น้ําเชื่อม organic 🌾 จาก ข้าวไทยพื้นเมือง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

น้ําเชื่อม ออร์แกนิก ผลิตจากข้าวไทยพื้นเมือง ด้วยนวัตกรรม

คำว่า “ ข้าว ” เมื่อกล่าวถึงทุกคนจะรู้จักกันดี มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa จัดเป็นพืชสายพันธุ์เดียวกับหญ้า ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพใช้เป็นอาหารหลัก และยังสามารถนำข้าวมาทำเป็นอาหารชนิดอื่น ๆ ได้อย่างมากมายและยังเป็นวัตถุดิบหลักในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมายทั้งอาหารคาว หวาน เครื่องสำอาง ฯลฯ

และยังมีสารอาหารที่ให้ประโยชน์อย่างล้นเหลือแก่ร่างกายอีกด้วย โดยเฉพาะ “ ข้าวพันธุ์พืชเมือง ” ที่ถูกลืมเลือนไป ข้าวพื้นเมืองแต่ละสายพันธุ์ต่างมีคุณสมบัติพิเศษซึ่งต่างกันออกไปมีคุณค่าของสารอาหารในสัดส่วนที่สูงกว่าข้าวทั่วไปที่มีการส่งเสริมกันในปัจจุบันทั้ง “ข้าวหอมะลิแดง”  หรือ “ข้าวก่ำ”  จะมีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินเอที่สูงมาก บางสายพันธุ์ยังมีวิตามินอีสูง มากกว่าถึง 26 เท่าของข้าวทั่วๆ ไป จึงทำให้เกิดผู้ที่เห็นคุณค่าของข้าวพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้นำมาปรับปรุงพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับของตลาดและส่งออกไปต่างประเทศ

บริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย ออร์แกนิก จำกัด เป็นบริษัทเล็ก ๆ ที่มีความอบอุ่นอยู่กันแบบพี่น้องได้ มีชื่อเรียกบริษัทสั้น ๆ ว่า “ ซีออร์แกนิก ” อยู่ในเครือ “ CPP Group ”

น้ําเชื่อม organic
น้ําเชื่อม organic

ดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 1999 ที่มี คุณ ชัชพล พิทยาธิคุณ หรือ คุณหนุ่ม เป็นกรรมการผู้จัดการที่มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้านเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออกเป็นหลัก  เช่น แป้งมันสำปะหลังออร์แกนิก, น้ำตาลออร์แกนิก, กลูโคสและฟรุกโตสออร์แกนิก เป็นต้น

คุณ ปิยะรัตน์ กระจ่างเนตร์ หรือ “ คุณไผ่ ” เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ บริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย ออร์แกนิก จำกัด ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านทีมงานนิตยสารข้าวเศรษฐกิจว่าบริษัทมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่มีคุณภาพเพื่อการส่งออกเป็นหลัก รวมไปถึงการร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยที่มีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำความรู้มาใช้ปรับปรุงพัฒนาในองค์กรต่อยอดธุรกิจให้มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งไทยและต่างประเทศ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้านการสนับสนุนจาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) หรือ NIA เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ด้วยนวัตกรรมเกิดขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการปลูกข้าวมากที่สุด มีชาวนามากที่สุดและผลิตข้าวเพื่อการส่งออกมากที่สุดตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา จึงมีแนวคิดที่อยากจะให้ข้าวไทยเป็นมากกว่าข้าวเพื่อการบริโภคเพียงอย่างเดียว “เราอยากเห็นรอยยิ้มของเกษตรกรจริง ๆ อยากให้ข้าวไทยเป็นมากกว่าข้าวและสัญญาว่า ข้าวไทยต้องเป็นมากกว่าข้าวแน่นอน  ต้องขอบคุณเกษตรกรไทยทุกท่านที่ยังทำเกษตรอยู่ ยังทำนาข้าวและอยากส่งมอบกำลังใจเล็กๆ  ความตั้งใจเล็กๆที่ต้องการทำเพื่อชาวนาและต้องการพัฒนาข้าวไทยด้วยจึงได้ร่วมกับสำนักงานวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)

ภายใต้โครงการดีๆอย่างนี้  แม้ว่าบริษัทจะเป็นเพียงองค์กรเล็กๆ แต่ก็ยังคำนึงถึงเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวให้เราทาน  มีอาหารที่สมบูรณ์และทำให้ประเทศไทยเกิดการขับเคลื่อนต่อไปได้  ซึ่งเราสัญญาว่าองค์กรเล็ก ๆ แห่งนี้จะพยายามสรรสร้างสิ่งที่ดี ๆ เพื่อพัฒนาเกษตรกรไปพร้อมๆกับการเพิ่มคุณภาพชีวิตและ เพิ่มมูลค่าผลผลิตให้กับเกษตรกรต่อไปแน่นอน” คุณไผ่อธิบายถึงสาเหตุที่ต้องให้ความสำคัญกับชาวนา  นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท จนกระทั่งได้รับการสนับสนุนจาก สนช.ตั้งแต่โครงการแรกเมื่อปี 1999 มาจนถึงโครงการในปัจจุบัน ดังนี้

  1. ออร์แกนิกเรสเตอร์รองที่สมุย “ชื่อสรีสมุย” เป็นการเพาะปลูกในพื้นที่และมาปรุงเป็นอาหารให้ลูกค้าต่างชาติที่มาเที่ยวที่สมุย และงานตรวจรับรองพื้นที่เป็นพื้นที่ต้นแบบในการศึกษาที่ “เกาะม้า” อ.เกาะพงัน จ.สุราษธานี
  2. ออร์แกนิกรีสอร์ทที่จังหวัดเชียงใหม่
  3. โครงการ Dericeous” น้ําเชื่อม ออร์แกนิกจากข้าวพื้นเมือง (ไรซ์ไซรัป) ที่ได้รับการสนับสนุนตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งยังเป็นโครงการนำร่องจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันควบคู่ไปกับวิจัยพัฒนาต่อยอดอย่างไม่หยุดยั้ง
  4. โปรเจค “เนเชอรัลสวิมมิงพูล” (Natural Swimming pool) สระว่ายน้ำระบบธรรมชาติบำบัด และที่กำลังเสนอโครงการอีกตัวคือเป็นแพทย์ทางเลือกจะทำในส่วนเกษตรกรรมไทย นอกจากโครงการที่ได้การสนับสนุนแล้วยังมี “แกลเลอรี่” อยู่หลายที่ ชื่อ “นวลจันทร์ แจ่มจันทร์” และ “ดวงจันทร์” ที่ อ.บางคล้า  จ.ฉะเชิงเทราซึ่งเป็นพื้นที่ในการนำเสนอโครงการฯของบริษัทที่ได้เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อมุ่งเน้นการให้ความรู้กับผู้ที่สนใจให้สามารถเข้ามาศึกษาดูงานได้  นอกจากนี้ยังมีห้องแลปเพื่อพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการต่อยอดให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับข้าวได้ในอนาคต
ทุ่งข้าวอินทรีย์ ผลิต น้ําเชื่อม
ทุ่งข้าวอินทรีย์ ผลิต น้ําเชื่อม

อีกทั้งแนวทางการเกษตรอินทรีย์ยังได้การตอบรับที่จากลูกค้าเป็นอย่างดี ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญและเป็นหัวใจในการทำ “ เกษตรอินทรีย์ ”  ที่จะสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรและผู้บริโภคหันมาทำเกษตรอินทรีย์กันให้มากขึ้น เนื่องจากลูกค้าที่ซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์วันนี้ไม่ใช่เพียงแค่ต้องการซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังซื้อความเป็นมาของตัวสินค้าด้วย

นอกจากนี้ผลกำไรที่ได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์บางส่วนนั้นจะนำไปพัฒนาสังคมต่อไปภายใต้งาน CSR ของบริษัทที่จำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่องทุกปีและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม  เช่น รอบๆโรงงานจะมีการเพาะปลูกอยู่ทางบริษัทก็จะเข้าไปส่งเสริมเกษตรกรเรื่องการเพาะปลูกได้  การทำนุบำรุงวัด  การสนับสนุนโรงเรียนและชุมชนรอบข้างให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น เป็นต้น  นั่นหมาความว่าลูกค้าทุกท่านจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาตรงนี้ที่เห็นผลได้ชัดเจนเป็นรูปธรรมจากสิ่งที่บริษัทได้ลงมือทำจริง ๆ

เราเป็นธุรกิจที่มุ่งเน้นการส่งมอบการเรียนรู้  ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ตามความจำเป็นและโอกาส ที่ต้องบ่มเพาะด้วยความการเอาใจใส่ ในพืชที่ทำจริงๆ ” คุณไผ่ยืนยันพร้อมกับเผยถึงทิศทางของตลาดออร์แกนิกว่ามีความโชคดีมากเพราะแนวทางการทำงานค่อนข้างชัดเจนและข้อมูลที่ได้รับมาตลาดทั้งในและต่างประเทศยังคงสดใส

ข้าวอินทรีย์
ข้าวอินทรีย์

นอกจากนี้ บริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย ออร์แกนิก จำกัด ยังมีมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ เอาจริงเอาจังกับทุกรายละเอียดเพราะทุกรายละเอียดคือประกอบที่รวมกันจนกลายเป็นสิ่งใหญ่ๆ ได้ 1 สิ่งเสมอและอีกหนึ่งโครงการแห่งความประทับใจด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพจากนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจาก NIA ก็คือ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โครงการ “ Dericeous น้ําเชื่อม ออร์แกนิกจากข้าวไทยพื้นเมือง ” ที่มุ่งเน้นการใช้กรรมวิธีในการเปลี่ยนโมเลกุลแป้งในข้าวให้ผ่านกระบวนการไฮโดรไลซีสด้วยเอนไซม์ 2 ขั้นตอน คือ Liquefaction ใช้เอนไซม์แอลฟาอะมิเลสในการย่อยให้เป็นแป้ง และ Saccharification ใช้เอนไซม์กลูโคอะมิเลสในการย่อย

Liquefied starch เพื่อให้มีองค์ประกออบสำคัญ คือ “ น้ำตาล ” น้ำตาลกลูโคส  น้ำตาลมอลโตส และคาร์โบไฮเดรตสายสั้นที่อุดมไปด้วยสารสำคัญที่มีคุณค่าทางอาหารอื่น ๆ ตามชนิดของสายพันธุ์ข้าวไทยพื้นเมืองที่ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นจึงกระทั่งเป็นมากกว่าข้าว  มากกว่าการเพิ่มมูลค่า  มีประโยชน์และมีคุณค่ามาก โดยโครงการมีอายุประมาณ 1 ปี

แต่เนื่องจาก “ ผลิตภัณฑ์ด้านออร์แกนิก ” ส่วนใหญ่จะมีอายุการเก็บรักษาไว้ได้ค่อนข้างสั้น กว่าจึงได้มีการขอคำปรึกษาจากต่างประเทศเพื่อค้นหาสารออร์แกนิกหรือสารอินทรีย์บางชนิดที่สามารถยืดอายุของสินค้าออร์แกนิกออกไปได้  โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคที่ทุกกลุ่ม ทุกอายุสามารถทานได้ที่มีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูงมากเพราะข้าวพันธุ์พืชเมืองหายาก กระบวนการผลิตก็ค่อนข้างซับซ้อน ตัวเลขที่เกิดขึ้นจึงจับต้องได้ ต้นทุนการผลิตจึงเพิ่มขึ้น ราคาจึงมีการปรับตัวเลขไปอีก 70 – 80 % ของราคาปกติ

โดยเฉพาะแหล่งที่มาของข้าวพื้นเมืองที่ใช้ในโครงการฯ Dericeous ทั้ง 8 สายพันธุ์ที่ทางบริษัทได้พยายามค้นหาพันธุ์ข้าวเท่าที่ยังพอมีอยู่ซึ่งทำให้บริษัทได้ข้าวพื้นเมืองจากทั้ง  4  ภูมิภาคของประเทศไทยดังนี้

ข้าวอินทรีย์ น้ําเชื่อม
ข้าวอินทรีย์ น้ําเชื่อม

ภาคเหนือ

ข้าวเหนียวดำ ข้าวก่ำดอย (ข้าวก่ำล้านนา Gls) เป็นข้าวพื้นเมืองทางภาคเหนือของไทยพบที่ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ข้าวก่ำล้านนามีวิตามิน B9 วิตามินE เบต้าแคโรทีน ลูทีน ทองแดง ธาตุเหล็ก และแกรมม่าออริซานอล สารแอนโทไซยานินสูงซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ  2.ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัว เป็นข้าวพื้นเมืองภาคเหนือของไทยพบที่ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ข้าวเหนียวดำพันธุ์ลืมผัวมีวิตามิน B9 วิตามินE  ธาตุเหล็ก แกรมม่าออริซานอล สารแอนโทไซยานินสูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมีประโยชน์ต่อร่างกาย

ภาคกลาง

ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ เป็นข้าวพื้นเมืองภาคกลางของไทยพบที่ อ.ดอนพุด จ.สระบุรี ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) มีวิตามิน B1, B2 ,B9 ,E ไนอะซีน และธาตุเหล็ก 2.ข้าวกันตัง พบที่ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี มีวิตามิน B1, B9, E ไนอะซีน และธาตุเหล็ก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ภาคอีสาน

1.ข้าวเหนียวเล้าแตก พบที่ อ.กุดชุม จ.ยโสธร มีวิตามิน B1, B2 ,B9 ,E ไนอะซีน และธาตุเหล็ก

2.ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ พบที่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) มีวิตามิน B1, B9 ,E ไนอะซีน และธาตุเหล็ก

ภาคใต้

1.ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง พบที่ อ.เมือง จ.พัทลุง ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็นรายแรกของโลก มีวิตามิน B1, B2 ,B3, B9 ,E มีแคลเซียม ธาตุเหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม เซลิเนี่ยม และแกรมม่าออริซานอล

2.ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร  พบที่ อ.ปะทิว จ.ชุมพร ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) มีลูทีน วิตามิน B3 ไนอะซีน

 

ดังนั้น “ นวัตกรรม ” และ “ เทคโนโลยีออร์แกนิก ” ที่มี  International Standard รองรับนั้นเป็นสิ่ง ที่ผู้ประกอบการสามารถต่อยอดพัฒนาได้เป็นอย่างดี  รวมไปถึงการส่งเสริมและให้คำแนะนำด้านการจดบันทึกแก่เกษตรกร  การควบคุม  การแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน   เนื่องจากก่อนที่จะเริ่มทำโครงการได้มีการศึกษาเกี่ยวกับข้าวแต่ละชนิดที่มีจุดเด่นที่แตกต่างกันโดยได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ “กรมการข้าว” ที่เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษาและข้อมูลของข้าวพร้อมกับแหล่งผลิตข้าวแต่ละชนิดเป็นอย่างดี

เมื่อได้ข้าวมาแล้วก็จะนำเมล็ดข้าวส่งไปตรวจวิเคราะห์หาคุณค่าทางโภชนาการก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ภายใต้เทคโนโลยีและทีมอาร์ แอนด์ ดี (R & D) ของบริษัท เพื่อนำมาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานที่มีการรับรองการผลิตแบบ BRC (บีอาร์ซี) ที่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ “ไรซ์ไซรัป” คงคุณค่าของข้าวไว้ให้มากที่สุด ที่สำคัญ “สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(สนช.) หรือ NIA ”ไม่ใช่แค่ให้การสนับสนุนแต่ยังได้ติดตามรายละเอียดโครงการในทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง  ตลอดจนการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดในองค์กรได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันจนเกิดเป็นพันธมิตรขึ้นมาอย่างเหนียวแน่น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ Dericeous

ต้องบอกก่อนว่าในท้องตลาดวันนี้ยังไม่มีใครผลิต “ ไรซ์ไซรัป ” ขึ้นมาตอบโจทย์ในเชิงการค้าได้ ดังนั้นโครงการจึงเป็นนวัตกรรมที่ดี  มีจุดเด่นสิ่งแรกคือกลิ่นที่หอม และมีประโยชน์จากข้าวที่มาจากพันธุ์พื้นเมืองที่ยังมีความบริสุทธิ์อยู่สูง อีกทั้งยังคงเอกลักษณ์และลักษณะเด่นของข้าวพื้นเมืองของข้าวเอาไว้ได้อีกด้วย  ซึ่งการต่อยอดในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการที่เกิดจากความร่วมมือกันทั้ง 2 ประเทศคือระหว่างประเทศเบลเยียมโดยกลุ่มบริษัทที่ผลิต ช็อคโกแลตฯ และประเทศไทย  ที่ได้มีแนวคิดในการผลิตไรซ์ไซรัปผสมกับช็อคโกแลตขึ้นมาในรูปแบบของขนมขบเคี้ยว

“ก่อนจะนำโครงการที่ได้ส่งเข้าประกวดแต่ไม่ผ่าน  เนื่องจากบริษัทมีทีมงานไม่มากพอจึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากหลาย ๆ หน่วยงาน ที่แม้จะไม่ได้เป็นผู้ผลิต แต่ก็เป็นผู้ส่งออกที่ต้องมีการควบคุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการแรกจนขั้นตอนสุดท้ายในการส่งออกไปยังตลาดหรือประเทศปลายทาง

แม้โครงการนี้จะสามารถใช้นวัตกรรมผลิต น้ําเชื่อม ออร์แกนิกจากข้าวไทยพื้นเมือง Dericeous ได้แต่วันนี้ยังเป็นเพียงโครงการต้นแบบที่ยังไม่ได้ทำเป็นเชิงพาณิชย์ด้วยข้อจำกัดหลายประการที่ต้องมีการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริงที่ต้องมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานกว่านี้ด้วย

คุณไผ่ยืนยันถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเดิมที่บริษัทได้มีการส่งออก “แป้งมันสำปะหลังออร์แกนิก” ในเชิงการค้าอยู่แล้ว แต่ทว่าการส่งออกยังมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับแป้งมันสำปะหลังทั่วไป

 

สนใจและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย ออร์แกนิก จำกัด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นิคมอุตสาหกกรรมบางชัน 36 หมู่ 14 ซอยเสรีไทย 87 ถนนเสรีไทย

 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510

โทร. 02-540-3595 แฟกซ์. 02-540-3597

ขอขอบคุณ

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)

73/2 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไทย เขตราชเทวี กทม. 10400 โทร. 02-017-5555

โฆษณา
AP Chemical Thailand

น้ําเชื่อม

ออร์แกนิก ผลิตจากข้าวไทยพื้นเมือง ด้วยนวัตกรรม น้ําเชื่อม ข้าวผลิต น้ําเชื่อม น้ําเชื่อม organic น้ำเชื่อม ออร์แกนิก ผลิตจากข้าวไทยพื้นเมือง ด้วยนวัตกรรม น้ําเชื่อม ข้าวผลิต น้ําเชื่อม น้ําเชื่อม organic น้ำเชื่อม ออร์แกนิก ผลิตจากข้าวไทยพื้นเมือง ด้วยนวัตกรรม