เลี้ยง ปลาสวาย ราชาโอเมก้า 3 ธุรกิจดาวรุ่ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปลาน้ำจืดหลายชนิดในไทย ยังมีการเพาะเลี้ยง โดยเฉพาะ “แม่น้ำ” แต่ละสายเป็นหลักอย่าง “แม่น้ำน่าน” มีการเลี้ยงปลาในกระชัง หลายคนนำน้ำไปเพาะพันธุ์ปลากินพืชหลายชนิด เช่น นครสวรรค์พันธุ์ปลา ที่ทำกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อ และพัฒนาโดยรุ่นลูก นาม “จิระศักดิ์ เดชปาน หรือ “คุณเปา” ที่ขยายบทบาทไปทั่วประเทศ ได้เปิดเผยธุรกิจเพาะเลี้ยง ปลาสวาย ปลานิล และ ปลาน้ำจืดอื่นๆ ว่า 4 ปี ที่เข้ามาดูแลฟาร์ม ปีนี้ประสบปัญหาด้านอากาศ และคุณภาพน้ำที่เปลี่ยน “สภาพน้ำไม่เหมือนเดิม น้ำแดง และตกตะกอน ต้องนำพักให้ตกตะกอนแล้วสูบขึ้นมาใช้”

1.บ่อเลี้ยงปลาสวาย
1.บ่อเลี้ยงปลาสวาย

การเพาะเลี้ยงปลาสวาย

6 พฤษภาคม 2565 ได้เปิดเผยธุรกิจเพาะเลี้ยง ปลาสวาย ปลานิล และ ปลาน้ำจืดอื่นๆ ว่า 4 ปี ที่เข้ามาดูแลฟาร์ม ปีนี้ประสบปัญหาด้านอากาศ และคุณภาพน้ำที่เปลี่ยน “สภาพน้ำไม่เหมือนเดิม น้ำแดง และตกตะกอน ต้องนำพักให้ตกตะกอนแล้วสูบขึ้นมาใช้”

โดยใช้บ่อพักน้ำตั้งแต่ 2 งาน ถึง 3 ไร่ ทำให้ต้องเสียที่ดิน และต้องใช้พลังงานในการสูบ

เพาะจนได้ ไข่ปลาสวาย 5 ล้านตัว แต่ตายหมด เพราะน้ำไม่ดี  มีฟองเกิดขึ้น มูลค่าความเสียหาย 125,000 บาท เป็นปีแรกที่ประสบปัญหา และไข่ของปลาสวายก็มีน้อย อันเป็นผลมาจากแม่ปลาอยู่ในน้ำที่ไม่สมบูรณ์

แม้แต่ ปลาทับทิม และ ปลานิล ที่ชำในบ่อตัวเล็ก 10,000 ตัว ก็ลอยตาย ก็เป็นผลมาจากน้ำเช่นกัน

ถึงรุ่นลูก อย่าง คุณเปา ไม่เพียงแต่ผลิตลูกปลาอย่างเดียว แต่ยังเลี้ยงปลาเนื้อด้วย โดยเฉพาะปลาสวาย เพราะมีตลาดรองรับแน่นอน เมื่อนำลูกปลาไปส่งให้ลูกค้าเลี้ยง พอโตได้ไซซ์ก็รับซื้อไปส่งตลาด โดยใช้คนงานที่มีประสบการณ์ 5 คน ช่วยทุกอย่างในฟาร์ม ใช้รถ 3 คัน ขนส่ง หากสถานที่ไกลๆ ลูกค้าบางรายออกคนละครึ่ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.ลูกปลาสวาย
2.ลูกปลาสวาย

การเพาะพันธุ์ปลาสวาย

ลูกค้าจองลูกปลาสวาย 1 ล้านตัว แต่เพาะไม่ได้ ก็ต้องให้ลูกค้ารอ จะไม่เอาลูกปลาของฟาร์มอื่นไปให้ เนื่องจากเลี้ยง 6 เดือน ก็ยังไม่โต เพราะพ่อแม่พันธุ์ไม่มีคุณภาพ แต่ นครสวรรค์พันธุ์ปลา 30 กว่าปี คัดสรรพ่อแม่พันธุ์ในประเทศอย่างพิถีพิถัน เพื่อผลิตลูกปลาให้ได้คุณภาพ เลี้ยงแล้วได้ไซซ์ในเวลาที่กำหนด

แม่พันธุ์สวายจากธรรมชาติจะให้ลูกที่โตไวกว่าลูกปลาที่เอาจากบ่อมาเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งวันนี้ยังมีอยู่หลายฟาร์ม

นครสวรรค์พันธุ์ปลา วันนี้มีพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 3,000 กิโล มาเลี้ยงขายปี 2568 และจะหาพ่อแม่พันธุ์จากธรรมชาติมาเพิ่ม เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจ

ถามว่าทำไมไม่หาพ่อแม่ปลาธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน คุณเปาให้ความเห็นว่า “การขนส่งลำบาก มันไกล ปลาเพลีย บอบช้ำตาย เราจึงต้องใช้ปลาจากเขื่อนในภาคกลางของไทย”

3.ตัวใหญ่ เนื้อแน่น ได้น้ำหนัก
3.ตัวใหญ่ เนื้อแน่น ได้น้ำหนัก

รายได้จากการเพาะเลี้ยงปลาสวาย

เรื่องการเพาะเลี้ยงปลาสวาย โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาเนื้อ ต้องใช้เวลาเลี้ยง 2 ปี จึงจะได้ไซซ์ 3 กก. ราคาตันละ 30,000 บาท เมื่อ 2 ปีที่แล้ว คุณเปาเคยเลี้ยงถึง 10 กว่าตัน ได้เงินก้อนใหญ่ แต่ต้นทุนการเลี้ยงต่ำ เพราะแค่เก็บผักจากตลาดมาเป็นอาหารก็พอแล้ว

เนื่องจากปลาสวาย นอกจากทำเมนูสดแล้ว ยังแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น ปลาย่าง หรือ ใส่เกลือ ตากแดด เป็น  ปลาแดดเดียว ก็เก็บไว้ได้นาน ซึ่งคนบริโภคกันมากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วน ปลานิล และ ทับทิม คุณเปายืนยันว่า ยังไปได้ แต่ไม่ได้เลี้ยงปลาเนื้อ ขายลูกปลา และ พ่อแม่พันธุ์ แต่เวลานี้ต้นทุนต่างๆ เช่น ฮอร์โมนแปลงเพศ และ อาหาร ก็ขึ้นราคา แต่ยังพออยู่ได้

ที่หนักใจอย่างเดียว คือ น้ำเลี้ยง ซึ่งกรมประมงพยายามทำเขื่อนกั้นน้ำ แต่ยังไม่เสร็จ ทำให้ผู้เพาะเลี้ยงต้องช่วยตัวเองต่อไป เรื่องพันธุ์ปลาน้ำจืด ปรึกษา คุณเปาได้ โทร.093-287-8066

บทสรุป

ปลาสวาย เป็นปลาน้ำจืดที่ รศ.ดร.ครรชิต จุดประสงค์ ม.มหิดล ยืนยันว่า มีกรดไขมันโอเมก้า 3 0.5 กรัม/ปลา 100 กรัม น้อยกว่าปลาจาระเม็ดขาว แต่ปลาสวายยังมี โอเมก้า 6 และ โปรตีน ซึ่งเหมาะกับการบริโภคสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ขณะที่ กรมอนามัย ยืนยันว่า ปลาสวายมีโอเมก้า 3 มากกว่าปลาน้ำจืดอื่นๆ ซึ่งเรื่องนี้ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ได้ทำวิจัย โดยผลิตพ่อแม่สวายเผือก แล้วนำเซลล์ ปลาบึก มาปลูกถ่าย ปรากฎว่าลูกที่ออกมาเป็นลูกปลาบึกเกือบ 100% ทำให้ปลาสวายมีคุณค่ามากขึ้น

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 393