ปลูกถั่วดาวอินคา 8 ไร่ แบบเกษตรกรพอเพียง เก็บผลผลิตได้ทุกส่วน ไม่พอตลาด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกต้นถั่วดาวอินคา

การปลูกพืชแบบผสมผสานเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยการปลูกพืชในรูปแบบพืชมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงเกื้อกูลกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากสภาพดิน ฟ้า และอากาศ หรือจะเป็นในรูปแบบของราคาในตลาด ทำให้สามารถจัดการและมีรายได้ตลอดทั้งปี

ถั่วดาวอินคาจึงเป็นพืชที่น่าสนใจตัวหนึ่ง ด้วยต้นถั่วดาวอินคาเป็นพืชที่สมควรปลูกแซมกับต้นไม้อื่นเพื่อให้ได้ร่มเงา สามารถนำมาเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งได้ แต่เนื่องจากต้นถั่วดาวอินคาเป็นพืชตัวใหม่ในเมืองไทย มีการส่งเสริมการปลูกโดยบริษัทต่างๆ ว่าสามารถนำมาทำอะไรได้ มีประโยชน์อย่างไร ทำให้เกิดกระแสการปลูกตามมา

แต่เพราะเป็นพืชตัวใหม่ ทำให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกเองยังไม่เข้าใจ และทราบถึงการปลูก การดูแล หรือการเจริญเติบโต อย่างแท้จริง มีแต่คำแนะนำของผู้ส่งเสริมการปลูก แล้วตนเองจะต้องศึกษา ทดลอง ก่อนจะเข้าใจถึงพันธุ์นี้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาในการดูแลต่างๆ หรือการตายเกิดขึ้นด้วย

1.ต้นถั่วดาวอินคา
1.ต้นถั่วดาวอินคา
2.คุณสมทรง-อุดมทรัพย์-ผู้ปลูกต้นถั่วดาวอินคา
2.คุณสมทรง-อุดมทรัพย์-ผู้ปลูกต้นถั่วดาวอินคา

ทางทีมงานได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณสมทรง อุดมทรัพย์ จากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ 84 พรรษา ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการของเกษตรอินทรีย์ในรูปแบบของศูนย์ที่เปิดให้ความรู้เป็นเวลาร่วม 10 กว่าปี และเป็นผู้ปลูกเพาะพันธุ์ และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของต้นถั่วดาวอินคา เพื่อให้ได้ข้อมูลในการปลูกและการดูแลอย่างจริงจัง

การที่เป็นศูนย์การเรียนรู้โดยทำเกษตรอินทรีย์อยู่ก่อนแล้ว โดยมีการปลูกพืชหลายชนิด เช่น ขนุน ข้าว พืชผักต่างๆ และทำน้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยใช้เอง ทำให้มีความรู้ในเรื่องเกษตรอินทรีย์อย่างถ่องแท้ เหตุผลที่สนใจ ปลูกถั่วดาวอินคา เนื่องจากตนได้ไปประชุมงานเกษตรต่างๆ ทั้งของ ธกส. หรือสภาเกษตร และตนเองทำงานอยู่ในสภาเกษตรด้วย

โดยในขณะนั้น บริษัท พอเพียงวัฒนา จำกัด ได้มีการส่งเสริมแนะนำให้ปลูก ตนเองจึงกลับมาศึกษาเกี่ยวกับต้นถั่วดาวอินคาว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง และมีประโยชน์อย่างไร ซึ่งเมื่อศึกษาดีแล้วก็ได้รู้ถึงประโยชน์ของต้นถั่วดาวอินคาว่าใบสามารถนำมาทำชาที่สามารถลดอาการเบาหวาน และสลายไขมันได้ ซึ่งคนไทยก็เป็นโรคนี้กันเยอะ ส่วนเมล็ดก็สามารถนำไปสกัดน้ำมัน ซึ่งมีประโยชน์มากมาย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.ต้นพันธุ์ถั่วดาวอินคา
3.ต้นพันธุ์ถั่วดาวอินคา

การเก็บผลผลิตถั่วดาวอินคา และ ประโยชน์ของต้นถั่วดาวอินคา

ทางสวนของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ 84 พรรษา ที่มีเนื้อที่ในการปลูกต้นถั่วดาวอินคาทั้งหมด 8 ไร่ โดย 1 ไร่ เฉลี่ยอยู่ที่ 6 กิโลกรัม แต่ถ้าดูแลดีๆ หรือลำต้นมีอายุมากขึ้น ผลผลิตก็จะมากขึ้นด้วย ส่วนใบแก่จะสามารถเก็บได้ถึงวันละ 20-30 กิโลกรัม

โดยจะแบ่งเก็บตามโซน แต่ก็ยังไม่พอต่อความต้องการ ซึ่งจะมีการปลูกเพิ่มให้ถึง 20 ไร่ ในอนาคต และใบจะนำไปใช้ทำชา ซึ่งทางศูนย์เองจะใช้ใบของถั่วดาวอินคาในพื้นที่ เพราะสามารถตรวจสอบได้ง่าย และไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพและการขนส่ง เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพกับผู้ดื่ม

10.ถั่วดาวอินคา ที่แห้งแล้ว
10.ถั่วดาวอินคา ที่แห้งแล้ว

ด้านตลาด ถั่วดาวอินคา

ถั่วดาวอินคาตอนนี้มีหลายประเทศที่ต้องการนำไปทำน้ำมัน เนื่องด้วยมีผลวิจัยต่างๆ ออกมามากมายที่เป็นเรื่องที่เด่น คือ มีสารโอเมก้า 3,6,7 ที่สูงมาก ต่อไปมองว่าอนาคตของถั่วดาวอินคาจะไปได้สวย ทั้งในและต่างประเทศ และ

สำหรับผู้สนใจปลูกต้องศึกษาก่อนที่จะปลูกให้ดูก่อนว่า รายได้ ผลผลิต เป็นอย่างไร พอใจกับรายได้หรือไม่ เพราะเมื่อปลูกแบบไม่ศึกษาให้ดีแล้วตาย ก็จะเสียดายทั้งเงินและเวลาที่ลงไป และอย่าทำแบบเศรษฐกิจตาโต เพราะถ้าทำใหญ่ ล้มแล้วจะเจ็บ ให้ทำอย่างพอดี พอเพียง ค่อยๆ ทำ อย่าทำพืชตัวเดียว

4.ต้นกล้าถั่วดาวอินคาที่ยังไม่สลัดเมล็ดออก
4.ต้นกล้า ถั่วดาวอินคา ที่ยังไม่สลัดเมล็ดออก

การเพาะเมล็ดต้นถั่วดาวอินคา

คุณสมทรงเริ่มตัดสินใจปลูก และได้นำเมล็ดที่นำมาแสดงในงานต่างๆ มาทดลองปลูก สามารถเพาะต้นถั่วดาวอินคาได้ 20 ต้น และเรียนรู้ศึกษาด้วยตนเอง แต่ต่อมาได้ไปประชุมในที่ต่างๆ และมีคนรู้จักขายเมล็ดต้นถั่วดาวอินคาทั้งเปลือก จึงขอซื้อต่อมา 5 กิโลกรัม เพื่อทดลองปลูกอย่างจริงจัง การเพาะชุดแรกต้นสามารถงอกถึง 90 เปอร์เซ็นต์ โดยเริ่มปลูกต้นถั่วดาวอินคาในเนื้อที่ทั้งหมด 8 ไร่ โดยใช้ต้นขนุนเป็นพืชพี่เลี้ยง

การเพาะเมล็ดต้นถั่วดาวอินคาจะมีความยาวอยู่ในระดับหนึ่ง เพราะจะมีเปอร์เซ็นต์การงอกที่ต่ำ ถ้าไม่มีการบ่มเมล็ดก่อน และเมื่อเมล็ดงอกออกมาแล้วบางทีอาจมีปัญหา เช่น เมล็ดอ้าไม่หมด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ต้นถั่วดาวอินคาเน่าและตายได้เช่นกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • แกะเมล็ดชั้นในนำมาแช่น้ำอุ่นประมาณ 4-6 ชั่วโมง
  • นำแผ่นพลาสติกปูพื้น และนำขุยมะพร้าวที่ชุบน้ำให้ชุ่มวางลง
  • นำเมล็ดโรยลงไป
  • นำขุยมะพร้าวที่ชุบน้ำวางทับ และปิดด้วยแผ่นพลาสติก
  • รอประมาณ 1 อาทิตย์ เมล็ดก็จะงอกออก ในระหว่างนั้นก็ต้องหมั่นตรวจดูเมล็ดที่บ่ม และเตรียมถุงและดินดี ใส่แกลบดำเพื่อสำหรับเพาะไว้ด้วย
5.เมล็ดในของถั่วดาวอินคานำไปปลูกได้
5.เมล็ดในของ ถั่วดาวอินคา นำไปปลูกได้
ต้นถั่วดาวอินคาจำเป็นต้องปลูกให้มีร่มรำไร
ต้นถั่วดาวอินคาจำเป็นต้องปลูกให้มีร่มรำไร

สภาพพื้นที่ปลูกต้นถั่วดาวอินคา

เมื่อเพาะต้นกล้าได้ 1 เดือน แล้ว ให้นำลงปลูกในดิน โดยปักเสาไม้หรือปูน ทำค้างในระยะห่าง 2×4 เมตร เพราะต้นถั่วดาวอินคาเป็นพืชไม้เลื้อย ซึ่งภายใน 1 ไร่ จะสามารถปลูกได้ทั้งหมด 200 ต้น จะขุดหลุมให้พอกับถุงเพาะ ให้นำปุ๋ยชีวภาพมาใส่ และลงปลูกได้เลย

โดยช่วงที่เริ่มปลูกแรกๆ จำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน โดยไม่ให้พื้นเปียกหรือแฉะจนเกินไป หรือลำต้นของ ถั่วดาวอินคา สูงประมาณ 1 ข้อศอก ให้ทำการเด็ดยอดทิ้งเพื่อให้แตกยอด และดูแลต่อถึงประมาณ 4 เดือน ก็จะเริ่มออกดอก ออกผล โดยในระยะนี้สามารถรดน้ำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ได้แล้ว เพราะลำต้นจะเริ่มแข็งแรง ขั้วเริ่มเหนียว ติดลูก กิ่งเริ่มออกมากขึ้น ช่วงนี้ก็ต้องหาฟางไปคลุม และบำรุงให้ปุ๋ยและฉีดฮอร์โมน

ซึ่งฮอร์โมนจะเป็นจำพวกน้ำหมักผลไม้หวาน โดย 6 เดือน ผลผลิตก็จะแห้ง ชุดแรกใน 1 ปี จะมีอยู่ 4 รุ่น โดย 3 เดือน จะแห้ง 1 ครั้ง แต่จะแห้งไม่พร้อมกัน ทำให้สามารถเก็บผลผลิตได้ทั้งปี ซึ่งอย่างน้อยๆ ภายใน 1 ไร่ จะสามารถเก็บผลแห้งได้ 4-6 กิโลกรัม/ต้น/ปี เฉลี่ย 500 กิโลกรัม/ไร่/ปี ในช่วงที่ปลูกปีแรกๆ

ส่วนใบจากต้นถั่วดาวอินคาจะสามารถเก็บตอนนั้นอายุช่วง 6 เดือนขึ้นไป โดยจะเก็บใบแก่ๆ ด้านล่าง เพื่อเอาไปทำเป็นชา จะเก็บตั้งแต่ช่วงเช้า 10โมงเช้า เพราะถ้าเลยจากนั้นคุณภาพและคุณค่าของใบชาจะลดลง

6.ปลูกถั่วดาวอินคาใช้ต้นขนุนเป็นพืชพี่เลี้ยง
6. ปลูก ถั่วดาวอินคา ใช้ต้นขนุนเป็นพืชพี่เลี้ยง

การบำรุงดูแลรักษาต้นถั่วดาวอินคา

ต้นถั่วดาวอินคาเป็นพืชที่ชอบที่สูง เชิงเขา มีร่มเงารำไร ต้องมีพืชพี่เลี้ยง เพราะธรรมชาติเป็นพืชป่า ต้องเป็นพื้นที่ไม่ร้อนจัด หรือที่โล่ง แต่ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นพื้นที่ร้อนจัด หรือที่โล่ง ไม่ควรใช้สารเคมีเพราะจะทำให้ตาย ให้นำต้นกล้วยไปลูกเพื่อช่วยเป็นพืชพี่เลี้ยงก่อน เพราะกล้วยมีน้ำเยอะ มีการเจริญเติบโตที่ไวกว่าพืชตัวอื่น

และกล้วยยังสามารถนำมาเป็นรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย และไม่ควรใช้สารเคมี เพราะจะทำให้ตาย ส่วนการตัดแต่งกิ่ง จะแต่งกิ่งในช่วงอายุต้นได้ประมาณ 2-3 ปี ตัดให้โปร่ง และไม่แน่นจนเกินไป เพราะถ้าไม่ตกแต่งกิ่งแล้วจะทำให้ลำต้นมีแต่ใบ ผลผลิตไม่ค่อยออก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.ให้ปุ๋ยต้นถั่วดาวอินคา
7.ให้ปุ๋ยต้น ถั่วดาวอินคา

การให้ปุ๋ยต้นถั่วดาวอินคา

การให้ปุ๋ยจะให้ปุ๋ยชีวภาพ 1 กำมือ ในช่วงระยะเริ่มปลูก เมื่อต้นแข็งแรงจะให้ปุ๋ยชีวภาพ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 กำมือ ภายใน 1 ปี

ปุ๋ยชีวภาพอัตราของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ 84 พรรษา (1 ตัน)

  1. ขี้ไก่ไข่ (160 กิโลกรัม)
  2. ขี้ไก่แกลบ (160 กิโลกรัม)
  3. ขี้วัว (160 กิโลกรัม)
  4. ขี้เค้กอ้อย (160 กิโลกรัม)
  5. เพอร์ไลต์ (หินอสัณฐานภูเขาไฟ) (160 กิโลกรัม)
  6. โดโลไมท์ (160 กิโลกรัม)
  7. น้ำจุลินทรีย์
  8. รำข้าว (50 กิโลกรัม)
  9. กากน้ำตาล

คลุกเคล้าให้เข้ากัน และใช้สแลนกันแดดคลุมเพื่อให้มีอากาศถ่ายเท ภายใน 15 วันแรก จะต้องกลับปุ๋ยทุกวัน เมื่อปุ๋ยครบ 20 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้ โดยปุ๋ยหมักชีวภาพจะสามารถนำไปใช้ได้ต้องมีความชื้นได้ที่ คือ เมื่อใช้มือกำปุ๋ยลงไปแล้วจะเป็นก้อน ไม่แตก และไม่แฉะ จนมีน้ำเยิ้มออกมา เมื่อจับปุ๋ยแล้วรู้สึกเย็นก็เป็นการใช้ได้

8.ผลสดที่ยังไม่พร้อมจะเก็บเกี่ยว
8.ผลสดที่ยังไม่พร้อมจะเก็บเกี่ยว

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง ของ ถั่วดาวอินคา

เรื่องโรคต้น ถั่วดาวอินคา จะมีเชื้อรามารบกวน ราจะเป็นราจุดสีดำ และแมลงก็จะมีหนอนเจาะลำต้น จะมีโรคและแมลงในช่วงอายุต้น 6-7 เดือน โดยจะฉีดพ่นป้องกันด้วยน้ำส้มควันไม้ สูตรน้ำหมักสะเดา สูตรฝักคูณ เป็นต้น แต่ถ้าฉีดป้องกันตั้งแต่เริ่มปลูกก็จะไม่มีปัญหา

โดยทางศูนย์เองไม่พบเจอปัญหาเรื่องเชื้อรา เพราะฉีดป้องกันประมาณอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ส่วนเรื่องหนอนจะเป็นปัญหาที่น้อยกว่าเชื้อรามาก โดย 200 ต้น จะเจอหนอนเจาะลำต้นประมาณ 5 ต้น ที่น่ากลัวที่สุดจะเป็นเชื้อราดำมากกว่า

9.ผลแห้งจากต้นที่เก็บได้แล้ว
9.ผลแห้งจากต้นที่เก็บได้แล้ว

ขอขอบคุณ คุณสมทรง อุดมทรัพย์ (ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ 84 พรรษา) ที่อยู่ 117/2 หมู่ 4 ต.เกาะจันทร์ อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี 20240 โทร.08-9962-6650

โฆษณา
AP Chemical Thailand