Yu Biyue : มุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีนวัตกรรมอัจฉริยะและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้วยทรัพยากรทางทะเลทั่วโลกที่ร่อยหรอลง ปริมาณการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภคโดยตรงของมนุษย์ จึงสูงเกินกว่าปริมาณการประมง ดังนั้นวิธีการพัฒนาระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการและความสามารถในการแข่งขัน จึงเป็นแนวโน้มการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วโลกในปัจจุบัน

เมื่อเทียบกับการประมงแบบดั้งเดิม การประมงอัจฉริยะมีข้อได้เปรียบในด้าน “การวางแผนการผลิตและการจัดการประจำวันที่แม่นยำยิ่งขึ้น ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ อย่างรวดเร็ว ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ประหยัดกำลังคน ต้นทุนการผลิตและการตลาด การจัดสรรพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ  และการปรับปรุงคุณภาพและความสม่ำเสมอ”

1.Yu Biyue01

 

แนวโน้มการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วโลก สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และประเทศพัฒนาแล้ว มีความก้าวหน้าอย่างมากในการประมงอัจฉริยะ ในขณะที่ระดับเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในปัจจุบันของประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ โดยส่วนใหญ่ถูกจำกัดด้วยความเข้มข้นของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ดิน อุปกรณ์ และบริการที่มีราคาสูง และเกณฑ์การใช้เทคโนโลยีที่สูง

นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ใช้วิธีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงตามธรรมชาติ การนำเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงขั้นสูงมาใช้งานจริงยังคงพบเห็นได้ไม่มาก ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรมภายใต้เงื่อนไขของการเพาะพันธุ์อย่างเข้มข้นและผลผลิตสูง การควบคุมเทียมหรือกึ่งเทียม  ดังนั้นการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและจำเป็นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา

ทุกวันนี้ ด้วยการประดิษฐ์และการประยุกต์ใช้ความสำเร็จทางเทคโนโลยีขั้นสูงจำนวนมาก การพัฒนาการทำประมงอัจฉริยะในประเทศกำลังพัฒนาก็ค่อย ๆ ตามทันประเทศที่พัฒนาแล้วมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถเพิกเฉยต่อผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่ทำงานอย่างหนักในสายนี้ Yu Biyue ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะในประเทศจีนก็เป็นหนึ่งในนั้น

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Yu Biyue มุ่งเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะสำหรับการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม โดยมุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งของแรงขับเคลื่อนความก้าวหน้าและการพัฒนาสังคม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในปี 2563 เธอก่อตั้งบริษัท Bangkok Fengtai Aquatic Culture Co., Ltd. ในประเทศไทย และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในบริษัทฯ เนื่องจากพัฒนาการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยมีความคล้ายคลึงกับประเทศจีนหลายประการ ทำให้เธอสามารถใช้สภาพแวดล้อมที่เป็นเอกลักษณ์ในประเทศไทย เพื่อดำเนินการด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการวิจัยพัฒนาได้อย่างเต็มที่

หลังจากนั้นไม่นาน เธอพบว่าการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การให้ออกซิเจนและอาหารที่เพียงพอสำหรับปลาในบ่อ ถือเป็นกุญแจสำคัญของการจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งโดยปกติจะนิยมซื้ออุปกรณ์เพิ่มออกซิเจนและให้อาหารแยกกัน ทำให้มีประสิทธิภาพการใช้งานต่ำ และเพิ่มต้นทุนการเพาะเลี้ยง เนื่องจากไม่สามารถกะปริมาณอาหารและออกซิเจนอย่างแม่นยำได้ในสถานการณ์จริง

Yu Biyue เริ่มหันมาสนใจศึกษาประเด็นนี้อย่างจริงจัง โดยค้นคว้าจากฐานข้อมูลบิ๊กดาต้าและเอกสารเชิงทฤษฎีจำนวนมาก รวมทั้งติดตามแนวทางการประยุกต์ใช้และผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้อง ในที่สุด หลังจากการทดลองหลายครั้ง เธอพบว่าการใช้อัลกอริทึมโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Networks-ANN) สามารถแก้ปัญหาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อได้เปรียบหลักของโครงข่ายประสาทเทียม คือ ประสิทธิภาพของมันเหนือกว่า อัลกอริธึมการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine learning) อื่นๆ เกือบทั้งหมด และสามารถให้ประสิทธิภาพที่ก้าวล้ำสำหรับชุดข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง  หลังจากใช้อัลกอริทึมโครงข่ายประสาทเทียมกับระบบจ่ายออกซิเจนแล้ว ก็แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่ทรงพลังยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น การตรวจจับคุณภาพน้ำ เพียงแค่ป้อนชุดตัวอย่างข้อมูลและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันจำนวนมากเข้าไป ระบบก็จะเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและสร้างชุดเกณฑ์มาตรฐานออกมา โดยระบบสามารถวิวัฒนาการตัวเองได้ตามฐานข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งฟังก์ชั่นวิวัฒนาการการเรียนรู้ด้วยตนเองนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคาดการณ์ทางสถิติ ที่จะช่วยให้การควบคุมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีความแม่นยำมากขึ้น นับว่าเป็นโอกาสการพัฒนาที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาในระยะยาว

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเผชิญกับการเพิ่มประสิทธิภาพและฟังก์ชันการคำนวณที่ซับซ้อน ระบบทั่วไปมักต้องการการคำนวณจำนวนมาก แต่ระบบอัลกอริธึมโครงข่ายประสาทเทียมสามารถใช้การประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมที่สุดได้อย่างรวดเร็ว ช่วยแก้ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบเจอได้ในทางปฏิบัติ ซึ่งความสามารถในการปรับตัวที่ยอดเยี่ยมของระบบอัลกอริธึมโครงข่ายประสาทเทียมนี้ ช่วยให้ วิสาหกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งส่วนใหญ่มักติดตั้งเพียงระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ธรรมดา สามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียจากการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่คุ้มค่าได้อย่างมหาศาล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทันทีหลังจากที่เปิดตัวสู่สาธารณะ ระบบดังกล่าวก็ได้กลายเป็นตัวจุดประกายการพัฒนาอัจฉริยะให้กับหลายองค์กรภาคธุรกิจ เป็นตัวช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในการยกระดับเทคโนโลยี และนำผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนมาสู่ภาคธุรกิจ สร้างคุณูปการที่สำคัญด้านเทคโนโลยีการให้ออกซิเจนและอาหารในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและทั่วโลก

การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการบริหารจัดการด้านการประมง ก่อให้เกิดแนวคิดและแนวทางใหม่สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมประมงที่ทันสมัยมากขึ้น เมื่อเทียบกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบดั้งเดิม อุปกรณ์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะ มีข้อได้เปรียบที่ชัดเจน สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีบทช่วยสอนที่ยาวและการฝึกอบรมที่ยุ่งยาก ไม่เพียงแต่สามารถควบคุมความเสี่ยงในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังสามารถช่วยลดความถี่ของการเกิดโรคทางน้ำ และช่วยให้การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีความแม่นยำและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Yu Biyue ตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี การมุ่งมั่นแสวงหาหนทางเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นสิ่งที่เธอทุ่มเททำมาโดยตลอด ซึ่งเธอก็ได้ประสบความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาแล้วมากมาย ช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีความก้าวหน้าในหลายด้านมาอย่างต่อเนื่อง

แน่นอนว่า ความสำเร็จของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะไม่ใช่แค่การซ้อนทับทางเทคโนโลยีง่ายๆ แต่เป็นการบูรณาการเชิงลึกของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบดั้งเดิมและอินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการจัดสรรปัจจัยการผลิตอย่างมีเหตุผล บริหารจัดการทรัพยากรบุคคล วัสดุและเงินทุนให้เหมาะสม เพื่อให้อินเทอร์เน็ตสามารถให้การสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการผลิตและการจัดการ และสร้างระบบนิเวศการพัฒนาใหม่  แม้หนทางข้างหน้ายังคงต้องการผู้ที่จะเข้ามาผลักดันและสานต่อ แต่เชื่อว่าด้วยความทุ่มเทอย่างต่อเนื่องของผู้เชี่ยวชาญอย่าง Yu Biyue อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วโลกจะก้าวไปสู่ทิศทางที่อัจฉริยะและชาญฉลาดมากขึ้น นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของระบบนิเวศวิทยาทั่วโลก

Author: LI Yunzan