อนุบาลลูกปลา …เรื่องของ “ตัวเล็ก” ก่อนจะเป็น “ตัวโต”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อนุบาลลูกปลา  …เรื่องของ “ตัวเล็ก” ก่อนจะเป็น “ตัวโต”

ท่านที่ขอคำปรึกษา เรื่องการ อนุบาลลูกปลา ว่าทำอย่างไรบ้าง หรือไม่ ก็สอบถามว่าจะหา พ่อปลา แม่ปลาที่กัด ดีมาเพาะได้จากที่ไหนอย่างไร หรือบางท่านก็ถามไปถึงว่าช่วงนี้ ปลากัด ที่ไหนดีที่ไหนเก่ง ซึ่งบางคำถาม เราก็ไม่อาจรู้คำตอบได้ หรือบางทีเรารู้แต่ก็ไม่อาจบอกได้ ว่าคำตอบที่เราให้ไปจะดีหรือว่าไม่ดี โดยเฉพาะคำถามที่ว่า ปลากัด ที่ไหนดี ที่ไหนกัดแพงได้ กัดได้ราคา

เรื่องแบบนี้บางทีก็นานาจิตตัง ถ้าแนะนำแล้วได้ดีก็เสมอตัวแต่ถ้า แนะนำแล้วดีก็มีแต่เสียกับเสีย เราก็ต้องวางตัวให้อยู่ตรงกลาง ให้ผู้ที่ต้อง การเสาะหากันเอา โดยทีมงานเราจะเสาะหาปลากัดหลาย ๆ ที่เอามาฝากสนใจค่ายไหนอย่างไร ก็ลองติดต่อกันเองได้ตามสะดวกจะดีกว่า

ส่วนคำถามที่มีมากมายและเราพอจะยกเอามาตอบกันได้เห็นก็จะมีเรื่อง “ การอนุบาลลูกปลา ” ที่เรามองว่าน่าจะเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ก็เลยถือโอกาสนำเสนอวิธีดูแลปลาในแบบที่เรารู้มาให้ได้ติดตามกัน

ลูกไรบนผิวน้พ อาหารของลูกปลา
ลูกไรบนผิวน้พ อาหารของลูกปลา

เริ่มจากเมื่อปล่อย ให้พ่อปลา ดูแล ลูกจนฟักเป็นตัวใน 1 วันแรกช่วงนี้ อย่าเพิ่งไปจุกจิกกับ พ่อปลา และ ลูกปลา มากนักเพราะว่า พ่อปลา จะหวงลูกและคอยดูแลลูกอยู่ไม่ห่างแต่ก็มีบ้างบางครั้งที่แอบมาหลบพักอยู่ขอบๆภาชนะที่ใช้เพาะก่อนที่จะกลับไปดูแลลูกต่อ ช่วงนี้เราควรปล่อยให้พ่อปลาดูแลลูกอย่างนั้นซัก 3 – 4 วันโดยประมาณค่อยแยกออก ( ขึ้นอยู่กับความแข็งแรง ของลูกปลาด้วย )

ช่วงที่ดูแลลูกปลา 2 วันแรกไม่จำเป็นต้องให้อาหารพ่อปลาเพราะช่วงเวลาดังกล่าวพ่อปลาจะไม่สนใจอาหารที่เราให้ไป เดี๋ยวจะพาลทำให้น้ำเสียได้ แต่พอผ่าน3วันไปแล้วค่อยให้อาหารพ่อปลาได้เพราะเป็นช่วงที่พ่อปลาเองก็เริ่มจะหิวแต่ปริมาณอาหารที่ให้ก็ควรแต่น้อยแค่พออิ่ม ส่วนว่าจะให้อะไรก็แล้วแต่ว่าอาหารที่เคยใช้เลี้ยงพ่อปลาเป็นแบบไหนก็ให้อย่างนั้นก็ได้ แต่ขอให้หลีกเลี่ยงพวกลูกน้ำ กับไส้เดือน เพราะลูกน้ำ มันโตเร็ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเพาะปลากัด ให้โครงสร้างดี กัดเก่ง หนังหนา

บางทีพ่อปลากินไม่หมดมันจะแปลงร่างเป็นไอ้โม่ง แล้วอาจจะมีปัญหาพาลมาแบบดูดน้ำเลี้ยงไปจากลูกปลาส่วนไส้เดือนมีปัญหาเพราะความสกปรกค่อนข้างมากจะทำให้น้ำเน่าเสียได้(ที่กล่าวมาพิจารณาตามความเหมาะสมหรือไม่ก็แล้วแต่กรณีไป)

นำลูกไรลง เพื่อให้อาการ ลูกปลา
นำลูกไรลง เพื่อให้อาการ ลูกปลา

มาว่ากันต่อหลังจากแยกพ่อปลาขึ้นแล้ว ช่วงนี้ก็เริ่มให้อาหารแก่ลูกปลาได้แล้วส่วนใหญ่เวลาที่เหมาะสมคือประมาณวันที่ 4 หรือ 5 หลังจากแยกพ่อออกแล้วช่วงนี้ไข่แดงในท้องลูกปลาที่ติดมาแต่กำเนิดก็ได้ถูกร่างกายดึงไปใช้งานหมดแล้วก็จะเริ่มหิว อาหารที่ใช้เป็นหลักเลยคือไรน้ำจืดหรือชื่อที่เราคุ้น ๆ กันว่าไรฝุ่นเมื่อได้ไรมาแล้วก็เริ่มกรรมวิธี

อนุบาลลูกปลา

การทำความสะอาดกันก่อน ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวดเพราะถึงแม้ว่าจะได้มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติก็ตามแต่เชื้อโรคก็อาจจะติดตามมาด้วยได้ ดังนั้นเมื่อคัดกรองสิ่งต่าง ๆ ที่ติดมาเรียบร้อยแล้วก็จะเตรียมน้ำสะอาดผสมด่างทับทิมเจือจาง แล้วนำลูกไรที่ได้แช่ลงไปในนั้น ใช้เวลาไม่ต้องนานนัก ( 20 – 30 วินาที โดยประมาณ )

จากนั้นก็จะเตรียมน้ำสะอาดไว้อีก 2 กะละมัง เพื่อตักเอาไรที่แข็งแรงลอยอยู่ผิวน้ำ ไปแช่ในน้ำสะอาดอีก2รอบเท่ากับผ่านการล้าง4ครั้งหลายคนอ่านแล้วอาจจะไม่เข้าใจงั้นเอาแบบคร่าวๆดังนี้

  1. ได้มาแล้วล้างน้ำเปล่าโดยการคัดแยกเศษผงหรือแหนที่ติดมา
  2. ตักไรมาใส่ในน้ำที่ผสมด่างทับทิมทิ้งไว้สักครู่
  3. ตักย้ายไปใส่ในน้ำสะอาดที่เตรียมไว้อีก2รอบเป็นอันเสร็จสิ้นจากนั้น พร้อมนำไปเลี้ยงลูกปลาและเหล่าปลาโตที่มีอยู่ได้ทั้งหมดหากเหลือก็สามารถเก็บเอาแต่เนื้อไรใส่ถุงหรือภาชนะมีฝาปิด แช่ฟรีซในตู้เย็นได้เลยเมื่อไหร่ขาดแคลนไรสด ก็จะนำไรแช่แข็งมาเลี้ยงปลาแทนก็ได้เหมือนกันแต่ปริมาณการให้คงจะต้องลดลง
ปลากัดที่โตแล้ว
ปลากัดที่โตแล้ว หลังจากอนุบาลลูกปลา

สำหรับลูกปลา 5 วันที่เพิ่งเริ่มให้อาหารเราจะตักไรเป็นๆทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ปนกันขนาดประมาณหัวไม้ขีดใส่ลงไปในภาชนะที่ลูกปลาอาศัยอยู่เพราะตามความเป็นจริงไรที่มีขนาดใหญ่ลูกปลาไม่สามารถกินได้เพราะปากยังเล็กเกินไป แต่เมื่อใส่ไรทิ้งไว้พวกไรที่เป็นพ่อแม่พันธุ์ก็จะให้กำเนิดลูกไรอีกทีตัวจะมีขนาดเล็กมากและลูกไรเหล่านี้เองที่ลูกปลาจะสามารถกินได้

เหตุผลที่ให้อาหารนิดเดียวเนื่องจากพวกไรก็ชอบที่จะอยู่บนผิวน้ำดังนั้นก็จะแย่งอากาศของลูกปลาด้วยเช่นกัน แล้ววงจรชีวิตของไรก็สั้นซะเหลือเกินพร้อมเน่าได้ตลอดจากนั้นทุก ๆวันก็จะเพิ่มปริมาณน้ำโดยใส่น้ำวันละแก้วกะขนาดและปริมาณเอาตามแต่กรณี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยดูตามภาชนะที่ใช้เพาะปลาส่วนเรื่องอาหารเพิ่มเติมอีกนิดทุกๆครั้งก่อนจะให้อาหารปลาควรตรวจดูว่าลูกปลากินอาหารมากหรือน้อยแล้วค่อยๆให้ตามความเหมาะสมหากผ่านช่วง 7 วัน มาแล้วลูกปลาแข็งแรงดีว่ายน้ำแข็งแรงกันถ้วนหน้าก็มองหาสถานที่อนุบาลลูกปลาใหม่บางท่านอาจจะใช้บ่อหรือตู้ปลาขนาดใหญ่

หรือจะใช้โอ่งดินเผาตัดปากก็ได้จากนั้นค่อยเทลูกปลาให้อยู่บ่อใหม่แต่ยังคงใช้วิธีเติมน้ำไปเรื่อยๆเมื่อลูกปลาโตพอที่จะไม่เล็ดลอดเข้ามาในสายยางได้ก็เริ่มดูดสิ่งสกปรกด้านล่างออกแล้วเติมน้ำใหม่เข้าไปแทนที่เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นวิธีการอนุบาลลูกปลา ครับง่าย

การ อนุบาลลูกปลา
การอนุบาลลูกปลา

อ่านถึงบรรทัดนี้แล้วหลายท่านก็คงจะพอมองภาพออกว่าการอนุบาลลูกปลามีวิธีการและขั้นตอนอย่างไรกันบ้าง ซึ่งวิธีที่เราว่านี้อาจเป็นแค่หนึ่งในหลากหลายวิธีซึ่งบางท่านอาจมีเทคนิคผลิกแพลงได้ดีกว่าที่เรานำเสนอ ก็เป็นความสามารถของแต่ละบุคคล เอาไว้คราวหน้าถ้าเรารู้ว่าที่ไหนมีวิธีการเลี้ยงการเพาะที่แปลกและแตกต่างออกไปทีมงานเราจะพยายามรวบรวมมานำเสนอให้ได้ทราบกันอีกทีแล้วกันนะครับ