ต้นทุนเลี้ยงปลากะพง เผยเทคนิคการลดต้นทุน คงคุณภาพ เพิ่มอำนาจในการต่อรองราคา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเลี้ยงปลากะพงในปัจจุบันเกษตรกรต้องมีการปรับตัวมากขึ้น ด้วยสภาวะราคาปลากะพงตกต่ำ ในรอบหลาย 10 ปี บางรายต้องหยุดเลี้ยง บางรายเลี้ยงน้อยลง ซึ่งในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เกษตรกรต้องรู้จักปรับตัว ลด ต้นทุนเลี้ยงปลากะพง เลือกใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ตอบโจทย์การเลี้ยงมากที่สุด เพื่อลดต้นทุนแฝงที่มากับปัจจัยการผลิต

1.คุณพรชัย หิมารัตน์ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง
1.คุณพรชัย หิมารัตน์ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง

การเลี้ยงปลากะพง 

ดังเช่น คุณพรชัย หิมารัตน์ เกษตรกรคนเลี้ยงปลากะพงคนดัง ที่วันนี้ยอมรับกับทีมงานว่า ตนเลี้ยงปลากะพงมานาน 10 กว่าปี ไม่เคยเจอราคาปลาตกต่ำแบบนี้ แต่ด้วยการเลี้ยงปลากะพง คือ อาชีพหลัก ตนจึงต้องปรับตัวเพื่ออยู่ให้รอดในอาชีพนี้ต่อไป คุณพรชัยยอมรับว่าก่อนที่ตนจะมายืนอยู่ในอาชีพนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะตนเกิดมาจากคนเพาะพันธุ์ปลาแรด-ปลากราย และเลี้ยงปลาเนื้อมาก่อน แต่เมื่อธุรกิจปลากรายเริ่มตาย ตนจึงต้องเริ่มมองหาสัตว์น้ำชนิดใหม่ที่จะมาทดแทนปลากราดได้ จนกระทั่งมาพบกับ “ปลากะพง”

ต้นทุนเลี้ยงปลากะพง

“แต่ก่อนปลากรายเนื้อราคาตกต่ำ จากกิโลกรัมเป็นร้อยลงมาเหลือไม่กี่สิบบาท แต่เราก็ยังฝืนเลี้ยงอยู่ เพราะคิดว่าสักวันราคามันต้องขึ้น ทนเลี้ยงมาขาดทุนบ้าง เสมอตัวบ้าง ทนเลี้ยงมานาน 3 ปี มองดูแล้ววงการปลากรายน่าจะไม่รอด ก็เริ่มมองหาสัตว์น้ำตัวใหม่ ว่าอะไรที่น่าสนใจบ้าง จนไปเจอเพื่อนเขาเลี้ยงปลากะพงอยู่

ซึ่งปลากะพงสมัยนั้นราคาดีมาก ราคา 230 บาท/กก. อีกอย่างระยะเวลาในการเลี้ยงสั้นกว่า ก็เลยตัดสินใจลองเลี้ยงดู  2 บ่อ ขนาดบ่อละ 3 ไร่ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรกที่เลี้ยงไม่ขาดทุน แถมยังได้กำไรกลับมาอีกด้วย จากนั้นคุณพรชัยจึงเลิกเลี้ยงปลากราย และหันมาเลี้ยงปลากะพงแบบจริงจัง นับจนถึงปัจจุบันก็ร่วม 10 ปีได้”

2.บ่อเลี้ยงปลากะพง
2.บ่อเลี้ยงปลากะพง

การจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงปลากะพงคลองจินดา

แต่ในปัจจุบันการเลี้ยงปลากะพงไม่ได้ง่ายเหมือนสมัยก่อน เพราะราคาผลผลิตค่อนข้างตกต่ำ ดังนั้นเกษตรกรต้องปรับตัว ลด ต้นทุนเลี้ยงปลากะพง การผลิตให้มากที่สุด แต่คุณภาพผลผลิตต้องดีดังเดิม ซึ่งคุณพรชัยได้เผยเทคนิคการลดต้นทุนของตน โดยเน้นการร่วมกลุ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรอง ทั้งการสั่งซื้ออาหาร ปัจจัยการผลิต รวมไปถึงร่วมกันใช้แรงงานในการขึ้นปลาของแต่ละบ่อ

“เราทำงานหลายคน ดีกว่าทำอยู่คนเดียว เพราะอำนาจต่อรองก็ไม่มี จะทำอะไรสักอย่างก็ต้องจ้าง นั่นคือ ต้นทุนเลี้ยงปลากะพง ทั้งหมด ยิ่งราคาปลาแบบนี้ หากเรายังทำตัวเหมือนเดิมมันก็จะอยู่ไม่รอด ผมจึงรวมกลุ่มสมาชิกขึ้นมา ซึ่งสมาชิกในกลุ่มก็เป็นญาติพี่น้องกันทั้งหมด มีสมาชิก 10 กว่าราย รวมบ่อเลี้ยง 40-50 บ่อ โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มผู้เลี้ยงปลากะพงคลองจินดา” มีเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรอง ทั้งเรื่องอาหาร เรื่องลูกพันธุ์ปลา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และนอกจากนี้เวลารวมกลุ่มกันมันได้ช่วยกันแชร์ประสบการณ์ เวลาใครเกิดปัญหาอะไรในบ่อก็ช่วยกันแก้ไข หรือเวลาจับปลาก็ช่วยกันไปจับ จะได้ไม่ต้องจ้างคนนอก เพราะค่าจ้างก็ไม่ถูก เขาคิด ชม.ละ 300 บาท พอเรามาช่วยกันจับ ค่าแรงตรงนี้มันก็ไม่มี ดังนั้นผมคิดว่าการรวมกลุ่มมีประโยชน์มากเลยทีเดียว” คุณพรชัยให้เหตุผล

3.กั้นคอกไว้สำหรับลงปลาเล็ก
3.กั้นคอกไว้สำหรับลงปลาเล็ก

เทคนิคการบริหารจัดการบ่อปลากะพง

นอกจากการรวมกลุ่ม รวมอำนาจต่อรองการซื้อแล้ว เรื่องเทคนิคการจัดการฟาร์มก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าการจัดการฟาร์มไม่ดี ต้นทุนการผลิตปลาก็จะสูง เกษตรกรก็อาจขาดทุนได้ ซึ่งคุณพรชัยมีเทคนิคการจัดการฟาร์มหลังจากจับปลาแล้ว โดยเริ่มต้นจากการตากบ่อนาน 7-10 วัน จนกว่าพื้นดินจะแห้ง แล้วจึงดันเลนก่อน

โดยคุณพรชัยจะดันเลนทุกครอปการเลี้ยงเพื่อลดเชื้อโรคตามพื้นบ่อ เนื่องจากเมื่อปลาโตใกล้จับ พื้นบ่อเลี้ยงจะมีของเสียค่อนข้างมาก หากไม่ดันเลนทิ้งแล้วลงลูกปลาชุดใหม่ จะทำให้การจัดการระหว่างเลี้ยงยุ่งยาก เพราะของเสียพื้นบ่อมีเยอะ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้น

ดังนั้นการดันเลนทุกครอปการเลี้ยงจะช่วยประหยัดต้นทุนได้มากกว่า เมื่อดันเลนแล้ว  จึงหว่านปูนขาวฆ่าเชื้อ แล้วจึงปล่อยน้ำเข้าบ่อ โดยเขาเน้นการทรีตน้ำประมาณ 7 วัน เมื่อคุณภาพน้ำเหมาะสมแล้ว จึงนำลูกปลาที่ชำแล้ว ขนาด 10-15 ตัว/กก. มาปล่อย ซึ่งลูกปลาที่ว่านี้คุณพรชัยจะเป็นคนชำลูกปลาเอง  โดยซื้อลูกปลาเล็กขนาด 1.5 นิ้ว มาชำในบ่อก่อน เพื่อลดต้นทุนราคาปลาไซส์ใหญ่

เมื่อลงลูกปลาแล้ว จะเริ่มให้อาหารในมื้อถัดไป ซึ่งอาหารที่ปลากะพงกินควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพ และคุณสมบัติเหมาะสม มีระดับโปรตีนที่ปลาต้องการ อีกทั้งต้องผลิตจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพ เพื่อคุณภาพของปลาที่เลี้ยงในบ่อ ซึ่งการเลือกใช้อาหารนั้นก็ถือเป็นการควบคุมค่าใช้จ่ายอีกทาง เพราะถ้าอาหารดี อัตราการแลกเนื้อดี ADG ดี ก็จะทำให้ปลาที่เลี้ยงออกมาดีตามลำดับ ต้องทุนที่จะงอกตามมาก็ลดน้อยลง

4.อาหารปลากะพง
4.อาหารปลากะพง

ข้อดีของอาหารปลากะพง

นอกจากอาหารที่มีคุณภาพจะช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของปลาแล้วนั้น ท้ายสุด คือ คุณภาพของปลาที่จับ อาหารที่ดีจะต้องทำให้เกล็ดปลาแข็งแรง ทรงปลาสวย สันหนา เนื้อเยอะ และสีสวย ยิ่งสีปลาคล้ายปลากะพงธรรมชาติมากเท่าไร พ่อค้าปลาก็ยิ่งชอบมากเท่านั้น นี่คือความสำคัญของอาหารปลา และการจัดการฟาร์มที่ช่วยในเรื่องการลด ต้นทุนเลี้ยงปลากะพง ได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.ต้นทุนเลี้ยงปลากะพง ได้ปลารูปทรงสวย ตลาดต้องการ
5.ต้นทุนเลี้ยงปลากะพง ได้ปลารูปทรงสวย ตลาดต้องการ

การจำหน่ายปลากะพง

ในการเลี้ยงปลาของคุณพรชัยนั้นจะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงเพียง 3.5-4 เดือน เท่านั้น ก็สามารถจับปลาไซซ์ 700-800 กรัม ได้แล้ว ซึ่งเท่ากับว่าคุณพรชัยเลี้ยงปลากะพงได้ถึง 2 รอบ/ปี ถือว่าเป็นการย่นระยะเวลาในการเลี้ยงได้อีกทาง ที่สำคัญในระหว่างการเลี้ยง คุณพรชัยย้ำว่าเกษตรกรควรใส่จุลินทรีย์เข้าไปในบ่อด้วย เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำ และช่วยให้ปลาแข็งแรง โดยจะใช้จุลินทรีย์หลากหลายสายพันธุ์นำมาผสมกัน เพื่อให้จุลินทรีย์ทำงานเก็บของเสียในบ่อได้ดีมากขึ้น

สนใจอาหารปลากะพงขาวเกรดคุณภาพ มีส่วนผสมจากธรรมชาติ โปรตีนสูง ติดต่อได้ที่ บริษัท อะเมซอน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่อยู่ 89/7 หมู่ 2 ต.กาหลง อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000 โทร.091-740-0584 คุณอัลเบิร์ต, 083-247-4400 คุณโอ๊ต

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 363