แนวทางการบริหารจัดการตลาดมันสำปะหลังปี 2557/2558

โฆษณา
AP Chemical Thailand
สมัครสมาชิก นิตยสาร พืชพลังงาน
สมัครสมาชิก นิตยสาร พืชพลังงาน

ภายหลังที่รัฐบาลโดย คสช.ได้เข้ามาบริหารประเทศแล้วก็ได้มีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกพืชพลังงาน โดยเฉพาะเรื่อง “มันสำปะหลัง” ตามแนวทางการบริหารจัดการตลาดมันสำปะหลังปี 2557/2558  ตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง 4 มาตรา โดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม57 – เดือนมีนาคม 58 ที่ผ่านมาเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังและเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาราคาผลผลิตมันสำปะหลังตกต่ำ รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการทั้งระยะสั้น ระยะปานกลาง ระยะยาว ซึ่งประกอบด้วยโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อชะลอการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง  โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก(ในระบบน้ำหยด) โครงการสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันเกษตรกรและโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับมาตรฐานการแปรรูปมันสำปะหลัง ภายใต้วงเงินกู้รวม 73,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้ 3%รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาด้านการผลิตและการตลาดเป็นวงเงินรวม 2,760 ล้านบาท

การจัดการผลผลิตในโรงแป้ง
การจัดการผลผลิตในโรงแป้ง

ระยะเวลาสิ้นสุดโครงการภายในเดือนกันยายน 2558 โดยใน 4 มาตราประกอบไปด้วยมาตรระยะสั้น 2 มาตรา ได้แก่ การชดเชยดอกเบี้ยเพื่อชะลอการเก็บเกี่ยว วงเงินชดเชย 375 บาท ระยะเวลาชดเชย 6 เดือน โดยให้เกษตรกรกู้เงินจาก ธ.ก.ส. มีระยะเวลาจ่ายเงินกู้ตั้งแต่ ธ.ค.57-มี.ค.58 เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ไว้ใช้ระหว่างชะลอการเก็บเกี่ยววงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท เป้าหมายเกษตรกร 500,000 ราย  วงเงินกู้ 25,000 ล้านบาท ส่วนมาตรการระยะปานกลางมี 2 มาตรการประกอบด้วยการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกในระบบน้ำหยด วงเงินชดเชย 1,380 ล้านบาท โดยให้เกษตรกรกู้เงินจาก ธ.ก.ส.ระยะเวลาจ่ายเงินกู้ตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2558 เพื่อพัฒนาการปลูกมันสำปะหลังให้มีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นที่ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ลดลง โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้เกษตรกร 3% ระยะเวลา 24 เดือน  วงเงินกู้รายละไม่เกิน 230,000 บาท เป้าหมายเกษตรกร 100,000 ราย วงเงินกู้ 23,000 ล้านบาท

การปลูกมันแซมพืชอายุยืน
การปลูกมันแซมพืชอายุยืน

เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมารัฐบาลได้เผยถึงแนวทางการบริหารจัดการตลาดมันสำปะหลังปี 2557/58 โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557 เกี่ยวกับการจัดสรรวงเงินงบประมาณจ่ายชดเชยดอกเบี้ยตามแนวทางการบริหารจัดการตลาดมันสำปะหลัง ปี 2557/58 เดิม ที่ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้ดำเนินการปล่อยสินเชื่อและเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามรายจ่ายที่เกิดขึ้นต่อไป เป็น ให้สำนักงบประมาณจัดสรรวงเงินงบประมาณให้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการที่ขอกู้กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารของรัฐ ในส่วนของการเพิ่มสภาพคล่องทางการค้า และการยกระดับมาตรฐานการแปรรูปมันสำปะหลัง เพื่อให้การดำเนินมาตรการบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้และเกิดความคล่องตัวในการจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการที่ยื่นขอกู้กับธนาคารพาณิชย์

การทำมันสับมือในไร่มันเพื่อเพิ่มมูลค่าของเกษตรกร
การทำมันสับมือในไร่มันเพื่อเพิ่มมูลค่าของเกษตรกร

2. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการสมัครเข้าร่วมมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกด้วยระบบน้ำหยด จากเดิม“สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2558” เป็น“สิ้นสุดเดือนกันยายน 2558” และให้ขยายระยะเวลาการสมัครเข้าร่วมมาตรการยกระดับมาตรฐานการแปรรูปมันสำปะหลัง จากเดิม“สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2558” เป็น“สิ้นสุดเดือนกันยายน 2558”

การจัดการผลผลิตในลานมัน
การจัดการผลผลิตในลานมัน

นี่คือมาตรการที่รัฐบาลชุดนี้คลอดออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับขบวนการมันสำปะหลังของไทยที่มีมูลค่าการส่งออกมหาศาลต่อปี มีเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเกือบทุกจังหวัดของประเทศ มีลานมันชุมชนทั้งจากองค์กรรัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชนมากมายเป็นตัวขับเคลื่อนในแต่ละพื้นที่ มีโรงแป้งที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพที่สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ดังนั้นขบวนการมันสำปะหลังของไทยจะประกาศศักดาในเวทีโลกได้อย่างสง่างามหรือไม่นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับทุกภาคส่วนในวงการมันสำปะหลังเองที่จะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนมันสำปะหลังให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

……………………………………………………………………………………..

[wpdevart_like_box profile_id=”997990286914613″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]