ปลูกอ้อย คู่ ปลูกมันสําปะหลัง ส่ง โรงงานน้ำตาล รายได้ 2 ทาง 500,000 กว่าบาท/ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การทำไร่อ้อย และ ปลูกมันสําปะหลัง

นายทัน ภูนาดี เกษตรกรชาวไร่อ้อย จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ยึดอาชีพทำไร่มันสำปะหลังเต็มพื้นที่ 60 ไร่ เรื่อยมา แต่เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรในแต่ละปีไม่มีความแน่นอน และราคาผลผลิตตกต่ำในบางปี ทำให้เกษตรกรสุ่มเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ หากขาดการบริหารจัดการที่ดี อีกทั้งการ ปลูกมันสําปะหลัง จะต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากในช่วงของการเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้เป็นต้นทุนบางช่วงถีบตัวขึ้นมาค่อนข้างสูงมากต่อปี

ปัจจุบันคุณทันได้หันมา ปลูกอ้อย ทำ ทั้งไร่อ้อย และไร่มันปะหลัง ควบคู่กันไป โดยมีพื้นที่ไร่อ้อยมากกว่าไร่มัน เพราะทำไร่อ้อยแล้วได้ราคาดีกว่า จึงได้นำพื้นที่บางส่วนมาทำไร่อ้อยส่งผลผลิตเข้า โรงงานน้ำตาล ได้สะดวกขึ้น เพราะมี โรงงานน้ำตาล รองรับภายในพื้นที่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ ปลูกอ้อย 60 ไร่ และไร่มันสำปะหลังอีก 20 ไร่ ด้วยการจ้างแรงงานดูแลรักษา ทั้งไร่อ้อย และไร่มันสำปะหลัง

ซึ่งการ ปลูกอ้อย ทำไร่อ้อยเมื่อเทียบกับการทำไร่มันสำปะหลัง จะเห็นว่าการทำไร่อ้อยจะมีการจัดการที่ง่ายกว่า ทั้งในเรื่องของการดูแล การจัดการ การเก็บเกี่ยว ผลผลิตเข้าสู่ โรงงานน้ำตาล  อีกทั้งยังมีรายได้เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

1.คุณทัน-ภูนาดี-เกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่-จ.ร้อยเอ็ด
1.คุณทัน-ภูนาดี-เกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่-จ.ร้อยเอ็ด
2.การทำไร่อ้อยให้ได้ผลผลิตที่ดีบนเนื้อที่-60-ไร่
2.การทำไร่อ้อยให้ได้ผลผลิตที่ดีบนเนื้อที่-60-ไร่
การทำไร่มันสำปะหลังที่วันนี้ค่อยๆลดพื้นที่ลงมา
การ ปลูกมันสําปะหลัง ที่วันนี้ค่อยๆลดพื้นที่ลงมา

การดูแลใส่ปุ๋ยให้ต้นมันสำปะหลัง

แต่ละปีจะมีการใส่ปุ๋ยเคมีในไร่อ้อยประมาณ 3 รอบ/ปี ในช่วงหน้าฝนที่มีความชื้นมากพอ หรือในช่วงเดือนตุลาคม แต่ถ้าฝนตกเร็วก็จะใส่ช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นรอบที่ 2 และรอบที่ 3 ก็จะไปใส่ในช่วงเดือนมิถุนายน  ขณะที่มันสำปะหลังจะเน้นใส่ปุ๋ยแบบผสมผสาน ใส่ปุ๋ยเคมีเพียงปีละ 1 ครั้ง ที่สำคัญต้องเลือกใช้ปุ๋ยที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปุ๋ยเต็มสูตรทุกกระสอบ ของกลุ่มบริษัท ปุ๋ยศักดิ์สยาม

ซึ่งคุณทันยอมรับว่าตนเองได้ใช้ปุ๋ยเต็มสูตรทุกกระสอบของกลุ่มบริษัท ปุ๋ยศักดิ์สยาม มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ตั้งแต่ทำไร่มันสำปะหลังมาจนถึงการทำไร่อ้อย จากเดิมทีที่ทำไร่มันสำปะหลังที่ ปลูกมันสําปะหลัง ในระยะ 1×1 ม. ด้วยสายพันธุ์เกษตรศาสตร์ และใช้ปุ๋ยแบบหยอดสูตร 15-15-15, สูตร 15-7-18 และสูตร 21-7-18

ปุ๋ยตราพลอยเกษตร ในอัตรา 1 กระสอบต่อไร่ ในช่วงหน้าฝนจะเห็นว่าต้นมันสำปะหลังมีการนว็นว่าเจริญเติบโตที่ดี หัวมันมีคุณภาพ แป้งดี ให้ผลผลิตที่ดี หรือประมาณ 5-6 ตัน/ไร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.มันสำปะหลังที่เริ่มขยายหัวใต้พื้นดิน
3.มันสำปะหลังที่เริ่มขยายหัวใต้พื้นดิน

รายได้จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตสำปะหลัง

โดยมันสำปะหลังก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุตั้งแต่ 7-8 เดือนขึ้นไป โดยจ้างแรงงานในพื้นที่ขุดเก็บผลผลิตในอัตรา 200 บาท/วัน ก่อนจะรวบรวมผลผลิตขายให้กับลานมันภายในพื้นที่ ขณะที่ผลผลิตมันสำปะหลังในช่วงที่ผ่านมานั้นราคายังคงทรงตัวอยู่ที่ 2 บาท/กก. ภายใต้ต้นทุนการผลิต 2,000-3,000 บาท/ไร่ หรือมีกำไรจากการ ปลูกมันสําปะหลัง อยู่ที่ประมาณ 2,200 บาท/ไร่

จนกระทั่งเป็นที่มาของการตัดสินใจเป็นตัวแทนจำหน่ายของทางบริษัทฯ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร ทั้งในและนอกพื้นที่ ให้ได้ใช้ปุ๋ยเคมีคุณภาพสูง ภายใต้แบรนด์สินค้า ตราพลอยเกษตร ตราสิงโตสยาม 2007 ตราลีดเดอร์ชิพ และตราสามเอส ส่วนตราสินค้าที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลัง และไร่อ้อย ในพื้นที่ก็คือ สูตร 21-7-18 ตราพลอยเกษตร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในกลุ่มเกษตรกรเป็นอย่างดี เพราะมันหัวใหญ่ และเขียวนาน

4.ปลูกอ้อย คู่ ปลูกมันสำปะหลัง ส่ง โรงงานน้ำตาล รายได้ 2 ทาง 500,000 กว่าบาท/ปี
4.ปลูกอ้อย คู่ ปลูกมันสำปะหลัง ส่ง โรงงานน้ำตาล รายได้ 2 ทาง 500,000 กว่าบาท/ปี
หัวมันสดที่สร้างรายได้
หัวมันสดที่สร้างรายได้

การป้องกันกำจัดโรค-แมลง และศัตรูพืช

ขณะที่การทำไร่อ้อยแม้ว่าอ้อยจะเป็นพืชที่ทนแล้ง เจริญเติบโตได้ดีแม้ในพื้นที่น้ำน้อย แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ไร่อ้อยในบางช่วงพบเจอกับศัตรูพืช ทั้งด้วง โรคใบขาว หรือเพลี้ยแป้ง ที่จะมีการระบาดในบางช่วง จึงต้องป้องกันและกำจัดศัตรูพืชด้วยสารเคมีบ้าง

รายได้จากการทำไร่อ้อย ส่ง โรงงานน้ำตาล ประมาณ  500,000 บาท/ปี 

จนกระทั่งต้นอ้อยมีอายุครบ 1 ปี หรือประมาณ 13 เดือน เมื่อ โรงงานน้ำตาล เริ่มเปิดหีบแล้วก็จะเริ่มต้นเก็บเกี่ยวผลผลิตเข้าสู่ โรงงานน้ำตาล ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ได้ ซึ่งในปีที่ผ่านมาคุณทันได้ส่งผลผลิตอ้อยเข้าโรงงาน ณ โรงงานมิตรกาฬสินธุ์ ตามโควตาได้ที่ 1,700  ตัน/ปี บนเนื้อที่ 60 ไร่ ในราคา 800-900 บาท/ตัน และมีรายได้จากการทำไร่อ้อยประมาณ  500,000 บาท/ปี

โดยที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย ภายใต้ผลผลิตตอแรกที่ 20-21 ตัน/ไร่ ขณะที่อ้อยตอ 2-3 จะให้ผลผลิตที่ 10-11 ตัน/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 10 ตัน/ไร่ ซึ่งการ ปลูกอ้อย ภายในพื้นที่ส่วนใหญ่จะให้ผลผลิตได้เพียง 3-4 ครั้ง แต่ปีนี้ได้เพียง 2 ครั้ง/การ ปลูกอ้อย 1 ครั้ง

5.ผลผลิตอ้อย
5.ผลผลิตอ้อย

นอกจากนี้คุณทันยังได้เสริมถึงแนวโน้มของตลาดอ้อยในปีนี้ว่า ราคาผลผลิตอ้อยปีนี้ไม่ค่อยดี ราคาอ้อยลดลงเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามการทำไร่อ้อยก็ยังสร้างรายได้ให้กับคุณทันด้วยดีตลอดมา เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจลำดับต้นของประเทศไทย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูก “พืชพลังงาน” เป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคอีสานซึ่งเป็นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกพืชพลังงาน ทั้งมันสำปะหลัง และไร่อ้อย โดยเฉพาะการทำไร่อ้อยที่สามารถผลิตได้ทั้งอาหาร และพลังงาน บริโภคทั้งภายในประเทศ และส่งออก นำรายได้เข้าสู่ประเทศทุกปีเรื่อยมา

สนใจติดต่อ คุณทัน ภูนาดี เลขที่ 23 ม.2 ต.คำนาดี อ.โพธิ์ทอง จ.ร้อยเอ็ด 45110 โทร.086-228-7320, 093-412-6572