ไร่มันสำปะหลัง นาข้าวไรซ์เบอร์รี่ สวนลำไย ไร่อ้อย สร้างรายได้ตลอดจากเกษตรผสม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จุดเริ่มต้นการทำเกษตรแบบผสมผสาน 

จากเกษตรกรคนหนึ่งที่อยากทำเกษตรแต่ไม่มีที่ดิน คิดว่าไม่มีสิทธิ์ที่จะซื้อที่ดินมาเป็นของตัวเองได้ เพราะบ้านก็ต้องเช่า แต่ด้วยความมุมานะพยายามที่รักการทำเกษตร จึงได้พยายามเก็บหอมรอบริบก่อนซื้อที่ดินซึ่งเป็นที่ป่า และพัฒนาที่ดินให้มีศักยภาพด้านการผลิตขึ้นมา ตลอดจนแสวงหาความรู้ สั่งสมความรู้ ไร่มันสำปะหลัง

จนมีประสบการณ์มากขึ้น และได้เป็นปราชญ์ด้านการเกษตร ดีกรีปริญญาตรี 2 ใบ อดีตผู้นำชุมชนที่มุ่งมั่นพัฒนาอาชีพให้ประสบความสำเร็จ และสร้างรายได้อย่างงามในเวลาต่อมา

คุณประพงษ์ อุดมโภชน์ อดีตเป็นเพียงเกษตรกรคนหนึ่งที่ยากจน ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ต้องเช่าบ้านอยู่ พอแต่งงานก็ต่างไม่มีที่ดินกันทั้งคู่ มีเพียงที่ดินเพื่อปลูกบ้านเพียงแค่งานเดียว จึงมีความฝันอยากจะมีที่ดินเป็นของตนเอง เพราะเกิดเป็นคนไทย แต่ไม่มีผืนดินในประเทศไทย จะอยู่ได้อย่างไร

จนกระทั่งมีเพื่อนชวนมาอยู่ที่จังหวัดตาก มาเห็นว่าชาวม้งมีที่ดินที่ได้รับการจัดรูปที่ดินให้ทำกิน ปลูกพืช ทำไร่ ทำนา ได้ ลุงประพงษ์เองก็ชอบทำเกษตร  ทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ อยู่แล้ว จึงเริ่มต้นซื้อที่ดินผืนแรกด้วยเงินที่มีอยู่ไม่มากราว 60 ไร่ๆ ละ 1,000 บาท ในปี 2518 โดยไม่มีโฉนด และเป็นที่ป่า ต้องบุกเบิกจนเป็นที่ว่างเปล่า ที่เริ่มต้นทำนา ทำไร่ข้าวโพด และเลี้ยงสัตว์ ไว้เพื่อใช้งาน ใช้ปุ๋ยเคมีบำรุงต้น

แต่การทำไร่ข้าวโพดต้องอาศัยฝนฟ้า มีปัญหามากมาย บางปีฝนแล้งก็แทบไม่ได้ผลผลิต ปีไหนฝนดีก็ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อข้าวโพดออกฝัก เริ่มแก่ ต้นจะล้ม ฝักที่ถูกดินที่มีความชื้นหากเก็บก็จะงอกขึ้นมาใหม่ เสียหายค่อนข้างมาก จึงมองว่าการปลูกพืชเชิงเดี่ยวไม่ค่อยดี จึงหันมาเลี้ยงสัตว์ร่วมด้วย

1.คุณประพงษ์-อุดมโภชน์
1.คุณประพงษ์-อุดมโภชน์
2.การสนับสนุนสินค้าสหกรณ์
2.การสนับสนุนสินค้าสหกรณ์

การบริหารจัดการแปลงเกษตรแบบผสมผสาน

ต่อมาได้ทำสวนมะขามหวานเพชรบูรณ์ชื่อดังที่ซื้อมาต้นละ 10 บาท จำนวน 400 ต้น ที่มีการติดตั้งระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์และดูแลเป็นอย่างดี เมื่อผลผลิตออกมาในช่วง 2 ปีแรก ให้ผลผลิตค่อนข้างดี ราคางาม 100 บาท/กก. แต่หลังจากนั้นราคาผลผลิตก็ตกต่ำ เพราะเกษตรกรแห่มาปลูกกันมากจนผลผลิตล้นตลาดเหลือเพียง 15 บาท/กก.

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จึงตัดสินใจตัดมะขามหวานทิ้งแล้วปลูกกล้วยน้ำว้า แต่เมื่อเก็บผลผลิตไปขายในราคาเพียง 50 สตางค์/กก. ก็ขาดทุนอีกรอบ พอปลูกไผ่ตงไว้ประมาณ 10 ไร่ ไผ่ก็เป็นขุยตายจนหมด จึงต้องเปลี่ยนมาปลูกลำไยจำนวน 400 ต้น เนื้อที่ 23 ไร่ มาจนถึงปัจจุบัน ปลูกหญ้าเนเปียร์ร่วม 8 ไร่ ไว้เพื่อเลี้ยงวัวจำนวน 30 กว่าตัว ต้องใช้พื้นที่เลี้ยงวัวมากกว่า 40 ไร่ เพื่อป้องกันวัวไปทำลายพืชผลทางการเกษตรของเพื่อนบ้านจนได้รับความเสียหาย

จึงต้องปลูกหญ้า เก็บฟางข้าวไว้เลี้ยงในพื้นที่ของตนเองดีกว่า การปลูกข้าวปีเป็นข้าวนาดำ อย่าง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ประมาณ 3 ไร่  ทำไร่อ้อยที่ลดพื้นที่ลงมาเหลือเพียง 10 ไร่ ตลอดจนการทำ ไร่มันสำปะหลัง จำนวน 20 ไร่ ภายใต้การบริหารจัดการด้วยคนเพียง 3 คน คือ ลุงประพงษ์ และลูกน้องประจำอีก 2-3 คน และแรงงานรายวันในพื้นที่สำหรับงานทั่วๆ ไป

ฉะนั้นการจัดสรรพื้นที่ทำเกษตรให้สามารถปลูกพืชได้หลายอย่างแบบผสมผสานให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้น ต้องมีการวางแผนการผลิตที่ดี การดูแลและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับการปลูกพืชแต่ละชนิด ในขณะที่ลุงประพงษ์จะใช้สารปรับสภาพดิน “ตรากุ้งสองตัว” ปุ๋ยหมัก ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นเอง ช่วยฟื้นฟูดินและปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืช

3.ผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่เพื่อทาน-และแปรรูปจำหน่าย
3.ผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่เพื่อทาน-และแปรรูปจำหน่าย
ข้าวคุณภาพเพื่อคนรักสุขภาพ
ข้าวคุณภาพเพื่อคนรักสุขภาพ

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายข้าวไรซ์เบอร์รี่

ลุงประพงษ์ยอมรับว่าการทำเกษตรเป็นที่ตนเองชอบที่ทำได้ไม่ยากนัก หากเข้าใจในธรรมชาติของพืช เริ่มตั้งแต่การทำ “ข้าวไรซ์เบอร์รี่” ในพื้นที่ลุ่มชุ่มน้ำ มีน้ำขังบ้างในช่วงหน้าฝน เพราะเป็นการทำข้าวนาปีแบบนาดำเพื่อคัดเมล็ดพันธุ์เก็บไว้ทานและแปรรูปขายในแบรนด์ของตนเองผ่านทางเครือข่ายภายในพื้นที่เพื่อทดลองตลาด

ในปีแรกเพียง 188 กิโลกรัมๆ ละ 100 บาท เป็นข้าวปลอดสารพิษ ดูแลด้วยอินทรีย์ชีวภาพ ไม่ใช้ปุ๋ย ใช้ยา จึงมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เหมาะสำหรับกลุ่มคนที่รักสุขภาพเป็นหลัก หากขายเป็นข้าวเปลือกจะอยู่ที่ 200 บาท/ถัง หรือประมาณ 20,000 บาท/เกวียน

4.ไร่อ้อย-10-ไร่
4.ไร่อ้อย-10-ไร่

สภาพพื้นที่ปลูกอ้อย

การทำ “ไร่อ้อย” เนื้อที่กว่า 10 ไร่ ที่ต้องปรับที่ดินให้สม่ำเสมอ ใช้สารปรับสภาพดินตรากุ้งสองตัว และปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ที่ทำเอง เพื่อปรับปรุงดินก่อนยกร่อง จ้างคนงานตัดท่อนพันธุ์ และปลูกอ้อยแบบรายวัน จากนั้นก็จะจ้างแรงงานเพื่อฉีดสารกำจัดวัชพืช 1-2 ครั้ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในช่วงแรก บำรุงต่อด้วยปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ เมื่อต้นอ้อยโตเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยวก็จะขายให้กับหัวหน้าโควตาอ้อยในระบบเหมาในราคา 600 บาท/ตัน ที่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวทั้งหมดจะเป็นหน้าที่ของหัวหน้าโควตา จากนั้นลุงประพงษ์ก็จะมีการบำรุงดูแลตออ้อยต่อเพื่อรอการขายผลผลิตในปีถัดๆ ไปในระบบเหมาเช่นเคยเพราะไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ดูแลให้ดีและขายสดเท่านั้นเอง

อีกทั้งการปลูกอ้อย 1 ครั้ง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานกว่า 3-4 ตอ จึงคุ้มค่าแก่การลงทุน เพราะการทำไร่อ้อยมีการบริหารจัดการในทุกขั้นตอนนั้นจะทำได้ค่อนข้างลำบากและเคยทำมาแล้ว เมื่อก่อนทำไร่อ้อยมากกว่านี้ ดูแลอย่างดีทุกอย่าง

พอจะตัดผลผลิตเข้าโรงงานก็จะมีปัญหามาก เพราะต้องจุดไฟเผาอ้อยให้คนงานตัด คนตัดอ้อยไม่มีและหายาก อ้อยก็แห้ง ค่าคนตัดอ้อย ตัดอ้อยแห้งก็คิดราคาเท่าเดิม ค่าบรรทุก ค่าคนขึ้นอ้อยใส่รถบรรทุกส่งโรงงาน จากอ้อยที่ควรจะได้น้ำหนัก 24-26 ตัน/คันรถ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นอย่างนี้อ้อยก็แห้ง น้ำหนักก็หายไปเหลือเพียง 15-16 ตัน/คันรถ ดังนั้นการขายอ้อยสดช่วยลดปัญหาตรงนี้ได้มาก การจัดการไม่มาก

5.ไร่มัน-20-ไร่-ผลผลิต-8-ตันต่อไร่
5. ไร่มันสำปะหลัง -20-ไร่-ผลผลิต-8-ตันต่อไร่ ไร่มันสำปะหลัง ไร่มันสำปะหลัง ไร่มันสำปะหลัง

การทำ ไร่มันสำปะหลัง

การทำ “ ไร่มันสำปะหลัง ” เนื้อที่กว่า 20 ไร่ เริ่มตั้งแต่การไถพลิกหน้าดิน เก็บต้นและเหง้ามันออก หว่านปุ๋ยรองพื้นที่ด้วยสารปรับสภาพดิน ตรากุ้งสองตัว  1 กระสอบ (50 กก.) บวกกับโดโลไมท์ 1 กระสอบ (25 กก.) ที่ได้มาฟรีจากกรมพัฒนาที่ดินต่อพื้นที่ 1 ไร่

ตอนชักร่องปลูกในช่วงแรกจะคุมหญ้าด้วยสารกำจัดวัชพืช ที่ส่วนใหญ่จะจ้างแรงงานรายวันในพื้นที่ ต่อจากนั้นจะใช้ปุ๋ยคอกบำรุงต้น ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ทำจากซากพืช ซากสัตว์ และฮอร์โมนฉีดพ่นทางใบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณที่ต้นมันขึ้นไม่สม่ำเสมอจะต้องดูแลเป็นพิเศษ การใช้ปุ๋ยหมักบำรุงต้นและหัว การใช้ปุ๋ยเคมีบ้าง

จนกระทั่งมันสำปะหลังมีอายุครบปี หรือขึ้นอยู่กับราคาผลผลิตในแต่ละช่วง ก็จะมีการจ้างทีมรับเหมาขุดมันในพื้นที่ในราคา 500 บาท/ตัน ที่ต้องตัดต้นพันธุ์ให้ด้วย ผลผลิตเฉลี่ยปีที่แล้ว 8 ตัน/ไร่/มันอายุ 14 เดือน ในราคา 2.60 บาท/กก.

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.ไร่มันสำปะหลัง-สมบูรณ์เพราะการดูแลผสมผสานเน้นการฟื้นฟูดิน
6.ไร่มันสำปะหลัง-สมบูรณ์เพราะการดูแลผสมผสานเน้นการฟื้นฟูดิน

การให้ปุ๋ยและน้ำมันสำปะหลัง

เราใช้กุ้งสองตัวแค่ 250 บาท/กระสอบ กับโดโลไมท์ที่ได้มา 1 กระสอบ/ไร่ มันจะลดต้นทุนได้มากเลย เราเก่งทางด้านประหยัดเงิน เราใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก น้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพทำจากซากพืช ซากสัตว์ ฮอร์โมนรกหมูแทนยูเรียฉีดพ่นทางใบได้ มันจะสวย ดินจะร่วนซุย ขุดง่าย เราขุดมันเราดูราคาเป็นหลัก

ปีหน้าถ้าตอนปลูกจะใส่ปุ๋ยคอกหว่านให้ทั่ว ต้นมันจะขึ้นเท่ากันดี ปรับหน้าดินให้เสมอ เน้นบำรุงหน้าดินที่ปรับให้ดี ผลผลิตก็จะดีขึ้นด้วย เราต้องเน้นอินทรีย์มากกว่าเคมี เพราะผมเป็นเกษตรกรที่ได้รับรางวัล 2 รางวัล ทั้งผู้นำที่ทำไร่นาสวนผสม ได้รับโล่สิงห์และรางวัลจากกรมพัฒนาชุมชนด้านไร่นาสวนผสมด้วย” ลุงประพงษ์เผยวิธีการดูมันสำปะหลังที่ไม่มีระบบน้ำรองรับ แต่ให้ผลผลิตที่ดีได้

7.สวนลำไย
7.สวนลำไย

สภาพพื้นที่ปลูกลำไย

การทำ “สวนลำไย” ที่มีทั้งลำไยที่ปลูกใหม่ไปจนถึงอายุ 25 ปี ที่เก็บผลผลิตได้จำนวน 100 กว่าต้น ที่ลดปริมาณลงจาก 400 ต้น ในอดีต สภาพดินภายในสวนลำไยเป็นดินลูกรัง และไม้ผลยืนต้นจะกินปุ๋ยต่างจากพืชไร่ จึงต้องใช้ปุ๋ยเคมีและกุ้งสองตัวแบบ 1:1 หว่านรอบทรงพุ่ม เพิ่มธาตุอาหารและฟื้นฟูดิน

หลังจากมีการให้น้ำด้วยระบบมินิสปริงเกลอร์แล้ว การดูแลต้นลำไยอายุต่ำกว่า 3 ปีนั้น ต้นและรากยังอ่อนก็จะกำจัดหญ้าวัชพืช ให้ปุ๋ยทางดินและฉีดพ่นทางใบเสริม จนกระทั่งอายุ 5 ปี มีการตัดแต่งกิ่งคลุมโคนต้นร่วมกับการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชื้นและป้องกันหน้าดินพังทลายและเป็นปุ๋ยพืชสดในตัวด้วย

8.การใช้ฮิวมิคทดแทนยูเรีย
8.การใช้ฮิวมิคทดแทนยูเรีย ไร่มันสำปะหลัง ไร่มันสำปะหลัง ไร่มันสำปะหลัง ไร่มันสำปะหลัง ไร่มันสำปะหลัง 

การบำรุงดูแลรักษาลำไย

ในขณะเดียวกันลำไยที่ให้ผลผลิตหลังตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้วจะให้น้ำและปุ๋ยทางดิน ก่อนจะราดสารไม่ทำลายดิน แต่จะควบคุมระบบรากไม่ให้ขยาย ราว 3 วัน แล้วค่อยฉีดพ่นทางใบเพื่อหยุดการแตกยอดไว้นานกว่า 15 วัน จากนั้นทำการบำรุงยอดต่ออีก 1 เดือน ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอกออกมา

จึงเริ่มฉีดพ่นทางใบเพื่อบำรุงตาดอกด้วยแคลเซียมโบรอน และบำรุงฮิวมิคแทนยูเรียเพื่อบำรุงให้ดอกสมบูรณ์ให้เป็นเกสรตัวเมีย จนกระทั่งออกผลผลิตที่ต้องดูแลตามความเหมาะสม จนให้ผลผลิตที่ 10 ตัน/ร้อยกว่าต้น/ปี มีรายได้เกือบ 200,000  บาท ขายกิโลละ 22 บาท แต่ปีนี้ราคาเพียง 15-18 บาท ถ้าเป็นลำไยในฤดู แต่บางคนทำให้ออกช่วงตรุษจีนจะราคาแพง เพราะผลผลิตขึ้นอยู่กับการดูแล สภาพแวดล้อม และสภาพอากาศ ในแต่ละปี ที่มีผลต่อการติดดอก ออกผลผลิต

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เราต่อต้านการใช้ยูเรีย เราไม่ใช้ยูเรีย แต่จะใช้ฮิวมิคแทนยูเรีย ผสมน้ำฉีดพ่นได้เลย การทำเกษตรไม่มีสูตรสำเร็จ แต่อยู่ที่เราจะใช้สูตรไหนในการดูแลมากกว่า แน่นอนพืชต้องได้กินปุ๋ยทั้งทางรากและทางใบ” ลุงประพงษ์อธิบายถึงการดูแลลำไยสร้างรายได้รายปีที่ส่วนใหญ่จะทำเองเกือบทั้งหมด ได้ทั้งผลผลิต ได้ดูแลปรับปรุงดินให้ดี ปลูกพืชได้ผลผลิตที่ดี

เพราะในอดีตจะมีการใช้เคมีค่อนข้างมาก ทำให้หน้าดินเหยียบแทบไม่ลง แต่พอได้เรียนรู้วิธีการดูแลพืชแบบไร่นาสวนผสม แบบผสมผสานแล้ว จึงหันมาปลูกพืชโดยใช้อินทรีย์เป็นหลัก เคมีเป็นตัวเสริม พัฒนาดินเป็นหลัก ถ้าดินไม่ดีก็ปลูกพืชไม่งาม เพราะทำเกษตรอยู่ที่นี่มานาน 20-30 ปีแล้ว ก็ได้พัฒนาตนเองด้านการทำเกษตรขึ้นเรื่อยๆ

จนกระทั่งมีการแยกหมู่บ้านก็ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน เป็นกำนัน สมาชิก อบต. ผู้บริหารอบต. ที่มีโอกาสได้ปลูกต้นไม้เรื่อยมา การปลูกพืชแบบผสมผสานจะทำให้มีรายได้เข้ามาหลายทาง พืชตัวไหนราคาผลผลิตตกต่ำก็สามารถเฉลี่ยกันได้ ประกันความเสี่ยงได้ดีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพราะการทำการเกษตรต้องเน้นเรื่องคนก่อน เกษตรกรเองต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ ขยัน ประหยัด อดทน พัฒนาตัวเองให้ได้

เมื่อก่อนเรายากจน เราต้องพัฒนาตัวเองให้ได้ ส่งลูก 2 คน เรียนจนจบ ผมก็พัฒนาการทำเกษตรขึ้นมาเรื่อยๆ เพราะเราจะสู้เขาไม่ได้ เราต้องคิดใหม่ ทำใหม่ ทำของใหม่ที่มีคุณภาพ ราคาดี เราต้องศึกษาก่อนลงมือทำ ผมจบ ป.ตรี 2 ใบ ใบแรกด้านพัฒนาชุมชน ผมเสียเงินเรียนเอง ใบที่ 2 ด้านการปกครองคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ใบนี้ท้องถิ่นออกให้เรียน ส่งลูกเรียนจบ 2 คน แม่บ้านก็จบปริญญาตรีตอนอายุมากเหมือนกัน ลูกส่งให้เรียนก็ดีหน่อย พอเรามีความรู้เรามาทำเกษตร เราก็รู้จักเรียงลำดับการบริหารจัดการ ทั้งบริหารต้นทุน เวลา และบริหารทั่วไป ได้มากขึ้น ผมทำเกษตร” ลุงประพงษ์เผยที่มาของการทำเกษตรให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ

ขอบคุณข้อมูล คุณประพงษ์ และคุณจันทรา อุดมโภชน์ ที่อยู่ 325/9 หมู่ 4 ต.เชียงทอง อ.วังเจ้า จ.ตาก โทร.089-960-8061