ขั้นตอน การปรับปรุงดิน จาก นาข้าว เป็น บ่อกุ้ง เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ให้ค่าphดี ได้ราคาสูง 280-350 บาท/กิโลกรัม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การ เลี้ยงกุ้งก้ามกราม

จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน มีความสมบูรณ์ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม มีความสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งมีความหลากหลายทางด้านอาชีพ โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรมที่มีลักษณะตามสภาพพื้นที่ เช่น การปลูกมันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา และอาชีพหลัก คือการปลูกข้าว

แต่การทำ นาข้าว เป็นที่ทราบกันว่าหลายปีที่ผ่านมาสถานการณ์ข้าวไม่ค่อยดี ทำให้เกษตรกรชาวนาหลายท่านหัน เลี้ยงกุ้งก้ามกราม น้ำจืด อีกทั้งกุ้งก้ามกรามนับเป็นสัตว์เศรษฐกิจสร้างอาชีพที่ดีอีกชนิดหนึ่ง ด้วยรสชาติอร่อย และราคาดี มีรสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้มีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์น้ำจืดหลายชนิด

จึงเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดีให้แก่เกษตรกรชาวกาฬสินธุ์รองจากอาชีพการทำนา นาข้าว โดยส่วนใหญ่จะเลี้ยงในเขตพื้นที่บริเวณเขื่อนลำปาว ถือเป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งที่ใหญ่ที่สุดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือเลยก็ว่าได้  แต่การ เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ให้ประสบผลสำเร็จนั้นต้องอาศัยทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ พร้อมทั้งการดูแลเอาใจใส่ให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดี

คุณอำนวย ศรฉัตรารักษ์ หรือ คุณลุงอำนวย เจ้าของศิริวรรณฟาร์มกุ้ง เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกลุ่มแรกๆ ที่ประสบผลสำเร็จในเขตพื้นที่ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีประสบการณ์มานานกว่า 22 ปี เดิมทีคุณลุงทำงานประจำกับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง และประกอบอาชีพทำนาปี มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่

แต่ช่วงนั้นราคาข้าวไม่ดีเท่าที่ควร และพื้นที่แปลง นาข้าว ของลุงเองอยู่ในพื้นที่ทางน้ำเข้าถึงยาก การคมนาคมก็ไม่ค่อยสะดวก จึงตัดสินใจขายที่แปลงนั้น และซื้อที่ดินแปลงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลบัวบานเริ่มมีการ เลี้ยงกุ้งกามกราม อีกทั้งราคากุ้งสูง จึงได้ตัดสินใจซื้อที่ใหม่ที่มีทั้งแปลง นาข้าว และพื้นที่ บ่อกุ้ง ซึ่งอยู่ในเขตชลประทาน มีน้ำจากเขื่อนลำปาวตลอดทั้งปี สามารถ เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ได้ตลอด

7.ด้านการตลาดกุ้งก้ามกราม
กุ้งก้ามกรามคุณภาพ
1.การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
1.การ เลี้ยงกุ้งก้ามกราม
3.การปรับพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
3.การปรับพื้นที่ บ่อกุ้ง บ่อ เลี้ยงกุ้งก้ามกราม

การปรับพื้นที่ บ่อกุ้ง บ่อเลี้ยงกุ้ง

หลังจากที่ตกลงซื้อขายที่ดินเป็นที่เรียบร้อยแล้วปรับสภาพพื้นที่ ได้มีการขยาย บ่อกุ้ง ให้มีความกว้างมากขึ้น เพราะเดิมมีขนาด บ่อกุ้ง ที่เล็ก จึงได้ทำการปรับพื้นที่ใหม่ทั้งหมด และได้นำทรายมาลงก้นบ่อ เพราะโดยสภาพพื้นที่เป็นดินเหนียว ที่นำทรายมาลงก็เพราะว่ากุ้งชอบดินทราย ถ้าเป็นดินเหนียวมันจะเลี้ยงกุ้งยากอีกทั้งยังมีต้นทุนสูง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปรับพื้นที่โดยการขุด บ่อกุ้ง ใหม่ให้มีความลึกประมาณ 150 เซนติเมตร ขนาดของ บ่อกุ้ง ความกว้างประมาณ 3 ไร่ โดยปรับพื้นที่บ่อตามที่ต่ำ ที่สูง คล้ายๆ กับการทำนาขั้นบันได นอกจากนี้ภายในพื้นที่มี บ่อกุ้ง คุณลุงอำนวยได้ปรับพื้นที่ไว้สำหรับปลูกข้าว เรียกได้ว่าเป็นการทำเกษตรแบบผสมผสานอีกทั้งการ เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

เพราะว่าน้ำที่ใช้หลังจากการ เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ก็จะปล่อยไปตามคลองเล็กๆ ในบริเวณแปลงนา “เราก็ใช้น้ำที่เหลือจากการ เลี้ยงกุ้งก้ามกราม เป็นปุ๋ยอย่างหนึ่ง เราก็ปล่อยเข้าแปลงนาได้ด้วย มีที่ระบายน้ำ ทำให้ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม” คุณอำนวยเปิดเผยถึงการใช้น้ำให้คุ้มค่า

4.การตากบ่อ
4.การปรับปรุงดิน โดย การตากบ่อ
ดิน-ที่ดี
ดิน-ที่ดี
การหว่านสารปรับสภาพน้ำ-ดรากุ้งสามตัว
การปรับปรุงดิน โดยหว่านสารปรับสภาพน้ำ-ดรากุ้งสามตัว

ขั้นตอนการเตรียมบ่อเพื่อการเลี้ยงกุ้ง การปรับปรุงดิน

  1. หลังจากที่จับกุ้งเรียบร้อยแล้วก็จะทำการล้างบ่อ
  2. วิดน้ำออกจากบ่อ
  3. จากนั้นตากบ่อให้แห้งประมาณ 15 ถึง 20 วัน หรือจนกว่าจะแห้งสนิท เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค
  4. เกลี่ยเลนออกให้หมด และทำการคราดหรือดันดินเลน เพื่อให้ของเสียที่ตกค้างอยู่ในบ่อสัมผัสกับอากาศ และย่อยสลายได้เร็วขึ้น “คือ การเลี้ยงกุ้งในแต่ละชุดนี้เราจะต้องตากบ่อให้แห้งสนิทเลยเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค

เมื่อเราเลี้ยงรอบต่อไปจะได้ไม่มีปัญหาในเรื่องของกุ้งเป็นโรค เราจะต้องเอาดินที่หมักหมมออกเพื่อไม่ให้มีกลิ่น” คุณลุงอำนวยเผยถึงเคล็ดลับการเลี้ยงที่ไม่ให้เกิดโรค เมื่อตากบ่อให้แห้งแล้วจะใช้สารปรับสภาพน้ำ “ตรากุ้งสามตัว” อัตราการใช้อยู่ที่ 1 ไร่/1กระสอบ (50 กิโลกรัม) เพื่อเป็น การปรับปรุงดิน และ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ในดินให้มีสภาพเหมาะสม

5. นอกจากนี้จะต้องกำจัดศัตรูธรรมชาติของกุ้งก้ามกราม เช่น กบ เขียด หรือปู ไม่ควรให้มีเหลือในพื้นที่บ่อ เลี้ยงกุ้งก้ามกราม จากนั้นก็จะปล่อยน้ำเข้าบ่อ โดยแหล่งน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงได้สูบจากเขื่อนลำปาวที่มีน้ำตลอดทั้งปี และการปล่อยน้ำเข้าบ่อจะต้องกรองน้ำด้วยผ้าเขียว เพื่อความมั่นใจว่าไม่มีพวกปลาเล็ก ปลาน้อย หรือหอย เข้ามาอยู่ในบ่อถ้าหากไม่กรองอาจทำให้มีศัตรูของกุ้งเข้ามากิน หรือทำลายลูกกุ้งได้

6. หลังจากที่ปล่อยเข้าบ่อเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็จะพักน้ำไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อ การปรับปรุงดิน ให้ปรับค่า pH  และค่าอัลคาไลน์ ให้คงที่ ต้องสังเกตสีของน้ำภายในบ่อ นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการจาก บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เข้ามาตรวจสอบค่า pH ของน้ำ ถ้า pH ต่ำ ต้องใช้สารปรับสภาพน้ำ ตรากุ้งสามตัว ผสมกับจุลินทรีย์ อัตราการใช้จุลินทรีย์ 1 กิโลกรัม สามารถใช้กับ บ่อกุ้ง 3-4 ไร่ นอกจากใช้สารปรับสภาพน้ำในการเตรียมบ่อแล้ว ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำจะใส่สารปรับสภาพน้ำ เพื่อปรับค่า pH ในน้ำให้เหมาะกับการเลี้ยงกุ้ง

การเปลี่ยนน้ำคุณลุงจะสังเกตกุ้งภายในบ่อ ถ้าหากน้ำในบ่อเปลี่ยนสี หรือดูลักษณะอาการของกุ้ง ถ้าหากกุ้งไม่กินอาหารแสดงว่าพื้นดินมีสภาพเน่าเสีย ต้องเปลี่ยนน้ำ ข้อดีของการใช้สารปรับสภาพน้ำตรากุ้งสามตัวก็คือ ง่ายต่อการใช้งาน อยู่ในรูปแบบของเม็ด สามารถหว่านลงในบ่อได้เลย อีกทั้งหากหว่านลงไปในบ่อแล้วยังไม่ละลาย กุ้งก็สามารถแทะกินได้ เสริมสร้างแคลเซียมให้กับกุ้ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.การอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม
5.การอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม

การอนุบาลลูกกุ้ง

ในส่วนของลูกกุ้งทางคุณอำนวยได้ซื้อจาก บริษัทไทยลักซ์ฯ โดยบริษัทจัดส่งกุ้งมาให้ถึงฟาร์ม ราคาอยู่ที่ 25 สตางค์ต่อ 1 ตัว การจัดส่ง ส่งโดยรถยนต์ โดยแพ็คใส่ถุงและบรรจุลงกล่องโฟม และการคัดเลือกลักษณะลูกกุ้งให้มีอัตรารอดสูง สิ่งแรกที่คุณลุงให้ความสำคัญก็คือ ฟาร์มเพาะต้องได้มาตรฐาน และต้องสังเกตลักษณะของกุ้ง คือ ต้องแข็งแรง ไม่เป็นโรค

“ตอนที่เราเลือกเราก็จะมีกระบวย ชาม กะละมังสีดำ ถ้ากุ้งหลังขาวจะคล้ายๆ เม็ดข้าวสาร คือ ตัวมันเนื้อตาย ถ้าเราเอาชามขาวมันจะไม่เห็นต้องกะละมังดำ หรือไม่เวลาไปดูลุงก็จะเอาแว่นตาดำไปด้วยไว้ส่องใต้ตัวกุ้ง คือ ถ้ากุ้งตัวไหนเป็นสีขุ่น เวลามันวิ่งผ่านจะเห็นเลย” ลุงอำนวยกล่าวถึงวิธีการดูลูกกุ้งที่ดี และแข็งแรง และต้องปรับให้อยู่ในน้ำจืด แล้วจึงจะนำมาเลี้ยงในบ่อดิน

หลังจากได้ลูกกุ้งมาแล้วต้องมาอนุบาลก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยง โดยปกติถ้าหากเราเตรียมบ่อเสร็จก็จะอนุบาลในบ่ออนุบาลประมาณ 25-30 วัน แต่ทางฟาร์มของลุงอำนวยเตรียมบ่อค่อนข้างช้า ประมาณ 30-35 วัน แต่อย่าให้เกิน 2 เดือน เพราะจะทำให้กุ้งขยายตัวช้า ขนาดของลูกกุ้งที่พร้อมลงบ่อเลี้ยงมีขนาด 1 เซนติเมตร

และการย้ายลูกกุ้งหลังจากที่เราทำการอนุบาลเรียบร้อยแล้ว ต้องเตรียมน้ำในบ่อพร้อมสำหรับการเลี้ยง แล้วจะใช้ผ้าขาว ผูกใส่ไม้สองด้าน จากนั้นก็จะใช้คนลากคนละฝั่งลากในบ่อ เพื่อให้ลูกกุ้งติดขึ้นมาบนผ้าขาว จากนั้นก็จะนำกุ้งที่ได้มาชั่งน้ำหนักเพื่อคำนวณ ปริมาณกุ้ง 1 ขีด จะได้ลูกกุ้งปริมาณกี่ตัว

เพื่อง่ายต่อการคำนวณในการปล่อยลงบ่อเลี้ยง เวลาที่เหมาะสมสำหรับการปล่อยลูกกุ้งลงในบ่อควรเป็นเวลาที่สภาพอากาศไม่ร้อนเกินไป โดยจะปล่อยในช่วง เช้า หรือเย็น การอนุบาลกุ้งจะให้กุ้งมีอัตรารอดสูง ควรปล่อยประมาณ 17,000 ตัว/ไร่

6.การให้อาหารกุ้งก้ามกราม
6.การให้อาหารกุ้งก้ามกราม

การเลี้ยงและการให้อาหาร

ระยะเวลาการเลี้ยงของคุณลุงอำนวยใน 1 ปี จะเลี้ยง 2 รอบ รอบละ 5 เดือน และอีก 2 เดือน จะใช้ในการตากบ่อ และพักบ่อ การให้อาหารในช่วงแรกจะให้อาหารฝุ่น หลังจากนั้นเมือเข้าสู่เดือนที่ 2 ก็จะให้อาหารเกล็ด เมื่อกุ้งมีขนาดที่โตขึ้นก็จะให้เป็นอาหารเม็ด เป็นอาหารคุณภาพจาก บริษัทไทยลักซ์ฯ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จะให้อาหารในช่วงเช้า-เย็น จะไม่เหมือนทางเขตภาคกลางที่ให้อาหารทุก 2-3 ชั่วโมง โดยจะยกกระชังดู ถ้าหมดก็จะให้ แต่ทางฟาร์มจะให้เป็นเวลา ส่วนปัญหาและโรคต่างๆ ช่วงที่กุ้งเล็ก ส่วนใหญ่จะเป็นโรคหลังขาว เมื่อเป็นหลังขาวแก้ไขไม่ได้ จับออกมันก็ตาย แต่บางเจ้าบอกมียาออกซิลผสมอาหารให้กุ้งกิน

“เราอยู่บ่อดินกว้างขนาดนี้จะผสมอาหารให้กุ้งกินยังไง ขนาดอ่างจำกัดเขายังรักษาไม่ได้เลย”  คุณลุงอำนวยเผยถึงปัญหาของทางฟาร์มที่พบ อีกทั้งในช่วงที่เขื่อนปิดน้ำก็จะประสบปัญหาในเรื่องไม่มีน้ำเปลี่ยน อีกทั้งอากาศมันร้อนทำให้กุ้งตาย และในช่วงที่ฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำทันที เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำ

ถ้าเราเลี้ยงกุ้งในปริมาณที่แน่นควรมีเครื่องตีน้ำ แต่การเลี้ยงมันจะยาว เลี้ยงแน่นมันก็จะโตช้า แต่ก็สามารถขายได้เรื่อยๆ แต่ถ้าหากเลี้ยง 1 รอบ ใช้เวลานาน ก็จะทำให้ดินเสียเร็ว ต้องลงกุ้งให้พอดี และในช่วงเวลา 01.00 – 02.00 น. ควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพราะในช่วงเวลานี้อากาศจะปิด ไม่มีออกซิเจน ส่งผลให้กุ้งเครียด ไม่กินอาหาร ทำให้การเจริญเติบโตช้า เพราะฉะนั้นต้องเปิดเครื่องตีน้ำในช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นเวลาที่ดีที่สุด ถ้ากุ้งกินอาหารดี กุ้งก็จะแข็งแรงโตเร็ว

7.ด้านการตลาดกุ้งก้ามกราม
7.ด้านการตลาดกุ้งก้ามกราม

ด้านการตลาด

ทางด้านการตลาดคุณลุงอำนวยได้ทำการตลาดเองไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยส่งให้กับร้านอาหารที่อยู่ในละแวกจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดใกล้เคียง ทำให้ได้ราคาสูง ราคาปลีกอยู่ที่ขนาดไซส์ 280-350 บาท/กิโลกรัม มีรถบริการส่งถึงที่ นอกจากนี้คุณลุงอำนวยยังมีร้านอาหารเองชื่อร้าน “ริมคลองกุ้งเผา” มีหลายสาขาอยู่ในเขตจังหวัดมุกดาหาร นครพนม สกลนคร บึงกาฬ และหนองคาย จำหน่ายกุ้งสด แต่ทางร้านมีบริการปรุงสำเร็จ

โดยลูกค้าซื้อกุ้ง 1 กิโลกรัม สามารถเลือกได้ 2 เมนู เรียกได้ว่าจำหน่ายกุ้งได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลขายดี จนต้องรับซื้อกุ้งจากสมาชิกภายในกลุ่ม 70-80 ฟาร์ม ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ตำบลบัวบาน มีประมาณ 300 ไร่ นอกจากเลี้ยงกุ้งแล้วคุณลุงอำนวยเป็นตัวแทนจำหน่ายอาหารกุ้ง ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด

จึงสามารถให้เครดิตแก่สมาชิกได้นำอาหารไปใช้ก่อน เมื่อจับกุ้งขายเป็นที่เรียบร้อยค่อยนำมาจ่าย อีกทั้งยังรับซื้อกุ้งจากสมาชิกอีกด้วย เรียกได้ว่าทั้งจำหน่ายอาหาร และรับซื้อกุ้ง ข้อสำคัญคือเกษตรกรต้องปฏิบัติตามวิธีที่ถูกต้อง คือต้อง ตากบ่อให้แห้ง ลงปูนขาว นาข้าว นาข้าว นาข้าว นาข้าว นาข้าว นาข้าว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
การใช้สารปรับสภาพน้ำ-ตรากุ้งสามตัว
การปรับปรุงดิน โดย การใช้สารปรับสภาพน้ำ-ตรากุ้งสามตัว

แต่บางคนมักง่าย แนะนำก็ไม่เชื่อ ล้างบ่อเสร็จไม่ตากเอาน้ำลงเลย 3 เดือน กุ้งก็เป็นโรค เพราะมันหมักหมม” คุณลุงอำนวยเล่าถึงปัญหาเกษตรกรผู้เลี้ยงในเขตพื้นที่ตำบลบัวบาน อีกทั้งเกษตรกรบางฟาร์มไม่เข้าใจปูนมันหว่านได้ไหม กลัวหว่านไปแล้วกุ้งจะไม่ติด สาเหตุที่กุ้งไม่ติดก็เป็นเพราะว่าเป็นปูนร้อน นอกจากนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใส่เกลือ เพราะเลี้ยงในน้ำจืด น้ำต้องจืดแท้ ถ้าหากน้ำกร่อยกุ้งจะน็อกนั่นเอง นาข้าว นาข้าว นาข้าว นาข้าว นาข้าว นาข้าว นาข้าว

ใช้กากชาในการฆ่าปลา นาข้าว

“เราต้องตากบ่อให้แห้ง บางคนบอกเสียเวลาเอาน้ำลง บ่อกุ้ง เลย  เขาบอกว่าเงินจำนวนนั้นเสียดายที่ต้องเสียค่าดันบ่อ เพราะฉะนั้นนี่คือปัญหาไม่ตากบ่อ ไม่มี การปรับปรุงดิน ไม่ปรับเชื้ออะไรก่อน ขนาดผมไม่รู้ว่าดินผมเป็นกรดไหม ผมยังใช้ปูนขาวเพื่อป้องกันไว้ก่อน ถ้า บ่อกุ้ง ไม่แห้งสนิทมันมีปลา ผมก็จะใช้กากชาในการฆ่าปลา ส่วนกุ้งไม่เป็นอะไร เพราะว่าฤทธิ์ของกากชามันไปฆ่าพวกเนื้อแดง กุ้งเนื้อขาว และยังใช้สารปรับสภาพน้ำ ตรากุ้งสามตัว ในการปรับสภาพน้ำ เราต้องใส่ใจ และอาศัยประสบการณ์” คุณลุงอำนวยแนะนำ

2.คุณอำนวย-ศรฉัตรารักษ์-เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามใน-จ.กาฬสินธุ์
คุณอำนวย-ศรฉัตรารักษ์-เกษตรกรผู้ เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ใน-จ.กาฬสินธุ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในด้าน การปรับปรุงดิน ได้ที่ คุณอำนวย ศรฉัตรารักษ์ ที่อยู่ : 349 หมู่ 19 ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เบอร์โทร : 061-872-6609 , 089-841-7764 การปรับปรุงดิน การปรับปรุงดิน