การปลูกปาล์ม “แบบร่องคู่” ให้ผลผลิตเฉลี่ย 7 ตัน/ไร่/ปี ที่ลุ่มน้ำปากพนัง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เป็นที่ทราบกันดีว่า “ลุ่มน้ำปากพนัง” ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ จ.นครศรีธรรมราช ครอบคลุมพื้นที่รวม 13 อำเภอ รวมพื้นที่ประมาณ 1.9 ล้านไร่ เป็นพื้นที่นากว่า 500,000 ไร่ มีประชากรประมาณ 600,000 คน อดีตขอบลุ่มน้ำแห่งนี้เคยเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเพาะปลูก มีการทำนามากที่สุดโดยอาศัยน้ำจากแม่น้ำปากพนังซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของลุ่มน้ำปากพนัง จึงเป็นแหล่งปลูกข้าวของภาคใต้ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญรุ่งเรืองทุกๆ ด้าน จนเป็นที่รู้จักกันของผู้คนอย่างกว้างขวาง ในนาม “เมืองแห่งอู่ข้าวอู่น้ำ

วันเวลาผ่านไป “ลุ่มน้ำปากพนัง” ที่เคยอุดมสมบูรณ์กลับมีปัญหาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น มีความต้องการใช้น้ำในปริมาณมากขึ้น ขณะที่ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร กลับลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณน้ำจืดที่เคยดูดซับไว้แล้วทยอยปล่อยลงในแม่น้ำปากพนัง  และลำน้ำสาขา

ในช่วงฤดูแล้งลดลงเรื่อยๆ  น้ำจืดที่เคยใช้ได้ปีละ 8-9 เดือน จึงลดลงเหลือเพียงปีละ 3 เดือน เท่านั้น และเนื่องจากลักษณะของแม่น้ำปากพนังมีระดับท้องน้ำอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และมีความลาดชันน้อย เมื่อน้ำจืดทางด้านต้นน้ำมีปริมาณน้อย ทำให้น้ำเค็มสามารถรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขาเป็นระยะทางเกือบ 100 กิโลเมตร

นอกจากนี้ตอนใต้ของลุ่มน้ำปากพนังยังมี “พรุควนเคร็ง” ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มขนาดใหญ่ ประมาณ 200,000 ไร่ มีน้ำท่วมขังตลอดปี มีสารไพไรท์อยู่ในชั้นดิน ทำให้ดินมีสภาพเป็นกรด และมีปัญหาน้ำเปรี้ยว ราษฎรไม่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรได้ รวมทั้งน้ำเน่าเสียจากการทำนากุ้งได้ไหลลงในลำน้ำต่างๆ จนไม่สามารถนำไปใช้เพื่อการเพาะปลูกได้ กลายเป็นปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างชาวนาข้าว และชาวนากุ้ง เกิดปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน

เนื่องจากมีปริมาณฝนตกมาก แต่พื้นที่ลุ่มน้ำเป็นพื้นที่ลุ่มราบแบน มีความลาดชันน้อย อุทกภัยมักจะเกิดในช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ระบายน้ำออกสู่ทะเลได้ยาก จึงทำความเสียหายให้แก่พื้นที่เพาะปลูก และพื้นที่ชุมชนเมืองเป็นบริเวณกว้าง

เมื่อน้ำจืดขาดแคลน-น้ำเค็ม-น้ำเปรี้ยว และน้ำเสีย จึงเป็นปัญหาที่ชาวลุ่มน้ำปากพนังต้องเผชิญ  การทำนาไม่ได้ผล  ผลผลิตต่ำ ราษฎรมีฐานะยากจน จึงเป็นที่มาของการ “พัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังตามแนวพระราชดำริ” ภายใต้ “โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ” ที่เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยพลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์ให้กลับคืนสู่ลุ่มน้ำปากพนังดังเช่นในอดีต

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ ให้กรมชลประทานพิจารณาก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนังที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เพื่อป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำเข้ามา และเก็บกักน้ำจืดไว้ใช้เพื่อการเกษตร อุปโภค และบริโภค พร้อมๆ กับการก่อสร้างระบบคลองระบายน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม  และระบบกระจายน้ำเพื่อการเพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง  ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหา  น้ำท่วมในพื้นที่ทำกินของราษฎรได้เป็นอย่างดี

การปลูกปาล์ม ระบบร่องคู่
การปลูกปาล์ม ระบบร่องคู่
1.คุณบรรจง-แสงพรหม-ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเชียรใหญ่
1.คุณบรรจง-แสงพรหม-ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเชียรใหญ่

การปลูกปาล์มน้ำมัน

คุณบรรจง แสงพรหม ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเชียรใหญ่ จำกัด ยอมรับว่า ตนคือลูกหลานของชาวลุ่มน้ำปากพนัง ในอดีตครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่  ทำสวน  ทำนา  แล้วหันมา “เลี้ยงกุ้งกุลาดำ”  ควบคู่ไปกับการทำหน้าที่เป็น “ผู้จัดการ” สหกรณ์การเกษตรเชียรใหญ่ ทำให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจ และพยายามมุ่งมั่นพัฒนาอาชีพสมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่อย่างเต็มกำลัง   เพราะมีใจรักอาชีพการทำเกษตรมาตั้งแต่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

ขณะที่การเลี้ยงกุ้งกุลาดำในช่วงนั้นประสบปัญหาขาดทุน เพราะจากที่เคยมีน้ำเค็มขึ้นมากลับมีน้ำกร่อยเกิดขึ้น จนต้องเป็นหนี้จำนวนมาก จึงได้หันมาปลูก “ฟักทอง” ในที่ดินของพี่ชายจำนวน 28 ไร่ สร้างรายได้เรื่อยมา จนสามารถปลดหนี้ได้ในที่สุด และกลายเป็นเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จที่มีชื่อเสียงในการปลูกฟักทองของจังหวัดนครศรีธรรมราช

ต่อมาในปี 2548 ได้มี “โครงการพระราชดำริ” เข้ามา จึงได้มีการส่งเสริม สนับสนุน และงบประมาณบางส่วน เพื่อรองรับน้ำจืด โดยให้เกษตรกรในพื้นที่เปลี่ยนจาการทำนากุ้งมาปลูกพืชเศรษฐกิจ ทั้งปาล์มน้ำมัน นาข้าว สวนสน ยางพารา  และเลี้ยงปลา  โดยคุณบรรจงเป็นหนึ่งในเกษตรกรรุ่นแรกๆ ที่หันมา  “ปลูกปาล์มน้ำมัน”  ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง โดยมีพื้นฐานมาจากการเป็นผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรฯ ที่มีโอกาสไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับปาล์มน้ำมันในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งที่ บริษัท ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)

2.ต้นปาล์มสายพันธุ์ยูนิวานิช-อายุ-5-ปี-ที่ปลูกในระบบร่องคู่
2.ต้นปาล์มสายพันธุ์ยูนิวานิช-อายุ-5-ปี-ที่ปลูกในระบบร่องคู่
การรักษาระดับน้ำในท้องร่องที่-30-40-ซม.
การรักษาระดับน้ำในท้องร่องที่-30-40-ซม.

สภาพพื้นที่ การปลูกปาล์ม

จนมั่นใจในสายพันธุ์ปาล์ม “ยูนิวานิช” ที่นำมาสู่ การปลูกปาล์ม ในที่ลุ่ม หรือในพื้นที่ชลประทาน ในสภาพดินเหนียว “ปลูกแบบร่องคู่” บนเนื้อที่ 16 ไร่ ที่มีการวางแผนผังสวนปาล์มอย่างเป็นระบบ ด้วยการขุดร่องน้ำรอบสวนปาล์มไว้เป็นเขตแดน และป้องกันไฟ หรือสัตว์เลี้ยงมาในพื้นที่ กำหนดร่องปาล์มให้มีความกว้าง 4 เมตร ขุดร่องน้ำให้กว้าง 4 เมตร ลึก 2 เมตร เพื่อกักเก็บน้ำให้ได้เป็นจำนวนมาก และสามารถใช้เรือเข้าทำงานในสวนได้ง่าย โดยจะควบคุมระดับน้ำให้อยู่ที่ 30-40 ซม. ก่อนจะปลูกปาล์มที่รองพื้นด้วย 0-3-0 และปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด

หลังจากนั้นจะวางระบบน้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ และปลูกฟักทองเป็นพืชแซมสร้างรายได้เรื่อยมา ตลอดจนมีการให้ปุ๋ยตามระยะการเจริญเติบโตของต้นปาล์ม จนกระทั่งต้นปาล์มมีอายุครบ 3 ปี ก็จะรื้อสปริงเกลอร์ออก เน้นให้น้ำในท้องร่องแทน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การใส่ปุ๋ยที่เน้นให้พืชนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ด้วยการรดน้ำให้ความชื้นก่อนใส่ปุ๋ย และรดน้ำหลังใส่ปุ๋ยอีกครั้ง จะทำให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ให้ผลผลิตที่ดี ทั้งปริมาณและคุณภาพ จากนั้นก็ได้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มออกไปอีก 3 แปลง แบบร่องคู่ บนพื้นที่จำนวน 14 ไร่ 13 ไร่ และ 5 ไร่ ด้วยสายพันธุ์ “ยูนิวานิช” รวมพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันวันนี้ 48 ไร่

ผมชอบทำเกษตรมาตั้งแต่เด็ก ผมทำไร่ ทำนา ปลูกผัก เลี้ยงกุ้งมาก่อน ที่เปลี่ยนมาทำสวนปาล์มเพราะปัจจัยหลายอย่าง และเป็นพืชระยะสั้นที่ต้องอาศัยธรรมชาติมากกว่า อ่อนไหวกว่า น้ำท่วมบ้าง น้ำแล้งบ้าง ผลผลิตราคาไม่ค่อยมั่นคง แต่ที่เราเป็นที่ราบลุ่ม ทำปาล์มเหมาะกว่า น้ำเราก็ดีมีเพียงพอ

เราได้ความรู้ส่วนหนึ่งจากการไปดูงานที่ศูนย์วิจัยฯ ยูนิวานิช การจัดอบรมบ้าง เราก็ซึมซับตรงนั้นมา บวกกับพื้นฐานเราที่เป็นเกษตรกร จึงดูแลสวนได้ค่อนข้างดี ช่วงปาล์มเล็กปลูกฟักทอง และมีรายได้ดี ดูแลฟักทองดี ปาล์มก็ไม่มีเรื่องหนูและแมลงรบกวน และปาล์มโตเร็วกว่าปกติด้วย ฟักทองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผมขยายสวนปาล์มได้ เพราะฟักทองราคาดี ได้กำไรมาก จนสามารถซื้อที่ดินปลูกปาล์มเพิ่มได้ 48 ไร่” คุณบรรจงเผยที่มาของสวนปาล์มน้ำมัน

3.การวางทางใบไว้ระหว่างร่องปาล์ม
3.การวางทางใบไว้ระหว่างร่องปาล์ม

การให้ปุ๋ยและน้ำกับต้นปาล์ม

ปัจจุบันสวนปาล์มคุณบรรจงมีอายุตั้งแต่ปลูกใหม่ ปาล์มอายุ 4-5 ปี และปาล์มอายุ 7 ปี ที่มีการดูแลที่เน้นใช้ปุ๋ยสูตรมากกว่าแม่ปุ๋ย เนื่องจากไม่มีการวิเคราะห์ใบและดิน การใช้ปุ๋ยสูตรจึงใกล้เคียงกับความต้องการของพืชมากกว่า นอกจากจะมีธาตุอาหารเสริมแล้วยังมีธาตุอาหารรองและเสริมในคราวเดียวกัน

ในช่วงปาล์มอายุ 3 เดือนถึง 3 ปี จะใช้สูตร 20-10-5 หรือสูตรใกล้เคียง หลังจากนั้นจะใช้สูตรเสมอ 15-15-15 หรือสูตร 16-16-16 ประมาณ 2-3 รอบ/ปี เมื่อต้องการเร่งผลผลิตเต็มที่จะใส่ปุ๋ย 14-7-35 หรือสูตรใกล้เคียง เสริมแมกนีเซียม กรดซิลิคอน และปุ๋ยชีวภาพ 1 ครั้ง/ปี ที่สำคัญสวนปาล์มที่นี่จะเน้นการดูแลเองในช่วงวันหยุดจากงานสหกรณ์ จ้างเป็นบางครั้ง

ที่สำคัญอีกอย่างที่นี่ไม่ใช้รถเข้าไปเหยียบย่ำบนร่องเลย  แต่จะเน้นการจัดการด้วย “เรือไฟเบอร์” เป็นหลัก  ทั้งการรดน้ำ  ใส่ปุ๋ย  เก็บเกี่ยวผลผลิต และบรรทุกผลผลิตออกจากสวนปาล์มด้วยเรือได้ครั้งละ 400 กก./เที่ยว อีกทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังจะได้เปรียบในเรื่องของแสงแดดที่ดี เป็นที่ราบลุ่ม มีน้ำเพียงพอที่เหมาะสมกับ การปลูกปาล์ม น้ำมัน และให้ผลผลิตค่อนข้างดี โดยเฉพาะในช่วงปาล์มขาดคอในพื้นที่อื่น แต่ที่นี่จะใส่ปุ๋ยให้ถี่ขึ้น รดน้ำทุกสัปดาห์เพื่อบำรุงต้นปาล์มให้ออกผลผลิตได้ในช่วงปาล์มขาดแคลน และให้ผลผลิตในปริมาณสม่ำเสมอ ได้ราคาดีกว่าในช่วงฤดูผลผลิตทั่วไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.ต้นปาล์มสายพันธุ์ยูนิวานิช-อายุ-4-ปี-ให้ผลผลิตเต็มคอ
4.ต้นปาล์มสายพันธุ์ยูนิวานิช-อายุ-4-ปี-ให้ผลผลิตเต็มคอ
การใช้เรือไฟเบอร์บรรทุกผลผลิตออกจากสวน
การใช้เรือไฟเบอร์บรรทุกผลผลิตออกจากสวน

การเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้ำมัน

ส่งผลให้ปาล์มอายุ 4 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2-3 ตัน/ไร่/ปี แม้ผลผลิตจะออกมาก แต่น้ำหนักยังน้อย ปาล์มอายุ 5 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 5 ตัน/ไร่/ปี  ส่วนปาล์มอายุ 7 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย  7 ตัน/ไร่/ปี และมีแนวโน้มว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณภาพผลผลิตอยู่ที่ 20-30 กก./ทะลาย นี่คือความได้เปรียบของ การปลูกปาล์ม ในที่ลุ่มที่มีการให้น้ำ ให้ปุ๋ย ได้อย่างสม่ำเสมอ ผลผลิตใกล้เคียงกันตลอดทั้งปี จึงมีต้นทุนการผลิตที่ 2 บาท/กก. และคุณบรรจงจะพยายามทำให้ดีที่สุด เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสมาชิกและเกษตรกรทั่วไป

5.ผลผลิตที่ลานเทของสหกรณ์-30-50-ตันต่อวัน
5.ผลผลิตที่ลานเทของสหกรณ์-30-50-ตันต่อวัน

การขนส่งผลผลิตปาล์มน้ำมัน

ขณะที่สหกรณ์การเกษตรเชียรใหญ่ จำกัดนั้น เดิมทีได้แยกเป็น 2 สาขา อยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำปากพนัง ต่อมาได้รวมกันเป็นที่เดียว และจดทะเบียนขึ้นเมื่อปี 2518 มีสมาชิก 100 กว่าคน โดยมีคุณบรรจงเข้ามาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหาร ที่พยายามสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ดำเนินธุรกิจใหม่ แก้ไขปัญหาให้สมาชิก เพิ่มจำนวนสมาชิก ช่วยเหลือสมาชิกตามที่สมาชิกต้องการ

ช่วงแรกสมาชิกเลี้ยงกุ้งก็พยายามจัดหาอาหารกุ้ง และอุปกรณ์กุ้ง มาบริการ หลังจากเปลี่ยนมาเป็นนาข้าวก็ได้จัดหาพันธุ์ข้าว ปัจจัยการผลิต เครื่องมือ รวบรวมข้าว เกี่ยวข้าว ขนส่งข้าวเข้าลานข้าวของสหกรณ์แบบครบวงจร เพื่อสนองความต้องการรองรับอาชีพของสมาชิก ให้สมาชิกมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตามภารกิจการพัฒนาตลาดข้าวเพื่อการค้า ภายใต้ “โครงการลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ

ต่อมามี การปลูกปาล์ม น้ำมัน สหกรณ์ฯ ได้จัดหาพันธุ์ปาล์ม “ยูนิวานิช” เพื่อรองรับความต้องการของสมาชิก โดยจะมีการสั่งจองจากบริษัทโดยตรงเป็นล็อตๆ ละ 20,000 ต้น ที่มีต้นกล้าบริการให้กับสมาชิกตลอดทั้งปี จัดหาปุ๋ยปาล์ม เก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์ม รวบรวมปาล์มส่งลานเทสหกรณ์ประมาณ 30-50 ตัน/วัน ส่งเข้าโรงสกัดที่จังหวัดตรัง ตลอดจนมีการจัดอบรมและศึกษาดูงานให้กับสมาชิกอย่างน้อย 3 ครั้ง/ปี

ปัจจุบันสหกรณ์ฯ แห่งนี้มีความเข้มแข็ง มีความพร้อมในการดำเนินงานด้านการเกษตร มีความหลากหลายทางธุรกิจและเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นเป็น 1,400 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ เป็นกรณีพิเศษภายใต้โครงการพัฒนาลุ่มน้ำ มีทุนดำเนินงาน 200 กว่าล้านบาท มีธุรกิจต่างๆ ร่วม 300 ล้านบาท การบริหารงานสหกรณ์จึงพยายามปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

6.คุณบรรจงกับต้นปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ยูนิวานิช-อายุ-7-ปี
6.คุณบรรจงกับต้นปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ยูนิวานิช-อายุ-7-ปี

การบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมัน

คุณบรรจงยอมรับว่าตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีพื้นที่นาข้าวกว่า 10% เปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งปีนี้มีพื้นที่กว่า 15% ที่เปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ำมัน อีกทั้งยังมีพื้นที่รกร้าง นาร้าง ที่ราบว่างเปล่าอยู่เป็นจำนวนมากที่สามารถขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในปาล์มน้ำมัน ดูแลเอาใจใส่ ที่สำคัญต้องมีทุน ต้องสัมผัสกับสวน มีการวางแผน  มีการจัดการที่ดี  ให้ผลผลิตสัมพันธ์กับต้นทุน  ให้ผลผลิตต่อไร่สูง  จัดทำบัญชีต้นทุน  ปาล์มน้ำมันปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้  25-30 ปี  แต่ละปีตัดเก็บผลผลิตได้ 16-20 รอบ  ทุก 15-20 วัน  ที่สำคัญต้องรักษาผลผลิตให้ดี และประสบความสำเร็จ

ความร่วมมือของสมาชิกที่ทำธุรกิจกับสหกรณ์ การมีส่วนร่วมในการช่วยกันฟื้นฟูสหกรณ์ ช่วยกันใช้บริการจนเห็นผลเป็นรูปธรรมร่วมกัน สหกรณ์ก็จะเติบโต หากสมาชิกดีขึ้น มีรายได้ดี มั่นคง ธุรกิจสหกรณ์ก็จะไปได้ดี การชำระหนี้ก็ดีขึ้น การปลูกปาล์ม การปลูกปาล์ม การปลูกปาล์ม การปลูกปาล์ม การปลูกปาล์ม

สอบถามเพิ่มเติม คุณบรรจง แสงพรหม (ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเชียรใหญ่ จำกัด) โทร.081-326-1979 272 หมู่ 1 ต.ท้องลำเจียก อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช 80190 การปลูกปาล์ม การปลูกปาล์ม การปลูกปาล์ม