ลูกกุ้ง “พี”- ลูกกุ้ง “ขุน” ต่างกันอย่างไร ควรเลือกแบบใด สำหรับ การเลี้ยงกุ้ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ลูกกุ้ง “พี”- ลูกกุ้ง “ขุน” ต่างกันอย่างไร ควรเลือกแบบใด สำหรับ การเลี้ยงกุ้ง  โดย “ดำ เมืองชล” เซียนกุ้งขุน 

การเลี้ยงกุ้ง ไม่มีวันหยุดและไม่มีวันสิ้นสุด ต้องมีการพัฒนาตลอดเพื่อให้ก้าวทันกับสถานการณ์แวดล้อมในปัจจุบันทำให้ “สุชาติฟาร์ม” มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆจนติดตลาดภาคกลางและภาคตะวันออก สามารถมีกำลังการผลิตลูกกุ้งได้มากกว่า 100 ล้านตัวต่อเดือน และถือว่าเป็นฟาร์มแรกที่ริเริ่มทำกุ้งขุนเนื่องจากอยากช่วยลดความเสี่ยงของเกษตรกรที่มีมากให้ลดลง จึงมีแนวคิดทำกุ้งขุนเพื่อให้เกษตรกรแบกรับความเสี่ยงให้น้อยที่สุด

ทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำ ได้เดินทางไปยัง “สุชาติฟาร์ม” ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มี การเลี้ยงกุ้ง ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และได้พบกับ คุณสุชาติ ศรีประสม หรือที่ทุกคนรู้จักกันในนาม พี่ดำ เมืองชล ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ มีฟาร์มทั้งหมด 6 ฟาร์ม

1.ดำ-เมืองชล-เซียนกุ้งขุน
1.ดำ-เมืองชล-เซียนกุ้งขุน

 

2.ลูกกุ้ง การเลี้ยงกุ้ง
2.ลูกกุ้ง การเลี้ยงกุ้ง

 

3.คุณสุชาติ-ศรีประสม-กรรมการผู้จัดการ-มีฟาร์มทั้งหมด-6-ฟาร์ม
3.คุณสุชาติ-ศรีประสม-กรรมการผู้จัดการ-มีฟาร์มทั้งหมด-6-ฟาร์ม

พี่ดำเล่าว่า..อดีตประกอบอาชีพ การเลี้ยงกุ้ง กุลาดำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ในจังหวัดสงขลาหรืออยู่ในวงการกุ้งมาตั้งแต่กุ้งกุลาดำยุคแรก โดยเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่เป็นเป็นพนักงานบริษัท ช่วงนั้นดำรงตำแหน่งแฮชเชอร์รี่โรงเพาะ ที่อำเภอระโนดจังหวัดสงขลา จากประสบการณ์ระยะเวลากว่า 4 ปี

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2549 ได้หาเช่าฟาร์มเริ่มจาก 1 ฟาร์มขยายมาเรื่อยๆจนปัจจุบันมีทั้งหมด 6 ฟาร์ม บริเวณอ่างศิลาและบางพระ จำนวน 7.5 ไร่ ทุกฟาร์มจะทำทั้งกุ้งพีและกุ้งอนุบาล(กุ้งขุน) ในส่วนฟาร์มพื้นที่หนองมนจะทำแลปแพลงก์ตอน (คีโตซีรอส) ที่ใช้สำหรับอนุบาลลูกกุ้ง และแลปตรวจสุขภาพลูกกุ้ง (กุ้งพีและกุ้งขุน) ก่อนจำหน่ายให้เกษตรกร

กุ้งพีและกุ้งขุน ต่างกันอย่างไร ควรเลือกแบบใด

ข้อแตกต่างของกุ้งพีและกุ้งขุนมีความแตกต่างกันคือ กุ้งขุนเมื่อเกษตรกรซื้อไปจะสามารถลดต้นทุนในบ่อดินได้ค่อนข้างมากตัวอย่างเช่น เมื่อเกษตรกรสั่งลูกกุ้งไซส์ 2,000 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม หรือน้ำหนักเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาน 0.5 กรัม/ตัว เกษตรกรสามารถนำไปเลี้ยงในบ่อดินแค่ 50 วัน สามารถจับได้และได้ไซส์ 40-60 ตัว/กิโลกรัม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงและความเอาใจใส่ ทำให้ลดความเสี่ยงที่จะเจอกุ้งติดเชี้อ EMS ลดน้อยลง และยังสามารถลดต้นทุนได้เช่นต้นทุนในเรื่องของเครื่องปั๊มออกซิเจน เพราะกุ้งตัวใหญ่แล้วทำให้มีความแข็งแรงสูงลดความเสียหายได้มาก มีเพียงแต่ราคาลูกกุ้งที่สูงขึ้นกว่าเดิม แต่คุ้มค่าที่จะลงทุนซึ่งต้นทุนใน การเลี้ยงกุ้ง ขุนเพิ่มขึ้นจากราคากุ้งแต่ส่งผลให้อัตราเสี่ยงต่อการสูญเสียลดลง

4.ลูกกุ้งพี-ลูกกุ้งขุนเลือกแบบใด
4.ลูกกุ้งพี-ลูกกุ้งขุนเลือกแบบใด

 

5.การใช้ระบบน้ำในการอนุบาลลูกกุ้ง
5.การใช้ระบบน้ำในการอนุบาลลูกกุ้ง

ช่วยขุนกุ้งให้เกษตรกร และแบกรับความเสี่ยงแทน

มีน้อยฟาร์มที่จะแบกรับความเสี่ยงไว้เองโดยที่ไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัวและสาเหตุที่ฟาร์มเลือกที่จะแบกรับความเสี่ยงไว้เองคือมองถึงความยั่งยืนใน การเลี้ยงกุ้ง หากเกษตรกรเลี้ยงรอดถึงแม้ฟาร์มจะกำไรน้อยแต่ทำให้เกษตรกรอยู่ได้ฟาร์มก็จะสามารถอยู่กันไปได้อย่างยั่งยืน ในการขุนกุ้งไม่ค่อยมีคนนิยมทำส่วนมากจะชำกันที่หน้าปากบ่อเท่านั้น บางรายชำได้บางรายก็ชำไม่ได้

แต่ตอนนี้หากเป็นเกษตรกรรายใหญ่ที่สั่งลูกกุ้ง 3-5 ล้านตัว ก็จะไปขุนให้ถึงปากบ่อโดยที่มีทีมงานทำหน้าที่ออกแบบบ่อและระบบน้ำให้เท่านั้น แต่ต้นทุนในเรื่องของอุปกรณ์เกษตรกรต้องหาเอง เหตุที่เปิดไปรับชำหน้าบ่อเนื่องจากในบางครั้งเกษตรกรก็อยากที่จะเรียนรู้และทำเอง

แต่หากถามถึงน้ำหนักกุ้งที่ฟาร์มขุนเองและกุ้งที่เกษตรกรขุนจะแตกต่างกันนั่นคือปัญหาหลัก ซึ่งขึ้นอยู่กับกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความเข้าใจ เอาใจใส่ ความชำนาญ อาหารที่ให้ และน้ำที่ใช้เลี้ยง

6.การอนุบาลลูกกุ้งในบ่อผ้าใบ
6.การอนุบาลลูกกุ้งในบ่อผ้าใบ

อนุบาลกุ้งขุนในบ่อผ้าใบ

การขุนกุ้ง ในปัจจุบันนี้ที่ฟาร์มใช้บ่อผ้าใบกลมมี 2 ขนาด คือ บ่อผ้าใบที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เมตรและ 15 เมตร บ่อ 8 เมตร จะมีความจุน้ำอยู่ที่ 50 ตัน ลงกุ้ง PL 12 ได้ 300,000 ตัว และบ่อ 15 เมตร จะมีความจุน้ำอยู่ที่ 180 ตัน จะลงกุ้ง PL 12 ได้ 1,000,000 ตัว บ่อผ้าใบทั้งสองขนาดใช้ระยะเวลาขุนกุ้งประมาณ 21 วันเท่ากันผลผลิตที่ออกมาจะได้ไซส์ประมาน 2,000 ตัวต่อกิโลกรัม (หรือ 0.5 กรัม/ตัว)

ซึ่งการดูแลจะตรวจเช็คค่าคุณภาพน้ำทุกวันในตอนเช้าและเย็นวันละ 2 ครั้ง เช่น ค่าแอมโมเนีย, pH, อัลคาไลน์, ไนไตรท เป็นต้น  แต่เมื่อมีความชำนาญขึ้นก็จะสามารถประเมินได้จากสายตา และในบ่อผ้าใบจะมีโปรตีนสกิมเมอร์ ระบบเวนจูรี่ ในการทำระบบหมุนเวียนและเปลี่ยนถ่ายน้ำ ในเรื่องของน้ำที่ใช้จะเป็นน้ำที่ฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนทั้งหมด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.การจัดการระบบน้ำภายในฟาร์ม
7.การจัดการระบบน้ำภายในฟาร์ม

การจัดการระบบน้ำภายในฟาร์มผ่าน GAP

การบำบัดน้ำก่อนปล่อยทิ้งกลับธรรมชาติถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในวงการผู้เพาะเลี้ยงกุ้งที่ฟาร์มได้มาตรฐาน GAP หากไม่มีการบำบัดน้ำก่อนปล่อยทิ้งอาจจะส่งผลเสียระยะยาวต่อผู้เพาะเลี้ยง ซึ่งการบำบัดน้ำทิ้งของสุชาติฟาร์มมีแนวทางที่ชัดเจน

โดยจะมีการกำจัดหรือทำลายสิ่งปนเปื้อนในน้ำที่ใช้แล้วให้หมดไปหรือน้อยที่สุด ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดและไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมในระยะยาวเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืน ซึ่งบ่อบำบัดจะเป็นบ่อคอนกรีต 6×6 เมตร ลึก 3 เมตร และผ่านการบำบัดถึง 4 ขั้นตอนก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ

8.บ่อที่-1-เป็นบ่อที่รองรับน้ำทิ้งภายในฟาร์ม
8.บ่อที่-1-เป็นบ่อที่รองรับน้ำทิ้งภายในฟาร์ม

ขั้นตอนที่ 1 บ่อแรกเป็นบ่อที่รองรับน้ำทิ้งภายในฟาร์มหรือบ่อเกรอะ ซึ่งเป็นบ่อพักน้ำเพื่อให้น้ำตกตะกอนโดยใช้พืชป่าชายเลนเป็นตัวช่วยในการบำบัดเพราะรากของพืชนั้นจะช่วยในการดูดซับของเสียและช่วยกรองหรือฟอกน้ำให้สะอาดขึ้น พืชป่าชายเลนยังมีส่วนช่วยในการทำงานของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ถือว่าเป็นการใช้ธรรมชาติในการบำบัดเบื้องต้น หรือเรียกได้ว่าเป็นระบบกรองแบบใช้จุลินทรีย์ธรรมชาติ

9.บ่อที่-2-เป็นบ่อที่รองรับน้ำที่ปล่อยมาจากบ่อแรกผ่านตะแกรงกรวด
9.บ่อที่-2-เป็นบ่อที่รองรับน้ำที่ปล่อยมาจากบ่อแรกผ่านตะแกรงกรวด

ขั้นตอนที่ 2 จะเป็นบ่อที่รองรับน้ำที่ถูกปล่อยจากบ่อแรกผ่านตะแกรงกรวดและคาร์บอนสำหรับดักจับสารแขวนลอยต่างๆ บ่อนี้มีส่วนสำคัญในการดักจับตะกอนโดยที่จะใส่เนื้ออวนไว้ก้นบ่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดักจับตะกอน และให้จุลินทรีย์ได้เป็นแหล่งที่อยู่ พร้อมทั้งมีระบบเติมอากาศออกซิเจน

10.บ่อที่-3-น้ำที่ไหลลงจากบ่อที่-2-โดยผ่านกรองกรวดมาสู่บ่อที่-3
10.บ่อที่-3-น้ำที่ไหลลงจากบ่อที่-2-โดยผ่านกรองกรวดมาสู่บ่อที่-3

ขั้นตอนที่ 3 น้ำที่ไหลมาในบ่อนี้รับน้ำมาจากบ่อที่ 2 โดยผ่านกรองกรวดมาสู่บ่อที่ 3  ซึ่งบ่อนี้จะเป็นบ่อที่มีระบบเติมอากาศเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำและเลี้ยงปลาไว้ในบ่อด้วยเพื่อไว้เป็นตัวทดสอบคุณภาพน้ำว่าสามารถมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้หลังจากการบำบัดน้ำแล้ว

11.บ่อที่-4-รองรับน้ำจากทั้ง-3-บ่อ-นำกลับมาใช้ใหม่ในการอนุบาลลูกกุ้ง
11.บ่อที่-4-รองรับน้ำจากทั้ง-3-บ่อ-นำกลับมาใช้ใหม่ในการอนุบาลลูกกุ้ง

ขั้นตอนที่ 4 เป็นบ่อสุดท้ายที่รองรับน้ำจากการบำบัดทั้ง 3 บ่อ ถือว่าเป็นบ่อพักน้ำก่อนนำกลับไปใช้ใหม่ได้ในกรณีอนุบาลลูกกุ้ง หรือก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ในบ่อนี้น้ำจะสะอาดที่สุด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
12.โรงเพาะฟักเพื่อให้กุ้งที่จำหน่ายมีคุณภาพ-ตรงตามมาตรฐาน
12.โรงเพาะฟักเพื่อให้กุ้งที่จำหน่ายมีคุณภาพ-ตรงตามมาตรฐาน

มาตรฐาน ลูกกุ้ง ก่อนจำหน่าย

สุชาติฟาร์มจำหน่ายกุ้งพี 12-15 และ กุ้งขุน (พี 12-30) ไซส์ประมาณ 2,000-4,000 ตัว/กิโลกรัม และเพื่อให้ลูกกุ้งที่จำหน่ายมีคุณภาพที่ดีตรงตามมาตรฐาน ทางฟาร์มจึงได้กำหนดมาตรฐานในการตรวจลูกกุ้งก่องจำหน่ายให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

ซึ่งการกำหนดมาตรฐานนี้จะช่วยควบคุมคุณภาพของลูกกุ้งให้ได้คุณภาพเพื่อช่วยให้ การเลี้ยงกุ้ง ของเกษตรกรเลี้ยงกุ้งและประสบความสำเร็จโดยมีมาตรฐานการตรวจสอบก่อนปล่อยกุ้งถึงมือเกษตรกร เช่น ความยาวเฉลี่ย ความสม่ำเสมอ ของขนาดลูกกุ้ง ปรสิตภายนอก ความสมบูรณ์ของรยางค์ ขนาดตับ เปอร์เซ็นต์เม็ดไขมัน วิบริโอรวม เป็นต้น

13.ตลาดลูกค้าที่ซื้อกุ้งมีทั้งรายย่อยจนถึงรายใหญ่
13.ตลาดลูกค้าที่ซื้อกุ้งมีทั้งรายย่อยจนถึงรายใหญ่

รุกตลาดโซนภาคกลางและตะวันออกเป็นหลัก

ตลาดลูกค้าของสุชาติฟาร์มมีทั้งหมดตั้งแต่รายย่อยจนถึงรายใหญ่ ตลาดหลักจะอยู่ที่ภาคกลางและตะวันออก ผลิต ลูกกุ้ง ตามออร์เดอร์ล่วงหน้า 25-30 วัน จะเหลือส่วนต่างเพียงแค่ 15-20% เท่านั้น เผื่อไว้สำหรับขาจรที่เข้ามารับที่ฟาร์มเอง ไม่ระบุการสั่งจำนวน ลูกกุ้ง ขั้นต่ำเพียงแต่ลูกค้าต้องเป็นคนออกค่าขนส่งเอง

14.สุชาติฟาร์มเป็นฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมที่ได้มาตรฐาน
14.สุชาติฟาร์มเป็นฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมที่ได้มาตรฐาน

การเลี้ยงกุ้ง แบบ ยั่งยืน

แต่ละฟาร์มต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพื่อดึงดูดใจลูกค้า สุชาติฟาร์มเองก็มีจุดดึงดูดเช่นกัน เพราะสามารถรักษาลูกค้าเก่า และเพิ่มลูกค้าใหม่ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ถือได้ว่าเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด สาเหตุที่ทำให้สุชาติฟาร์มดำเนินกิจการมาถึงทุกวันนี้ คือ หนึ่งความซื่อสัตย์ สองสะอาด และสามบริการหลังการขาย

สามสาเหตุนี้ทำให้สุชาติฟาร์มทำงานกันได้อย่างมีคุณภาพ ถึงไม่มีกำไรก็ต้องทำ ในเมื่อรับปากแล้ว ไม่งั้นจะหมดความน่าเชื่อถือจากสายตาลูกค้าไป และเป้าหมายในอนาคต คือ เกษตรกรเลี้ยงกุ้งอยู่ได้ และส่งผลให้ภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศดีขึ้น โดยไม่หวังกำไรมากมาย ซึ่งตอนนี้ภาพรวมของกุ้งแย่ จึงพยายามหาหนทางแก้ไขโดยที่ทำกุ้งขุนขึ้นมา แต่ก็ถือว่าเป็นไปในทิศทางที่ดี

หากมองโดยรวมสุชาติฟาร์มถือว่าเป็นฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมที่ได้มาตรฐานในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและด้านคุณภาพอันดับต้นๆของพื้นที่ภาคตะวันออก และยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้แก่เกษตรกรที่จะเลือกสรร ลูกกุ้ง ที่มีคุณภาพไปเลี้ยงต่อให้อยู่อย่างยั่งยืน สนใจ ลูกกุ้ง และวิธีการขุนติดต่อได้ที่ สุชาติฟาร์ม 57/20 หมู่ที่ 6 ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี หรือติดต่อ พี่ดำ โดยตรงที่ 081-996-8393

โฆษณา
AP Chemical Thailand