ราคายาง เผยสาเหตุที่ราคา ยางพารา ตก และ ยุทธศาสตร์ยางพารา ไทย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ราคายาง เผยสาเหตุที่ราคา ยางพารา ตก และ ยุทธศาสตร์ยางพารา ไทย

ยางพาราเรียกได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศไทยมาช้านาน เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ในระบบเศรษฐกิจในหลายมิติ ทั้งด้านการส่งออก การจ้างงาน ภาคอุตสาหกรรมยาง ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2560) พบว่าในปี 2559 ประเทศไทยมีเนื้อที่ปลูกยางพาราประมาณ 23.2 ล้านไร่ (ครอบคลุมกว่า 60 จังหวัด)

และสามารถผลิตยางธรรมชาติได้ 4.4 ล้านตัน โดยผลผลิตดังกล่าวได้สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางที่มีอยู่จำนวน 1.6 ล้านครัวเรือน (หรือ 6 ล้านคน) ประมาณ 3 แสนล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 200,000 คน และในแต่ละปี “ยางธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ยาง” สามารถสร้างรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศไม่น้อยกว่า 400,000 ล้านบาท

1.พื้นที่เพาะปลูกยางพารา
1.พื้นที่เพาะปลูกยางพารา
ที่มา-Rubber-Authority-of-Thailand
ที่มา-Rubber-Authority-of-Thailand

การปลูกยางพารา

 

ถึงแม้ยางพาราจะเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย แต่กลับมีปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างยั่งยืน คือ  ยางพาราเป็นสินค้าที่ประเทศไทยผลิตได้เป็นอันดับที่ 2 ของโลก แต่ส่งออกได้เป็นอันดับที่ 1 ของโลก และด้วยเหตุที่ยางพาราที่ผลิตได้ถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง

โดยโรงงานที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเพียงแค่ 14% ส่วนที่เหลืออีก 86% ถูกส่งออกในรูปวัตถุดิบ ทำให้ยางพาราเป็นสินค้าที่ต้องพึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลักเช่นเดียวกับสินค้าเกษตรอื่นๆ

2.โครงสร้างตลาดยางพารา
2.โครงสร้างตลาดยางพารา

โครงสร้างตลาด ยางพารา

และด้วยเหตุที่โครงสร้างตลาด ยางพารา เป็นแบบตลาดผู้ซื้อน้อยราย ในขณะที่มีผู้ขายจำนวนมาก ส่งผลทำให้ผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองเหนือกว่าผู้ขาย ในขณะเดียวกัน ราคายาง พาราที่ซื้อขายกันในตลาดโลกยังถูกกำหนดจากราคาในตลาดซื้อขายล่วงหน้า โดยที่ 90% เป็นการเก็งกำไร ส่งผลทำให้ราคายางพารามีความผันผวนค่อนข้างมาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนั้นราคายางพารายังได้รับผลกระทบจาก ราคายาง สังเคราะห์ ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนยางธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมมากกว่าถุงมือยางธรรมชาติ เนื่องจากมีผู้ใช้แพ้ถุงมือประเภทยางสังเคราะห์น้อยกว่า และมีความบางกว่า อีกทั้งราคาต่ำกว่ามาก

ในปัจจุบันเนื่องจากราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของยางสังเคราะห์ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ จึงมีผลทำให้ ราคายาง สังเคราะห์ปรับตัวลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้ผู้ผลิตหันไปใช้ยางสังเคราะห์แทนยางธรรมชาติเพื่อลดต้นทุน และในท้ายที่สุดก็มีผลทำให้ ราคายาง ธรรมชาติประสบกับภาวะตกต่ำ จนทำให้เกษตรกรเดือดร้อน และออกมาเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล

นอกจากปัญหาเรื่องราคาแล้ว การผลิตยางพาราของไทยยังมีต้นทุนสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ส่งผลทำให้จำเป็นต้องตั้งราคาขายสินค้าสูงกว่าคู่แข่งขัน ทำให้สูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขัน ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีพื้นที่สวนยางส่วนหนึ่งที่อยู่ในเขตป่าสงวน ทำให้ประเทศผู้นำเข้า

โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ในกลุ่มสหภาพยุโรป และประเทศญี่ปุ่น กำหนดมาตรการกีดกันการค้าในรูปแบบของมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน (FSC)โดยประเทศเหล่านั้นได้กำหนดเงื่อนไขว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราจากสวนยางที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน FSC เท่านั้น

ในปัจจุบันส่วนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการนี้จำกัดอยู่แค่ไม้ยางพารา แต่ถ้าหากเมื่อใดที่มาตรการกีดกันดังกล่าวลุกลามไปถึงยางแปรรูปขั้นต้น (หรือยางวัตถุดิบ) ก็จะส่งผลทำให้อุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับกรณีของอุตสาหกรรมประมงที่ได้รับผลกระทบจากการที่สหภาพยุโรป (EU) ได้ให้ใบเหลืองเพื่อเป็นการเตือนอย่างเป็นทางการต่อกรณีที่ประเทศไทยไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing)

นอกจากนั้นปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานกรีดยาง ซึ่งส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติ ก็ถือว่าเป็นปัญหาท้าทายที่ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.การจัดทำยุทธศาสตร์ยางพารา-20-ปี
3.การจัดทำยุทธศาสตร์ยางพารา-20-ปี

การจัดทำยุทธศาสตร์ยางพารา 20 ปี

หากปัญหาและความท้าทายที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้รับการแก้ไขก็จะทำให้อุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยต้องย่ำอยู่กับที่ เมื่อใดที่มีปัญหา ราคายาง ตกต่ำ เกษตรกรก็จะออกมาเรียกร้องขอความช่วยเหลือ ซึ่งในท้ายที่สุดรัฐบาลก็จะต้องออกมาตรการต่างๆ ออกมาเยียวยา

และด้วยเหตุที่มาตรการดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างได้ ทำให้งบประมาณที่รัฐบาลใช้ในการเยียวยาปัญหายางพาราไม่เกิดประโยชน์ เหมือนเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาที่จะต้องมีการจัดทำ “ยุทธศาสตร์ยางพารา 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)” เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาในระดับโครงสร้าง

โดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้และการส่งออกด้วยการเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศ และมุ่งเน้นการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งก็จะมีผลทำให้ปริมาณการส่งออกยางวัตถุดิบลดลง โดยที่มีเป้าหมายเพื่อที่จะลดผลกระทบจากสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำ สร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตให้กับเกษตรกรฯ และวางรากฐานให้อุตสาหกรรมยางพาราของไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

เพื่อให้การจัดทำยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ยางพารา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน และมีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้ากลุ่ม

ภารกิจด้านบริหารทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลิตเป็นเลขานุการ ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงนามในคำสั่งคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ยางพาราแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์ยางพารา

โดยมีรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านบริหารทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลิตเป็นประธาน และมีผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยเป็นคณะทำงานและเลขานุการ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.การประชาพิจารณ์ร่างยุทธศาสตร์ยางพารา
4.การประชาพิจารณ์ร่างยุทธศาสตร์ยางพารา

การประชาพิจารณ์ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ ยางพารา ระยะ 20 ปี เพิ่อแก้ปัญหา ราคายาง

เมื่อคณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์ ยางพารา ได้รับคำสั่งแต่งตั้ง การยางแห่งประเทศไทยจึงได้ทำการจัดจ้างให้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมาเป็นที่ปรึกษา และได้ร่วมกันจัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ ยางพารา ระยะ 20 ปีขึ้น โดยในการดำเนินการที่ผ่านมาเริ่มต้นจากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย จำนวนรวม 8 ครั้ง แบ่งเป็นส่วนภูมิภาคจำนวน 7 ครั้ง และส่วนกลางจำนวน 1 ครั้ง

จากนั้นจึงนำความคิดเห็นที่ได้มาจัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี แล้วนำกลับไปจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปีในส่วนภูมิภาคอีกจำนวน 5 ครั้ง แล้วจึงนำเอาข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะที่ได้จากทั้ง 5 เวที มาปรับปรุง (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ ให้สมบูรณ์มากขึ้น

ก่อนที่จะนำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี ไปทำการประชาพิจารณ์ เมื่อวันอังคารที่ 12 กันยายน 2560 เวลา 9.00-12.00 น. ณ การยางแห่งประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)

หลังจากการประชาพิจารณ์ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปีแล้ว ขั้นตอนต่อไปคณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์ยางพาราจะได้นำเอาข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะที่ได้ไปปรับปรุง “(ร่าง) ยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี” ให้เป็น “ยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี” ที่สมบูรณ์ แล้วจึงนำไปเสนอต่อคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ยางพารา

และกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ก่อนที่จะประกาศใช้ต่อไป โดยในทางปฏิบัตินั้นจำเป็นที่จะต้องมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (โดยที่มีผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการ) ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี ให้เป็นไปตามเป้าหมาย

5.แนวทางในการแก้ปัญหา
5.แนวทางในการแก้ปัญหา

การกำหนดเป้าหมายในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี

อนึ่ง ยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี ที่จะนำไปเสนอต่อคณะอนุกรรมการจัดทำ ยุทธศาสตร์ยางพารา ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “เป็นผู้นำของโลกในด้านการผลิตและการส่งออกยางธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ยาง/ไม้ยางพารา และทำให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้ที่ยั่งยืน”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยการที่จะขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี ให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องดำเนินการตามพันธกิจจำนวน 8 ข้อ ดังนี้

  1. พัฒนาเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง และมีรายได้ที่มั่นคง
  2. ส่งเสริมการผลิตยาง ผลิตภัณฑ์ยาง/ไม้ยางพาราให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานระดับสากล
  3. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า
  4. ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจแปรรูปยาง/ไม้ยางพารา และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการแปรรูปยาง/ไม้ยางพารา
  5. พัฒนาระบบตลาด และช่องทางการจัดจำหน่ายยาง ผลิตภัณฑ์ยาง/ไม้ยางพารา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  6. ส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศ
  7. ปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับ ยางพารา ทั้งระบบให้มีความเป็นเอกภาพ มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง มีความชัดเจน และมีความทันสมัย

8) ปรับปรุงกฎระเบียบ/กฎหมาย และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ยางพารา ยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ 19 กลยุทธ์ โดยทั้ง 5 ยุทธศาสตร์นั้น ประกอบด้วย

1) การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรฯ และสถาบันเกษตรกรฯ

2) การเพิ่มประสิทธิภาพ และการยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน

3) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

4) การพัฒนาตลาด และช่องทางการจัดจำหน่าย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

5) การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน

ภายในอีก 20 ปีข้างหน้า คณะทำงานจัดทำ ยุทธศาสตร์ยางพารา ได้กำหนดเป้าหมายในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี เอาไว้ว่า “จะต้องทำให้” …

  • ปริมาณผลผลิตยางเฉลี่ยของทั้งประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 360 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
  • เกษตรกรฯ และสถาบันเกษตรกรฯ มีความเข้มแข็ง และสามารถพึ่งพาตัวเองได้
  • ปริมาณการซื้อขายยางในตลาดยาง กยท. เพิ่มขึ้นเป็น 2,000,000 ตันต่อปี
  • สัดส่วนการใช้ยางภายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 30%
  • การใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐคิดเป็นสัดส่วน 10% ของการใช้ยางภายในประเทศ
  • เงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอุตสาหกรรมยางพารา มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อปี
  • มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง/ไม้ยางพาราเพิ่มขึ้นเป็น 800,000 ล้านบาทต่อปี

**********

ขอขอบคุณข้อมูล การยางแห่งประเทศไทย