ปลูกอ้อย ควบคู่ ปลูกข้าว ที่คลองขลุง มีกำไรเพราะลดต้นทุน และฟื้นฟูดิน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

รู้กันดีว่า “อำเภอคลองขลุง” จังหวัดกำแพงเพชร ปลูกพืชเศรษฐกิจหลายอย่าง ทั้งข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย โดยเฉพาะข้าวกลายเป็นพืชหลัก เพราะมีโรงสีขนาดใหญ่หลายแห่งรองรับ เช่นเดียวกับอ้อยที่มีโรงงานน้ำตาลรองรับถึง 2 แห่ง เช่นเดียวกัน

เกษตรกรแต่ละอำเภอได้รวมตัวกันทำธุรกิจเกษตรในรูป ”สหกรณ์” หลายแห่ง อย่าง สหกรณ์คลองขลุง เป็นต้น เพื่อสะท้อนทิศทางการปลูกพืชเศรษฐกิจของชาวคลองขลุง จึงได้สัมภาษณ์ คุณสุวิทย์ ล้นมีศักดิ์ กรรมการสหกรณ์การเกษตรคลองขลุง ในเรื่องของการปลูกข้าว และอ้อย ที่มีการใช้เคมีและสารอินทรีย์ หรือสารปรับสภาพดินในการปลูก และดูแลรักษา

1.คุณสุวิทย์-ล้นมีศักดิ์-คณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์
1.คุณสุวิทย์-ล้นมีศักดิ์-คณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์
2.ปลูกอ้อย-ควบคู่-ปลูกข้าว-ที่คลองขลุง-มีกำไรเพราะลดต้นทุน-และฟื้นฟูดิน
2.ปลูกอ้อย-ควบคู่-ปลูกข้าว-ที่คลองขลุง-มีกำไรเพราะลดต้นทุน-และฟื้นฟูดิน

การปรับสภาพพื้นที่ ปลูกอ้อย และ ปลูกข้าว

คุณสุวิทย์ทำนาปรัง 40 ไร่ เพราะมีแม่น้ำจากแม่น้ำปิงตลอดทั้งปี ในเรื่องของดินยังคงใช้สารปรับสภาพดินมาตลอด จึงทำให้ดินร่วนซุย แต่นาข้าวถ้าใช้มากไปดินจะยุ่ยเป็นหล่ม ต้องใช้ และเว้นการใช้บ้าง เพื่อให้หน้าดินเริ่มแข็งตัวบ้าง ต่างจากเมื่อก่อนที่ใช้เฉพาะสารเคมี หน้าดินจะแข็ง และทำนายาก ใช้ข้าวพันธุ์ กข 47 อายุเก็บเกี่ยว 105 วัน เท่านั้น ซึ่งในการปลูกข้าวนั้นจะใช้ทั้งสารอินทรีย์ชีวภาพ และสารเคมี เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต ปรากฏว่าผลผลิตไม่แตกต่างกันมากนัก จึงหันมาใช้อินทรีย์เป็นหลัก เพราะการใช้สารเคมีทำให้ร่างกายย่ำแย่ ผลผลิตรอบที่แล้วนาหว่านได้ 90 กว่าถัง/ไร่ แต่นาดำจะได้ 1 เกวียน/ไร่ แต่ส่วนใหญ่จะทำนาหว่าน เพราะสะดวกกว่า และการใช้สารอินทรีย์ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลงเหลือไร่ละ 4,000 บาท จากต้นทุนเดิม 6,000 บาท/ไร่ มีระบบน้ำ

ในขณะเดียวกันคุณสุวิทย์ยังมีไร่อ้อยอีก 20 ไร่ ที่ใช้สารปรับสภาพดินมาตลอดเช่นกัน ทำให้ดินดี ลดต้นทุนการผลิตได้มาก เริ่มจากการซื้อต้นพันธุ์ “ขอนแก่น 3” จากเพื่อนบ้าน 2 ไร่ 2 งาน ราคาไร่ละ 20,000 บาท มาปลูกจนเต็มพื้นที่ 20 ไร่ ใช้เงินลงทุนค่อนข้างเยอะในตอนแรก รวมทั้งการเตรียมดินด้วยการไถผาน 3 พลิกหน้าดิน ผาน 7 เพื่อสับดินให้ละเอียดตามด้วยผาน 3 อีกครั้ง เพื่อเพิ่มความลึก ก่อนจะใช้สารเคมีผสมสารปรับสภาพดินหว่าน 2:1 เพื่อรองพื้น ก่อนจะชักร่อง และจ้างคนงาน ปลูกอ้อย พอปลูกได้อาทิตย์หนึ่งก็จะฉีดยาคุมหญ้าไว้ก่อน พอมีหญ้าขึ้นมาก็ฉีดยาฆ่าหญ้าอีกรอบหนึ่ง

3.ปัจจัยการผลิตที่ต้องใช้ทั้งอินทรีย์และเคมี
3.ปัจจัยการผลิตที่ต้องใช้ทั้งอินทรีย์และเคมี ปลูกอ้อย ปลูกอ้อย ปลูกอ้อย ปลูกอ้อย ปลูกอ้อย ปลูกอ้อย 

การให้ปุ๋ยและน้ำต้นอ้อย

หลังจากนั้นจะคัดน้ำเข้าคลอง ให้น้ำในหน้าแล้ง พออ้อยอายุ 4-5 เดือน ก็จะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ สูตร 15-7-18 ผสมสารปรับสภาพดินทุกครั้ง หลังจากนั้นก็จะให้น้ำอย่างเดียว จนกระทั่งตัดอ้อยเก็บผลผลิตได้ ซึ่งหัวหน้าโควตาจะเอาคนงานมาเผา และตัดให้ทุกอย่าง ถ้าอ้อยไม่ล้ม อ้อย 20ไร่ คนงาน 10 คน ตัด 2 วัน ก็เสร็จ

แต่ถ้าอ้อยล้ม อ้อยยาว ต้องลาก อาจต้องใช้เวลาตัดนานถึง 4 วัน ทำให้มีต้นทุนตลอดการผลิต สำหรับอ้อยปลูกใหม่ที่ 5,500 บาท/ไร่ ผลผลิตประมาณ 18 ตัน/ไร่ พอมาเป็นอ้อยตอ ต้นทุนในการผลิตจะลดลงเหลือเพียง 3,000 บาท/ไร่ เพราะมีต้นทุนเพียงการริปเปอร์ พลิกหน้าควบคู่ไปกับการให้ปุ๋ยในตอนแรก การฉีดยาฆ่าหญ้า 2 รอบ และให้ปุ๋ยอีกรอบตอนอายุ 4-5 ปี อีกครั้ง และให้น้ำอย่างเดียวก็เพียงพอ แต่ผลผลิตอาจลดลงในตอ 2 ประมาณ 15 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 3 รอบ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.ผลผลิตที่สร้างรายได้เนื้อที่-20-ไร่-ที่จะขยายเพิ่ม
4.ผลผลิตที่สร้างรายได้เนื้อที่-20-ไร่-ที่จะขยายเพิ่ม

การเก็บเกี่ยวอ้อย

การเก็บเกี่ยวล่าสุดให้ผลผลิตประมาณ 13-14 ตัน/ไร่ เพราะการดูแลทุกอย่างส่วนใหญ่จะดูแลเอง จัดการเองเกือบทั้งหมด ต้นทุนจึงไม่สูงมาก และเลือกจ้างเฉพาะเครื่องจักรในการเตรียมดินก่อนปลูกเท่านั้น ประกอบกับการทำนา 40 ไร่ ลงทุนสูง ราคาผลผลิตไม่ค่อยดี จึงคิดลดการทำนาให้เหลือเพียง 20 ไร่ แล้วหันมา ปลูกอ้อย เพิ่มอีก 20 ไร่ รวมเป็น 40 ไร่ ในปีหน้า และปลูกด้วยท่อนพันธุ์ของตนเอง เนื่องจากมีการวางแผนการปลูกในปีนี้เป็นอ้อยตอ 4 ประมาณ 10 ไร่ มีสัดส่วนอ้อยที่ปลูกใหม่อีก 10 ไร่ ที่สามารถทำการขยายปลูกให้ครบ 40 ไร่ ในปีหน้าได้อย่างเพียงพอ

ในขณะที่ปัญหาการทำไร่อ้อยมีเพียง “ด้วง” คล้ายแมลงกินนูน กัดกินรากอ้อย ที่อาจทำให้อ้อยเสียหายหมดทั้งแปลงได้ จึงต้องมีวิธีป้องกันที่ดีด้วย เพราะปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีที่สามารถกำจัดแมลงชนิดนี้ได้ และกำลังระบาดในพื้นที่เป็นหย่อมๆ  เพราะการเป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่น้อย สามารถบริหารจัดการเองได้เป็นส่วนใหญ่

จึงทำให้คุณสุวิทย์มีรายได้จากการทำนา และรายได้จากการทำไร่อ้อยในแต่ละปีเพียงพอต่อการเลี้ยงดูครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีได้ตามอัตภาพ เพราะปีนี้ความหวานไม่ดี แต่ทุกปีจะหวาน  ผลผลิตเรากี่ตันหักลบต้นทุนยังเหลือกำไร ถ้าได้ผลผลิต 15 ตัน บวกความหวานก็พออยู่ได้ ต้นทุนมันสูง เราดูแลน้อย ให้ปุ๋ย ทำเอง ดูแลเอง วัน สองวันก็จบ

ข้าวก็ทำเอง จ้างส่วนน้อย อ้อยจะลงทุนมากครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น อ้อยตอดูแลน้อย ปีนี้อ้อยได้ผลผลิต 260 กว่าตัน เพราะพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ อ้อยไม่ค่อยงาม ปกติจะได้ 300 กว่าตัน ที่สำคัญไม่ชอบใช้สารเคมี แต่ปุ๋ยเคมีก็ต้องใช้ให้อ้อยงาม แต่ใช้ปุ๋ยเคมีตลอดก็ไม่ดี เพราะบางคนใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว จนไม่นึกถึงดินเลยว่าดินจะหมดสภาพไปตลอดเวลาที่มีการเพาะปลูก

ขอขอบคุณข้อมูล สหกรณ์การเกษตรคลองขลุงจำกัด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร โทร.056-276-550-3, 324896-900 แฟกซ์ 056-276560