เลี้ยงปลานิล สุรพลฟาร์ม ยืนยัน กำไร 100% ใช้อาหาร โยซ่า-ฟิช ของ กรุ๊ฟเน็ตฯ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เลี้ยงปลานิล สุรพลฟาร์ม ยืนยัน กำไร 100% ใช้อาหาร โยซ่า-ฟิช ของ กรุ๊ฟเน็ตฯ

การทำเกษตรแบบผสมผสาน ที่มีทั้งการเพาะปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ หรือการประมง ผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งการทำการเกษตรในรูปแบบดังกล่าวมีข้อดีที่สำคัญ คือ ช่วยลดความเสี่ยงจากการทำธุรกิจเพียงอย่างเดียว มีผลผลิต และผลตอบแทนจากหลายช่องทาง เหมือนกับเกษตรกรท่านนี้ที่มีการทำประมงแบบผสมผสาน ด้วยเลี้ยงปลานิล ควบคู่กับการเลี้ยงกุ้งขาวและกุ้งก้ามกราม

เลี้ยงปลานิล ปลานิลตัวใหญ่ อ้วน ได้น้ำหนัก
เลี้ยงปลานิล ปลานิลตัวใหญ่ อ้วน ได้น้ำหนัก

คุณพล เจ้าของสุรพลฟาร์ม เกษตรกรคนเลี้ยงปลานิล และกุ้ง ที่มีประสบการณ์การเลี้ยงมานานกว่า 25 ปี เริ่มต้นเลี้ยงปลานิล ครั้งแรกที่ จ.สมุทรปราการ เพียง 3 บ่อ แต่ด้วยราคาปลาที่ดี บวกกับการเลี้ยงที่ดี มีแต่กำไร ทำให้คุณพลเริ่มขยับขยายพื้นที่เลี้ยงมากขึ้น

1.คุณพล เจ้าของสุรพลฟาร์ม เกษตรกรคนเลี้ยงปลานิลและกุ้ง
1.คุณพล เจ้าของสุรพลฟาร์ม เกษตรกรคน เลี้ยงปลานิล และกุ้ง

เลี้ยงปลานิล และกุ้ง

และในปัจจุบันมาเปิดบ่อเลี้ยงที่ จ.ราชบุรี เป็นหลัก โดยให้เหตุผลว่า “จ.สมุทรปราการ พื้นที่เลี้ยงมีน้อย ขยับขยายบ่อเพิ่มไม่ได้ เพราะเราเลี้ยงบ่อใหญ่ 10 ไร่ขึ้นไป บวกกับสภาพน้ำ สภาพอากาศ ที่แย่ลง การเลี้ยงก็เลี้ยงยากขึ้น เราก็เริ่มมองหาที่เลี้ยงใหม่ ก็มาได้ที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ที่มีสภาพแวดล้อมดี มีน้ำที่ดีตลอดทั้งปี เราก็เริ่มเลี้ยง และขยายฟาร์มที่นี่ จาก 1 – 2 บ่อ ก็ขยายมากขึ้น เป็น 10 กว่าบ่อ ในปัจจุบัน ที่มีทั้งบ่อกุ้ง และบ่อปลา”

2.บ่อเลี้ยงปลานิล
2.บ่อ เลี้ยงปลานิล

สภาพพื้นที่ เลี้ยงปลานิล และกุ้ง

ปัจจุบันสุรพลฟาร์มมีพื้นที่เลี้ยงปลานิล กุ้งขาววานาไม และก้ามกราม 200 ไร่ แบ่งเป็นบ่อปลา 7 บ่อ และบ่อกุ้ง 8 บ่อ ในส่วนของบ่อกุ้งมีการเลี้ยงผสม ทั้งกุ้งขาวและกุ้งก้ามกราม เพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนในบ่อ สำหรับปลานิลจะเน้นเลี้ยงปลานิล หมันสายพันธุ์จาก “มานิตย์ฟาร์ม”โดยเลือกลงลูกปลาที่มีขนาดใบมะขามมาอนุบาลในบ่อดินประมาณ 3 – 4 เดือน อัตรา  6 – หมื่นตัว/บ่อ

3.อาหารเม็ดสำหรับปลานิล
3.อาหารเม็ดสำหรับปลานิล

การอนุบาลลูกปลานิล

คุณพลได้เผยเทคนิคการอนุบาลให้ลูกปลาติดดี โดยเน้นการเลือกใช้อาหารปลาที่มีคุณภาพ อย่างแบรนด์ “โยซ่า-ฟิช” จากบริษัท กรุ๊ฟเน็ต เม็ทดิชิน จำกัด ที่มีโปรตีนสูงถึง 30 ควบคู่กับการให้รำข้าว สลับมื้อกัน คุณพลยืนยันว่าอาหารปลา “โยซ่า-ฟิช” จะช่วยให้ลูกปลาสร้างเนื้อเร็ว แข็งแรง บวกกับสายพันธุ์ปลาที่ถูกพัฒนาให้โตเร็ว ทำให้ลูกปลาที่อนุบาลใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงค่อนข้างสั้น เพียง 3 – 4 เดือน ก็จะได้ไซซ์ปลาขนาด 6 – 10 ตัว/กก.

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ที่สำคัญการอนุบาลในระบบที่ไม่หนาแน่นเกินไปจะช่วยให้ลูกปลาไม่แตกไซซ์ ตัวเสมอกัน “ผมโชคดีที่บ่อเลี้ยงอยู่ตรงนี้ ตรงที่มีพร้อมทั้งแหล่งน้ำที่สะอาด ไหลมาจากเขื่อนกาญจนบุรี มีใช้ตลอดทั้งปี น้ำเราไม่เคยขาด เรื่องของดินก็เป็นดินที่ดี เหมาะสมกับการเลี้ยงปลา/กุ้ง”

4.ปลานิลโตไว แข็งแรง
4.ปลานิลโตไว แข็งแรง

การให้อาหารลูกปลานิล

เมื่อลูกปลาที่อนุบาลได้ขนาดตามต้องการแล้ว คุณพลจะให้คนงานมาลากปลาแล้วเอาไปขุนในบ่อเลี้ยง บ่อใหญ่ขนาด 10 ไร่ขึ้นไป เลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 4 – 5 เดือน ก็จะได้ปลาขนาด 1 – 1.2 กก. ตามที่ตลาดต้องการ ซึ่งเทคนิคการขุนที่ทำให้ปลามีขนาดสม่ำเสมอ ตัวไม่แตกไซส์ คือ เน้นปล่อยปลาบางๆ เฉลี่ยไร่ละ 1,000 ตัว ให้อาหารตามโปรแกรม โดยเลือกใช้อาหารแบรนด์ “โยซ่า-ฟิช” เช่นเดิม และคอยดูการกินอาหารของปลา ถ้ากินหมดไวก็เพิ่มอาหารให้ แต่จะระวังไม่ให้เยอะเกินไปจนอาหารเหลือ

5.ปลานิลไซส์ใหญ่พร้อมจำหน่าย
5.ปลานิลไซส์ใหญ่พร้อมจำหน่าย

การบริหารจัดการบ่อกุ้งและปลา

ส่วนเรื่องโรคต่างๆ คุณพลบอกว่าไม่มีปัญหา เพราะมีการจัดการที่ดี เลี้ยงแบบไม่หนาแน่น น้ำมีคุณภาพดี และเปิดเครื่องตีน้ำให้ด้วย รวมทั้งมีการเลี้ยงกุ้งขาวผสม เพื่อเพิ่มผลพลอยได้ โดยจะปล่อยกุ้งขาวประมาณ 1,000 ตัว/ไร่ พร้อมกับปลา แล้วเลี้ยงแบบธรรมชาติ จะดักออกทุก 2 เดือน แล้วก็ปล่อยใส่ใหม่ ซึ่งการเลี้ยงกุ้งรวมกับปลาไม่ได้ส่งผลกระทบกับปลาที่เลี้ยง และในเรื่องตลาดจะมีแพมารับที่หน้าบ่อ ราคาในช่วงนี้อยู่ที่ประมาณ 40 กว่าบาท

เพราะคุณภาพน้ำที่ดี และการจัดการที่ดี จึงทำให้ที่ฟาร์มไม่จำเป็นต้องให้แร่ธาตุหรืออาหารเสริม ให้แค่อาหารที่วางไว้ตามโปรแกรมเท่านั้น เมื่อถามว่าหัวใจสำคัญของเลี้ยงปลานิล คืออะไร คุณพลได้ให้เหตุผลว่า “การเลี้ยงแบบพอดี ปล่อยปลาไม่หนาแน่นจนเกินไป ทำให้มีการจัดการง่าย ไม่มีปัญหาในการเลี้ยง ไม่เจอปลาน็อคระหว่างจับ” เมื่อก่อนคุณพลเคยเลี้ยงปลาแบบแน่นเกินไป 30 ไร่ ลงปลาประมาณ 2 แสนตัว ทำให้เกิดปัญหาปลาน็อค ตายยกบ่อ

6.อาหารปลา โยซ่า-ฟิช
6.อาหารปลา โยซ่า-ฟิช

ข้อดีของอาหาร “โยซ่า-ฟิช”

คุณพลได้เผยว่าอาหารปลาแบรนด์ “โยซ่า-ฟิช” จาก บริษัท กรุ๊ฟเน็ต เม็ทดิชิน จำกัด เมื่อให้ปลากินแล้ว ปลาโตดี มีสุขภาพแข็งแรง เกล็ดแข็ง เดือนหนึ่งโตได้ประมาณ 2 ขีด ทางฟาร์มจะให้อาหาร 3 เวลา เช้า กลางวัน และเย็น เมื่อให้แล้วจะสังเกตเลยว่าปลาโตเร็วขึ้น และมีสุขภาพแข็งแรง และพนักงานบริการที่ดีมาดูแลแนะนำอย่างสม่ำเสมอ ด้วยเหตุผลทั้งหมดจึงทำให้สุรพลฟาร์มเลือกใช้อาหาร “โยซ่า-ฟิช” มานานหลายปี และยังแนะนำให้ญาติพี่น้องหันมาใช้ เพราะตนใช้แล้วปลาโตดี แข็งแรง เห็นผลชัดเจน

7.กุ้งขาวไซส์สม่ำเสมอ
7.กุ้งขาวไซส์สม่ำเสมอ

ปัญหาและอุปสรรคการเลี้ยงกุ้งขาวและกุ้งก้ามกราม

ส่วนการเลี้ยงกุ้งนั้น คุณพลจะเลี้ยงแบบผสมทั้งกุ้งขาวและกุ้งก้ามกราม โดยให้เหตุผลว่า“ถ้าเริ่มเลี้ยงแบบบางๆ มันก็สามารถอยู่ด้วยกันได้ เราจะไม่เลี้ยงหนาแน่น โดยกุ้งขาวจะลงเป็นกุ้งพี กุ้งก้ามกรามจะลงเป็นกุ้งชำ โดยจะชำกุ้งเอง ใช้เวลาอนุบาลประมาณ 2 – 3 เดือน จะได้ไซส์ 200ตัว /กิโลกรัม”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ปัญหาเรื่องขี้ขาวในกุ้ง ทางฟาร์มนานๆ จะเจอ เพราะมีการดูแลจัดการที่ดี แต่หากเจอ วิธีแก้ไข คือ วิดออก หรือปล่อยไปเลย เพราะมีกุ้งก้ามกรามอยู่ การเลี้ยงแบบผสมผสานช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจได้ และประสบการณ์การเลี้ยงปลาและกุ้งมากว่า 25 ปี ทำให้ไม่มีปัญหาในการเลี้ยงกุ้ง และการที่เลี้ยงปลาควบคู่กับการเลี้ยงกุ้งก็ไม่มีอะไรยากไปกว่ากัน

กุ้งขาววานาไมปล่อย 1 หมื่นตัว/ไร่ ส่วนก้ามกราม 100 กิโลกรัม/10 ไร่ เลี้ยงในบ่อดินทั้งหมด ซึ่งการเลี้ยงกุ้งในบ่อดินนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะมักจะเจอปัญหาของเสีย เรื่องแอมโมเนีย และดินเน่า แต่ทางฟาร์มไม่มีปัญหา เพราะมีการปล่อยแบบบาง ใช้ระยะเวลาขุนประมาณ 4 เดือน เท่านั้น

8.อาหารสำหรับกุ้ง
8.อาหารสำหรับกุ้ง

ฝากถึงเกษตรกรผู้ เลี้ยงปลานิล และกุ้ง

สุดท้ายคุณพลได้ฝากทิ้งท้ายถึงเกษตรกรคนเลี้ยงปลาและกุ้งว่า “การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานเป็นอีกทางเลือกที่ดี เพราะนอกจากจะลดความเสี่ยงจากการเลี้ยงอย่างเดียวแล้ว ยังทำให้ได้ผลผลิตหลายช่องทาง และการเลี้ยงที่ดีควรปล่อยแบบบาง จะช่วยให้การจัดการง่าย ไม่เจอปัญหาในระหว่างเลี้ยง”

สนใจอาหารกุ้ง-ปลา ติดต่อได้ที่ บริษัท กรุ๊ฟเน็ต เม็ทดิชิน จำกัด 99/13 หมู่ 1 ซอยม่วงสกุล 2 ต.นาดี อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000 โทร : 034-832-064, 034-466-179, www.groupnetmedicin.com

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 375