ทำนาอินทรีย์ ชาวนาระดับชาติแจกสูตรทำ น้ําสะเดากําจัดแมลง บอระเพ็ด ฮอร์โมน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เบื้องหลังความสำเร็จของเกษตรกรส่วนมากขึ้นอยู่กับตัวเกษตรกรเอง และการส่งเสริมสนับสนุนของภาครัฐ และเอกชน ด้วย เฉกเช่นเดียวกับสำนักงานเกษตรอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มุ่งเน้นและส่งเสริมเกษตรกรชาวนาในพื้นที่ ในเรื่องของแนวทางการลดต้นทุนการทำนา รวมทั้งด้านการตลาด การแปรรูป และการบรรจุภัณฑ์ ด้วยจุดประสงค์ที่ว่าต้องการให้เกษตรกรชาวนาในพื้นที่ กินดี อยู่ดี โดยมีหัวเรือใหญ่ อย่าง คุณวสันต์ จี้ปูคำ ผู้อำนวยการสำนักงานเกษตรกร อำเภอดอนเจดีย์ ขับเคลื่อนอยู่ ทำนาอินทรีย์

1.แปลงนาของคุณกำพล
1.แปลงนาของคุณกำพล

ทำนาอินทรีย์

คุณวสันต์เปิดเผยว่า ปัจจุบันสำนักงานเกษตรอำเภอดอนเจดีย์ งานหลัก คือ การส่งเสริมเกษตรกร ในเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องของการลดต้นทุน และการใช้สารสมุนไพรในนาข้าวป้องกันแมลง โดยการใช้สะเดา ตลอดจนแนะแนวทางเคล็ดลับการทำนา

ทั้งการใช้ไตรโคเดอร์มา การป้องกันศัตรูพืช เช่น เพลี้ย และหนอน ฯลฯ ทั้งยังส่งเสริมการแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่า เพื่อมุ่งหวังให้เกษตรกรในพื้นที่ยืนหยัดประกอบอาชีพการทำนาอย่างยั่งยืน ในส่วนการให้ความรู้แก่เกษตรกรนั้นก็จะมีการเชิญนักวิชาการต่างๆ เข้ามาให้ความรู้อยู่ตลอด อย่างเช่น ดร.สมคิด เฉลิมเกียรติ จากศูนย์บริหารศัตรูพืช และนักวิชาการต่างๆ จากหลายสถาบัน มาร่วมบรรยาย

2.คุณกำพลได้ให้สัมภาษณ์เรื่องการลดต้นทุนการทำนา
2.คุณกำพลได้ให้สัมภาษณ์เรื่องการลดต้นทุนการ ทำนาอินทรีย์ ทำนาอินทรีย์ ทำนาอินทรีย์ ทำนาอินทรีย์ 

การให้ความรู้เรื่องการลดต้นทุนในการทำนา

ปัจจุบันในพื้นที่ดอนเจดีย์มีพื้นที่การทำนาประมาณ 95,000 ไร่ ส่วนใหญ่อย่างฤดูฝนที่ผ่านมาก็จะเป็นข้าวพันธุ์ กข 31, 47, 49 และในฤดูนี้ส่วนมากก็จะเป็นพันธุ์ปทุมธานี หากเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทานก็จะเป็นพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่ หอมมะลิ หอมปทุม และหอมสุพรรณบุรี เป็นส่วนใหญ่

ในการสำรวจเกษตรกรชาวนาในพื้นที่พบว่าเกษตรกรชาวนามีต้นทุนในการทำนาอยู่ที่ประมาณ 4,000 กว่าบาท ต่อไร่ และมีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 850 กิโลกรัม ต่อไร่ ซึ่งหากมองดูตัวเลขในต้นทุนการทำนาของเกษตรกรพบว่ามีต้นทุนที่สูงมาก จึงต้องส่งเสริมความรู้ในการลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรอย่างเร่งด่วน และจากการส่งเสริมและให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องแนวทางการลดต้นทุนที่ผ่านมา

ส่งผลให้ คุณกำพล ทองโสภา ชาวนาในพื้นที่ดอนเจดีย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ในการลดต้นทุนการทำนาระดับประเทศ ซึ่งต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 2.71 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งก็แน่นอนจากความสำเร็จของคุณกำพลก็ทำให้สำนักงานเกษตรอำเภอดอนเจดีย์ ยิ้มแย้ม หายเหนื่อย กันเป็นแถวๆ เพราะมีส่วนช่วยในความสำเร็จในครั้งนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ-การลดต้นทุนการทำนา
3.ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ-การลดต้นทุนการทำนา

การป้องกันโรค-แมลง และศัตรูพืช

อีกหนึ่งเคล็ดลับการป้องกันโรค-แมลง และศัตรูพืช ที่ทางกรมส่งเสริมฯ ได้มีการอบรมให้ความรู้อยู่ตลอด คือ การป้องกันโรค-แมลง และศัตรูพืช ด้วยวิธีการใช้ “สะเดา” สมุนไพรไทยพื้นบ้านสุดอัศจรรย์ ในการป้องกันเพลี้ย และหนอนทุกๆ ชนิด

โดยการจัดอบรมให้แก่เกษตรกรชาวนา นำหลักการการใช้สารสะเดาในนาข้าวเพื่อป้องกันแมลงและศัตรูพืช ซึ่งทราบกันดีอยู่ว่าในปี 2552 พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี พบการระบาดหนักของเหล่าเพลี้ยกระโดดชนิดต่างๆ มากมาย ทั้งเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และอื่นๆ นานาชนิด ซึ่งทางสำนักงานเกษตรฯ ดอนเจดีย์ได้มีการอบรมการผลิตสารสะเดาให้แก่เกษตรกรภายในพื้นที่ เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันโรค-แมลง และศัตรูพืช ที่เข้ามาทำลายข้าวในแปลงนา ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายตามมาได้

ในส่วนสะเดาที่นำมาแจกจ่ายให้กับเกษตรกรนั้นก็มีการซื้อมาจาก บริษัท ผลิตภัณฑ์สะเดาไทย จำกัด นั่นเอง การใช้สารสะเดาในนาข้าวจะเป็นการลดต้นทุนในการใช้สารเคมีได้อย่างดี เพราะหากเกษตรกรใช้สารเคมีในการป้องกันโรค-แมลง และศัตรูพืช ก็จะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง

แต่ในทางกลับกันหากเกษตรกรเข้ามาฟังอบรมในการใช้สารสะเดา รวมทั้งเรียนรู้การผลิตสารสะเดาจากทางสำนักงานเกษตรดอนเจดีย์ ก็จะใช้แทนสารเคมีได้ และที่สำคัญสามารถปลูกขึ้นเองได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่ใช้สารสะเดากันเยอะมาก ยกตัวอย่างเช่น คุณกำพล ทองโสภา การันตีด้วยรางวัลชนะเลิศการลดต้นทุนการทำนาระดับประเทศ ในปี 2555/2556 ด้วยต้นทุน 2.71 บาท ต่อกิโลกรัม

4.ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
4.ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ทำนาอินทรีย์ ทำนาอินทรีย์ ทำนาอินทรีย์ ทำนาอินทรีย์ ทำนาอินทรีย์

การจัดตั้งศูนย์ข้าวชุมชน

คุณกำพล ทองโสภา เกษตรกรในพื้นที่ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำนามาอย่างยาวนานเกือบ 30 ปี จึงทำให้เขาค้นพบเทคนิคและเคล็ดลับต่างๆ ในการทำนามากมาย ส่งผลให้เป็นที่ยอมรับแก่เกษตรกรอย่างมาก และเป็นชาวนาต้นแบบในพื้นที่อีกด้วย ได้เข้าร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอดอนเจดีย์มากเกือบ 10 ปี

ทำให้เขาผ่านการอบรม และการศึกษาดูงานต่างๆ มามากมาย ทำให้มีความรู้ในการทำนาเป็นอย่างดี จนนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาชุมชนและหมู่บ้าน เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ในการทำนาที่แท้จริง เช่น เคล็ดลับในการลดต้นทุน หรือการผลิตฮอร์โมน น้ำหมักชีวภาพ หรือขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และปัจจุบันได้มีการจัดตั้งศูนย์ข้าวชุมชน ในการรวมกลุ่มกันผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และการแปรรูปข้าว โดยเน้นในเรื่องของคุณภาพข้าวเป็นสำคัญ ซึ่งผ่านการรับรอง GAP รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ศัตรูพืช เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรในการป้องกันยับยั้งศัตรูพืชในนาข้าวอีกด้วย เดินหน้าสู่เศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพทำนา และการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่นการปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงปลา การเลี้ยงเป็ด เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างรายได้ ซึ่งปัจจุบันคุณกำพลทำนาทั้งหมด 60 ไร่ และใช้พื้นที่บางส่วนที่ติดกับแปลงนาปลูกพืชผักสวนครัว

5.รถดำนาที่ใช้ในการทำนา
5.รถดำนาที่ใช้ในการทำนา

เทคนิคการทำนา

ในส่วนการทำนานั้น ปัจจุบันมีการปลูกข้าวทั้งหมด 6 พันธุ์ ซึ่งได้แก่ กข 49, กข 43, หอมสุพรรณ, หอมปทุม, หอมมะลิ 105 และไรซ์เบอรี่ ในการทำนาของเขานั้นจะเน้นในเรื่องการใช้สารชีวภาพแทนการใช้สารเคมี โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่มาใช้ให้ก่อเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น พืชสมุนไพร สะเดา บอระเพ็ด มาทำสมุนไพรไล่แมลง ตลอดจนใช้มูลสัตว์ต่างๆ ในการปรับบำรุงดิน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตข้าว

เทคนิคการทำนาของคุณกำพลนั้นจะเน้นการบำรุงดินเป็นอันดับแรก โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ดิน เพื่อให้รู้ว่าดินขาดธาตุใดบ้าง แล้วเพิ่มธาตุอาหารในส่วนนั้นเข้าไปเพิ่ม ตลอดจนการหว่านปอเทือง ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ เพื่อบำรุงดินแบบปุ๋ยพืชสด และใช้การหมักฟางด้วยน้ำหมักชีวภาพ แทนการเผาตอซัง และฟางข้าว เพื่อเป็นการรักษาหน้าดิน และปรับสภาพดิน ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

6.จุดเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
6.จุดเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

การใส่ปุ๋ยต้นข้าว

หลังจากมีการบำรุงดินแล้วในการทำนาของเขานั้นจะใช้รูปแบบการทำนาดำ ซึ่งในการทำนาดำนั้นจะใช้รถดำนาของตนในการดำนา โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่เกิน 20 กิโลกรัม ต่อไร่ และใช้ไตรโคเดอร์มาในการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งโรคที่เกิดจากเชื้อรา และป้องกันแมลงศัตรูพืช และหลังจากการดำนาก็จะสูบน้ำเข้าแปลงนา “ถ้าจะดำพรุ่งนี้ วันนี้ก็เอาน้ำออก ทำเหมือนแบบนาหว่าน เพราะถ้าน้ำมาก ลูกระลอกมันจะไปโดนต้นข้าวล้มได้ พอดำเสร็จก็เอาน้ำเข้า จากนั้นอีก 5 วัน ก็จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และถ้าหากดินมีความเสื่อมโทรมก็จะหว่านยูเรียไร่ละ 5 กิโลกรัม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ข้าวออกราก และกระตุ้นในการแตกกอของข้าว เพื่อที่จะได้คุมดิน แล้ววัชพืชก็จะไม่ขึ้น” คุณกำพลเผยเคล็ดลับ

7.ฮอร์โมนปลา
7.ฮอร์โมนปลา
ฮอร์โมนผลไม้
ฮอร์โมนผลไม้
น้ำหมักรกหมู
น้ำหมักรกหมู

การบำรุงและดูแลรักษาต้นข้าว

นอกจากนี้ยังใช้ฮอร์โมนไข่ ฮอร์โมนปลา ฮอร์โมนผลไม้ และน้ำหมักรกหมู ในการบำรุงต้นข้าวเพื่อให้ต้นข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ดี ทั้งการบำรุงลำต้นให้แข็งแรง บำรุงใบ และบำรุงเมล็ดข้าวไม่ให้เมล็ดลีบ และที่สำคัญยังเป็นการเพิ่มผลผลิตได้อย่างดี

ใช้สะเดาเพื่อป้องกันและยับยั้งแมลง

จากการเข้าอบรมส่งเสริมของทางสำนักงานเกษตรอำเภอดอนเจดีย์ ที่มีแนวทางใช้สะเดาเพื่อป้องกันและยับยั้งแมลงศัตรูพืชในนาข้าว โดยการสอนวิธีการผลิต  และการใช้สารสกัดจากสะเดาในนาข้าว ซึ่งคุณกำพลได้นำหลักการนี้มาใช้ในการทำนาของตน ด้วยการใช้บอระเพ็ดควบคู่กับคุณสมบัติของสะเดา ที่มีกลิ่นที่รบกวนแมลง ไม่ให้แมลงผสมพันธุ์ และด้วยสารสะเดาที่มีผลจะออกฤทธิ์ในการดูดซึมเข้าผนังร่างกายโดยตรง หรือโดยการกิน  และเป็นสารการยับยั้งการกิน เป็นสารไล่แมลง และยังดูดซึมเข้าทางรากได้ด้วย ทำให้แมลงตาย เมื่อกัดกินพืช

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทำให้หนอนไม่สามารถลอกคราบ

นอกจากนี้ยังทำให้หนอนไม่สามารถลอกคราบจากระยะหนึ่งไปยังอีกระยะหนึ่ง ซึ่งใช้ได้ผลต่อศัตรูพืชมากมาย อาทิ หนอนผีเสื้อ หนอนด้วง เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด ส่วนมากแมลงจะตายในภายหลังได้รับสารสกัดสะเดา ประมาณ 3-7 วัน โดยประมาณ ถือได้ว่าเป็นการลดต้นทุน ดีกว่าการใช้สารเคมี ที่ได้จากการกำจัดศัตรูพืช ซึ่งมีราคาสูง 400-500 บาท ต่อขวด แต่หากเทียบกับการใช้สะเดา มีต้นทุนอยู่เพียง 40 บาท ซึ่งสามารถลดต้นทุนได้อย่างดี และที่สำคัญปลอดภัยแก่เกษตรกรต่อผู้ใช้อีกด้วย

8.ทำนาอินทรีย์ โดยใช้น้ำหมักจากสะเดา ใช้ในแปลงนา
8.ทำนาอินทรีย์ โดยใช้น้ำหมักจากสะเดา ใช้ในแปลงนา

ขั้นตอนการผลิตสะเดา

ในส่วนของวิธีการผลิตสารสะเดานั้น ขั้นตอนแรกด้วยการนำสะเดามาทำการแกะเอาเนื้อภายนอกออกให้เหลือแต่เมล็ด จากนั้นนำไปผึ่งในร่มให้แห้ง เมื่อสะเดาแห้งได้ที่แล้วก็นำไปบด หรือทุบ ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้การสกัดสารเมล็ดสะเดาได้ผลดีขึ้น แล้วนำสะเดาที่ได้ไปแช่น้ำในอัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 1-2 ลิตร เมื่อแช่เสร็จแล้วก็จะทำการคนให้เข้ากัน แล้วทิ้งไว้ 1 คืน เมื่อครบ 1 คืน แล้ว จะนำไปกรองแยกเอาแต่น้ำยา และนำไปใช้ในการป้องกันแมลงต่อไป แต่การฉีดควรจะผสมกับน้ำยาจับใบ เพื่อให้คุมใบ เพื่อให้เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันแมลงศัตรูพืชมากขึ้น

การใช้สารสกัดสะเดาในนาข้าว คุณกำพลกล่าวเสริมว่าจะใช้สารสะเดา และบอระเพ็ด ควบคู่กันในการฉีดต้นข้าว โดยจะใช้ฉีดต้นข้าวในช่วงข้าวเริ่มงาม ช่วงใบโค้ง และจะต้องสังเกตดูอีกว่าโรค-แมลง อยู่ในระยะไหน ถึงจะทำการฉีดป้องกันอีกครั้ง ถ้าอยู่ในช่วงระยะอ่อน จะได้ผลดีมากๆ จากการใช้สารสะเดาในนาข้าว รวมทั้งการใช้ฮอร์โมน และน้ำหมักชนิดต่างๆ รวมทั้งไตรโคเดอร์มา

9.เครื่องสีข้าวที่ใช้
9.เครื่องสีข้าวที่ใช้
ข้าวพันธุ์-กข.31
ข้าวพันธุ์-กข.31
ตัวอย่างข้าวที่เพิ่งสีเสร็จ
ตัวอย่างข้าวที่เพิ่งสีเสร็จ

รายได้จากผลผลิตข้าว

และการจัดการในแปลงนาอย่างมีระบบ ทำให้ปัจจุบันเขามีต้นทุนการทำนาเพียง 2.71 บาท ต่อกิโลกรัม และมีผลผลิตข้าวปทุม 130-140 บาท ต่อไร่ และข้าว กข 47, 49 110-120 บาท ต่อไร่ หากรวมรายได้ในการทำนาใน 1 ปี ในช่วงราคาข้าวแพงจะมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 1,000,000 บาท ต่อปี (ยังไม่หักต้นทุน) แ

ต่หากช่วงราคาข้าวถูกก็จะได้อยู่ที่ประมาณ 400,000-500,000 บาท และเมื่อรวมกับการรับจ้างดำนาใน 1 ปี ซึ่งอยู่ที่ 1,000 กว่าไร่ โดยคิดค่าจ้างอยู่ที่ 1,200 บาท ก็จะมีรายได้ในส่วนนี้ประมาณ 1,000,000 บาท ต่อปี หากรวมกับรายได้ในการทำนา ทำให้คุณกำพลมีรายได้ในแต่ละปีสูงถึง 2,000,000 บาท ซึ่งแน่นอนทำให้ครอบครัวทองโสภามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

10.คุณกำพลใช้สารสะเดาลดต้นทุนการทำนา
10.คุณกำพลใช้สารสะเดาลดต้นทุนการทำนา ทำนาอินทรีย์ ทำนาอินทรีย์ ทำนาอินทรีย์ ทำนาอินทรีย์

ฝากถึง…เกษตรกรชาวนา

ท้ายนี้คุณกำพลฝากถึงเกษตรกรชาวนาว่า “ข้อดีของสารสะเดา อย่างแรก คือ ความปลอดภัย และต้นทุนต่ำกว่าการใช้เคมี ซึ่งการใช้สารสะเดามีผลดีต่อชาวนามาก ช่วยยับยั้งป้องกันแมลงศัตรูพืช และเป็นการช่วยตัดวงจรได้เป็นอย่างดี ก็อยากจะให้เกษตรกรลองนำไปใช้ดู เพื่อที่จะช่วยป้องกันต้นข้าวจากแมลงศัตรูพืช แทนการใช้เคมี ก็จะทำให้ลดต้นทุนได้มาก จะได้มีกิน มีใช้ กันมากขึ้น”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณ

คุณกำพล ทองโสภา,คุณวสันต์ จี้ปูคำ ผู้อำนวยการสำนักงานเกษตรกรอำเภอดอนเจดีย์,ดร.สมคิด เฉลิมเกียรติ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จ.สุพรรณบุรี