การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง รับซื้อจากผู้เลี้ยง ส่งป้อนตลาดโมเดิร์นเทรด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทุกวันนี้การเลือกซื้อปลามาทำอาหารสักตัว สัดส่วนการคิดถึงชนิดของปลายังคงตกเป็นของปลาทับทิมอย่างแน่นอน เพราะว่าสามารถหาซื้อได้ไม่ยากนัก พบเจอได้ตามตลาดสด ร้านค้า หรือตลาดโมเดิร์นเทรดต่างๆ ทำให้กำลังการผลิตปลาทับทิมในบ้านเรายังคงมีความต้องการอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเป็นอาชีพให้เกษตรกรได้อย่างแพร่หลาย นับได้ว่ายังคงเป็นปลายอดฮิตของยุดอย่างเช่นเคย การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง

1.คุณวีระ, คุณณัฐพงศ์, คุณรุ่งโรจน์, คุณธนวัฒน์
1.คุณวีระ, คุณณัฐพงศ์, คุณรุ่งโรจน์, คุณธนวัฒน์

การเพาะเลี้ยงปลาทับทิม

นิตยสารสัตว์น้ำ พามาตามรอยกระบวนการผลิตปลาทับทิมคุณภาพแบบครบวงจร เรียกได้ว่ามาจุดเดียวเก็บความรู้ได้อย่างครบถ้วน โดยเริ่มตั้งแต่จุดเริ่มต้นอย่างลูกพันธุ์ปลาที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ที่จะส่งต่อไปสู่มือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาทับทิมในกระชังแม่น้ำ เพื่อเลี้ยงต่อให้เป็นปลาทับทิมคุณภาพ เนื้อแน่น ตรงตามความต้องการของตลาด ครั้งนี้เราอยู่กันที่ “ไซเฟรซฟาร์ม” ตำบลท่าตอ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อมาพบกับ คุณณัฐพงศ์ ต้นสกุลประเสริฐ หรือ คุณกอล์ฟ  กรรมการผู้จัดการ, คุณรุ่งโรจน์ ทองสิมา หรือ คุณอาโน  ผู้จัดการทั่วไปคุณวีระ คำลือ นักวิชาการบ่ออนุบาล และคุณธนวัฒน์ จินดารัตน์ นักวิชาการบ่อพ่อแม่พันธุ์ ที่จะมาถ่ายทอดประสบการณ์โดยตรงให้ทราบกัน

ไซเฟรซ ฟาร์ม เป็นฟาร์มผลิตลูกพันธุ์ปลาทับทิมครบวงจร ทั้งด้านคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การเพาะพันธุ์ รวมถึงการอนุบาลลูกปลา เพื่อนำไปเลี้ยงในกระชังแม่น้ำของเกษตรกรในเครือข่ายของฟาร์ม แนวคิดการทำฟาร์มเกิดขึ้นจากความเสียหายของลูกปลาในสมัยก่อน ที่สั่งจากเจ้าอื่นมาให้ลูกข่ายมีความเสียหายเป็นจำนวนมาก

ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง และเกิดผลผลิตเสียหาย เนื่องจากลูกปลาไม่ได้คุณภาพ ทางคุณกอล์ฟจึงได้ลงมือสร้างฟาร์มแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อผลิตลูกปลาที่มีคุณภาพ ที่สามารถกำหนดรายละเอียดและมาตรฐานของลูกปลาได้แบบคงที่ เพื่อผลผลิตปลายทางกลับมาสู่ตนเองจะได้มีคุณภาพมากที่สุด และสามารถนำไปสร้างฐานตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.กระชังปลาทับทิม
2.กระชังปลาทับทิม การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง

สภาพพื้นที่เลี้ยงปลาทับทิม

โดยทางฟาร์มจะแบ่งออกเป็น 4 ฟาร์ม ฟาร์มแรกจะใช้พ่อแม่พันธุ์, ฟาร์มที่ 2 ใช้ในการผสมพันธุ์, ฟาร์มที่ 3 ใช้ในการอนุบาล และให้ฮอร์โมน (ทำหมัน) และฟาร์มสุดท้ายใช้ในการทำปลาไซซ์ ซึ่งทางฟาร์มจะเน้นการผลิตลูกพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพ โดยเริ่มต้นจากการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ (แบบ Selection) ที่มีสัดส่วนได้มาตรฐาน น้ำหนักพอเหมาะ ทรงตัวสวย นำมาลงในกระชังบ่อดินเลี้ยงแบบธรรมชาติให้สมบูรณ์มากที่สุด เพื่อนำมาเป็นสายพันธุ์ของฟาร์มนำมาผลิตลูกพันธุ์ได้คุณภาพ โตเร็ว แข็งแรง ทนโรค หลักการสำคัญมีดังนี้

คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์จากปลาอายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป นำมาเริ่มคัดแยกเพศ คัดเลือกความสมบูรณ์ คัดเลือกทรงและสัดส่วนที่สวยงาม จนมีความพร้อมในการผสมลงในบ่อผสมพันธุ์ ในอัตราส่วนพ่อ:แม่ 1:3-1:4 ตัว ใน 1 กระชัง กระชังกว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร สามารถลงพ่อแม่ได้ประมาณ 200 ชุด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.ลูกปลาทับทิม
3.ลูกปลาทับทิม การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง

การอนุบาลลูกปลาทับทิม

เมื่อเลี้ยงรวมกันครบ 1 สัปดาห์ เริ่มนำตัวที่ไข่ในปากสมบูรณ์ออกมาเคาะ จะสามารถเคาะไข่ออกได้ทั้งหมดประมาณ  1 เดือน จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการอนุบาลและให้ฮอร์โมนแปลงเพศ โดยจะย้ายมาที่ฟาร์มอนุบาลอีกที่

ส่วนต่อมาเป็นส่วนที่มีความสำคัญอีกอย่างเลยก็ว่าได้ นั่นคือ การอนุบาลลูกปลา การให้ฮอร์โมน และการปรับการกินอาหาร ซึ่งทางฟาร์มแยกออกมาเป็นอีกหนึ่งฟาร์ม เพื่อสร้างความเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม และป้องกันการสูญเสียในหลายๆ เรื่อง เมื่อเข้าย้ายไข่ปลามาจากฟาร์มผสมแล้ว จากนั้นจะมีขั้นตอนการจัดการดังนี้

ไข่ที่มาถึงจะถูกแยกระยะมาส่วนหนึ่งแล้ว มาถึงนำมากรองสิ่งแปลกปลอมออกก่อน ถึงจะนำไปแยกระยะไข่อย่างละเอียดอีกครั้ง แบ่งออกใส่โหล (ระยะ 1-2) เป่าน้ำวน อยู่ในนั้น 3 วัน จะเปลี่ยนระยะ แบ่งอีกทีใส่ถาด (ระยะที่ 3) อยู่ในนั้น 4 วัน จะเปลี่ยนระยะเริ่มว่าย การจัดการในถาดจะมีการวนน้ำ ในน้ำวนมีตัวฆ่าเชื้ออยู่แล้ว จะมีทีมงานคอยเช็คลูกปลาตาย ไข่เสีย และทำความสะอาด หลังจากอยู่ในถาด 4 วัน จะแยกสัดส่วนแล้วลงกระชังบ่อดิน อยู่ข้างบน 7-10 วัน ในส่วนตรงนี้ยังไม่ให้อาหาร

4.การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง โตเร็ว แข็งแรง ทนโรค
4.การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง โตเร็ว แข็งแรง ทนโรค

การบริหารจัดการบ่อปลาทับทิม

การเตรียมบ่อ/การจัดการ จะเริ่มเตรียมบ่อ คือ การพักน้ำในบ่อ เติมน้ำให้เต็มจะใส่ปูนตกตะกอน เปิดเครื่องตีน้ำประมาณ 1 วัน วันต่อมาฆ่าเชื้อแล้วพักไว้ อีก 1 วัน เติมลงบ่อได้เลย พอเติมบ่อเลี้ยงจะทำการลงกระชัง กระชังที่ลงจะมีฆ่าเชื้อก่อน มีการฉีดกระชังแล้วแช่ยาฆ่าเชื้อ แล้วตากแดดไว้ 1 วัน แล้วเอาไปกางที่บ่อ สัดส่วนกระชัง 2×4 เมตร ลึก 1.50 เมตร บ่อดินลึก 2 เมตรกว่า

ถ้าพรุ่งนี้มีปลามาลงจะกางกระชังไว้ตั้งแต่ตอนเย็น เพื่อลงปลาในตอนเช้ากระชัง 2×4 เมตร ปล่อยลูกปลาประมาณ 10,000-15,000 ตัว/กระชัง หรือแล้วแต่สภาพอากาศ

ลงกระชังวันแรกจะให้เป็นอาหารผงผสมฮอร์โมน โรยเลย ให้อาหารทุก 2 ชม. เริ่มตั้งแต่ 6 โมงเช้า จะมีรอบของการเพิ่มปริมาณ จะต้องดูอายุปลา วันที่ 1 นับไปประมาณ 10 วัน เพิ่มสัดส่วน 2 ครั้ง เลี้ยงไปอีกประมาณ 21-25 วัน ฮอร์โมนก็จะผสมอาหารให้ตลอด 21 วัน หลังจากนั้นเอาขึ้นมาคัดไซซ์ ก่อนจำหน่ายออกสู่ฟาร์มเกษตรกรผู้เลี้ยง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.ขนส่งปลาทับทิมให้ลูกค้า
5.ขนส่งปลาทับทิมให้ลูกค้า การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง 

ด้านตลาดปลาทับทิม

หลักๆ ทางฟาร์มจะออกลูกปลาอยู่ 3 ไซซ์ คือ ใบมะขาม ขนาดประมาณ 1.6-1.8 ซม., ปลาเซ็น ขนาดประมาณ 2 ซม. และปลานิ้ว ขนาดประมาณ 1-1.5 นิ้ว จะมีจำนวนการตกไซซ์ประมาณ 20% ทางฟาร์มจะนำไปชำต่อในกระชังอีกที่หนึ่ง ปลาหางเราจะเลี้ยงเป็นปลาเนื้อต่อ เพราะมีตลาดปลาเล็กของฟาร์มเอง ในส่วนของการบรรจุจะมี 2 อย่าง แพ็คถุงกับใส่ถัง ตามลูกค้าสั่ง ค่าเฉลี่ยแล้วแต่ขนาดของถัง บางที่เอารถมาเอาเอง ถ้าไม่ไกลทางฟาร์มจะมีบริการส่ง ปัจจุบันยอดออกลูกปลาของฟาร์มอยู่ที่ 1-1.2 ล้านตัว/เดือน

อัตราความหนาแน่นต่อถัง คือ ปลาไซซ์ใบมะขาม ใส่ได้ประมาณ 100,000 ตัว/ถัง จากนั้นใส่น้ำแข็งลดอุณหภูมิให้ต่ำลง ขนส่งไม่เกิน 10 ชม. จากฟาร์มไปถึงปลายทางจะมีพนักงานวัดอุณหภูมิตลอดการขนส่ง และอัตราความหนาแน่นต่อการแพ็คถุง คือ ปลาไซซ์ใบมะขาม บรรจุได้ไม่เกิน 1,000 ตัว, ปลานิ้วบรรจุได้ไม่เกิน 700 ตัว

คุณกอล์ฟยังสานต่อเครือข่ายจากรุ่นคุณพ่อ และรับสมาชิกเพิ่มเติมมาเรื่อยๆ เพื่อสร้างฐานการผลิตปลาทับทิมคุณภาพทำตลาดโมเดิร์นเทรด โดยจะรับซื้อผลผลิต คือ จากลูกข่ายทั้งหมด และยังมีรับจากผู้เลี้ยงส่วนที่คอนแทรคกันอีกด้วย คุณกอล์ฟเล่าให้เข้าใจถึงการทำตลาดในส่วนนี้ว่า

“ลูกปลาที่ไปมี 2 ส่วน นอกโครงการกับในโครงการ ถ้าในโครงการรับปลาเราไปต้องรีพอร์ตว่าเอาลูกปลาเท่าไหร่ ของเราทั้งหมดตอนนี้ยังไม่พอจะให้ลูกกระชัง เพราะกำลังผลิตไม่พอ ในโครงการบางรายที่เจ้าใหญ่เขาจะไปซื้อที่อื่น แต่เราจะรับซื้อปลาทั้งหมด ทางเรามีข้อกำหนดในการร่วมเครือข่ายอยู่แล้ว เพราะต้องใช้ลูกพันธุ์จากเราเป็นหลัก ใช้อาหารที่เรากำหนดเป็นหลัก แต่จะไม่ควบคุมปริมาณการเลี้ยง เพราะคนเลี้ยงแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราจะคอยซัพพอร์ต เช่น ช่วงนี้น้ำไม่ดี ปลามีปัญหา ควรแก้ไขอย่างไร ยิ่งถ้าเป็นฟาร์มที่เอาลูกปลาเราไป เราจะมีทีมงานคอยเข้าไปดูว่าคำนวณการให้อาหารกี่เปอร์เซ็นต์ ต้องแขวนด่าง-เกลือ ร่อนไซซ์เมื่อไหร่ เป็นต้น”

6.ผู้ใหญ่ประสงค์ ผดุงญาติ
6.ผู้ใหญ่ประสงค์ ผดุงญาติ การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง 

จุดเริ่มต้น การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง

ตัวอย่างเกษตรกรที่เข้าร่วมเครือข่ายของทาง “ไซเฟรซ ฟาร์ม” ที่ประสบความสำเร็จมีมากมายหลายคน วันนี้ทีมงานพามาพบกับ ผู้ใหญ่ประสงค์ ผดุงญาติ (088-901-4937) ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ตำบลถนัดกวด อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง เล่าถึงความประทับใจที่เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายไว้ว่า

“เมื่อเป็นเกษตรกรค้าขายผลไม้ จากนั้นเริ่มหันมาเลี้ยงปลาได้ 4 ปีแล้ว เริ่มต้นจากโครงการของรัฐบาล ที่อยากได้ปลากระชังมาเลี้ยงในกลุ่ม จากนั้นจึงติดต่อพันธุ์ปลาทับทิมจากไซเฟรซฟาร์ม เริ่มต้นจาก 6 กระชัง แล้วค่อยๆ ต่อยอด เพิ่มมาอีก 12 กระชัง ตอนนี้ทั้งหมด 23 กระชัง ถ้าทั้ง 3 แพ ตอนนี้มีทั้งหมด 36 กระชัง ใช้ลูกปลาไซเฟรซฟาร์มทั้งหมด ตอนแรกยังลุ่มๆ ดอนๆ เพราะเลี้ยงใหม่ ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ พอครั้งต่อมาก็ประสบความสำเร็จมากขึ้น เพราะมีทีมงานจากไซเฟรซฟาร์มเข้ามาช่วยดูแลบ้าง ซัพพอร์ตในทุกๆ ด้าน ทั้งเรื่องอาหาร คัดคุณภาพปลาให้เราตลอด”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กระชังเลี้ยงปลาของผู้ใหญ่ประสงค์ ปล่อยปลาหัวประมาณ 2,000-2,500 ตัว/กระชัง แต่ช่วงนี้หน้าร้อนพอดี นี่คือการวางแผนไว้ล่วงหน้าเวลาปลาต้องโต จะปล่อยอยู่ประมาณ 1,800 ตัว/กระชัง พร้อมด้วยต่อท่อน้ำเพื่อให้ระบายอากาศได้ดียิ่งขึ้น และเป็นการเติมอากาศไปในตัว เพราะน้ำจะเคลื่อนไหวตลอดเวลา

ตลอดการเลี้ยงมีหลายปัจจัยที่ต้องคอยใส่ใจ อาทิ สภาพแวดล้อม คุณภาพน้ำ อาหาร ในส่วนของคุณภาพน้ำสำคัญที่สุด ถ้าน้ำมีสิ่งเจือปนหรือเปลี่ยนสีมีปัญหาตามมา จากนั้นเลี้ยงอีกประมาณ 4 เดือนครึ่ง จะสามารถทยอยจับปลาจำหน่ายได้ ในส่วนของเรื่องตลาดทางไซเฟรซฟาร์มจะมาช่วยดูในส่วนนี้ด้วย

7.ตัวใหญ่ อ้วน น้ำหนักดี
7.ตัวใหญ่ อ้วน น้ำหนักดี การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง 

การจำหน่ายผลผลิตปลาทับทิม

ปัจจุบันเครือข่ายของ “ไซเฟรซฟาร์ม” ยังเปิดให้เข้าร่วมได้อย่างต่อเนื่อง เพราะต้องการผลผลิตปลาทับทิมป้อนสู่ตลาดโมเดิร์นเทรดอีกมาก เพราะตอนนี้มีตลาดอยู่ในมือที่ถือว่านิ่งแล้ว แต่ยังสามารถเพิ่มเติมขึ้นไปอีกได้เรื่อยๆ เพียงแต่ตอนนี้ผลผลิตยังไม่พอในการขยายตลาด

ปัจจุบันทางเครือข่ายไซเฟรซฟาร์มสามารถผลิตปลาทับทิมส่งตอบสนองความต้องการของตลาดอยู่ที่ 7-8 ตัน/วัน หรือ 200 กว่าตัน/เดือน ผลผลิตจะส่งเข้าศูนย์กระจายสินค้าส่วนกลางทั้งหมด และกระจายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด อาทิ  Big-C, Lotus, แมคโคร เป็นต้น ด้วยคุณภาพสินค้าที่มีคุณภาพ ผ่านการเลี้ยงด้วยมาตรฐานของกรมประมง GAP และ GMP

บริการหลังการขายของไซเฟรซฟาร์ม ในส่วนของลูกข่ายเมื่อลงปลาได้ 1 อาทิตย์ จะมีการโทรเช็ค หรือเข้าไปดูในพื้นที่ใกล้เคียง คอยซัพพอร์ตด้านการจัดการต่างๆ ประสานหน่วยงานของกรมประมง และอาจารย์จากสถาบันมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน คอยให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

สำหรับท่านใดอยากสอบถามข้อมูลในกระบวนการผลิตลูกปลาหรือปลาทับทิมกระชังแม่น้ำ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ไซเฟรซฟาร์ม โทร.081-745-4567 คุณกอล์ฟ กรรมการผู้จัดการ ทางฟาร์มยินดีต้อนรับทุกท่าน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอบคุณข้อมูลเกษตรกร คุณณัฐพงศ์ ต้นสกุลประเสริฐ หรือคุณกอล์ฟ ไซเฟรซฟาร์ม โทร. 081-745-4567 54/4 ม.1 ต.ท่าตอ อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา

ขอบคุณข้อมูลเกษตรกร ผู้ใหญ่ประสงค์ ผดุงญาติ โทร.088-901-4937 28/2 หมู่ 3 ต.ถนัดกวด อ เมือง จ.อ่างทอง

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 368