สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ ประจำวันที่ 24/06/2562-28/06/2562

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ของนิตยสารพลังเกษตร

สศก. จัด focus group เกษตรกร-พ่อค้าในพื้นที่ ถกแนวทางพัฒนาเกษตรอินทรีย์

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตสินค้าอินทรีย์โลกในปัจจุบัน พบว่า จากข้อมูลของสถาบันวิจัยเกษตรกรรมอินทรีย์ (The research institute of organic agriculture: FiBL) และสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (international federation of organic agriculture movements: IFOAM) ปี 2560 พบว่า พื้นที่เกษตรอินทรีย์ของโลกมีจำนวน 361.25 ล้านไร่  สถานการณ์ข่าว

1.นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่มาของภาพ http.www.oae.go.th
1.นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่มาของภาพ http.www.oae.go.th

โดยพื้นที่ผลิตสินค้าส่วนใหญ่อยู่บริเวณโอเซเนียน (Oceania) (ออสเตรเลียและหมู่เกาะใกล้เคียง) มีพื้นที่ผลิตเกษตรอินทรีย์ 47% ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด รองลงมา คือ ยุโรป มีพื้นที่ผลิตเกษตรอินทรีย์ 23% ลาตินเอมริกา 12% เอเชีย 9% อเมริกาเหนือ 6% และแอฟริกา 3% ซึ่งผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในตลาดโลกสร้างมูลค่าประมาณ 2.8 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้เกษตรอินทรีย์จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมดของไทยยังคงเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก หรือมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.41 เท่านั้น เนื่องจากการทำเกษตรอินทรีย์จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการปรับเปลี่ยนจึงจะได้รับการรับรองมาตรฐาน การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านเกษตรอินทรีย์ให้แก่เกษตรกร การสร้างแรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งอุปสรรคที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม และภัยพิบัติต่างๆ ล้วนยังส่งผลให้เกษตรกรยังคงตัดสินใจผลิตสินค้าแบบทั่วไป

การจัดการด้านคลังสินค้า พบว่า เกษตรกรบางส่วนยังขาดองค์ความรู้ในเรื่อง know how ด้านการบริหารเงินทุน (ไม่กล้านำเงินทุนมาหมุนเวียน) รวมทั้งโรงงานในพื้นที่ขาดเงินทุนหมุนเวียน ทำให้เกษตรกรขายผลผลิตให้กับแหล่งขายทั่วไปซึ่งเป็นเจ้าประจำ ดังนั้นควรส่งเสริมโดยให้ความรู้เรื่องการบริหารเงินทุนหมุนเวียน การทำแผนการใช้เงิน และการกำหนดเป้าหมาย การหาช่องทางการตลาดในพื้นที่ เช่น โรงงานแปรรูปในชุมชน และการสร้างเครือข่าย เช่น กลุ่มมะพร้าวอินทรีย์ในพื้นที่ เป็นต้น ด้านการขนส่ง พบว่า สินค้าเกษตรอินทรีย์ยังมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการขนส่งที่ค่อนข้างสูง จึงต้องพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ หรือสินค้าอินทรีย์ควรได้รับการลดหย่อนในเรื่องค่าขนส่ง และด้านการสูญเสีย พบว่า  การแปรรูปยังเป็นลักษณะแบบเดิม ไม่มีการเพิ่มมูลค่าผลผลิตสินค้าจากส่วนที่เหลือ จึงควรสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาต่อยอด และความร่วมมือของทั้งภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย เพื่อให้ทุกส่วนของมะพร้าวแปรรูปและสามารถเพิ่มมูลค่าได้ต่อเนื่อง

2.นายฉกาจ ฉันทจิระวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ที่มาของภาพ http http.www.thansettakij.com
2.นายฉกาจ ฉันทจิระวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ที่มาของภาพ http http.www.thansettakij.com สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว

หัวไชเท้า พืชทางเลือกกำไรงาม ปลูกได้ตลอดปี ให้กำไรกว่า 18,000 บาท/ไร่

นายฉกาจ ฉันทจิระวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น (สศท.4) เปิดเผยว่า ผักกาดหัว หรือหัวไชเท้า เป็นพืชทางเลือกชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ตลอดทั้งปี และเป็นที่ต้องการของตลาด มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 30 วัน  ซึ่งหัวไชเท้ามีคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย ช่วยป้องกันและแก้ปัญหาสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง แผลในกระเพาะอาหาร ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร และปรับสมดุลในระบบย่อยอาหาร

จากการสำรวจพืชทางเลือกในจังหวัดขอนแก่น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 (สศท.4) พบว่า ปัจจุบันพื้นที่ปลูกหัวไชเท้าที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่น อยู่ที่อำเภอบ้านแฮด และ อำเภอบ้านไผ่  ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 13,428 บาท/ไร่ หรือคิดเป็นต้นทุน 1.78 บาท/กิโลกรัม เกษตรกรได้ผลผลิต 7,500 กิโลกรัม/ไร่ ขายได้ในราคา 4.18 บาท/กิโลกรัม คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 2.4 บาท/กิโลกรัม หรือ 18,000 บาท/ไร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้านการตลาด เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตให้กับห้างค้าปลีกรายใหญ่ Tesco Lotus ซึ่งมีความต้องการผลผลิตประมาณ 4,500 กิโลกรัม/สัปดาห์ เพื่อกระจายสินค้าในศูนย์ภาคอีสานทั้ง 20 จังหวัด โดยรับซื้อผลผลิตหัวไชเท้าทุกฤดูในราคากิโลกรัมละ 12 บาท (ตั้งจุดรับซื้อ ณ สหกรณ์กลุ่มผู้ผลิตผักบ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น) นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าทั่วไปมารับซื้อหัวไชเท้าจากกลุ่มเกษตรกร โดยในช่วงฤดูหนาวจะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 4 บาท ส่วนช่วงฤดูแล้งรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 12 บาท เนื่องจากผลผลิตในฤดูแล้งมีน้อยจึงทำให้จำหน่ายได้ราคาดีกว่า

ทั้งนี้ท่านที่สนใจข้อมูลการผลิตและการตลาดหัวไชเท้าในจังหวัดขอนแก่น สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สศท.4 โทร.043-261-513 ต่อ 13 หรือสามารถขอคำปรึกษานายคำสอน เชิดโกทา ผู้ใหญ่บ้านสว่าง ประธานกลุ่มเกษตรกรบ้านสว่าง ตำบลหินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น โทร.06-1945-2066

3.กรมประมง

สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์น้ำ

กรมประมง….รุก ! ติดอาวุธทางปัญญาเสริมความรู้ ผลิตอาหารปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ให้เกษตรกรทั่วประเทศ

ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจกับการบริโภคอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัย ไร้สารตกค้างกันมากขึ้น ดังนั้นประเทศไทย ประเทศผู้เป็นหนึ่งฐานการผลิตสินค้าวัตถุดิบสำหรับทำอาหาร ซึ่งเปรียบเสมือนครัวโลก จึงต้องหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับเรื่องการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคด้วยเช่นกันผ่านมา เจ้าหน้าที่กรมประมงได้มีการลงพื้นที่ทั่วประเทศ ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์การเกิดโรคในสัตว์น้ำ เพื่อให้รู้ทัน รู้จักและเข้าใจโรคแต่ละชนิดมากขึ้น รวมถึงการประเมินการวิเคราะห์ความเสี่ยงของการเกิดโรค การเฝ้าระวังโรคในฟาร์ม การตรวจติดตามการเกิดโรค

รวมทั้งหลักการจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพ ลดปัญหาการเกิดโรคระบาด และการใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผล รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำร่วมกันอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรื่องต่างๆ เหล่านี้ เป็นทิศทางและกระแสการผลิตสัตว์น้ำของโลกด้วย

นอกจากนี้เมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคม-ต้นเดือนมิถุนายนนี้ ยังได้ร่วมกับเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย จัดงานสัมมนา “ชูกุ้งไทยสู่ความยั่งยืน ยกมาตรฐานกุ้งไทย สด สะอาด รสชาติดี ปลอดสารพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ในพื้นที่ทางภาคตะวันออกและภาคใต้ รวม 11 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ปัตตานี สตูล ตรัง กระบี่ พังงา และระนอง

โดยมีเกษตรกรจากชมรมผู้เลี้ยงกุ้ง 16 ชมรม รวมแล้วกว่า 900 คน ให้ความสนใจเข้าร่วมฟังการสัมมนากันมาก ทั้งนี้ภายในงานสัมมนามีการบรรยายและให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในการใช้ยาและเคมีภัณฑ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

รวมทั้งเรื่องของกระบวนการจัดการน้ำที่ใช้เลี้ยงสัตว์น้ำก่อนที่จะทิ้ง เพื่อไม่ให้เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ในงานสัมมนาดังกล่าว ผู้เข้าร่วมงานยังได้แสดงเจตจำนงร่วมกันในเรื่องของความตั้งใจที่จะลดการใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่สมเหตุสมผล ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา สารตกค้างในกุ้ง และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทยทั้งระบบ ดังนั้นการจัดงานดังกล่าวถือเป็นการช่วยส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งไทยเกิดความยั่งยืน และยังเกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศไทยด้วย

และจากการติดตามผลหลังจากที่เกษตรกรได้รับความรู้ไปนั้น พบว่าเกษตรกรมีความสนใจกระตือรือร้น ตอบรับนโยบายและมุ่งมั่นที่จะผลิตสัตว์น้ำให้มีความสด สะอาด ไร้สารตกค้าง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคกันมากขึ้น ดังนั้นแนวทางการดำเนินการดังที่ผ่านมานี้ถือเป็นการทำงานเชิงรุก เพราะเจ้าหน้าที่กรมได้ลงพื้นที่ชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูกันถึงบ้านจัดการส่งเสริมความรู้กันถึงที่ทีเดียว

ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นเกษตรกรอัจฉริยะ (Smart Farmer) ในการผลิตสินค้าสัตว์น้ำให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถือเป็นการสร้างจุดแข็งของไทยในการช่วยเพิ่มขีดความแข่งขันในการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำของประเทศไทยกับประเทศคู่ค้าได้อย่างมาก

การประชุมวิชาการประมงปี 2562

เริ่มแล้ว!! การประชุมวิชาการประมงปี 2562

วันที่ 26 มิถุนายน 2562 นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2562 ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 26-27 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ ทั้งนี้อธิบดีกรมประมงได้ให้เกียรติบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Blue Economy กับอนาคตการพัฒนาประมงไทย” และยังมีการบรรยายหัวข้อ “ปลากัดไทยสัตว์น้ำประจำชาติ” โดย ดร.อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการประมงอีกด้วย

ทั้งนี้ภายในการประชุมจะมีการนำเสนอผลงานวิจัยด้านประมงจากนักวิชาการประมงสาขาต่างๆ ตลอดทั้ง 2 วัน รวมกว่า 95 เรื่อง อีกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

4.กรมปศุสัตว์

สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์บก

กรมควบคุมโรค ยันติดตามสถานการณ์ “อหิวาต์แอฟริกาในสุกร” ใกล้ชิด หลังระบาดในเพื่อนบ้าน ย้ำไม่ติดต่อสู่คน

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรณีที่ประเทศเพื่อนบ้านมีการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรนั้น กรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์และดำเนินการร่วมกับกรมปศุสัตว์อย่างใกล้ชิด ทั้งมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรค โดยเน้นการประสานความร่วมมือแบบบูรณาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทุกระดับอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ขอย้ำว่าโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรไม่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้

สำหรับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเกิดจากดีเอ็นเอไวรัส ขณะนี้พบการระบาดมากในแถบประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว เวียดนาม กัมพูชา รวมทั้งประเทศจีน และมองโกเลีย ถึงแม้โรคนี้จะไม่ติดต่อมาสู่คน แต่ประชาชนไม่ควรรับประทานเนื้อหมูสุกๆ ดิบๆ

เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อก่อโรคติดต่อทางอาหาร และน้ำชนิดต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรียก่อโรคไข้หูดับ โรคอาหารเป็นพิษ และโรคอุจจาระร่วง เป็นต้น ควรเลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ หากไม่แน่ใจแหล่งที่มาควรนำเนื้อหมูไปผ่านการปรุงสุกก่อนรับประทานทุกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรคอื่นๆ ที่อาจแฝงมากับเนื้อหมูได้ และควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร ก่อน-หลังการเตรียมอาหาร และหลังขับถ่าย สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว