การปลูกหัวไชเท้า 60-70วัน ราคาอาจพุ่งถึงกิโลละ 30 บาท ออกผลผลิตตลอดปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หัวไชเท้า พืชอีกชนิดที่นิยมนำมาประกอบอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องเคียงในการปรุงซุป ซึ่งนับว่าเป็นพืชที่มีความน่าสนใจไม่น้อย อีกทั้งเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งหัวไชเท้าจะมีลักษณะที่เป็นพืชล้มลุกสีขาว แต่มีอายุสั้น เป็นพืชที่มีลำต้นเชื่อมติดระหว่างรากกับใบ  การปลูกหัวไชเท้า

หรือเรียกอีกอย่างว่า หัวผักกาดขาว การนำมาประกอบอาหารนั้นจัดอยู่ในเมนูยอดนิยมอย่างต้มจืด หรือซุปที่มีการตุ๋นต่างๆ เพราะเชื่อว่าหัวไชเท้าจะช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น จึงถือว่าเป็นพืชอีกชนิดที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

1.แปลงเตรียมเพื่อปลูกหัวไชเท้า
1.แปลงเตรียมเพื่อปลูกหัวไชเท้า

การปลูกหัวไชเท้า

การปลูกหัวไชเท้า นั้นส่วนใหญ่แล้วจะนิยมปลูกกันเป็นอย่างมากในช่วงปัจจุบัน อีกทั้งสายพันธุ์ที่นิยมนำมาใช้จะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์หนัก กับพันธุ์เบา ซึ่งการดูแลและระยะเวลาในการปลูกนั้นก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่พื้นที่ที่ทำการเพาะปลูก ซึ่งอาจจะปลูกแบบร่องสวนหรือร่องจีน ปลูกแบบไร่ หรือจะปลูกแบบยกแปลงปลูกก็ได้เช่นกัน

ทั้งนี้การจะปลูกหัวไชเท้าให้ได้คุณภาพดีนั้นจะต้องดูสภาพอากาศ และฤดูในการปลูกให้ดีว่าจะปลูกในช่วงไหน เพราะถือว่าถ้าปลูกในช่วงที่สภาพอากาศดีและเป็นใจก็จะทำให้ได้ผลผลิตตามต้องการ แต่ถ้าไม่ก็จะได้ผลผลิตไม่ค่อยดีเท่าที่ควร และใน การปลูกหัวไชเท้า ในแต่ละครั้งนี้สภาพดินก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เพราะว่าถ้าดินดีคุณภาพผลผลิตที่ได้ก็จะดีตามไปด้วยนั่นเอง

การปลูกหัวไชเท้า นั้นอาจจะต้องมีการเตรียมการและเตรียมข้อมูลต่างๆ เพื่อที่จะทำการปลูกให้ดีเสียก่อน เพราะไม่ว่าอย่างไรแล้วเราก็จะต้องมีข้อมูลที่พร้อม และพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะทำการปลูก เพราะไม่ใช่แค่ว่าเราจะปลูกเลยก็ได้ แต่ถ้าขาดความรู้ในเรื่องของการทำสวนหัวไชเท้า ผลที่ได้อาจจะไม่คุ้มเสียมากเท่าไหร่นัก ทางที่ดีแล้วควรจะต้องทำการปลูกแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือไม่ก็ลองปรึกษาผู้ที่มีความรู้มาช่วยให้คำชี้แนะในการลงมือ การปลูกหัวไชเท้า ก่อน ก็จะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งสำหรับเกษตรกรที่สนใจใน การปลูกหัวไชเท้า นั่นเอง

หัวไชเท้า คือ พืชที่มีหัวเป็นราก หรือเรียกอีกอย่างว่า หัวผักกาด เป็นผักประเภทหัวที่สามารถนำมาทำอาหารได้อย่างหลากหลาย และยังมีรสชาติอร่อยอยู่ในตัวเอง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมเราถึงเห็นหัวไชเท้าในอาหารประเภทต้ม ซุป หรือใช้ปรุงในน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวเป็นประจำ ซึ่งจุดเริ่มต้นนั้นหัวไชเท้ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน และเริ่มมีการแพร่ขยายออกไปยังต่างประเทศทั่วโลกจากการอพยพของชาวจีนนั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ยังมีการนำหัวไชเท้ามาสกัดเป็นยาทางสมุนไพรอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน รวมไปถึงการสกัดมาเป็นส่วนผสมของเวชสำอางอีกด้วย ถือเป็นพืชผักที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวว่ามองดูเผินๆ อาจจะเป็นพืชธรรมดา แต่จริงๆ แล้วกลับเป็นพืชที่มีอะไรซ่อนอยู่ในตัวมากมายเลยทีเดียว

2.หัวไชเท้าจากประเทศญี่ปุ่น
2.หัวไชเท้าจากประเทศญี่ปุ่น

สายพันธุ์หัวไชเท้า

ในส่วนของลักษณะทางต้นของหัวไชเท้านั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะที่เป็นทรงกระบอกกลมหรือกรวยยาวลงมา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ด้วยอีกว่าจะมีลักษณะในทางใด นอกจากนี้ตัวหัวของไชเท้านั้นอาจจะมีสีขาวล้วน หรือบางสายพันธุ์ก็อาจจะมีสีแดงล้วนด้วยได้เช่นกัน ซึ่งในช่วงปลายของหัวไชเท้าจะมีการแตกออกคล้ายๆ กับรากที่เป็นรากฝอย จะมีขนาดที่เล็กและงอกหลายเส้น ตัวลำต้นจะไม่มีการแตกกิ่งก้านออก เป็นพืชใบเดี่ยวซึ่งจะงอกออกมาจากข้อของลำต้น

ในส่วนของดอกนั้น จริงๆ แล้วหัวไชเท้ามีดอกเพื่อไว้ใช้ในการผสมเกสรอยู่แล้ว ก้านดอกนั้นจะยาวประมาณ 50-100 ซม. ซึ่งดอกจะเริ่มบานในช่วงเช้า ผลจะมีความยาวประมาณ 2-6 ซม. ซึ่งเมื่อฝักเริ่มแก่จะมีสีน้ำตาลอมเทา โดยฝักจะเริ่มแก่จากด้านล่างสู่ด้านบน แต่เมื่อฝักเริ่มแห้งจะไม่แตกออกตามรอย นอกจากนี้เมล็ดของถั่วฝักยาวเองก็จะมีสีน้ำตาลอมแดงหรืออาจจะมีสีเหลืองในบางสายพันธุ์

โดยหัวไชเท้านั้นจะมีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยเป็นหัวไชเท้าในกลุ่มของเอเชีย และกลุ่มของยุโรป ซึ่งอายุการเก็บเกี่ยวและการเติบโตในสภาพอากาศก็จะแตกต่างกันอย่างชัดเชน โดยหัวไชเท้ากลุ่มยุโรปนั้นจะชอบอากาศเย็น และอายุการเก็บเกี่ยวไว ซึ่งจะมีหัวเป็นสีแดงหรือดำ แต่มีขนาดเล็กกว่ากลุ่มเอเชีย ในส่วนของหัวไชเท้ากลุ่มเอเชียนั้น จะมีรูปร่างที่เรียวกลมยาว มีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มยุโรป เนื้อจะมีสีขาว สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุครบ 40-50 วัน ถ้าเป็นพันธุ์หนักจะเก็บเกี่ยวเมื่ออายุครบ 60-70 วัน ซึ่งจะนิยมปลูกมากในแถบเอเชีย

สายพันธุ์ของกลุ่มเอเชียจะมีการแยกย่อยออกมาอีก 2 แบบ คือ สายพันธุ์จีน กับสายพันธุ์ญี่ปุ่น

  • สายพันธุ์แบบจีน จะมีลักษณะใบที่เป็นขอบใบเรียบ ไม่มีรอยหยักเลย เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว

สายพันธุ์แบบจีนจะเป็นพันธุ์เบาที่นิยมปลูกกันเป็นอย่างมากที่เมืองไทย

  • สายพันธุ์แบบญี่ปุ่น จะมีใบเป็นแบบขอบหยักลึกตลอดทั้งใบ ซึ่งความถี่นั้นอาจจะมากหรือน้อยก็จะขึ้นอยู่กับสาย

พันธุ์ที่แตกออกไปอีก ทั้งนี้ส่วนใหญ่แล้วลักษณะแบบนี้จะเป็นพันธุ์หนักหรือปานกลาง นิยมปลูกกันในแถบเอเชีย ไม่ค่อยนิยมมากนักในเมืองไทย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.แปลงปลูกหัวไชเท้าที่เต็มไปด้วยผลผลิตที่รอการเก็บเกี่ยว
3.แปลงปลูกหัวไชเท้าที่เต็มไปด้วยผลผลิตที่รอการเก็บเกี่ยว

สภาพพื้นที่ปลูกหัวไชเท้า

ในการเริ่มปลูกหัวไชเท้านั้นสิ่งแรกที่ต้องทำก่อนจะปลูกเลย คือ การเตรียมดิน โดยจะมีการปรับสภาพดินให้มีความเป็นกลางมากที่สุด จากนั้นก็ไถหรือขุดดินให้ลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร จากนั้นก็ทำการตากดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืชและแมลงในดินให้หมดไปจากดินก่อน

พอตากดินไว้จากนั้นก็เตรียมปูนขาวหรือปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มลงในดิน แต่จะใช้ก็ต่อเมื่อสภาพดินมีความเป็นกรดพอสมควรเท่านั้นก็น่าจะดี จากนั้นก็ไถพรวนดินให้เข้ากัน พอ 15 วัน ให้ไถพรวนดินอีกครั้งก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ซึ่งเป็นวิธีการเตรียมดินก่อนที่จะทำการปลูกนั่นเอง

ต่อมาเป็น การปลูกหัวไชเท้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วในเมืองไทยจะนิยมปลูกหัวไชเท้าที่เป็นสายพันธุ์เบามากกว่าสายพันธุ์หนัก เพราะทำการปลูกและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่า โดยวิธีการปลูกนั้นจะเน้นเป็นวิธีการปลูกแบบยกร่องในสวน และปลูกในพื้นที่ลุ่มเป็นหลัก แต่ถ้าหากเป็นพื้นที่ราบ ที่ดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์และชุ่มชื้นดี ก็สามารถที่จะปลูกแบบเป็นไร่ได้เลย

ในส่วนของการปลูกแบบยกแปลงนั้น หลังจากที่เราเติมดินไว้เรียบร้อยแล้วก็ควรที่จะยกแปลงปลูกให้สูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร และให้ความกว้างประมาณ 2 เมตร พอที่จะให้เกษตรกรที่ปลูกนั้นสามารถเดินผ่านได้ ในส่วนของความยาวนั้นก็จะขึ้นอยู่กับพื้นที่ของแต่ละสวนเป็นคนกำหนดขึ้นเองก็ได้เช่นกัน และที่สำคัญควรเว้นระยะห่างไว้ประมาณ 30 เซนติเมตรกำลังดี เพื่อไม่ให้ต้นเกิดติดกันจนเกินไป

ซึ่งช่วงระยะเวลาในการปลูกนั้นจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมของทุกปี แต่ความเป็นจริงแล้วหัวไชเท้านั้นสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ในช่วง 2 เดือนนี้ จะเป็นช่วงที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และได้ราคาดีมากที่สุดเท่านั้นเอง

4.หัวไชเท้าเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ
4.หัวไชเท้าเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ

การบำรุงดูแลหัวไชเท้า

หัวไชเท้าเป็นพืชที่ชอบน้ำอยู่แล้ว ซึ่งในการให้น้ำสำหรับหัวไชเท้านั้นควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และควรให้ช่วงเช้า หรือแดดไม่แรงมาก จะเป็นช่วงที่เหมาะสม เพราะว่าน้ำจะไม่ระเหยไปกับแสงแดดจนทำให้ดินแห้งจนเกินไป ซึ่งการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอนั้นจะทำให้เซลล์ในหัวไชเท้าเติบโตได้อย่างมีคุณภาพเลยทีเดียว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อีกทั้งยังไม่แตกตัวอีกด้วย ซึ่งควรจะให้เรื่อยๆ สม่ำเสมอแบบนี้จนกว่าจะถึงเวลาที่เป็นช่วงเก็บเกี่ยวของหัวไชเท้าเลยก็ว่าได้ ถ้าขาดการให้น้ำหรือปล่อยให้แปลงหัวไชเท้าขาดน้ำจะทำให้เซลล์ที่อยู่ในหัวไชเท้านั้นหยุดการเติบโต ทำให้ได้หัวไชเท้าที่ไม่มีคุณภาพ อีกทั้งยังทำให้มีเส้นใยมากเกินไปอีกด้วย

ในการดูแลรักษานั้นควรจะเริ่มถอนแยกหัวไชเท้าให้เหลือระยะหางที่ตามจริง เมื่อต้นเริ่มมีใบจริงงอกออกมา และควรมีการพรวนดินในช่วงระยะแรกๆ ที่พืชกำลังเติบโต ซึ่งการพรวนดินในช่วงแรกนั้นควรจะทำด้วยความระมัดระวัง เพราะช่วงที่หัวไชเท้ากำลังโตนั้นเป็นช่วงที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ง่าย อีกทั้งต้องระวังไม่ให้หัวไชเท้าเกิดแผลเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดโรคตามมาได้ ซึ่งควรทำพร้อมกำจัดวัชพืชไปในตัวด้วยก็ได้เช่นกัน

ในช่วงที่ต้นกล้าเริ่มเจริญเติบโตแล้วนั้นควรเริ่มใส่ปุ๋ยตั้งตัว โดยอาจจะใช้สูตรที่เป็นมาตรฐาน คือ สูตร 15-15-15 ประมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่ พอต้นกล้าหรือหัวไชเท้ามีอายุได้ 25 วัน ก็ให้เปลี่ยนสูตรปุ๋ยเป็น 13-13-21 และเพิ่มปริมาณการให้เป็น 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อให้สารอาหารแก่หัวไชเท้าได้อย่างเต็มที่

พอหัวไชเท้าโตได้เต็มที่นั้นก็อาจจะเน้นเป็นการใส่ปุ๋ยคอกมากขึ้นเสียหน่อย ซึ่งปุ๋ยคอกก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับหัวไชเท้า อีกทั้งอาจจะใช้ปุ๋ยหมักเป็นตัวช่วยอีกแรงก็ได้ โดยการใช้ปุ๋ยหมักนั้นอาจจะใช้สูตรใดก็ได้เช่นกัน และแบ่งการใส่ปุ๋ยเป็น 2 ครั้ง ซึ่งครั้งแรกอาจจะใส่ก่อนเริ่มปลูกครึ่งหนึ่ง ครั้งที่สองก็ใส่ในช่วงหัวไชเท้าอายุได้ 20-25 วัน หลังจากปลูกแล้ว และตามด้วยปุ๋ยแอมโมเนียสูตร 21-0-0 ประมาณ 10-15 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากปลูกได้ประมาณไม่เกิน 2 สัปดาห์ หรือประมาณ 10 วัน และพรวนดินกลบลงเป็นอันเสร็จการใส่ปุ๋ยดูแลสำหรับหัวไชเท้า

5.การปลูกหัวไชเท้า กลุ่มเอเชีย
5.การปลูกหัวไชเท้า กลุ่มเอเชีย

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายหัวไชเท้า

ในการเก็บเกี่ยวหัวไชเท้านั้นก็จะมีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกันชัดเจนตามลักษณะของสายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์ที่เป็นที่นิยมในการปลูกนั้นก็จะเป็นสายพันธุ์เบา โดยอายุการเก็บเกี่ยวของสายพันธุ์นี้จะเริ่มนับตั้งแต่หยอดเมล็ด หรือเริ่มปลูกประมาณ 45-50 วัน ในส่วนของสายพันธุ์หนักนั้นจะใช้เวลาในการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ประมาณ 60-70 วัน หลังจากการปลูก

หลังจากที่เริ่มเก็บเกี่ยวไปแล้วนั้นควรนำหัวไชเท้าไปทำความสะอาด พร้อมกับคัดเลือกหัวที่มีตำหนิหรือเป็นแผลออกเพื่อป้องกันไม่ให้หลุดออกไปถึงมือผู้บริโภคได้ เมื่อคัดส่วนที่มีตำหนิเรียบร้อยแล้วก็จะเหลือส่วนที่มีคุณภาพดี หลังจากนั้นให้ตัดใบออกให้เหลือแค่กระจุกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร และก็ทำการส่งจำหน่ายสู่ท้องตลาดต่อไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในการเก็บหัวไชเท้าไว้ที่ภาชนะที่เหมาะสมนั้นควรจะอยู่ในที่อุณหภูมิประมาณ 0-1 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพันธ์กันประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ จะช่วยให้หัวไชเท้านั้นสามารถคงความสดได้ประมาณเกือบ 1 เดือน เลยทีเดียว

หัวไชเท้าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่งที่มียอดการผลิตสามารถออกผลผลิตได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงปลายปีจะเป็นช่วงที่ได้ผลผลิตสมบูรณ์มากที่สุด ซึ่งการตลาดนั้นก็สามารถส่งขายได้ในราคามาตรฐานทั่วไป โดยราคารับซื้อของตลาดพืชผักส่วนใหญ่จะอยู่ที่กิโลละ 10 บาท โดยอาจจะแบ่งเป็นถุงละ 10 กิโล โดยตลาดที่รับซื้อส่วนใหญ่ก็จะเป็น ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ตลาดพืชผัก ฯลฯ

ในราคา 10 บาทนั้น อาจจะแบ่งเป็นถุงที่เกรดกลางๆ หน่อย แต่ถ้ามีคุณภาพอาจจะตกกิโลละ 15 บาท เลยก็ได้ ซึ่งราคาของหัวไชเท้าก็จะมีการปรับตัวขึ้น-ลงอยู่ตลอดเวลา ตามสภาพของผลผลิตที่ได้ในปีนั้นๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่าตลาดหัวไชเท้านั้นมีการแข่งขันสูง ผลผลิตที่ออกมาในแต่ละปีก็มีจำนวนไม่เท่ากัน ทำให้ในบางปีราคาหัวไชเท้าอาจจะพุ่งสูงถึงกิโลละ 30 บาท ได้เลยทีเดียว ซึ่งก็ต้องดูหลายๆ ปัจจัยด้วยอยู่ดี

6.นำไปประกอบเมนูได้อย่างหลากหลาย
6.นำไปประกอบเมนูได้อย่างหลากหลาย

ประโยชน์ของหัวไชเท้า

เหมือนจะเป็นพืชที่ดูไม่มีอะไรมากนัก เพียงช่วยเพิ่มให้อาหารหรือซุปมีความดูน่ารับประทานมากขึ้น แต่จริงๆแล้วตัวหัวไชเท้าเองก็ถือว่าเป็นพืชสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดเลยก็ว่าได้ แม้ตัวลำต้นอาจจะดูไม่สวยงามหรือน่าภิรมย์มากนัก แต่ก็เป็นพืชสมุนไพรที่ช่วยบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว เรามาดูกันดีกว่าว่าหัวไชเท้าช่วยในเรื่องอะไร หรือมีคุณประโยชน์อะไรบ้างกันดีกว่า

  • ช่วยชะล้างสารพิษ

ในตำรับยาแผนโบราณของจีนนั้นได้กล่าวไว้ว่า หัวไชเท้ามีสรรพคุณที่ช่วยในการกระจายสิ่งที่หมักหมมในร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยมีไฟเบอร์ที่ช่วยชำระล้างผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ให้สามารถขับสารพิษได้ดี เป็นผักที่ช่วยในกระบวนการย่อยอาหารและระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

  • ช่วยในการลดน้ำหนัก

ทำไมถึงบอกว่าหัวไชเท้ามีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก เนื่องจากว่าหัวไชเท้าเป็นผักที่มีแคลอรีต่ำ แถมเป็นผักที่ไฟเบอร์อยู่พอสมควร ทำให้เมื่อรับประทานหัวไชเท้าไปนั้นจะช่วยให้อิ่มไวมากขึ้น ช่วยในกระบวนการขับถ่ายได้ดี อีกทั้งยังช่วยดีท็อกซ์ลำไส้และกระเพาะอาหาร ทำให้ร่างกายดูดซึมอาหารได้ดียิ่งขึ้น จึงช่วยให้อิ่มได้เร็วมากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ

ไม่เพียงแต่ช่วยในเรื่องของการล้างสารพิษในร่างกายเท่านั้น หัวไชเท้ายังมีส่วนช่วยในการบำรุงผิวพรรณได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในหัวไชเท้านั้นมีส่วนประกอบของน้ำอยู่พอสมควร แถมยังอุดมไปด้วยวิตามินบี ซี ฟอสฟอรัส และสังกะสี ที่เป็นอาหารชั้นดีสำหรับเซลล์ผิว จึงมีส่วนช่วยให้ผิวพรรณดูชุ่มชื้นมากขึ้น และดูมีน้ำมีนวลมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

  • เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

หัวไชเท้านับว่าเป็นผักที่มีวิตามินซีอยู่สูง และยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์อีกมากมาย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ได้ทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น

  • บรรเทาอาการไข้หวัด

หัวไชเท้าเป็นพืชที่อุดมไปด้วยวิตามิน ไม่แปลกเลยที่ช่วยบรรเทาอาการหวัดได้ ซึ่งอุดมไปด้วยคุณประโยชน์จากสารอาหารต่างๆ ในหัวไชเท้า เมื่อนำไปประกอบอาหารเป็นต้มจืดช่วยให้การทานอาหารนั้นทานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งหัวไชเท้ายังช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดีเลย

จะเห็นได้เลยว่าแม้หัวไชเท้าจะเป็นพืชที่อาจจะดูไม่โดดเด่นอะไรมากนัก แต่ก็ถือว่าเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งเลยทีเดียว นอกจากนี้การปลูกยังสามารถทำได้ง่าย และปลูกได้ตลอดทั้งปี ทำให้ง่ายต่อการปลูก และทำเม็ดเงินหรือสร้างเม็ดเงินให้กับเกษตรกรได้ตลอดทั้งปีเลย

แต่ถึงอย่างนั้นการปลูกก็ต้องรู้จักดูแลให้ดี มิเช่นนั้นอาจจะก่อให้เกิดโรคได้ แม้ว่าจะเป็นพืชที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ค่อนข้างเร็วก็ตาม อย่างไรก็ดีหัวไชเท้ายังคงเป็นพืชที่สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูในประเภทต้ม ซึ่งเชื่อได้เลยว่าไม่มีทางที่หัวไชเท้าจะไม่อยู่อาหารประเภทต้มอย่างแน่นอน แม้จะเป็นพืชที่ไม่สะดุดตา แต่ก็เป็นพืชที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

หัวไชเท้าถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีความน่าสนใจไม่น้อยซึ่งอย่างที่กล่าวไปทั้งหมด ข้อมูลนี้เป็นการนำเสนออีกรูปแบบหนึ่งที่จะทำให้ผู้ที่สนใจนั้นสามารถเข้าใจในเรื่องของหัวไชเท้าได้ง่ายขึ้น ซึ่งในบ้านเราอาจจะนิยมปลูกพันธุ์เดียว แต่จริงแล้วหัวไชเท้าก็มีชนิดอื่นอีกที่เรายังไม่รู้ แต่ถึงอย่างไรข้อมูลในส่วนนี้ก็คงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจใน การปลูกหัวไชเท้า ได้ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียวเชียว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://sookjanrong.wordpress.com/วิธีการปลูกหัวผักกาด/,https://www.thai-thaifood.com/th/หัวไชเท้า/,https://onnicha17217.wordpress.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94/,https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_5957