ปลูกข้าวแบบอินทรีย์ ข้าวหอมปทุม + ข้าวไรซ์เบอร์รี่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปลูกข้าวแบบอินทรีย์ แบบ “ ผู้ใหญ่มนัส ” แกนนำชาวนาคลอง 12  มุ่งผลิตข้าวปลอดภัยป้อนตลาดสุขภาพ

การทำนาของชาวนาส่วนใหญ่ยังยึดหลักการทำนาแบบใช้สารเคมีจำนวนมาก เรียกได้ว่าตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดินถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยวเลยก็ว่าได้ เพื่อที่จะได้ผลผลิตที่มาก มีน้ำหนักที่สูง ใช้ทั้งยาฆ่าแมลง สารกำจัดศัตรูพืชต่าง ๆ สารเคมีที่เร่งผลผลิต

เนื่องจากในอดีตราคาข้าวที่ค่อนข้างสูง ทำให้ชาวนาทำกันแบบต่อเนื่องแทบตลอดปี เมื่อเก็บเกี่ยวก็เตรียมดินเพื่อที่จะทำในรอบต่อไป เลยจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ชาวนาต้องใช้เคมีจำนวนมาก บางคนใช้สารเคมีเยอะ จนไม่กล้าที่จะกินข้าวตัวเองเลยก็ว่าได้ แต่ปัจจุบันราคาข้าวตกต่ำ อีกทั้งการใช้เคมีมีต้นทุนที่สูง แต่ในทางกลับกันราคาข้าวกลับตกต่ำ ทำให้ได้ผลกำไรน้อย

4.การผลิตข้าวขาวอีก-25-ไร่-การปลูกข้าว
4.การผลิตข้าวขาวอีก-25-ไร่-การปลูกข้าว

ผู้ใหญ่มนัส  ท่าไข่ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 7 ต.บึงคอไห อ.องครักษ์  จ.ปทุมธานี  ซึ่งเมื่อก่อนการทำนาของผู้ใหญ่เป็นการทำนาแบบใช้สารเคมี ซึ่งมีต้นทุนสูง จึงได้เริ่มหันมาทำนาแบบอินทรีย์

โดยได้แนวทางจากอาจารย์สกล ที่เน้นการทำนาแบบอินทรีย์ล้วนๆ ตั้งแต่การเตรียมดิน ผู้ใหญ่มนัส จึงเริ่มทำตามโดยมุ่งเน้นการทำนาที่ไม่เผาตอซังฟางข้าว หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วก็จะวิดน้ำเข้านา แล้วใช้รถไถย่ำตอซังฟางข้าว จากนั้นจะใส่สารย่อยสลายตอซังหมักทิ้งไว้นาน 2 สัปดาห์

ตอซังฟางข้าวจะค่อยๆ ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยหมักชั้นดี ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยได้ดี ส่วนพันธุ์ข้าวที่ผู้ใหญ่ ปลูกข้าวแบบอินทรีย์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จะมีอยู่  2 สายพันธุ์ คือ ข้าวหอมปทุมฯ จำนวน  25 ไร่ และ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จำนวน  25 ไร่ รวมมีพื้นที่ทำนาข้าวมากกว่า 50 ไร่

วิธีคัดเลือกเมล็ดพันธุ์

โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้จะมีคัดเลือกเก็บเอาไว้จากฤดูกาลที่แล้ว ก่อนจะทำการเพาะ ปลูกข้าวแบบอินทรีย์ แบบนาหว่านน้ำตม ผู้ใหญ่จะนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปแช่น้ำเพื่อคัดเมล็ดที่ลีบออกไป แล้วค่อยแช่เมล็ดพันธุ์กับบอระเพ็ด ค้างไว้ 1 คืน เพื่อป้องกันศัตรูพืชต่างๆ กินเมล็ดพันธุ์ข้าว

หลังหว่านลงนาแล้ว เมื่อครบ 1 คืน ก็จะนำขึ้นมาใส่กระสอบ แล้วบ่มตาอีก 2 คืน ก่อนนำไปข้าวไปหว่านในแปลงนาที่ได้เตรียมเทือกไว้แล้ว โดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตรา 6  กิโลกรัมต่อ 1ไร่

6.การฉีดพ่นสารชีวภาพแบบลดต้นทุนการใช้สารเคมี
6.การฉีดพ่นสารชีวภาพแบบลดต้นทุนการใช้สารเคมี

การดูแลรักษาหลังหว่าน

ขั้นตอนการดูแลรักษาจะเริ่มต้นขึ้นหลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์ได้ 2 วัน ก็จะฉีดพ่นสารคุมหญ้ารอบที่ 1 หลังจากนั้นเพียง 7 วัน ก็จะฉีดพ่นรอบที่ 2 ในระหว่างที่คุมหญ้านั้นจะไม่ไขน้ำเข้านา  แต่หลังจากนั้นไม่นานจะเริ่มปล่อยน้ำเข้านาเพื่อไม่ให้หญ้าขึ้นได้

ถัดมาอีก 15 วัน ชาวนาทั่วไปจะเริ่มใส่ปุ๋ยรอบที่ 1 แต่ผู้ใหญ่จะไม่ใส่ปุ๋ยในช่วงนี้ เนื่องจากผู้ใหญ่ได้มีการนำดินไปตรวจที่กรมพัฒนาที่ดินแล้วพบว่ามีค่าไนโตรเจนในดินเพียงพอต่อความต้องการของข้าว

แต่จะใส่ปุ๋ยเมื่อต้นข้าวอายุได้ประมาณ  20 วัน ในเวลาต่อมาก็จะฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ ยาป้องกันเชื้อรา และยาป้องกันแมลง ที่ทำจากสมุนไพร ที่ผู้ใหญ่ผลิตขึ้นใช้เอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ผู้ใหญ่มนัสและคู่ชีวิต
ผู้ใหญ่มนัสและคู่ชีวิต

การทำฮอร์โมนไข่

ซการทำฮอร์โมนไข่ จะใช้ไข่เป็ด หรือไข่ไก่ 100 ฟอง, ยาคูลท์ 1ขวด, แป้งข้าวหมาก 1 ลูก, กากน้ำตาล 2  กิโลกรัม ขยำไข่ทั้งเปลือกกับส่วนผสมทั้งหมด

เสร็จแล้วหมักไว้ประมาณ 21 วัน อัตราการใช้ 300 CC.ต่อน้ำ 200 ลิตร

จะฉีดทุกๆ 7 – 10 วัน ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเก็บเกี่ยว โดยเน้นป้องกันไม่ให้แมลงเข้ามาทำลายต้นข้าวในแปลงนาได้ เพราะถ้าเกิดการระบาด โรคและแมลงขึ้นในนาข้าวแล้ว สารชีวภาพจะคุมไม่อยู่ อีกทั้งการใช้สารอินทรีย์ต้องฉีดพ่นบ่อยมากกว่านาข้าวแบบอื่น ๆ

จึงต้องลดต้นทุนด้วยการใช้โบว์เวอร์ขนาดใหญ่ในการฉีดพ่นสารชีวภาพ ที่ช่วยลดต้นทุนให้เหลือเพียง 1,500 บาท/รอบการฉีดพ่นสารชีวภาพ / พื้นที่ 50ไร่ จากเดิมที่มีต้นทุนการฉีดพ่นที่ 3,000 บาท / รอบ / พื้นที่ 50 ไร่ ก่อนจะใส่ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อข้าวมีอายุได้ 40 วัน

5.การใช้เครื่องจักรฉีดพ่นสารชีวภาพแบบลดต้นทุน-การเก็บเกี่ยว
5.การใช้เครื่องจักรฉีดพ่นสารชีวภาพแบบลดต้นทุน-การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

ด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตของข้าวหอมปทุม จะเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุครบ 120 วัน ส่วน ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จะมีอายุการเก็บเกี่ยวได้เมื่อครบ 130 วัน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 60 ถัง / ไร่ เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จผู้ใหญ่ก็จะเพิ่มมูลค่าด้วยการสีข้าวไรซ์เบอร์รี่แบบแพ็คถุงสุญญากาศเพื่อจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไปที่รักสุขภาพ ซึ่งได้ราคาดีกว่าขายข้าวเปลือกให้กับโรงสีทั่วไป อีกทั้งผลผลิตเหล่านี้ยังเป็นที่ต้องการตลาดมากขึ้น และผู้บริโภคยังได้ทานข้าวที่ปลอดภัย และไร้สารเคมี

ผู้ใหญ่ย้ำว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ของหมู่ที่ 7 ตำบลบึงคอไห ส่วนใหญ่ ปลูกข้าวแบบอินทรีย์ พันธุ์ กข 31 เป็นหลัก เพราะอายุสั้นกว่า ดูแลง่ายกว่า ทนโรคและแมลงมากกว่า แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังเน้นการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมี และขายข้าวให้กับโรงสีข้าวทั่วไปเป็นหลัก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.การทำข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์-พื้นที่่-25-ไร่
3.การทำข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์-พื้นที่่-25-ไร่

ปลูกข้าวแบบอินทรีย์

ซึ่งผู้ใหญ่ได้มีการแนะนำและเชิญชวนให้ลูกบ้านหันมาปลูกข้าวแบบอินทรีย์ ซึ่งก็มีลูกบ้านบางส่วนสนใจและหันมาทดลอง ปลูกข้าวแบบอินทรีย์ ปลอดภัยแบบค่อยเป็นค่อยไป ที่ยังต้องใช้อินทรีย์และเคมีแบบผสมผสาน เนื่องจากชาวนาบางรายยังขาดองค์ความรู้ที่ดีในเรื่องของการใช้ จุลินทรีย์ ที่ถูกต้อง และเหมาะสม ในขณะที่ชาวนาบางส่วนก็ยังเชื่อว่าการใช้เคมีนั้นยังได้ผลผลิตที่ดี จึงไม่สนใจทำข้าวปลอดภัยมากเท่าที่ควร

เราไปเปลี่ยนพฤติกรรมชาวบ้านมันยาก  ต้องให้ชาวบ้านเรียนรู้เอง ทั้งการใช้เคมีที่ต้นทุนสูงกว่า  แล้วราคาข้าวตกต่ำ ขายข้าวไม่ได้ราคา กำไรก็น้อย เราต้องทำให้เขาเห็นก่อนว่าการทำนาแบบอินทรีย์ได้ผล และปลอดภัยต่อชาวนาเองและผู้บริโภคด้วย

ผู้ใหญ่มนัสกล่าวทิ้งท้าย พร้อมทั้งอยากให้หน่วยงานภาครัฐออกมาให้ความรู้ในเรื่องของการทำเกษตรอินทรีย์กับเกษตรกร สอนเทคนิคการทำปุ๋ยหมัก และวิธีการทำฮอร์โมน ยาฆ่าแมลงต่างๆ  เพื่อให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแปลงนาของตัวเองได้อย่างถูกต้องจริงๆ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปลูกข้าวแบบอินทรีย์ได้ที่ ผู้ใหญ่มนัส  ท่าไข่

19 / 2 ม. 7 ต. บึงคอไห อ. ลำลูกกา จ. ปทุมธานี 12150

โทร. 080-084-7652

โฆษณา
AP Chemical Thailand