การปลูกข่า เก็บเกี่ยวแบบทั้งข่าอ่อนและข่าแก่ และ ประโยชน์สรรพคุณทางยา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้าให้พูดถึงพืชสมุนไพรที่นิยมมาประกอบอาหาร หลายๆ คนคงนึกถึงตะไคร้ ใบมะกรูด ฯลฯ อีกมากมายเลยทีเดียว แต่ครั้งนี้เราจะพูดถึง “ข่า” พืชสมุนไพรที่นิยมนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นเมนูต้ม หรือเมนูผัด ก็มีข่าเป็นส่วนประกอบในเมนูทั้งนั้น ถ้าถามว่าทำไม การปลูกข่า ถึงอยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน คงไม่มีใครสามารถบอกได้อย่างชี้ชัดเจาะจงเท่าไหร่นัก เอาเป็นว่าเรามาเริ่มศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับข่ากันให้เข้าใจกันดีกว่า

ข่า พืชสมุนไพรและใช้ในการประกอบอาหาร เราจะคุ้นหูในเมนู ต้มข่าไก่ เมนูที่มีข่าเป็นส่วนผสมที่โดดเด่น โดยพืชชนิดนี้สามารถปลูกได้ง่าย ทั้งปลูกเป็นแปลงใหญ่ และปลูกภายในครัวเรือน โดยข่าเป็นพืชตระกูลเดียวกับ กระชาย ขิง ขมิ้น และกระวาน โดยมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก นอกจากนี้ข่ายังสามารถปลูกแซมพืชชนิดอื่นๆ ได้ด้วย เพราะการปลูกข่าแซมกับพืชชนิดอื่นๆ หรือใกล้เคียงกัน ข่าจะช่วยขับไล่แมลง และลดการเข้ามาทำลายพืชสวนของเกษตรกร ซึ่งเป็นข้อดีของข่าเลยก็ว่าได้

1.มีทั้งข่าอ่อนและข่าแก่-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommonsbb2Galangal
1.มีทั้งข่าอ่อนและข่าแก่-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommonsbb2Galangal

ลักษณะทั่วไปของข่า

นอกจากนี้ข่าเองยังมี 2 ลักษณะ คือ ข่าอ่อนและข่าแก่ ซึ่งทั้ง 2 ตัวนั้นสามารถเก็บขายได้ทั้งคู่ แต่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเก็บเพื่อนำไปจำหน่ายเท่านั้นว่าเก็บเกี่ยวช้าหรือเร็วแค่นั้นเอง

ข่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่เป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก เพราะข่าเป็นพืชที่นำไปประกอบอาหารได้หลากหลายรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมในการนำมาปรุงเป็นตำหรับยาชนิดต่างๆ มากมาย เนื่องจากเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางสมุนไพรอยู่บ้าง เลยทำให้เป็นที่ต้องการอย่างแพร่หลาย

อีกทั้งยังเป็นพืชที่ปลูกง่าย ดูแลง่าย สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างมากมาย เพราะตามท้องตลาดในประเทศมีผู้นำไปประกอบอาหารเพื่อการบริโภคอย่างมากมายเลยทีเดียว นอกจากข่าทั่วไปแล้วยังมีการค้นพบข่าชนิดใหม่ คือ ข่าตาแดง ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก แต่ในปัจจุบันเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น การปลูกข่าถ้าเข้าใจก็สามารถทำได้ไม่ยาก

2.มีเหง้าอยู่ใต้ดิน-ข้อปล้องสั้น
2.มีเหง้าอยู่ใต้ดิน-ข้อปล้องสั้น

สภาพพื้นที่ปลูกข่า

ข่าเป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินโดยเรียกว่า “เหง้า” ข่าจัดเป็นพืชอยู่ในตระกูลเดียวกับพวกขิง เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาประกอบอาหาร และเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง อินโดนีเซีย โดยข่าเป็นพืชประเภทล้มลุก เป็นที่นิยมปลูกกันมากในทุกภูมิภาค เพราะเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย และใช้ระยะเวลาในการเติบโตไม่นาน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อีกทั้งช่วงเวลาเก็บเกี่ยวก็แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา เพราะจะมีการเก็บเกี่ยวทั้งแบบอ่อนและแบบแก่ โดยทั่วไปแล้วสามารถหาซื้อข่าได้ตามท้องตลาดในประเทศไทย และเป็นพืชที่ส่งออกไปยังต่างประเทศทั่วโลก มักนิยมนำมาประกอบอาหารประเภทแกงต่างๆ มีกลิ่นฉุน และยังช่วยขับไล่แมลงหรือศัตรูพืชได้

ข่าเป็นพืชล้มลุกโดยมีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีสีน้ำตาลอมแสด มีอายุหลายปี ข้อปล้องสั้น ก้านใบแผ่เป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ความสูงประมาณ 1.5-2.5 เมตร เป็นใบเดี่ยว รูปใบเป็นขอบขนานกับแกมใบ โดยมีความกว้าง 4-11 เซนติเมตร ความยาว 25-45 เซนติเมตร โดยลักษณะใบปลายจะแหลม มีขนที่กาบใบ ในส่วนขอบจะเรียบเป็นคลื่น เส้นใบมีความขนานกัน และก้านใบเป็นแบบกาบหุ้ม

นอกจากนี้ยังมีดอกเป็นช่อแขนงตั้งขึ้น มีสีเขียวอ่อนปนเหลือง ถ้าเริ่มแก่จะมีสีขาวปนม่วงแดง โดยจะมีดอกย่อยจำนวนมากเรียงกันอยู่บนช่อเดียวกัน ตัวดอกมีลักษณะคล้ายกล้วยไม้ขนาดเล็ก กลีบดอกมีสีขาวแกมเขียวประมาณ 3 กลีบ ส่วนผลจะมีรูปทรงกระสวยหรือกลม ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร โดยจะมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ เมื่อแก่จะมีสีส้มแดง และเมล็ดจะนิยมใช้เป็นเครื่องเทศ ในส่วนของตัวดอกนั้นสามารถนำไปเป็นเครื่องเคียงได้

3.ดูแลง่าย-ผลผลิตออกมาดี-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons00372_-_CIMG2738
3.ดูแลง่าย-ผลผลิตออกมาดี-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons00372_-_CIMG2738

ขั้นตอน การปลูกข่า

การปลูกข่า จะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ การปลูกข่า แบบอ่อนกับ การปลูกข่า แบบแก่ โดยทั้ง 2 แบบนี้จะใช้ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวที่ไม่พร้อมกัน แต่ขั้นตอนการปลูกนั้นไม่ได้ต่างกันมากนัก นอกจากนี้ข่ายังมีอีกหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นข่าตาแดง ข่าเหลือง ฯลฯ ที่เป็นชนิดเริ่มเป็นที่นิยมในการปลูกและนำมาจำหน่ายมากขึ้น

การเตรียมดิน ขั้นตอนการเตรียมดินนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดใน การปลูกข่า เพราะข่าจะชอบดินที่มีความร่วนซุย แต่ไม่ชอบความแฉะ เพราะว่าถ้าพื้นที่ไหนที่ต้อง การปลูกข่า แล้วมีน้ำขังในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะเป็นเรื่องยากเสียหน่อยกับการที่จะปลูกข่า ทางแก้ไขนั้นก็สามารถทำได้ด้วยการไถเปิดหน้าดินก่อน แล้วหลังจากนั้นก็ทำการเป็นคันๆ ไป

แต่ถ้าพื้นที่จะทำการปลูกนั้นเป็นพื้นราบแล้วให้ทำการไถดิน โดยเปิดหน้าดินประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วคลุกกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุ หรือเพิ่มแร่ธาตุอาหารในดิน การทำแบบนี้จะเป็นการทำแบบการปลูกเพื่อทำแปลงใหญ่ แต่ในกรณีที่จะทำการปลูกไว้รับประทานโดยเฉพาะก็ทำได้ไม่ยากเลย เพียงแค่ขุดดินทำเป็นแปลงเล็กๆ แล้วนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมาคลุกเพื่อเป็นการเพิ่มสารอาหารในดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และเริ่มลงปลูกข่าได้เลย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเตรียมต้นพันธุ์ข่า ข่านั้นเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย แต่ความเป็นจริงแล้วก็อยากจะแนะนำว่าถ้าจะปลูกข่าต้องเริ่มจากการเตรียมต้นพันธุ์ที่เป็นต้นแม่พันธุ์ อายุที่จะนำมาปลูกนั้นควรมีอายุประมาณ 9-10 เดือนกำลังดี เพราะอายุของข่าประมาณนี้จะมีตาและรากเกิดใหม่ได้ง่าย โดยแม่พันธุ์ที่จะนำมาปลูกนั้นจะต้องเป็นข่าที่แข็งแรงสมบูรณ์

การดูนั้นให้สังเกตที่หัวข่า พอได้แม่พันธุ์มาให้ตัดแต่งส่วนที่เห็นว่าเน่าหรือช้ำออก เพราะถ้าไม่ตัดออกจะทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้ หลังจากเตรียมในส่วนแรกเสร็จให้นำข่าที่คัดแล้วว่าจะนำมาปลูกนำไปแช่น้ำยากันเชื้อรา หลังจากนำไปแช่น้ำยากันราเสร็จก็สามารถนำไปลงดินเพื่อทำการเตรียมปลูกได้เลย ที่สำคัญเมื่อนำลงดินปลูกแล้วให้หาหญ้าแห้ง หรือวัสดุที่สามารถคลุมดินได้มาคลุมดินไว้พอประมาณ และทำการรดน้ำตามเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดิน

4.การปลูกข่า ปลูกง่าย ชอบดินที่มีความร่วนซุย แต่ไม่ชอบความแฉะ
4.การปลูกข่า ปลูกง่าย ชอบดินที่มีความร่วนซุย แต่ไม่ชอบความแฉะ

วิธีการปลูกและบำรุงดูแลข่า

นอกจากการเลือกพันธุ์ข่าแล้ว การปลูกให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้นก็สำคัญเช่นกัน การปลูกข่า ให้ได้ผลดีจะต้องขุดหลุมให้ลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร และควรกว้างประมาณ 30 เซนติเมตร อย่าลืมหาพืชที่มีกลิ่นฉุนมารองใต้หลุมเพื่อเป็นการเพิ่มการป้องกันแมลงหรือหนอนด้วย และตามด้วยการใส่ปุ๋ยโดยปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก แต่ควรหลีกเลี่ยงปุ๋ยมีส่วนผสมของมูลจากวัว พอเสร็จให้ทำการไถกลบดินถมให้ลึก สุดท้ายควรหาหญ้าแห้ง ฟาง หรือวัตถุที่ใช้คลุมดิน เพื่อเป็นการรักษาความชื้นในดิน และป้องกันการระเหยของน้ำที่อาจจะระเหยเร็วในช่วงแสงแดดจัด

ข่านั้นถือว่าเป็นพืชที่ดูแลได้ง่าย ไม่ต้องจำเป็นต้องใส่ใจมากนัก ถึงจะเติบโตได้ตามสภาพแวดล้อมทั่วไปก็จริง แต่ถ้าอยากให้ข่าในแปลงปลูกมีผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ ควรจะใส่ใจในเรื่องการบำรุงให้ดูดี เพื่อผลผลิตที่ออกมาจะสวย และขายได้กำไรงาม โดยใส่ปุ๋ยบำรุงทั้งตัวข่าและดินบ้าง โดยส่วนตัวแล้วข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้น แต่ไม่ชอบน้ำขัง ฉะนั้นการรดน้ำควรทำเดือนละ 2 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว

5.ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู-https.upload.wikimedia.orgwikipediaen44cWhat_is_Galangal_2007_dt
5.ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู-https.upload.wikimedia.orgwikipediaen44cWhat_is_Galangal_2007_dt

ข้อดีและข้อเสียของข่า

โดยส่วนรวมทั้งหมดของข่านั้นสามารถใช้ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ผลไปจนถึงราก เพราะข่านอกจากเป็นพืชที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารแล้วนั้น ก็ยังสามารถนำไปผลิตเป็นยาสมุนไพรโบราณได้ ข่าช่วยในเรื่องอะไรบ้าง

ราก ช่วยในการบำรุงเลือด ทำให้ระบบเลือดในร่างกายทำงานและหมุนเวียนได้สะดวก อีกทั้งยังช่วยในการขับเสมหะในลำคอออกมาได้ง่ายยิ่งขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เหง้า จะช่วยในเรื่องบำรุงร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร อีกทั้งยังเป็นยาระบายอ่อน ๆ  ที่สำคัญเลยช่วยในการต่อต้านโรคมะเร็ง และช่วยให้ระบบในร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้น

ใบ ดอก และ ผล ยังช่วยรักษาและบรรเทาอาการท้องเสีย ท้องร่วง และช่วยในระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ข่าที่มีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งช่วยรักษาโรค บำรุงร่างกาย หรือนำไปประกอบอาหารก็ดี แต่เห็นเป็นพืชสมุนไพรอย่างนี้ แท้จริงแล้วก็มีโทษเหมือนกัน เนื่องจากว่าข่าเองเป็นสมุนไพรที่มีความเผ็ดร้อน ทำให้การนำมาใช้ในการทำเป็นสมุนไพรหรือสกัดน้ำมันจากข่าต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะตัวน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากข่า มีความเป็นพิษในระดับปานกลาง ถ้านำไปบริโภคในปริมาณที่เกินความพอดีจะทำให้พิษเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็ว และเป็นอันตรายต่อร่างกาย และยังทำให้ผิวหนังเกิดอาการแสบร้อน ในกรณีที่บุคคลนั้นมีอาการแพ้ข่า หรือแพ้สารประกอบได้ง่าย

โดยทั่วไปแล้วการเก็บเกี่ยวข่านั้นจะแบ่งเป็นระยะเวลาไม่เท่ากัน เพราะจะมีการเก็บเกี่ยวแบบข่าอ่อนและข่าแก่ ช่วงระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวจึงไม่เท่ากัน ถ้าอยากได้ข่าอ่อนต้องเก็บในช่วงไม่เกิน 8 เดือน นับจากช่วงที่เริ่มปลูก แต่ถ้าอยากได้ข่าแก่ให้ยืดระยะเวลาออกไปอีก

โดยข่าแก่จะเก็บในช่วง 1 ปีขึ้นไปแล้ว ทั้งนี้การเก็บเกี่ยวข่าก็จะขึ้นอยู่กับว่าผู้บริโภคหรือเกษตรกรเจ้าของสวนจะทำการจำหน่าย หรือต้องการแบบไหน การเก็บข่าที่ดีไม่ควรเก็บในช่วงที่แดดจัด หรือดินมีความแห้งแข็ง เพราะจะทำให้ข่าเสียหายได้ ควรทำการรดน้ำเสียก่อน เพื่อให้เก็บข่าได้ง่ายขึ้น เพราะว่าเราขุดหรือถอน ข่าออกมาจากดิน จะทำให้ข่าไม่งอ และไม่เกิดความเสียหายมากนัก

6.ผลผลิตข่าได้คุณภาพ-https.www_.google.comsearchqGalangaltbmischsourcelnttbssurfmcsaXved0ahUKEwjIsdzI0NjhAhUViXAKHbz8DQcQpwUIIQbiw1028bih939dpr1imgrcfTDYzeg2IfFtOM
6.ผลผลิตข่าได้คุณภาพ-https.www_.google.comsearchqGalangaltbmischsourcelnttbssurfmcsaXved0ahUKEwjIsdzI0NjhAhUViXAKHbz8DQcQpwUIIQbiw1028bih939dpr1imgrcfTDYzeg2IfFtOM

สรรพคุณทางยาของข่า

เป็นที่รู้กันอย่างดีว่าตัวข่านั้นนอกจากจะนำไปประกอบอาหารแล้ว ยังสามารถนำมาเป็นพืชทางสมุนไพรในการใช้เพื่อรักษาตามหลักยาแผนโบราณด้วย มาดูกันว่าสรรพคุณทางยาของข่านั้นมีอะไรบ้าง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • ช่วยบำรุงธาตุและโลหิตในร่างกายให้มีความสมดุล, เหง้าข่าจะช่วยให้ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยในการรักษาอาการท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ, เหง้าของข่าช่วยในการรักษาอาการอักเสบ
  • ใบข่ามีส่วนช่วยในการขับเสมหะ แก้ไอ แก้หวัด และยังช่วยในการต้านเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย
  • ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนได้

นอกจากนี้ตัวข่าเองยังมีงานวิจัยที่กำลังทดลองอยู่ว่าเหง้าของข่านั้นมีส่วนช่วยในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง ซึ่งการทดลองนี้ยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทดลองเท่านั้น กำลังอยู่ในช่วงของการศึกษาและวิจัย ยังไม่มีการการันตีว่าข่านั้นจะสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้หรือไม่

ปกติแล้วเวลานึกถึงข่าเราจะคิดถึงต้มข่าไก่ หรือการนำข่าไปอยู่เมนูอาหารประเภทแกงต่างๆ เสียมากกว่า แต่ข่านั้นแท้จริงแล้วเป็นพืชสมุนไพรที่มีในตำหรับยาแผนโบราณมายาวนาน โดยการนำข่าไปแปรรูปเป็นสมุนไพรเพื่อใช้ในการรักษา ทั้งนี้การทานข่านั้นก็เหมือนกับการทานยา แต่ถ้านำไปประกอบอาหารนั้นอาจจะทำให้เสียคุณข่าของตัวสมุนไพรลงอยู่บ้าง เลยต้องมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับข่าโดยตรงขึ้นมา

การแปรรูปข่าให้เป็นยานั้นมีหลายรูปแบบ เพื่อที่จะได้ทานง่าย และไม่วุ่นวาย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเม็ด โดยแบบเม็ดนั้นจะมีทั้งแบบแคปซูล แบบเม็ดสด หรือเม็ดอัดแท่ง โดยมีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน สามารถทานได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก ต่อมาเป็นการทานแบบน้ำ

โดยข่าในรูปแบบน้ำนั้นจะมีทั้งแบบสกัดจากข่าโดยตรง หรือแบบมีส่วนผสมอื่น ซึ่งการทานแบบน้ำนี้จะได้รับคุณประโยชน์แบบครบถ้วนและรวดเร็วกว่าแบบเม็ด และสุดท้ายแบบชงดื่ม โดยเป็นแบบผสมน้ำอุ่นหรือร้อนเพื่อชงดื่ม แต่การชงดื่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการชงดื่มเพื่อบำรุงร่างกายมากกว่าการใช้เป็นยารักษาโรค

และการทานข่าเพื่อเป็นยารักษาโรคนั้นสามารถทานได้ง่าย ๆ แต่ต้องรู้จักข้อระวังและการใช้ให้ถูกวิธี ถึงข่าจะเป็นพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคได้ แต่ก็ย่อมมีโทษในตัวเอง ควรทานแต่พอดี หรือถ้าเป็นยาแผนโบราณหรือแผนไทยก็ควรที่จะฟังคำแนะนำของแพทย์แผนไทยจะดีที่สุด

7.บำรุงร่างกาย-และรักษาโรคต่างๆ-https.pixabay.comidphotoslengkuas-jamu-jahe-keluarga-bumbu-3270069
7.บำรุงร่างกาย-และรักษาโรคต่างๆ-https.pixabay.comidphotoslengkuas-jamu-jahe-keluarga-bumbu-3270069

ประโยชน์ของข่าในการรักษาโรคต่างๆ

นอกจากจะมีคุณประโยชน์ทางสมุนไพรและนำไปประกอบอาหารแล้วนั้น ข่ายังมีการนำมาใช้ในการดูแลรักษาและบำรุงร่างกายได้ดังนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • รักษาโรคกลากเกลื้อน โดยมีการวิจัยว่าสารสกัดจากข่านั้นสามารถรักษาโรคกลากเกลื้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยใช้น้ำมันสกัดจากข่ามาเป็นตัวช่วยในการดูแลและใช้ในการรักษา

  • ต้านโรคมะเร็ง ซึ่งมีงานวิจัยว่าสารสกัดจากข่านั้นสามารถช่วยในการรักษาและต้านโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็ง

กระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ เป็นอย่างดี แต่เป็นเพียงข้อมูลที่เริ่มวิจัยและศึกษาในช่วงทดลองเท่านั้น ยังไม่มีผลที่แน่นอนว่าสารสกัดจากข่านั้นสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้หรือไม่

  • ช่วยในการย่อยอาหาร ซึ่งเหง้าของข่าจะมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี จึงช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยได้  และลดการจุก

เสียดแน่นท้องได้เป็นอย่างดี

ข่าถือเป็นพืชผักสวนครัวชนิดหนึ่ง ที่นอกจะนำมาประกอบในอาหารแล้วยังสามารถนำไปทำเป็นยาเพื่อบำรุงในการรักษาโรคได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ การปลูกข่า ก็ทำได้ไม่ยาก เพราะข่าชอบพื้นที่ชุ่มชื้น แต่ดินต้องไม่มีน้ำขังอยู่หรือแฉะจนเกินไป เพราะข่าจะตายได้ การดูแลข่าก็สามารถดูแลได้ง่าย เพราะข่าเป็นพืชที่ทนต่อสภาพอากาศที่ไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรมากนัก

ข้อดีอีกอย่าง คือ ข่านั้นสามารถช่วยในการไล่แมลงศัตรูพืชได้

ข้อดีอีกอย่าง คือ ข่านั้นสามารถช่วยในการไล่แมลงศัตรูพืชได้ เพราะข่ามีกลิ่นที่ค่อนข้างฉุน ทำให้แมลงศัตรูพืชไม่ค่อยมี ข้อดีของข่ามีมากมายจนไม่สามารถกล่าวได้หมด แต่ถึงจะมีข้อดีอย่างที่กล่าวยังไง พืชก็ต้องมีข้อเสียในตัวของมันอยู่แล้ว ข่าเองก็เช่นกันถึงจะเป็นพืชสมุนไพร แต่ถ้าใช้ในทางที่ผิดหรือนำไปบริโภคไม่ถูกที่ก็สามารถทำให้ได้รับพิษเข้าสู่ร่างกายแทนได้

บทความข้างต้นนี้เป็นเพียงข้อมูลในส่วนเล็กๆ ที่นำมาเสนอให้เป็นวิทยาทานทางความรู้เบื้องต้น เป็นแหล่งข้อมูลที่สรุปเพื่อให้ผู้ที่ได้อ่านสามารถทำความเข้าใจในเรื่องของพืชชนิดนี้ ที่เรียกว่า “ข่า” ว่ามีคุณประโยชน์ วิธีการปลูก ข่าจำแนกเป็นอะไรบ้าง รวมไปถึงการเก็บเกี่ยวที่มีทั้งข่าอ่อนและข่าแก่ การดูแลรักษาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพที่ดี พร้อมจำหน่ายและส่งออก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกพืชที่ดีไม่จำเป็นต้องเป็นคนเก่งมาตั้งแต่แรก แต่ควรจะเป็นคนที่ไม่หยุดหาความรู้และแสวงหาสิ่งดีๆ เข้ามาในการเรียนรู้เสมอ ข่าเองก็เป็นพืชที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งที่อยากจะแนะนำให้ได้ลองลงมือในเรื่องของการปลูกไว้เพื่อจำหน่ายเอง หรือการปลูกไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือนก็ดี ขึ้นอยู่กับความน่าสนใจของแต่ละผู้อ่าน บทความนี้เป็นเพียงกล่าวข้อมูลจากผู้เขียนเพียงเท่านั้น

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=9118&s=tblplant, https://esan108.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2.html, http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=22, https://beezab.com/tag/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2/