สถานการณ์ข้าวไทย หลัง AEC มีผล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สถานการณ์ข้าว ไทย หลัง AEC มีผล

  1. สถานการณ์ข้าวไทย
  2. ชาวนา-พิธีแรกนาขวัญ
  3. วิถีการทำนาในอดีต
  4. ความอุดมสมบูรณ์ของน้ำในนาข้าว
  5. การเก็บเกี่ยวผลผลิตในปัจจุบัน
  6. การบรรจุข้าวเพื่อจำหน่าย
  7. สภาวะภัยแล้งที่คุกคามประเทศไทยอย่างหนัก

“ โอกาส  ให้เกิดการใช้น้ำเพื่อการปลูกข้าวอย่างรู้คุณค่า หรือการทำเกษตรน้ำน้อยทดแทนการทำนา ก็ไม่ได้ทำให้เม็ดเงินกว่า 2 แสนล้านบาท จากการขายข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวกลับคืนมาในเร็ววัน

2.ชาวนา-พิธีแรกนาขวัญ
2.ชาวนา-พิธีแรกนาขวัญ

งานพิธีแรกนาขวัญ

ขวัญใจ โกเมศ ด็อกเตอร์คนดังเรื่องข้าว เลขาธิการมูลนิธิข้าวในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ร่วมกับ 8 องค์กร ได้จัดประชุมเวทีข้าวไทย ปี 58 เรื่อง “ การปรับตัวด้านการผลิตและการค้าข้าวไทยหลัง AEC ”

เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 58 ม.เกษตรฯ บางเขน มีผู้เข้าประชุม 490 คน โดยมี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมต.เกษตร เปิดงาน และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง นโยบายข้าวและชาวนาไทย ได้ฟันธงว่า ปี 59 คือ ปีแห่งการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มโอกาสของการแข่งขัน

ดำเนินการใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ ลดปัจจัยการผลิต เพิ่มผลผลิต / ไร่ เพิ่มการบริหารจัดการ และเชื่อมโยงเพิ่มช่องทางการตลาด ภายใต้เครื่องมือ 4 อย่าง ได้แก่

  1. การจัดทำฐานข้อมูลเกษตรกร
  2. การจัดหาแหล่งน้ำแก้ปัญหาภัยแล้ง
  3. การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
  4. การส่งเสริมงานวิจัย เพื่อลดการสูญเสียขณะเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว

โดยแบ่งชาวนาออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชาวนาผลิตเชิงอุตสาหกรรมในรูปนาแปลงใหญ่ผ่านศูนย์เรียนรู้ 882 ศูนย์ เพื่อลดต้นทุนจากการรวมตัวกันซื้อปัจจัยการผลิต และการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรร่วมกัน 2 กลุ่ม ชาวนาทางเลือกในหลากหลายรูปแบบ

สนับสนุนข้าวอินทรีย์ ข้าวปลอดภัย ข้าวปลอดสารพิษ และเกษตรผสมผสาน 3. กลุ่มชาวนาพันธะสัญญา โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะประชารัฐ และ 4. กลุ่มชาวนาอาชีพเสริม โดยรัฐให้เงินกู้ทำอาชีพเสริม

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.วิถีการทำนาในอดีต
3.วิถีการทำนาในอดีต

วิถีการทำนาในอดีต

ในมุมมองของตัวแทนชาวนา 3 ภาค ในเรื่องข้าวและชาวนาไทย คือ คุณชรินทร์ ดวงดารา คุณกัญญา อ่อนศรี และคุณละม้าย เสนขวัญแก้ว มีความเห็นตรงกันว่า ชาวนาปลูกข้าว กข. และเร่งขายข้าวเปลือก อยู่ไม่รอดแน่นอน ต้องรวมตัวเพื่อแปรรูปข้าวเปลือกเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

ซึ่งจะต้องค้นหาจุดเด่น จุดขาย และอัตลักษณ์พันธุ์ข้าวแต่ละพื้นที่ โดยเฟ้นหา “ ตลาด  มารองรับ อย่างไรก็ดีการปรับตัวของชาวนาไม่มีสูตรสำเร็จ เพราะชาวนาอีสานส่วนใหญ่เป็นชาวนารายย่อย ปลูกข้าว น้ำฝนปีละครั้ง

แต่มีจุดเด่นเพราะปลูก ข้าวหอมมะลิ ด้วยระบบเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง ช่วยลดต้นทุน มีการรวมกลุ่มตั้งโรงสีข้าว มีใบรับรองข้าวอินทรีย์มาตรฐานต่างประเทศ

ชาวนากำหนดราคาข้าวได้เอง นอกจากนี้มีการทำไร่นาสวนผสมเพื่อบริโภค เหลือก็ขายตลาดนัดท้องถิ่น หรือตลาดนัดสีเขียว ชาวนาภาคกลาง ผืนนาเป็นดินตื้น เปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นได้ยาก มีการรวมกลุ่มใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพ ผลผลิตส่วนหนึ่งขายโรงสี อีกส่วนหนึ่งสีเอง

โดยเครื่องสีขนาดเล็ก เป็นข้าวสารบรรจุถุงส่งขายในชุมชนได้ผลดี เพราะเป็นข้าวสด ใหม่ หุงแล้วไม่บูดง่าย ส่วนชาวนาภาคใต้ มีผลผลิตไม่พอ ต้องสั่งข้าวจากภาคอื่นบริโภค และขายข้าวไม่คุ้มทุน เพราะพันธุ์ข้าวไม่เหมาะกับพื้นที่ จึงเสนอให้ปลูกข้าวพื้นเมืองที่เหมาะกับพื้นที่

จะคุ้มกับการลงทุน เช่น “ ข้าวไข่มดริ้น  เป็นต้น เป็นพันธุ์ที่นิยมบริโภค มีการรวมตัวกันของชาวนานครศรีฯ ผลักดันจนเกิด “ โครงการเมืองข้าว”  พลิกชีวิตชาวนาให้กลับมาอีกครั้ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.ความอุดมสมบูรณ์ของน้ำในนาข้าว
4.ความอุดมสมบูรณ์ของน้ำในนาข้าว

ความอุดมสมบูรณ์ของน้ำในนาข้าว

ในภาพรวมข้าวและชาวนาไทยในอาเซียน DR.S. MOHANTY จากอีรี หรือสถาบันข้าวนานาชาติ ได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงข้าวในอาเซียนว่า มีการผลิตข้าว 290 ล้านไร่ ผลผลิต 180 ล้านตัน

ขนาดนาของไทยภาคกลาง 16 ไร่/ครัวเรือน ลุ่มน้ำโขงของเวียดนาม 25 ไร่ / ครัวเรือน ลุ่มน้ำอิรวดีของพม่า 15 ไร่/ครัวเรือน และอินโดฯ ต่ำกว่า 6 ไร่/ครัวเรือน

ในช่วง 50 ปี อาเซียน พื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ผลผลิตกลับเพิ่มสูงขึ้น จากน้อยกว่า 50 ล้านตัน เป็น 180 กว่าล้านตัน เหตุมาจากการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น และระบบชลประทานดีขึ้น แต่ผลผลิต/ไร่ของอาเซียนก็ยังต่ำกว่าผลผลิต/ไร่ของโลก

เวียดนามผลผลิต/ไร่สูงสุดในอาเซียน ตามด้วยอินโดฯ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เมียนมาร์ และกัมพูชา ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ทุกประเทศในเอเชียมีรายได้/หัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจีน และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จนถึงปี 2590 ทำให้สังคมเมืองขยายตัว และคาดว่าปี 2563 ประชากรทั้งในเมืองและชนบทจะมีเท่าๆ กัน จะมีเมืองที่มีประชากรกว่า 10 ล้านคน

จะเพิ่มขึ้นเป็น 12 เมือง ในปี 2553 เป็น 21 เมือง ในปี 2568 ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ข้าวของหลายประเทศในอาเซียนมีการพัฒนาคุณภาพมากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยเฉพาะข้าวเพื่อสุขภาพมีการซื้อขายแบบออนไลน์เหมือนข้าวบาสมาติของอินเดีย ส่วนในเอเชียใต้ (พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม) 8 ปี

ต้นทุนการปลูกข้าวสูงกว่า 2 เท่า เพราะมีการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี และค่าแรง สูงขึ้น ต้องใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการทำนาเพื่อลดค่าแรง ซึ่งจะก่อให้เกิดอาชีพรับจ้างทำนา นอกจากนี้จะมีการใช้เครื่องจักรกลให้เหมาะสมในการลดต้นทุนการผลิตนาแปลงใหญ่ อย่าง เวียดนาม ชาวนารายย่อยรวมกันเป็นแปลงใหญ่ เป็นต้น

5.การเก็บเกี่ยวผลผลิตในปัจจุบัน
5.การเก็บเกี่ยวผลผลิตในปัจจุบัน

การเก็บเกี่ยวผลผลิตในปัจจุบัน

ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงความต้องการข้าวและตลาดข้าวโลก MR.V. SUBRAMANIAN จาก RICE TRADER มองว่า การบริโภคข้าวขยายตัวเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของการผลิตในช่วงปี 58 – 59 สต็อกข้าวโลกปลายปี 58 ลดลง เห็นชัดจากประเทศที่ถือสต็อกข้าวมากสุด 4 ประเทศ (จีน อินเดีย ไทย อินโดฯ) ลดลง หากย้อนไปสู่ปี 51 – 55

จะมีการแข่งขันส่งออกข้าวมากขึ้น เพราะอินเดียหยุดส่งออก และไทยรับจำนำข้าว ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูง แต่พอปี 56 มีการระบายข้าวในสต็อกของไทยและอินเดีย

ทำให้ราคาข้าวลดลงในตลาดโลก และจีนนำเข้าเพิ่ม เมื่อการสต็อกข้าวของไทยและตลาดข้าวเสรีมากขึ้น จะทำให้ราคาข้าวปรับตัวตามปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น น่าจะมีแนวโน้มดีขึ้น

ส่วน “ อุปสงค์  ในตลาดข้าวโลก MR.V.SUBRAMANIAN มองว่า มูลค่าการค้าข้าวโลกประมาณ 40 ล้านตัน 20 ล้านตัน เป็นการค้าข้าวในอาฟริกา-ตะวันออกกลาง และมีแนวโน้มบริโภคมากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้ามองตลาดข้าวเป็นรายประเภท ข้าวหอมมะลิ ของไทยปีนี้ราคาจะเพิ่มขึ้น ข้าวเหนียว จะขยายตัวใกล้เคียงปี 58 เพราะตลาดกระจายไปอินโดฯ จีน มาเลเซีย สหรัฐฯ และญี่ปุ่น แต่ ข้าวเหนียวเวียดนาม พึ่งจีนเป็นหลัก จึงมีความเสี่ยงสูง

ตลาดข้าวต่าง ๆ

ตลาดข้าวหัก จะมีแข่งขันระหว่างประเทศรุนแรงมากขึ้น เพราะอินเดียมีราคาถูก จีนนำเข้าข้าวหักมากที่สุด ขณะที่เซเนกัลนำเข้าข้าวหักมากที่สุดในโลก จะเป็นปัจจัยกำหนดราคาข้าวหักของอาฟริกา-ตะวันตก

ตลาดข้าวนึ่ง มีความผันผวนสูง เพราะถูกกำหนดโดยไนจีเรีย อาฟริกาใต้ บังคลาเทศ เยเมน และตะวันออกกลาง ประเทศไทยส่งออกข้าวนึ่งเป็นอันดับ 1 ของโลกตั้งแต่ปี 48 เพราะอินเดียงดส่งออก ปัจจุบันไทย อินเดีย ส่งออกพอๆ กัน

ส่วนตลาดข้าวขาว ถ้าเป็นข้าวขาวเชิงพาณิชย์ ตลาดใหญ่อยู่อาฟริกา ตลาดข้าวประมูลรัฐต่อรัฐ อินโดฯ และฟิลิปปินส์ คือ ตลาดหลัก ส่วนจีนมีทั้งข้าวขาวพาณิชย์กับข้าวขาว ประมูลตัวแปรที่มีผลกระทบตลาดข้าวขาว คือ สภาพอากาศ และปัจจัยทางการเมือง

6.การบรรจุข้าวเพื่อจำหน่าย
6.การบรรจุข้าวเพื่อจำหน่าย

การบรรจุข้าวเพื่อจำหน่าย

แนวโน้มและความท้าทายในอนาคต

10 ปีข้างหน้า แนวโน้มบริโภคมากขึ้น แต่อัตราการขยายตัวจะน้อยลง ทานข้าวน้อยลง ทานเนื้อมากขึ้น และข้าวเกรดต่ำจะเข้าสู่อุตสาหกรรมแป้ง อาหารสัตว์ และแอลกอฮอล์ มากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในมุมมองของ วิชัย ศรีประเสริฐ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ที่มีต่อการค้าข้าวหลัง AEC ยืนยันว่า ในอาเซียนจะแข่งขันกันรุนแรง เพราะไม่มีการเก็บภาษีการค้า ประเทศไทยต้องปรับตัวเพื่อให้แข่งขันกันได้

โดยการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของต่างประเทศ แล้วปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้กินดี มีความอร่อย โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพันธุ์ข้าวนิ่ม กลุ่มพันธุ์ข้าวปานกลาง และ กลุ่มพันธุ์ข้าวแข็ง

และต้องมีคุณลักษณะพิเศษ เช่น ข้าวมีความต้านทานโรค แมลง เป็นต้น นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวต้องทำให้ข้าวทั้ง 3 กลุ่ม มีลักษณะพิเศษ แต่ละกลุ่ม เช่น ข้าวแข็ง มีเปลือกสีน้ำตาลแก่ เพื่อให้พ่อค้าและผู้บริโภคจำได้ และต้นทุนการผลิตข้าวต้องลดลง เพื่อขายข้าวในตลาดโลกถูกลง แล้วชาวนาจะได้กำไรมากขึ้น