เพาะอาร์ทีเมีย ปลอดเชื้อ ป้อนตลาดนอก ช่วยเพิ่มคุณภาพกุ้งและปลาและลดต้นทุนอาหาร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ลักษณะของอาร์ทีเมีย

อาร์ทีเมีย หรือไรทะเล หรือไรน้ำเค็ม หรือไรน้ำสีน้ำตาล (อังกฤษ: Brine shrimp, Sea-monkey) เป็นสัตว์น้ำจำพวกครัสเตเชียนสกุลหนึ่ง ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไรทะเลเป็นครัสเตเชียนในสกุล Artemia ถือกำเนิดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะเป็นสัตว์สีน้ำตาลแดง หรือสีน้ำตาลส้ม ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว มีเพียงเนื้อเยื่อบางๆ เท่านั้นที่หุ้มตัว ว่ายน้ำเคลื่อนที่ในลักษณะหงายท้อง

ลำตัวเรียวยาวคล้ายใบไม้ แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนท้อง โดยปกติเมื่อโตเต็มวัยความแตกต่างระหว่างเพศ เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย และหนวดคู่ที่ 2 ของเพศผู้จะมีขนาดใหญ่คล้ายตะขอใช้เกาะเพศเมีย ทำให้ดูว่ามีส่วนหัวขนาดใหญ่ และเพศเมียจะมีถุงไข่ที่ปล้องแรกของส่วนท้อง ไรทะเลสืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ให้ลูกทั้งแบบเป็นตัว โดยจะมีไข่ฟักเป็นตัว ภายในมดลูกไข่ไม่มีเปลือกหนาแข็งหุ้ม สามารถวางไข่ได้ครั้งละ 300-500 ฟอง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์, ความสมบูรณ์ของไรทะเล หรืออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมที่อาศัย ใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมง ในการฟักเป็นตัว

อาร์ทีเมียโปรตีนสูง 50-60% สรรพคุณสามารถย่อยสลายได้ง่าย เนื่องจากมีเอนไซม์บางตัวที่ช่วยให้ดูดซึมสารอาหารได้เต็มที่ จึงส่งผลให้สัตว์น้ำวัยอ่อนดูดซึมสารอาหารได้เร็ว เรื่องของกรดไขมันก็มีพอสมควร แต่ถ้าคิดเป็นน้ำหนักแห้งแล้วโปรตีนอาจต่ำกว่าอาหารเม็ด แต่คุณภาพโปรตีนจะดีกว่า

1.คุณธนัญช์-สังกรธนกิจ
1.คุณธนัญช์-สังกรธนกิจ
2.บ่อเลี้ยงอาร์ทีเมีย
2.บ่อเลี้ยงอาร์ทีเมีย

สภาพพื้นที่ เพาะอาร์ทีเมีย

ทางทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมฟาร์มเพาะพันธุ์อาร์ทีเมียของสุนทรีฟาร์ม ที่มีการดำเนินธุรกิจเพาะพันธุ์มาแล้วกว่า 10 ปี มีคุณธนัญช์เป็นผู้ดูแลฟาร์ม ซึ่งก่อนหน้านั้นท่านดำรงตำแหน่งนักวิชาการประจำศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี และได้ลาออกจากราชการหันมาทำอาชีพเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมียอย่างเต็มตัว

ปัจจุบันมีฟาร์มเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมียในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใกล้นาเกลือ เนื่องจากมีอัตราการระเหยสูง อาร์ทีเมียในบ่อดินของสุนทรีฟาร์มมีพื้นที่ทั้งหมด 35 ไร่ จำนวน 4 บ่อ บ่อละ 6 ไร่ ความลึกของบ่อเฉลี่ยประมาณ 70-80 เซนติเมตร พื้นที่ที่เหลือเป็นบ่อพักน้ำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขั้นตอนการเตรียมน้ำ

ขั้นตอนการเตรียมบ่อสูบน้ำทะเลมาลงในบ่อพัก ซึ่งจะมีความเค็มอยู่ที่ 100-120 ppt. จากนั้นนำอามิอามิผสมกับน้ำในบ่อเพื่อทำสีน้ำ และสร้างอาหารให้ตัวอาร์ทีเมีย เพราะอาร์ทีเมียจัดอยู่ในพวกกรองกิน อาหารของอาร์ทีเมียเป็นพวกแพลงก์ตอน และแบคทีเรีย ที่เกิดจากน้ำอามิอามิ แล้วนำพันธุ์อาร์ทีเมียไปปล่อยซึ่งจะสามารถขยายพันธุ์ได้เอง

การเติมน้ำอามิอามิส่วนใหญ่จะให้ทุกวันในช่วงเที่ยงถึงบ่าย ประมาณ 200-300 ลิตรต่อวัน การเติมน้ำต้องเติมตลอด หากฝนตกจึงหยุด และถ่ายน้ำออกเพื่อควบคุมความเค็ม วิธีการเติมน้ำจะใช้ปั๊มไฟฟ้าสูบในปริมาณ 30,000 ลิตรต่อชั่วโมง วัดความเค็มสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง  พื้นบ่อจำเป็นต้องทำความสะอาด  โดยการคราดบ่อวันเว้นวัน  แล้วแต่สภาพอากาศ  เพื่อไม่ให้สาหร่าย หรือ ขี้แดดเกิดการหมักหมมที่พื้นบ่อ ดูแลและให้อาหารประมาณ 2 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

3.เครื่องสกิมเมอร์
3.เครื่องสกิมเมอร์ เพาะอาร์ทีเมีย เพาะอาร์ทีเมีย เพาะอาร์ทีเมีย เพาะอาร์ทีเมีย เพาะอาร์ทีเมีย เพาะอาร์ทีเมีย

การเก็บเกี่ยวผลผลิตอาร์ทีเมีย

เมื่อได้ผลผลิตแล้วในเบื้องต้นนำมาล้างแยกขยะพวกโคลนออกจากตัวอาร์ทีเมีย แล้วนำมาเข้าเครื่องสกิมเมอร์ 5-6 ชั่วโมง ซึ่งเครื่องสกิมเมอร์จะคัดแยกเมือกโปรตีนที่เป็นสาเหตุทำให้น้ำเสียออกไป ความเค็มจะอยู่ที่ 50 ppt. จะช่วยให้อาร์ทีเมียและน้ำสะอาด ส่งผลให้ขนส่งได้ไกล อัตราการตายลดลง เครื่องสกิมเมอร์ตัวนี้สุนทรีฟาร์มซื้อมาแล้วนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เหมาะสมกับผลผลิตเอง

4.บ่อพัก เพาะอาร์ทีเมีย
4.บ่อพัก เพาะอาร์ทีเมีย

ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงอาร์ทีเมีย

ปัญหาที่พบในกรณีที่เป็นบ่อใหม่ ช่วงแรกๆ ที่ทำนั้นน้ำจะไม่เค็มจัด จะพบปัญหาสัตว์ที่เจาะคันดิน เป็นสัตว์จำพวกปลาไหล ปู ต้องคอยอุด ระยะเวลาขั้นต่ำที่จะสามารถทำให้บ่อเค็มได้จะใช้เวลา 1 ปี เมื่อน้ำเค็มแล้ว สัตว์น้ำพวกนี้จะรู้ว่าข้างในบ่อนั้นเป็นน้ำเค็มก็จะไม่เข้ามาในบ่อ หากขุดบ่อแล้วปล่อยเลี้ยง

ปัญหาอีกประการ คือ เมื่อฝนตกหนักจนความเค็มลดลงมาก ก็จะพบศัตรูตัวฉกาจของอาร์ทีเมีย คือ โรติเฟอร์ และโคพิพอด ซึ่งสองตัวนี้จะพบตามธรรมชาติอยู่แล้ว จะอาศัยอยู่ในดิน ในน้ำ ทั่วไป โรติเฟอร์จะเกิดการบูมช่วงความเค็มต่ำกว่า 70 ppt.

แต่โรติเฟอร์คอยแย่งอาหารของอาร์ทีเมีย และหากเมื่อไหร่ที่ความเค็มของน้ำลดลงอยู่ในช่วง 50-60ppt. ก็จะอยู่ในช่วงบูมของโคพิพอด ซึ่งจะไล่กินอาร์ทีเมีย ขนาดของโคพิพอดเท่ากับอาร์ทีเมีย แต่จะแตกต่างกันที่อาร์ทีเมียไม่มีเปลือก โคพิพอดจะมีเปลือกที่แข็งแรงกว่า จึงเข้าเจาะกัดกินอาร์ทีเมีย ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อตัวอาร์ทีเมีย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ก่อนนำอาร์ทีเมียไปใช้เลี้ยงปลาจะต้องปรับน้ำตัวอาร์ทีเมียให้มีความเค็มลดลงเหลือ 50 ppt. โดยการนำน้ำเค็มที่เลี้ยงผสมกับน้ำบาดาล เนื่องจากอาร์ทีเมียถูกเลี้ยงในน้ำที่มีความเค็มสูงมาก หากไม่ทำตัวอาร์ทีเมียให้จืดลง ปลาจะไม่ชอบกิน หรือกินได้น้อย

การใช้อาร์ทีเมียในพ่อแม่พันธุ์กุ้งในต่างประเทศมีมานานมากแล้ว และเหตุผลที่คนไทยไม่เลือกใช้อาร์ทีเมีย คือ กลัวการติดเชื้อ เนื่องจากอาร์ทีเมียเป็นอาหารสด แต่ฟาร์มเรามีการตัดเชื้อโดยการใช้น้ำบาดาลผสมกับน้ำในบ่อเลี้ยงให้เหลือความเค็มที่ 50 ppt. ซึ่งการเปลี่ยนแปลงความเค็มที่รวดเร็วจะไม่ส่งผลต่ออาร์ทีเมีย แต่การใช้อาร์ทีเมียไม่ได้เป็นการลดต้นทุนโดยตรง เพียงแต่ส่งเสริมให้การเลี้ยงกุ้งหรือการอนุบาลมีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น

5.ฟองที่นำของเสียออกมา
5.ฟองที่นำของเสียออกมา เพาะอาร์ทีเมีย เพาะอาร์ทีเมีย เพาะอาร์ทีเมีย เพาะอาร์ทีเมีย เพาะอาร์ทีเมีย

คุณสมบัติของอาร์ทีเมีย

อาร์ทีเมียใช้ได้ดีกับพ่อแม่พันธุ์กุ้ง ซึ่งแต่เดิมนั้นอาร์ทีเมียอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่ให้ในลูกกุ้ง P มาบ้าง  แต่อาร์ทีเมียนั้นตัวใหญ่ จึงเป็นสาเหตุให้กุ้งเกิดการแตกไซส์ได้ คนเลี้ยงจึงต้องตัดปัญหาโดยการงดให้อาร์ทีเมียเป็นอาหารแล้ว

ตอนหลังจะใช้กับพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวได้ผลดีกว่า เนื่องจากในตัวของอาร์ทีเมียจะมีแอสต้าแซนทินในธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งสารตัวนี้มันช่วยทำให้ไข่กุ้งมีคุณภาพที่ดี อัตรารอดของกุ้งดีขึ้น ส่งผลให้อนุบาลง่ายขึ้น แต่เกษตรกรไทยไม่กล้าใช้ เนื่องจากกลัวเชื้อที่มากับอาร์ทีเมีย แต่สำหรับคุณธนัญช์กล่าวว่า ปัญหาเชื้อมันมีอยู่แล้วและส่วนใหญ่เป็นเชื้อที่ไม่ก่อโรค อยู่ที่ว่าจะจัดการกับมันยังไงไม่ให้มันเพิ่มจำนวนขึ้นมาเท่านั้นเอง

อาร์ทีเมียที่พบกันอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดนั้นจะมีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งทางทีมงานได้ข้อมูลจากคุณธนัญช์มาว่าอาร์ทีเมียที่เป็นตัวอ่อนนั้นจะมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ อาร์ทีเมียแบบกระป๋องที่ต้องนำมาเพาะฟักเอง แต่พบปัญหาว่าการเพาะในแต่ละครั้งได้จำนวนอาร์ทีเมียและคุณภาพของไข่อาร์ทีเมียออกมาในปริมาณที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้เพาะเลี้ยง

สาเหตุนี้เองจึงเกิดไรถาดออกกมา ไรถาดสามารถกำหนดได้ปริมาณที่แน่นอนกับความต้องการ ในส่วนที่ฟาร์มทำกันอยู่นั้นเลี้ยงเพื่อขนาดตัวเต็มวัย จึงไม่เหมาะที่จะนำไปเป็นอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน แต่จะเหมาะในวงการพ่อแม่พันธุ์กุ้งมากกว่า และก็เหมาะสำหรับในบ่อปลากะพงที่ปลามีขนาดไซส์นิ้ว อาร์ทีเมียนั้นสามารถเป็นอาหารของสัตว์น้ำได้อีกหลายชนิด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณธนัญช์กล่าวว่าอาร์ทีเมียถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ต้นทุนไม่แพง แต่เป็นสาเหตุของปัญหาน้ำเน่าเสียง่าย ถ้าระบบการจัดการน้ำดีก็ไม่มีปัญหา และยังช่วยในระบบการเจริญพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์ให้ดีขึ้น ทำให้ไข่ดี มีคุณภาพ  แต่ที่พบได้ชัดเจนถึงความเปลี่ยนแปลง ตัวผู้จะสร้างสเปิร์มชัดเจน ส่งผลต่อรังไข่ อัตราฟักของไข่จะดีขึ้น

เลือกอาร์ทีเมียเป็นอาหารจะเสี่ยงน้อยกว่าตัวเพรียงทะเล และถูกกว่า

กรณีที่เลือกอาร์ทีเมียเป็นอาหารจะเสี่ยงน้อยกว่าตัวเพรียงทะเล และถูกกว่า ถือว่าทดแทนกันได้ ทางฟาร์มจะใช้โอโซนในการทำน้ำฆ่าเชื้ออีกที หากเป็นในกรณีที่นำไปเลี้ยงปลาจะไม่ต้องฆ่าเชื้อมาก เพราะไม่พบปัญหาในการนำไปเป็นอาหารปลา แต่ในพ่อแม่พันธุ์กุ้งนั้นจะใช้เครื่องโอโซนเจนเนอเรเตอร์มาติดเพื่อเป็นการฆ่าเชื้ออีกที ความเป็นจริงที่โอกาสจะมีเชื้อจากต้นตอในบ่อมีน้อย แต่ว่าถ้าเกิดติดเชื้อจะเกิดช่วงระหว่างการล้าง

การดูแล หากมองภาพรวมจะเกิดจากระบบ จะเห็นว่าน้ำที่ความเค็มสูงประมาณ  100  ppt.  โอกาสพบวิบริโอมีได้  แต่ว่ามันน้อยมาก  วิบริโอจะชอบความเค็ม  แต่ว่าไม่สูงจัดขนาดนี้ 70 ppt. ก็เต็มที่แล้ว ในบ่ออาจจะพบวิบริโอบางสายพันธุ์  ซึ่งไม่ใช่สายพันธุ์อันตราย  แต่ปัญหาจะเกิดช่วงเวลาเก็บเกี่ยวอาร์ทีเมีย ตอนล้างทำความสะอาดจะใช้น้ำทะเล หรือเรียกว่าน้ำสด จะมีโอกาสติดเชื้อได้ แต่ว่าของฟาร์มจะใช้น้ำบาดาลผสมกับน้ำบ่ออาร์ทีเมียก็จะตัดเชื้อตรงนี้ไปได้อีก

6.ผลผลิตอาร์ทีเมีย
6.ผลผลิตอาร์ทีเมีย เพาะอาร์ทีเมีย เพาะอาร์ทีเมีย

ด้านตลาดอาร์ทีเมีย ทั้งในและต่างประเทศ

สำหรับการเลี้ยงอาร์ทีเมียก็ไม่มีอะไรมาก อยากให้หันมาใช้กันดู เกษตรกรที่ได้ใช้อาร์ทีเมียอาจจะมีอะไรที่ดีกว่า คุณจะรู้ว่าความจริงอาร์ทีเมียมันดีแค่ไหน ตลาดของอาร์ทีเมียในตอนนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกจะเป็นตลาดการส่งออก จะเป็นบริษัทที่รวบรวมอาร์ทีเมียแช่แข็งใส่ตู้คอนเทนเนอร์ ส่งออกไปตอนนี้ 80-90% จะเน้นไปทางแช่แข็ง ส่วนที่สองจะเป็นตลาดในประเทศ ตัวสด จะเป็นพวกปลาเก๋า ปลากะพง แต่ก็จะเป็นช่วงฤดูในช่วงต้นฝน อีกช่วง คือ ฤดูหนาว ของทางภาคใต้ ใช้กับลูกปูม้า และลูกปูทะเล หอยหวาน

ทางทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำขอขอบคุณ คุณธนัญช์ สังกรธนกิจ และคุณสุนทรี ที่ให้ความรู้ และสำหรับเกษตรกรท่านใดที่สนใจกำลังมองหาอาร์ทีเมียที่มีคุณภาพ จำหน่ายอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย สด และแช่แข็ง ติดต่อได้ที่ สุนทรีฟาร์ม 126 หมู่ 1 ต.แหลมผักเบี้ย อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี 76110 หรือโทร.081-9954036 และ 081-3106282 หรือติดตามทาง Facebook เพจ Artemia biomass farm