เลี้ยงปลาช่อน ระบบอินทรีย์ จุลินทรีย์ กำไรดีกว่าระบบเคมี 4 เดือน จับขาย ขนาด 600-700 กรัม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเพาะ เลี้ยงปลาช่อน

พื้นที่จังหวัดอ่างทอง ถือว่าเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่มีขนาดใหญ่ในเขตภาคกลางก็ว่าได้ แต่เมื่อเจาะลึกลงไปด้านประมง หรือด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ถือว่ามีการใช้พื้นที่ในอำเภอวิเศษชัยชาญมากที่สุด  กว่า 20 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ในจังหวัดอ่างทองเป็นแหล่งที่ให้เกษตรกรประกอบอาชีพเลี้ยงปลา

ซึ่งการเลี้ยงปลาช่อนมีการเลี้ยงที่พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ จากเดิมที่เลี้ยงในระบบอิงธรรมชาติ คือ ให้กินอาหารตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันนี้วิธีการเลี้ยงมีการพัฒนาขึ้นมามาก ทำให้การ เลี้ยงปลาช่อน ในปัจจุบันมีการพัฒนาเป็นการเลี้ยงอาหารเม็ดสำเร็จรูปแทนอาหารธรรมชาติ ยิ่งไปกว่านั้นมีเกษตรกรในพื้นที่หันมา เลี้ยงปลาช่อน เพิ่มมากขึ้น และส่งเสริมพัฒนาการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้านั้นให้พอกับรายจ่ายที่ต้องใช้จุนเจือครอบครัว

2.คุณขจร-เชื้อขำ-ผู้เพาะเลี้ยงปลาช่อน-จ.อ่างทอง
2.คุณขจร-เชื้อขำ-ผู้เพาะ  เลี้ยงปลาช่อน  -จ.อ่างทอง

แต่การที่จะประกอบธุรกิจให้ก้าวไกลนั้นจะไม่สามารถยืนบนลำแข้งของตัวเองเพียงอย่างเดียวได้ จำเป็นต้องอาศัยหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาช่วยเหลือ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้มีอำนาจต่อรองมากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมให้ความรู้ทางด้านการตลาด และการแปรรูป วันนี้ คุณขจร เชื้อขำ เกษตรกรผู้เพาะ เลี้ยงปลาช่อน เจอปัญหาราคาปลาตกต่ำ จำเป็นต้องดิ้นรนหาทางออกแก้ไขปัญหาให้ทันท่วงที ถึงการสร้างผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง โดยการแปรรูปสู่ท้องตลาด เจาะกลุ่มคนเมืองที่มีชีวิตเร่งรีบ ต้องการความสะดวก สบาย

คุณขจรเริ่มเข้าอบรมที่ “สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด” อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโครงการวิจัยของกรมประมง กับ สวก. โดยท่าน ผอ.วินัย จั่นทับทิม ให้การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพาะพันธุ์ปลาช่อน” เพื่อคิดว่าจะกลับมาพัฒนาต่อยอดการ เลี้ยงปลาช่อน ของตนที่บ้าน เนื่องจากตนคิดว่ามีพื้นฐานด้านการเลี้ยงปลาช่อนเนื้ออยู่บ้างแล้ว โดยเริ่มจากการเพาะพันธุ์ด้วยตนเอง เริ่มแรกคุณขจรนำพ่อแม่พันธุ์มาจากสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จำนวน 10 คู่ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นการเพาะลูกพันธุ์ปลาครั้งแรก

3.บ่อพ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน
3.บ่อพ่อแม่พันธุ์ปลาช่อน
บ่อซีเมนต์เพื่อจับเพศผู้และเพศเมียใส่รวมกัน
บ่อซีเมนต์เพื่อจับเพศผู้และเพศเมียใส่รวมกัน

การเพาะพันธุ์ปลาช่อน

การเพาะพันธุ์เริ่มจากการนำพ่อแม่พันธุ์ขึ้นจากบ่อดินมาลงบ่อปูน เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับสถานที่ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน เพื่อดูความพร้อมของตัวผู้และตัวเมีย เป็นการดูลักษณะภายนอกทั่วไป  ในตัวเมียนั้นจะมีช่องเพศที่บวมแดง และท้องอูม

เมื่อได้พ่อแม่พันธุ์ที่พร้อมแล้วจะเริ่มเตรียมสถานที่การผสมพันธุ์ และอนุบาล รวมถึงการเตรียมอาหารสำหรับบ่อดินด้วย ด้วยการเตรียมลูกไรไว้เพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน แล้วจะมีการเตรียมบ่อซีเมนต์ทรงกลมเพื่อจับเพศผู้และเพศเมียใส่รวมกัน หรืออาจจะเป็นภาชนะอย่างอื่นที่ของแต่ละฟาร์มเลือกใช้ก็ได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การผสมพันธุ์

ขั้นแรกก่อนการผสมพันธุ์จะทำการชั่งน้ำหนักตัวปลาให้ได้น้ำหนักที่ต้องการ เพื่อใช้คำนวณฮอร์โมน และเริ่มฉีดเมื่อครบ 24 ชั่วโมง จะได้ไข่ และทำการตักไข่ออกมาใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ พร้อมกับช้อนไข่ที่เสียออก ซึ่งไข่ที่เสียจะมีลักษณะเป็นฟองขาวขุ่น หรือบางฟองอาจจะมีราขึ้น และ 24 ชั่วโมง ต่อมา ไข่จะกลายเป็นตัวลูกปลาตัวเล็ก  ในช่วง 3 วันแรก ไม่จำเป็นต้องให้อาหาร เพราะลูกปลาจะได้รับสารอาหารจากถุงไข่แดงที่ติดตัวออกมา

หลังจากนั้นจะให้กินอาหารจำพวกไรแดงที่เตรียมไว้ โดยจะให้เพียง 1 วันเท่านั้น และไม่มีการเสริมวิตามิน หรือแร่ธาตุ เมื่อครบ 1 วัน แล้ว จะเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูปทันทีโดยเริ่มจากอาหารกบเม็ดเล็กสุด และมีการอนุบาลในบ่อปูนก่อนจำหน่ายอีก 55 วัน เพื่อให้ได้ไซส์ 3 นิ้ว

4.บ่อเลี้ยงปลาช่อน
4.บ่อ เลี้ยงปลาช่อน

การบริหารจัดการบ่อเลี้ยงปลาช่อน

จากอดีตที่ตนเคย เลี้ยงปลาช่อน แบบชาวบ้าน การจัดการน้ำไม่มีแบบแผน ทำให้น้ำเน่าเสีย แต่ปัจจุบันหลังจากที่ไปฝึกอบรมการปฏิบัติการ จึงรู้ว่า

  1. สายพันธุ์ต้องดี
  2. การจัดการฟาร์มต้องดี
  3. อาหารต้องดี
  4. น้ำต้องดี

จึงใช้เครื่องมือวัดออกซิเจน แอมโมเนีย pH และนำระบบอินทรีย์มาใช้ในการจัดการภายในฟาร์ม ทำให้ปัญหาเหล่านั้นหมดไป และส่งผลให้ผลผลิตดีขึ้นมาก และ

วิธีการเลี้ยงแบบเดิมที่ไม่คุ้มทุน

วิธีการเลี้ยงแบบเดิมจะเลี้ยงด้วยบ่อขนาด 1 ไร่ จำนวน 15 บ่อ ปล่อย 20,000 ตัว ต่อไร่ ใช้ระยะเวลาเลี้ยง 10 ถึง 12 เดือน ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่คุ้มทุน เพราะเป็นการเลี้ยงที่ใช้ระยะเวลายาวนาน ทำให้ต้นทุนต่อบ่อ6-9 แสนบาท ค่าอาหารถึง 80% ได้เพียงแค่ 50,000 บาท ต่อบ่อเท่านั้น อัตราการแลกเนื้ออาหาร 1 กระสอบ ได้เนื้อปลา 11 ก.

เนื่องด้วยระยะเวลาเลี้ยงที่นานกว่า 6 เดือน จะมีอัตราการแลกเนื้อที่ลดลง เหมือนกับการเสียค่าอาหารไปโดยเปล่าประโยชน์ มองได้ว่าเป็นต้นทุนแฝงที่เพิ่มสูงขึ้นมาเรื่อยๆ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.คัดไซส์ปลาช่อน
5.คัดไซส์ปลาช่อน

การเลี้ยงปลาช่อนรูปแบบใหม่ และ จำหน่ายปลาช่อน

ปัจจุบันจึงพัฒนารูปแบบการเลี้ยงเพียงแค่ 4 เดือน แล้วจับขาย ขนาด 600-700 กรัม และเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ ในช่วงระยะเวลาการเลี้ยง 4 เดือน มีอัตราการแลกเนื้อที่ดีมาก อัตราแลกเนื้ออาหาร 1 กระสอบ ได้เนื้อปลา 17 กก.ขึ้นไป และสามารถปล่อยได้มากกว่า 20,000 ตัวต่อไร่ 1 ปี เลี้ยงได้ 2 ครั้ง เหตุที่ใช้ระยะเวลาเลี้ยงลดลง คือ

1.น้ำที่จะทิ้งต้องทิ้งในคลองชลประทาน ที่ทุกคนใช้ร่วมกัน หากมีการเลี้ยงหลายเดือนน้ำจะเน่าเสีย ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ และบ่ออื่นที่เขาต้องการใช้น้ำได้

2.การตลาด เรื่องของการตลาดถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการเลี้ยง เพราะความนิยมของน้ำหนักปลาในตลาดแปรรูป หากเป็นปลาขนาดใหญ่จะไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ขนาดที่ตลาดต้องการคือ 600 ถึง 700 กรัม

3.ลูกพันธุ์ปลา เวลาต้องการลูกปลาที่จะมาปล่อยเลี้ยงต่อไม่มี ต้องรอนานถึง 3 เดือน ซึ่งไม่สามารถสั่งล่วงหน้าได้ เพราะช่วงที่เลี้ยงปลาขนาดใหญ่นั้น แพมักจะผิดนัดเสมอ และส่งผลให้บางครั้งระยะเวลา 2 ปี เลี้ยงได้เพียง 1 รอบ เท่านั้น ทำให้เสียเวลาเพิ่มไปหลายเท่าตัว

ส่งผลให้ความแตกต่างของการเลี้ยงปลาในอดีตและปัจจุบันแตกต่างกันไปบ้าง เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป จากการที่มนุษย์ใช้อย่างไม่คิด ทำให้เกิดความเสียหาย อาทิ อาหารธรรมชาติลดลง ระบบนิเวศเสื่อมโทรม

6.อาหารเม็ดสำหรับปลาช่อน
6.อาหารเม็ดสำหรับปลาช่อน
อาหารเม็ดจากเบทาโกร
อาหารเม็ดจากเบทาโกร

การเลี้ยงปลาช่อนโดยใช้ระบบอินทรีย์

หากมองถึงปัจจัยหลักที่ทำให้การเลี้ยงแตกต่างจากอดีตก็คือ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  1. เรื่องน้ำ ซึ่งสมัยก่อนจะใช้น้ำจากธรรมชาติในการเลี้ยง บางทีอาจทำให้มีปัญหาเรื่องโรค จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำบาดาลแทน
  2. จะใช้วิธีการตัดหญ้าคันบ่อแทนการใช้สารเคมี เพราะเมื่อฝนตกจะมีสารเคมีตกค้างอยู่บนผิวดิน ทำให้เกิดการชะล้างลงบ่อ ส่งผลให้ปลามีปัญหา หรือบางครั้งอาจน็อคเสียหายทั้งบ่อ
  3. ใช้จุลินทรีย์ผสมในอาหาร โดยใช้จุลินทรีย์บาซิลลัส และสมุนไพรพื้นบ้าน เช่น กระเจี๊ยบ หรือฟ้าทะลายโจร นำมาตากแดดให้แห้ง และปั่น นำไปคลุกเคล้ากับอาหาร

ปัจจุบันมีการพัฒนา“ระบบจุลินทรีย์” จะไม่ใช้เวชภัณฑ์ หรือวิตามิน ใดเลย หากปลาต้องการวิตามินซีจะใช้กระเจี๊ยบ ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ช่วยเรื่องวิตามินซีได้ดี และใช้ พด.6 ของกรมพัฒนาที่ดิน ในการบำบัดน้ำเสีย ขจัดกลิ่นเหม็น ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงต่ำ แต่กำไรสูง

7.ผลิตภัณฑ์แปรรูปปลาช่อน
7.ผลิตภัณฑ์แปรรูปปลาช่อน

การแปรรูปผลผลิตปลาช่อน

มองตลาดปลายน้ำนำหน้า แทนการขยายกำลังการผลิตที่ต้นน้ำ เป็นทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งการขยายกำลังการผลิตสามารถคำนวณจากความต้องการของตลาดผู้บริโภค ซึ่งจะเน้นไปที่การแปรรูป ตอนนี้มีมากกว่า 10 รายการ อาทิ ปลาแดดเดียว ที่เป็นที่ยอมรับอย่างมากในตลาด น้ำพริกนรก ปลาย่างรมควัน ปลาแห้ง ปลาร้า เป็นต้น

การคิดสูตรเริ่มจากการทดลองทำ และชิม ปรับเปลี่ยนสูตรไปเรื่อยๆ และดูว่ารสชาติไหนที่ติดตลาดมากที่สุด จนได้สูตรเป็นของตัวเอง ผลิตภัณฑ์จะมีขึ้นเรื่อยๆ ไม่หยุดเพียงเท่านี้ อนาคตคาดไว้ว่าจะเป็นของขึ้นห้างสำหรับทานเล่น อาจจะเป็นในเรื่องของคุ๊กกี้ หรืออาหารชนิดอื่น ที่เหมาะสมกับยุคไทยแลนด์ 4.0

8.ทีมงานปลาช่อนวิเศษฟาร์มและกรมส่งเสริมสหกรณ์
8.ทีมงานปลาช่อนวิเศษฟาร์มและกรมส่งเสริมสหกรณ์

ด้านตลาดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาช่อน

การรวมเป็นกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์นั้น ทำให้มีอำนาจการต่อรองมากขึ้น รวมถึงทางภาครัฐยังมีส่วนช่วยในการสนับสนุนให้ความรู้ด้านต่างๆ แม้กระทั่งด้านการตลาด หรือด้านการพัฒนาแปรรูป คุณขจรจึงเข้าไปขอความรู้ และขอการสนับสนุนจากสหกรณ์, ประมง, หน่วยงานราชการอื่นๆ ของจังหวัดอ่างทอง และท่าน ผอ.วินัย จั่นทับทิม จากสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด

โดยที่สหกรณ์มีส่วนส่งเสริมให้เกษตรกรทำผลิตภัณฑ์แปรรูป มีหน้าที่เป็นสื่อกลางประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ผ่านมาตรฐานต่างๆ ทุกขบวนการ เพื่อให้ผลผลิตของเกษตรกรที่ออกมานั้นมีคุณภาพ สามารถส่งขายได้ทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการก่อสร้างโรงเรือนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การขอ อย. หรือแม้กระทั่งเรื่องขอการตลาดที่มีส่วนช่วย ตั้งแต่การทำตลาด รูปแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ให้สอดคล้องกับความต้องการหลัก

ในปัจจุบันวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องมีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เท่าทันกับยุคสมัยไทยแลนด์ 4.0  เท่าทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และต้องได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากทุกภาคส่วน คุณขจรถือเป็นเกษตรกรอีกหนึ่งตัวอย่างที่มีแนวทางในการพัฒนาเพื่อต่อยอดการทำธุรกิจจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำให้ออกสู่ตลาดได้อย่างแท้จริง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หากใครสนใจผลิตภัณฑ์แปรรูป หรือรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณขจร เชื้อขำ โทร.06-2358-8818 หรือ 51/3 ม.5 ต.ห้วยคันแหวน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง