วิธีปลูกผักไฮโดร เปรียบเทียบ ข้อดีและข้อเสียของระบบ DRFT และ NFT

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สลัดคุณหนู มุ่งผลิตผักไฮโดรโปนิกส์

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ประเทศไทยหรือประเทศไหนๆ ก็ตาม ต่างก็ประสบปัญหาคล้ายๆ กันในเรื่องของมลพิษ ไม่ว่าจะมาจากทางอากาศ ทางดิน หรือว่าทางอาหาร ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ซึ่งในสังคมเมืองด้วยแล้ว การที่ต้องเจอกับมลพิษทุกๆ วัน กับการรับประทานอาหารจานด่วน เลยเป็นเหตุให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย จึงทำให้ผู้คนเริ่มสนใจที่จะรักษาสุขภาพกันมากขึ้น มีทั้งการออกกำลังกาย หรือการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์เพื่อสุขภาพ เพื่อที่จะหลีกหนีจากโรคภัยทั้งปวง

เมื่อมนุษย์เราเมื่อเกิดมาก็อยากมีชีวิตที่ยืนยาว ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บกันทั้งนั้น และสิ่งที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของอาหาร แต่เรานั้นจะสามารถรับประทานอาหารอย่างไรเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงสารเคมี และสารพิษต่างๆ ให้ได้มากที่สุด เพื่อทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากอาหารที่เรารับประทานที่ปราศจากสารพิษ สารเคมี ได้อย่างสูงสุด จึงอยากจะขอนำเสนอการปลูกผักในรูปแบบ “ไฮโดรโปนิกส์” ซึ่งถึงแม้การปลูกผักแบบนี้จะมีราคาต้นทุนที่สูงกว่าการปลูกผักในดินก็ตาม แต่ถ้าแลกกับความสะอาด และสุขภาพที่ดีขึ้น จะแพงกว่านิดหน่อยจะเป็นไรไป

ทางทีมงานจึงเสาะแสวงหาผักเพื่อสุขภาพ จึงได้มาพบกับ คุณชวินทร์ภัทร์ กันทาธนพิศุทธิ์ เกษตรกรรุ่นใหม่ ผู้ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ ภายใต้แบรนด์ที่ชื่อว่า “สลัดคุณหนู ไฮโดรโปนิกส์” ซึ่งที่เริ่มทำนั้นเพราะมีเวลาว่างจากการทำงาน และอยากทำเป็นอาชีพเสริม จนทุกวันนี้กลายเป็นอาชีพหลักไปแล้ว

1.ฟาร์มสลัดคุณหนู
1.ฟาร์มสลัดคุณหนู

การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ก็คือ การปลูกผักที่ไม่ใช้ดิน หรือการปลูกผักในน้ำ ที่มีการเติมธาตุอาหารที่พืชต้องการผสมอยู่ หรือที่เรียกว่า “ผักไร้ดิน” ซึ่งตอนนี้ถือว่าเป็นการปลูกพืชที่กำลังได้รับความนิยมสูงมาก เพราะการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์จะไม่มีการปนเปื้อนสารเคมีในดิน ทำให้ผักที่ได้มีความสะอาด ปลอดสารพิษ และยังประหยัดเนื้อที่ในการปลูกอีกด้วย แต่ผักจะมีราคาที่สูงกว่าตลาดทั่วไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.คุณชวินทร์ภัทร์-กันทาธนพิศุทธิ์-ขวา-ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์-และภรรยา-ซ้าย
2.คุณชวินทร์ภัทร์-กันทาธนพิศุทธิ์-ขวา-ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์-และภรรยา-ซ้าย

คุณชวินทร์ภัทร์เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนคุณชวินทร์ภัทร์รับราชการเป็นทหาร และได้มีโอกาสไปงานพืชสวนโลก ดูการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ของโครงการหลวง ประกอบกับตนเองก็โตมากับครอบครัวที่ทำการเกษตร ตนจึงคิดว่าการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์สามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพเสริมได้

โดยเริ่มแรกเป็นการลองทำดู โดยร่วมหุ้นกับเพื่อนกัน 2 คน ศึกษาการปลูกแบบลองผิดลองถูก เพราะทั้ง 3 คน นั้น ไม่มีใครจบทางด้านเกษตรมาเลย สร้างโรงเรือนเป็นไม้ไผ่ในพื้นที่ 1 งาน ทั้งหมด 4 โรงเรือน มีโต๊ะปลูกประมาณ 20 โต๊ะ การปลูกจะปลูกในระบบปลูกแบบ DRFT หรือที่เรียกว่า ระบบน้ำลึก มีการทำรางปลูกด้วยตนเอง ทดลองทำได้ประมาณ 6 เดือน ก็เริ่มมีผลตอบรับ เริ่มมีคนสั่งผักมากขึ้น และดีขึ้นเรื่อยๆ มีพ่อค้า แม่ค้า คนกลาง มารับซื้อถึงหน้าสวน

3.ปลูกด้วยโรงเรือนแบบเปิด
3.ปลูกด้วยโรงเรือนแบบเปิด

สภาพพื้นที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

แต่ซักพักก็เจอกับปัญหาแมลงที่รุมเร้า เนื่องจากแปลงปลูกใกล้กับแปลงนา ประกอบกับโรงเรือนที่เป็นไม้ไผ่ก็ประสบปัญหาปลวกกิน และแถมโรงเรือนยังถูกพายุพัดโค่นอีก ต่อมาเพื่อนๆ ของคุณชวินทร์ภัทร์ก็แยกย้ายไปทำอย่างอื่นกันหมด คุณชรินทร์ภัทร์จึงมานั่งคิดกับปัญหาที่เกิดขึ้นว่าตนเองอาจจะดูแลไม่ดีพอ ประกอบกับคุณชวินทร์ภัทร์ยังเห็นช่องทางการตลาดของผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ที่เปิดกว้างอยู่มาก

สุดท้ายจึงรื้อโรงเรือนไม้ไผ่ที่เหลืออยู่ออกทั้งหมด แล้วจึงสร้างโรงเรือนในรูปแบบของโครงเหล็กเพื่อให้มีความแข็งแรง ทนทาน มากขึ้น โดยลงทุนประมาณ 5 แสนบาท ในการสร้าง แต่ก็ยังใช้ระบบการปลูกแบบ DRFT อยู่ แต่เมื่อทำไปได้ซักพักใหญ่ประมาณ 3-4 ปี ก็มีปัญหาเกิดขึ้นอีก คือ เนื่องจากรับราชการทหาร จึงไม่ค่อยมีเวลาดูแลมากนัก และผลผลิตช่วงหลังก็เริ่มให้ผลผลิตที่เล็กลง จากผลิตผักสลัดได้ 7-8 หัวต่อกิโลกรัม กลับลดลงเหลือ 14-16 หัวต่อกิโลกรัม

คุณชวินทร์ภัทร์ดูแล้วว่าน่าจะไปไม่ไหว เลยหาสอบจนได้มาเป็นข้าราชการท้องถิ่นแถวบ้าน เพื่อที่จะสามารถเข้าไปดูแลผักสลัดได้อย่างเต็มที่ และใกล้ชิดมากขึ้น และคุณชวินทร์ภัทร์ยังหันมาลองการปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์เพื่อให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น โดยใช้รางสำเร็จรูปแล้วเปลี่ยนจากการปลูกในระบบ DRFT เป็นระบบ NFT ซึ่งเป็นระบบน้ำตื้นว่าเป็นอย่างไร

ซึ่งขณะนี้ได้ทดลองปลูกในระบบ NFT เป็นเวลาประมาณ 6 เดือน ก็เห็นว่าปัญหาของผักสลัดลดลงไปได้เยอะ การทำความสะอาดง่ายขึ้น ประกอบกับตนเองมีความชำนาญ และมีเวลาดูแลมากขึ้น จึงทำให้ผลผลิตที่ออกมาค่อนข้างดีมาก ซึ่งเมื่อก่อน 1 สัปดาห์ สามารถผลิตผักสลัดได้ประมาณ 200 กิโลกรัม แต่เมื่อมาเปลี่ยนเป็นระบบ NFT สามารถผลิตผักสลัดได้สัปดาห์ละ 350 กิโลกรัม ด้วยจำนวนวางที่เท่าเดิม

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.บ่อกักเก็บน้ำที่ใช้หมุนเวียนในระบบNFT
4.บ่อกักเก็บน้ำที่ใช้หมุนเวียนในระบบNFT

ข้อดีและข้อเสียของระบบ DRFT และ NFT

ระบบ DRFT เป็นระบบปลูกด้วยกากโฟม เจาะรูให้สารละลายธาตุอาหารและอากาศไหลผ่านรากในระดับน้ำลึก สารละลายเหล่านี้มีธาตุอาหารพืชที่สูง

หลักการทำงานของระบบ DRFT คือ สารละลายและอากาศจะไหลวนผ่านรากของพืชในถาดปลูก แล้วไหลวนลงถังกักเก็บสารอาหาร โดยหมุนเวียนด้วยระบบปั๊มน้ำ ข้อดี คือ ระบบน้ำลึก ตรงอุณหภูมิน้ำจะต่ำกว่า รวมทั้งปริมาณออกซิเจนมาก เหมาะกับปลูกผักไทยมากกว่า ข้อเสีย คือ โฟม เป็นวัสดุที่ไม่แข็งแรง หักได้ง่าย และตะไคร่น้ำอาจจับตัวที่โฟมได้ ซึ่งผักที่เราปลูกอาจจะเสี่ยงติดโรคได้

ระบบ NFT เป็นระบบปลูกพืชด้วยระบบราง โดยพืชจะแช่รากอยู่ในการละลายโดยตรง สารละลายจะไหลเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ ประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ในรางปลูก หรือที่เรียกว่า ระบบน้ำตื้น และหมุนเวียนระบบน้ำด้วยปั๊มเหมือนกัน ข้อดี คือ ดูแลง่าย ไม่ยุ่งยาก เช่น การล้าง หรือทำความสะอาด ปริมาณการใช้น้ำน้อยลง ผักมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า เหมาะสมกับผักจำพวกผักสลัดเมืองหนาว ข้อเสีย คือ มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ DRFT มาก อุณหภูมิในตัวรางจะร้อนได้ง่าย และอาจจะมีการแพร่กระจายของโรคพืชบางชนิดได้เร็วกว่า

5.เมล็ดพันธุ์ในการปลูก-โดยนำเข้าของ-บ.ดัทช์-กรีนเนอรี่-จก.
5.เมล็ดพันธุ์ในการปลูก-โดยนำเข้าของ-บ.ดัทช์-กรีนเนอรี่-จก.
ต้นกล้าที่กำลังงอกจากโต๊ะอนุบาลแรก
ต้นกล้าที่กำลังงอกจากโต๊ะอนุบาลแรก
ต้นกล้าของมิซูน่าจากโต๊ะอนุบาลที่-2-มายังโต๊ะปลูก
ต้นกล้าของมิซูน่าจากโต๊ะอนุบาลที่-2-มายังโต๊ะปลูก

ขั้นตอนและ วิธีปลูกผักไฮโดร 

การปลูกเริ่มจากนำเมล็ดพันธุ์สลัด ซึ่งคุณชวินทร์ภัทร์จะเพาะเมล็ดพันธุ์ประมาณ 5,000 เมล็ด ต่อรอบ มาเพาะกล้าในกระบะเพาะเมล็ดประมาณ 3 วัน ก็จะแตกออกมีความยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ระหว่างนั้นก็รดน้ำด้วยน้ำเปล่า

หลังจากต้นกล้าแตกออกมาแล้วประมาณวันที่ 10-14 ก็เริ่มให้ปุ๋ย AB ได้ โดยจะผสมน้ำยา AB 5 cc. ต่อน้ำ 10 ลิตร โดยที่ย้ายกล้ามาปลูกในโต๊ะอนุบาลที่ 2 และเมื่ออยู่ในถาดอนุบาลที่ 2 ครบ 10-15 วัน จึงค่อยย้ายมาลงโต๊ะปลูก และดูแลอีกประมาณ 20-25 วัน จึงสามารถเก็บผลผลิตได้ รวมเวลาการปลูกทั้งหมดประมาณ 45 วัน

6.การให้ปุ๋ยผักไฮโดรโปนิกส์
6.การให้ปุ๋ยผักไฮโดรโปนิกส์

การใส่ปุ๋ยผักไฮโดรโปนิกส์

การให้ปุ๋ย และการดูแล ปุ๋ย AB คือ ปุ๋ยที่ใช้สำหรับการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ ที่ผู้ที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จะรู้จักกันดีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นสารละลายธาตุอาหารที่เหมาะสมกับพืชที่มีสารเคมีผสมอยู่ ซึ่งถึงสารละลายจะมีส่วนประกอบของสารเคมี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ผักไฮโดรโปนิกส์ก็ยังจัดอยู่ในกลุ่มผักปลอดสารพิษ เพราะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีที่อันตรายต่างๆ การให้ปุ๋ย AB จะใส่ตามสูตรมาตรฐานที่ประกอบไว้ข้างฉลาก โดยการผสมน้ำ แต่ก็ต้องสังเกตผักว่าขาดธาตุอาหารอะไรหรือไม่ ถ้าขาดธาตุอาหารก็เพิ่มปริมาณของปุ๋ยเข้าไปในปริมาณที่พอเหมาะ โดยปุ๋ยที่ผสมกับน้ำจะหมุนเวียนโดยระบบปั๊มน้ำ

7.ทำความสะอาดรางปลูก
7.ทำความสะอาดรางปลูก

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง

การดูแลรักษาโรคและกำจัดแมลงจะใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาและเชื้อบิวเวอร์เรีย ซึ่งทั้ง 2 เชื้อนี้ เป็นเชื้อราที่เป็นประโยชน์ ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ และสัตว์

-เชื้อไตรโคเดอร์มา จะช่วยป้องกันเชื้อและโรคพืชได้หลายชนิด เช่น รากเน่า และราต่างๆ

-เชื้อบิวเวอร์เรีย จะช่วยในการป้องกันแมลงได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยชนิดต่างๆ หนอน ด้วง แมลงกินใบ

โดยการใช้เชื้อทั้ง 2 ตัวนี้ ไม่ควรใช้พร้อมกัน เพราะเชื้อไตรโคเดอร์มามีสรรพคุณในการกำจัดรา ทำให้เชื้อบิวเวอร์เรียตายได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่สมควรที่จะพึ่งเชื้อในการกำจัดโรคและแมลงอย่างเดียว โดยจะเดินดูแปลงผักทุกวัน เช้า-เย็น เพื่อป้องกันโรคและแมลงอีกทีหนึ่ง ส่วนการรักษาความสะอาดจะทำความสะอาดรางปลูกประมาณ 15-20 วัน ต่อครั้ง

8.ผักสลัดฟิลเลย์-ที่พร้อมจะเก็บเกี่ยว
8.ผักสลัดฟิลเลย์-ที่พร้อมจะเก็บเกี่ยว วิธีปลูกผักไฮโดร วิธีปลูกผักไฮโดร วิธีปลูกผักไฮโดร วิธีปลูกผักไฮโดร
ผักสลัดร๊อคเก็ตที่ใกล้พร้อมจะเก็บเกี่ยว
ผักสลัดร๊อคเก็ตที่ใกล้พร้อมจะเก็บเกี่ยว วิธีปลูกผักไฮโดร วิธีปลูกผักไฮโดร วิธีปลูกผักไฮโดร วิธีปลูกผักไฮโดร

ด้านตลาดผักไฮโดรโปนิกส์

สลัดคุณหนูไฮโดรโปนิกส์ของคุณชวินทร์ภัทร์ ในแง่ของการตลาดส่วนใหญ่จะเป็นร้านอาหารตามจังหวัดเชียงใหม่ และพ่อค้าคนกลาง โดยจะเน้นส่งในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และในเขตภาคเหนือ เช่น ตาก พะเยา ตอนนี้มีเจ้าประจำที่ส่งอยู่ประมาณ 20 เจ้า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และในอนาคตก็คิดว่าคงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะปลูกตามออเดอร์ที่สั่ง โดยจะส่งให้พ่อค้าคนกลางในวันอังคาร-วันพุธ และจะส่งให้ร้านอาหารในวันจันทร์ วันพฤหัส และวันศุกร์ และยังมีการใช้สื่ออย่าง Facebook, OLX และยังติดสติ๊กเกอร์ของร้าน เพื่อเป็นช่องทางโฆษณาอีกทางหนึ่ง ทำให้ยอดขายทะลุเป้ามากขึ้น

9.วิธีปลูกผักไฮโดร กรีนโอ๊ค-เรดโอ๊ค-ฟิลเลย์-เรคคอรัล-คอส-ร็อคเก้ต-บัตเตอร์เฮด-มิซูน่า
9.วิธีปลูกผักไฮโดร กรีนโอ๊ค-เรดโอ๊ค-ฟิลเลย์-เรคคอรัล-คอส-ร็อคเก้ต-บัตเตอร์เฮด-มิซูน่า

การจำหน่ายผักสลัด

โดยตอนนี้สลัดคุณหนูไฮโดรโปนิกส์สามารถผลิตผักสลัดได้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1 ตัน ซึ่งสายพันธุ์ที่ปลูกหลักๆ ก็จะมีอยู่ 8 สายพันธุ์ คือ กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค เรดคอรัล บัตเตอร์เฮด คอส ร็อเก็ต พิซูน่า และฟิลเล่ย์ มีราคาขายมาตรฐาน คือ ลูกค้าปลีกสั่ง 5 กิโลขึ้นไป ราคา 80 บาท/กิโล ถ้าไม่ถึง 5 กิโล ราคาจะอยู่ที่ 90 บาท/กิโล แต่ถ้ามาซื้อถึงหน้าฟาร์มไม่ถึง 5 กิโล จะขายอยู่ที่ 80 บาท/กิโล ส่วนลูกค้าส่งจะต้องสั่ง 100 กิโลขึ้นไป ในราคา 65-70 บาท/กิโล โดยตอนนี้รายได้ต่อเดือนของสลัดคุณหนูไฮโดรโปนิกส์อยู่ที่ประมาณ 10,000 บาท ต่อเดือน แต่เป้าหมายของคุณชวินทร์ภัทร์ในปีหน้าจะทำได้ 100,000 บาท ต่อเดือน และมีแผนที่จะเข้าไปจำหน่ายให้ริมปิงทุกสาขา

10.หน้าตาของผักสลัด-บัตเตอร์เฮต
10.หน้าตาของผักสลัด-บัตเตอร์เฮต วิธีปลูกผักไฮโดร วิธีปลูกผักไฮโดร วิธีปลูกผักไฮโดร วิธีปลูกผักไฮโดร

จุดขายเด่นของสลัดคุณหนูไฮโดรโปนิกส์

-ไม่มีการซื้อผักฟาร์มอื่นมาขาย เพื่อที่จะสามารถควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐาน

-มีการคัดแยกผัก คัดใบเสีย และไม่สวยออก ก่อนส่งถึงมือลูกค้า เพื่อให้ได้คุณภาพอย่างสูงสุด

-การแพ็คส่งสินค้าให้ลูกค้าด้วยวิธีการของคุณชวินทร์ภัทร์ เพื่อให้ผักสามารถคงความสดได้นาน

11.ผักสลัดสดๆทานแล้วหวานกรอบ
11.ผักสลัดสดๆทานแล้วหวานกรอบ วิธีปลูกผักไฮโดร วิธีปลูกผักไฮโดร วิธีปลูกผักไฮโดร วิธีปลูกผักไฮโดร

ฝากถึงผู้ที่สนใจ วิธีปลูกผักไฮโดร

สำหรับผู้ที่คิดอยากจะปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ คุณชวินทร์ภัทร์กล่าวว่า “คุณต้องรู้ตัวเองก่อนว่าตัวเองต้องการอะไร ไม่ใช่เห็นเขาทำได้ก็ทำตาม การทำตามของคุณอาจจะหมดเงิน และบางทีอาจจะเจอภาวะต้นทุนที่สูง เพราะไม่รู้ราคาจริงของวัสดุอุปกรณ์ ควรจะศึกษาให้แน่ใจจริงๆ ครับ ซื้อหนังสือ หรืออ่านบทความตามเวปไซด์ก็ได้ และที่สำคัญ คือ ตลาด ทุกคนปลูกได้หมดครับ แต่อยู่ที่คุณจะบริหารตลาดคุณยังไงให้มันอยู่รอด”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณชวินทร์ภัทร์เสริมทิ้งท้ายว่า “อยากให้ทางภาครัฐ หรือโครงการหลวงท่าน สนับสนุนผู้ปลูกผลไม้ หรือผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ เช่น การรับซื้อ เพื่อให้ผู้ปลูกสามารถอยู่ได้ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปลูกครับ”

ที่มาของชื่อสลัดคุณหนู เนื่องจากผักสลัดเป็นเหมือนคุณหนู ต้องประคบประหงมอย่างดีตั้งแต่เล็ก เมื่อโตขึ้นก็ยังต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเหมือนคุณหนู จึงเป็นที่มาของชื่อ “สลัดคุณหนู ไฮโดรโปนิกส์”

ขอขอบคุณ

ฟาร์มสลัดคุณหนู ไฮโดรโปนิกส์

ส.อ.ชวินทร์ภัทร์ กันทาธนพิศุทธิ์

ที่อยู่ 96/3 หมู่ 6 ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 50120

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โทร.08-9266-1482