10 สาเหตุทำ ราคายางพารา ตกต่ำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ราคายางพารา ถูกกำหนดด้วยปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะตลาดโลก และสินค้าอื่นๆ เรามาดูกันว่า 10 เหตุผล ทำราคายาง ตกตำ่มีอะไรบ้าง

ขอขอบคุณ ข้อมูล : www.sator4u.com

 

ทุกข์ของชาวสวนยางนับวันยิ่งหนักขึ้นทุกวัน หลังจากราคายางตกต่ำอย่างต่อเนื่อง จนหล่นมาอยู่ในระดับ 3 – 4 โลร้อย เป็นราคาที่ไม่เคยมีใครคิดว่านี่คือ ความจริง และแนวโน้มราคายังไม่หยุดลง

นี่คือ “ ฝันร้าย ” ของชาวสวนยางทั่วประเทศ

สาเหตุที่ ราคายาง พารา ตกต่ำอยู่ในขณะนี้เป็นเพราะอะไร ยางเศรษฐกิจ นำข้อมูล 10 เหตุผลที่ทำให้ ราคายางพารา ตก เพื่อสะท้อนความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ พร้อมกับคำถามว่าจะดำเนินแนวทางต่อไปอย่างไรในอนาคต

  1. ประเทศไทย เป็น 1 ใน 3 ประเทศที่ส่งออกยางมากที่สุดในโลก เคยผลิตยางได้ต่อปีประมาณ 1,500,000 ตัน / ปี กว่าร้อยละ 80 – 90 ส่งออก ส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ภาคใต้แต่เมื่อเศรษฐกิจโลกเติบโต ความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น หลายคนหันมาลงทุนปลูกยางกันเกือบทั่วประเทศ จนถึงปี 2557 ไทยผลิตได้ / ปีประมาณ 4,500,000 ตัน เพิ่มขึ้นเกือบ ๆ 4 เท่า โดยไม่มีการจัดโซนนิ่งและควบคุมปริมาณให้เหมาะสม
  2. ราคายางพารามีทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน เนื่องจากว่าในโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้ยางสังเคราะห์จากยางพาราหรือจากพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบถ้าเมื่อใดราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นพอลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันเองก็จะมีราคาแพงด้วย โรงงานอุตสาหกรรมจึงหันมาซื้อยางพารามาใช้ในการผลิตแทน ทำให้ความต้องการ ยางพารา สูงขึ้นราคายางพารา ก็ปรับตัวสูงขึ้นในทางกลับกัน ถ้าเมื่อใดราคาน้ำมันปรับตัวลดลงพอลิเมอร์ก็จะมีราคาลดลงด้วย โรงงานอุตสาหกรรมจึงหันมาซื้อพอลิเมอร์ผลิตแทน ทำให้ความต้องการยางพาราลดลงราคายางพารา ก็ปรับตัวลงเช่นกัน

    ราคายางพารา ขึ้นอยู่กับ จีน
    ราคายางพารา ขึ้นอยู่กับ จีน
  3. จีน ถือเป็นผู้ใช้ยางพารามากที่สุดในโลก ข้อมูลปี 2556 จีนใช้ยางราว ๆ 4,000,000 ตัน / ปี ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ขณะนี้จีนกำลังลดการนำเข้ายางเพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เศรษฐกิจจีนยังไม่ฟื้น อุตสาหกรรมรถยนต์ลดกำลังการผลิตขณะเดียวกันจีนก็เปลี่ยนบทบาทจากผู้ซื้อมาเป็นผู้ผลิตเองด้วย จีนเริ่มปลูกยางเองและเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ลาว กัมพูชา ตอนนี้ครบอายุกรีดยางแล้ว ยางจะถูกส่งกลับไปจีนปัจจุบันจีนมียางอยู่ในสต็อกราว ๆ 900,000 ตัน ขณะที่ไทยมีสต็อกราว ๆ 200,000 ตัน หลายปัจจัยจึงกดดัน ราคายางพารา ให้ตกต่ำอยู่ในขณะนี
  4. เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในช่วง 2 – 3 ปี เศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเศรษฐกิจประเทศกลุ่ม G3 ประกอบกับเศรษฐกิจจีน เป็นผู้บริโภคยางอันดับ 1 ของโลกโดยเป็นฐานการผลิตล้อยางของบริษัทชั้นนำของโลก และเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนเติบโตในระดับสูงมาตลอด แต่เริ่มชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในช่วง 2 – 3 ปีนี้ส่งผลให้ความต้องการใช้ยางของโลกอยู่ในระดับต่ำ โดยในช่วงปี 2554 – 2556 ความต้องการใช้ยางโลกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.9 ในขณะที่ผลผลิตยางโลกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.1

    เศรษฐกิจจีนที่เคยเติบโตอย่างสุดขีด วันนี้เริ่มส่งสัญญาณชะงัก
    เศรษฐกิจจีนที่เคยเติบโตอย่างสุดขีด วันนี้เริ่มส่งสัญญาณชะงัก
  5. สต็อกยางจีน ณ เมืองชิงเต่าและสต็อกยางไทยอยู่ในระดับสูง ชิงเต่าเป็นเมืองที่มีการนำเข้ายางมากที่สุดเพื่อผลิตล้อยาง ที่ผ่านมาพบว่าสต็อกยางชิงเต่าเร่งตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2556เนื่องจากการเร่งนำเข้าในช่วงงดเก็บเงินสงเคราะห์ ( CESS ) ซึ่งเป็นเงินที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ( สกย. ) เรียกเก็บจากผู้ส่งออกยาง และการนำเข้ายางของเทรดเดอร์จีนที่สูงเกินความต้องการใช้จริงเพื่อทำกำไรการค้ายางจากวิธีการซื้อขายระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนที่ ผันผวน โดยสต็อกยาง ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 249,600 ตัน

    ขณะเดียวกันสต็อกยางไทยใน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557 อยู่ที่ 374,527 ตัน สูงกว่าระดับปกติที่เคยอยู่ประมาณ 2 แสนตัน

  6. ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่ผลิตและส่งออกในรูปของสินค้าเกษตรโดยไม่มีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ดังนั้นเมื่ออุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าจากยางพาราในต่างประเทศลดการผลิต และสั่งซื้อยางน้อยลงในขณะที่การผลิตเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของประเทศไทย และประเทศอื่นก็ทำให้ ราคายางพารา ตกต่ำหนักขึ้นไปอีก และเชื่อว่าภาวะเช่นนี้จะยังคงเป็นไปอีกหลายปี
  7. ต้นทุนการผลิตยางมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนในด้านปุ๋ยเคมีและเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร โดยต้นทุนเฉลี่ยในการผลิตยางในไทยอยู่ที่กิโลกรัมละ 64 บาทนับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งมีต้นทุนการผลิตยางโดยเฉลี่ยต่ำกว่าไทยกิโลกรัมละ 15 – 20 บาทดังนั้น ราคายางพาราส่งออกยางของไทยจึงสูงกว่าอินโดนีเซีย โดยเฉพาะยางแท่ง ทำให้ประเทศคู่ค้าของไทยหันไปซื้อยางแท่งจากอินโดนีเซีย จะเห็นได้ว่าการส่งออกยางแท่งของไทยมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ

    กล่าวคือ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2551 มูลค่าการส่งออกยางแท่งลดลงเหลือ 731 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วลดลงร้อยละ 43.3

    ยางแผ่น จีนนับเป็นผู้ใช้หลัก
    ยางแผ่น จีนนับเป็นผู้ใช้หลัก
  1. วิกฤติภาคการเงินสหรัฐส่งให้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอย สหรัฐเป็นตลาดส่งออกยางของไทยที่มีความสำคัญอันดับ 4 รองจากจีน มาเลเซีย และญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐร้อยละ 9.0 ของมูลค่าการส่งออกยางทั้งหมดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง โดยเฉพาะยางสำหรับยานพาหนะ สหรัฐเป็นตลาดที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 1 โดยมีสัดส่วนการส่งออกถึงร้อยละ 28.2 ของมูลค่าการส่งออกยางยานพาหนะทั้งหมดวิกฤติสินเชื่อในสหรัฐสร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ในสหรัฐค่อนข้างสูง โดยในเดือนกันยายน 2551 ยอดขายรถยนต์ลดลงเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน

    และยอดขายรถยนต์แบรนด์ของภูมิภาคเอเชียในสหรัฐ ในเดือนกันยายน 2551 ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา เพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคถดถอยลง

    อีกทั้งยังเป็นการยากมากขึ้นที่ผู้ต้องการซื้อรถจะสามารถกู้เงินมาซื้อรถได้ เนื่องจากสถาบันการเงินเข้มงวดมาตรฐานการปล่อยกู้มากกว่าเดิม ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ต้องการลดค่าใช้จ่ายลงด้วย

  1. ราคาชี้นำในตลาดล่วงหน้าของโลกลดลง ราคายางพาราในตลาดล่วงหน้าโตเกียว ( TOCOM ) และตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ ( SICOM ) อยู่ในช่วงขาลง เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลกับปัญหาผลผลิตส่วนเกิน ( Oversupply ) และสต็อกยางที่อยู่ในระดับสูงขณะที่ความต้องการใช้ยางอยู่ในช่วงชะลอตัว และยังไม่มีปัจจัยบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมากนัก ทำให้คาดการณ์ราคายางอนาคตปรับตัวลดลง
  1. นักเก็งกำไรสินค้าโภคภัณฑ์เทขายยาง ในช่วงที่ผ่านมา การที่ ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากการซื้อขายเก็งกำไรยางผ่านทางตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าแต่ในช่วง ราคายางพาราขาลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา การเข้ามาเก็งกำไรมีแนวโน้มที่จะลดลง บรรดานักลงทุนหันไปสนใจตลาดหุ้น และโลหะมีค่า โดยเฉพาะทองคำแทน ทำให้ราคายางตกลงเร็วผิดปกติ

 

10 เหตุผลที่ทำให้ยางราคาตก คงพอจะสะท้อนความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ พร้อมกับคำถามว่าจะดำเนินแนวทางต่อไปอย่างไรในอนาคต

ราคายางพารา