประทาน ไทยรัฐออนไลน์

[wpdevart_like_box profile_id=”488139084538581″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]