การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ ควบคู่ ฟาร์มสเตย์ ทำรายได้ 2 ทาง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อเมืองไทยก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจ 4.0 ที่ผู้บริโภคเลือกใส่ใจด้านสุขภาพ และรู้จักเลือกใช้สอยสินค้ามากขึ้น ทำให้ผู้คนมากมายเลือกบริโภคแบบออแกนิค เน้นรูปแบบอินทรีย์ ความสดใหม่ สะอาด และมีคุณภาพ ตามมาตรฐานสากล “ไร่รัศมีฟาร์มสเตย์” อาจจะตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุค 4.0 เช่นนี้ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ

โดยมีหัวเรือใหญ่ อย่าง คุณรัศมี ทับทิมทอง ผู้ซึ่งเคยเลี้ยงไก่ไข่มาแต่กลับเปลี่ยนจากไก่ไข่เป็นการเลี้ยงไก่เนื้อแทน พร้อมทั้งปลูกพืชแบบผสมผสานร่วมกับการทำฟาร์มสเตย์ เช็คอิน ณ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี

1.คุณรัศมี-ทับทิมทอง-เจ้าของพรหมรัศมีฟาร์มและฟาร์มสเตย์
1.คุณรัศมี-ทับทิมทอง-เจ้าของพรหมรัศมีฟาร์มและฟาร์มสเตย์

การเลี้ยงไก่เนื้อ

แต่ก่อนคุณรัศมีมีอาชีพเดิม คือ เลี้ยงไก่ไข่ในระบบปิด ได้เปิดใจถึงสาเหตุที่เปลี่ยนจากการเลี้ยงไก่ไข่เป็นไก่เนื้ออย่างตรงไปตรงมาว่า “ขาดทุน” ซึ่งการเลี้ยงไก่ไข่ในตอนนี้ แม้ราคาขายไข่ไก่ถึงแม้จะขยับขึ้นแล้ว แต่ผู้เลี้ยงทุกคนก็ยังประสบปัญหาในเรื่องราคาขายที่ต่ำเกินไปอยู่ดี คุณรัศมียอมรับว่าตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เลี้ยงไก่ไข่ขาดทุนมาตลอดจนต้องหยุดเลี้ยง และได้รู้จักคนเลี้ยงที่เลี้ยงไก่เนื้ออยู่ก่อนคนหนึ่ง จึงคิดได้ว่า

“ในเมื่อเรามีโรงเรือนอยู่แล้ว และการเลี้ยงไก่ก็คืองานถนัดของเราอยู่แล้ว พอได้ลองศึกษาเรื่องไก่เนื้อก็ทำให้ได้รู้ว่าได้ค่าตอบแทนดีกว่า ใช้คนเลี้ยงน้อยกว่า และการจัดการที่ง่ายกว่าการเลี้ยงไก่ไข่มาก จึงตัดสินใจเปลี่ยนมาเลี้ยงไก่เนื้อแทน” คุณรัศมีให้ความเห็น

เริ่มเลี้ยงไก่เนื้อได้ประมาณ 1 ปี โดยเลี้ยงแบบประกันราคากับทาง บริษัท บิ๊กฟู้ดส์ จำกัด เพราะการรับซื้อไก่ของทางบิ๊กฟู้ดส์ตัดราคาขายน้อยกว่าทางไทยฟู้ดส์ คุณรัศมีเปิดใจว่าการเลี้ยงไก่ให้ได้ราคานั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับอาหาร หรืออากาศ แต่อยู่ที่ความใส่ใจมากกว่า เพราะตั้งแต่เลี้ยงมาลูกน้องมีความใส่ใจดีมาก เมื่อจับขายก็ได้กำไร 15-16 บาท/ตัว และทางบิ๊กฟู้ดส์ส่งทีมสัตวแพทย์เข้ามาดู ถึงแม้จะล่าช้าไปบ้างแต่ก็ยังถือว่าประทับใจอยู่

ในด้านองค์ความรู้ในเรื่องการเลี้ยงไก่เนื้อ ต้องขอบคุณทาง เฉลียงฟาร์ม และ วินัยฟาร์ม เป็นอาสาในการสอนให้ คุณรัศมียังเปิดเผยอีกว่า “ในตอนแรกที่เริ่มเลี้ยงรู้สึกกังวลอยู่บ้าง แต่ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับความใส่ใจของเราเอง คุณต้องกล้าที่จะเสี่ยงกับมันก่อน”  เรื่องที่น่ากังวลใจในการเลี้ยงไก่เนื้ออีกเรื่อง คือ ไฟฟ้า เพราะพื้นที่ฟาร์มนั้นมีเหตุไฟฟ้าดับบ่อยครั้ง จึงต้องมีเครื่องปั่นไฟขนาด 200 โวลต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งาน 4-5 โรงเรือน ตัวเครื่องมือสองมาจากทางช่างใหญ่เพชรบุรี ในราคา 250,000 บาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ ในโรงเรือนไก่เนื้อ
2.การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ ในโรงเรือนไก่เนื้อ
เครื่องปั่นไฟฟ้า
เครื่องปั่นไฟฟ้า

การบริหาร การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ

ในเรื่องของการลงทุนเพิ่มเติมจากการเลี้ยงไก่ไข่เป็นไก่เนื้อ  คือ  อุปกรณ์ภายในโรงเรือนทั้งหมดเปลี่ยนใหม่  ใช้เงินลงทุนกว่า 2 ล้านบาท คุณรัศมีเลือกใช้ของ บริษัท เดลต้า เวต จำกัด เพราะรู้จักกับผู้จัดการของบริษัท ถึงแม้ว่าราคาจะสูงกว่าบริษัทอื่น แต่ก็มั่นใจในเรื่องคุณภาพสินค้าที่ดีจริง ทนทาน มีการรับประกันตลอดอายุการใช้ ปัจจุบันรัศมีฟาร์มมีโรงเรือนกว่า 3 โรงเรือน และทุกโรงเรือนใช้อุปกรณ์จากบริษัทเดลต้าทั้งหมด ดังนี้

1.โรงเรือนขนาด 100×20.5 เมตร เลี้ยงไก่ได้ 23,000 ตัว

2.โรงเรือนขนาด 84×24 เมตร เลี้ยงไก่ได้ 23,000 ตัว

3.โรงเรือนขนาด 115×32 เมตร เลี้ยงไก่ได้ 40,000 ตัว

ทั้งนี้โรงเรือนอีก 2 หลัง ที่เพิ่งสร้างใหม่ มีมูลค่ารวมกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งคุณรัศมีได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) อัตราดอกเบี้ย 6 บาท/ปี เงินต้นที่กู้มาประมาณ 8 ล้านบาท ตั้งใจว่าจะกู้เงินก้อนนี้มาเพื่อหมุนเวียน และจะใช้คืนภายในระยะเวลา 5 ปี

ในเรื่องการจัดการฟาร์มถึงแม้จะมีประสบการณ์ในการเลี้ยงเพียงแค่ 5 รุ่น แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับรัศมีฟาร์ม เพราะมีเทคนิคการเลี้ยงง่ายๆ เพียงแค่ เอาใจใส่เท่านั้น ทุกเช้าและก่อนเข้านอนลูกน้องทุกคนจะเดินดูความเรียบร้อยภายในและภายนอกโรงเรือนก่อนว่าอุณหภูมิเป็นอย่างไร อากาศเย็นไปไหม อุปกรณ์ส่วนไหนชำรุดเสียหาย จะรีบแจ้งผู้จัดการทันที

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.เตรียมลงลูกไก่
3.เตรียมลงลูกไก่ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ

การบำรุงดูแลลูกไก่เนื้อ

คุณรัศมีเปิดเผยอีกว่าก่อนทำการรับลูกไก่เข้ามาต้องมีการเตรียมโรงเรือนก่อนโดยปูวัสดุรองพื้น(แกลบ)ใช้ประมาณ 11 ตัน/โรงเรือน ราคาประมาณ 2,400-2,600 บาท/ตัน ลูกไก่ที่รับมาอายุประมาณ 1 วัน โดยทางบิ๊กฟู้ดส์จะเป็นผู้จัดหามาให้ มีการกกไฟที่อุณหภูมิ 32-34ºC เป็นเวลา 7-9 วัน (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ) ความเข้มแสงและการกระจายของแสงอย่างสม่ำเสมอ ช่วงการกกลูกไก่มีความสำคัญ เพราะจะช่วยกระตุ้นการกินอาหาร พัฒนาระบบทางเดินอาหาร และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลูกไก่เองด้วย

ซึ่งลูกไก่มีอัตราการสูญเสียประมาณ 1-2 ตัว/โรงเรือน นับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก เนื่องจากลูกไก่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี ไม่อมโรค หลังจากการกกไฟก็จะทำโปรแกรมวัคซีนและวิตามินเสริมตามที่สัตวแพทย์กำหนดทุกประการ

4.ไซโลอาหารไก่เนื้อ
4.ไซโลอาหารไก่เนื้อ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ 
ลูกไก่โตเร็ว-ไม่อมโรค
ลูกไก่โตเร็ว-ไม่อมโรค

การให้อาหารลูกไก่เนื้อ

ในเรื่องการให้อาหารใช้ของ บริษัท อาร์ทีอะกริเทค และบริษัท ไทยฟู้ดส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการจัดสรรของทางบิ๊กฟู้ดส์ว่ารอบนี้ใช้ของบริษัทใด  ส่วนตัวของคุณรัศมีเองใช้ของไทยฟู้ดส์มา ก็รู้สึกว่าน้ำหนักตัวดี โตเร็ว  ในส่วนของอาร์ทีอะกริเทคเพิ่งลองใช้รอบนี้ หลังจากเลี้ยงไปได้ 23 วัน ผลของการสุ่มชั่งน้ำหนักตัวผู้เฉลี่ย 1.2 กก. ตัวเมีย 1 กก. การให้อาหารแบ่งตามช่วงอายุไก่ดังนี้

  • เบอร์ 1 อายุ 19-21 วัน
  • เบอร์ 2 อายุ 22-30 วัน และ
  • เบอร์ 3 อายุมากกว่า 30 วัน

โปรแกรมแสง

ในเรื่องโปรแกรมแสงเป็นการกำหนดช่วงมืด-สว่างในระหว่างการเลี้ยง ซึ่งแต่ละฤดูกาลจะมีช่วงกลางวัน-กลางคืนที่ยาวนานไม่เท่ากัน จุดนี้ทำให้ต้องมีการตรวจสอบอุณหภูมิทั้งภายในและภายนอกโรงเรือนอย่างสม่ำเสมอ การเปิด-ปิดไฟก็เป็นไปตามโปรแกรมที่วางไว้ มีการปรับเปลี่ยนบ้างขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวันด้วย

อย่างไรก็ดีหากผู้เลี้ยงสามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ ความเร็วลม ภายในโรงเรือนให้เป็นไปตามที่กำหนดได้ ไก่ก็ย่อมมีการเจริญเติบโตเร็ว และมีสุขภาพที่ดีแน่นอน ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความใส่ใจของผู้เลี้ยงเป็นสำคัญ

5.แข็งแรงสมบูรณ์-ได้น้ำหนัก
5.แข็งแรงสมบูรณ์-ได้น้ำหนัก

การจับไก่เนื้อ

ในเรื่องการจับไก่นั้น ทางคุณรัศมีเลี้ยงไก่เป็นเวลา 38-41 วัน ในอดีตจับไก่ที่ 38 วัน ปัจจุบันขยายเวลาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 3 วัน ซึ่งทางฟาร์มก็ยืนยันว่าไม่มีผลต่ออัตราการแลกเนื้อ (FCR) แต่จะมีปัญหาเรื่องขาแทน เพราะไก่เนื้อที่เลี้ยงเป็นพันธุ์อาร์เบอร์ ซึ่งมีเนื้ออกที่ใหญ่ แต่ขาเล็ก ส่งผลให้ไก่ล้มได้ง่าย เมื่อล้มแล้วช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สุดท้ายไก่ก็จะตาย น้ำหนักล่าสุดที่จับไป คือ 2.3-2.5 กก./ตัว (ขึ้นอยู่กับวันที่จับไก่) ค่าไฟฟ้าต่อรอบการเลี้ยงช่วงที่มีไก่ประมาณ 30,000-40,000 บาท หากเป็นช่วงพักเล้าจะเหลือเพียงแค่ประมาณ 10,000 บาท เท่านั้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.บรรยากาศที่โฮมสเตย์
6.บรรยากาศที่โฮมสเตย์

การทำเกษตรผสมผสานควบคู่การทำฟาร์มสเตย์

นอกจากประกอบธุรกิจไก่เนื้อแล้วคุณรัศมียังประกอบธุรกิจฟาร์มสเตย์เพิ่มเติมด้วย มีเนื้อที่กว่า 180 ไร่ เป็นพื้นที่ประเภทสิทธิ์การทำกินของเกษตรกร (สกป.) ซึ่งทำการซื้อขายกันไม่ได้ ภายในพื้นที่มีการทำเกษตรผสมผสานร่วมกับการทำฟาร์มสเตย์ โดยแรกเริ่มคุณรัศมีมีแนวคิดเพียงแค่สร้างไว้เพื่อพักผ่อนสำหรับอนาคตวางมือจากการเลี้ยงไก่เท่านั้น แต่เมื่อทำไปแล้วมีคนสนใจเข้ามาดูมากขึ้น จนทางเกษตรจังหวัดเข้ามาส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ไร่รัศมีฟาร์มสเตย์ให้เป็นพื้นที่ตัวอย่างในเชิงอนุรักษ์

7.เงาะสดๆ-จากสวน
7.เงาะสดๆ-จากสวน
ทุเรียนผลผลิตลูกแรกของไร่รัศมี
ทุเรียนผลผลิตลูกแรกของไร่รัศมี
ชะอมปลอดสารจากไร่รัศมีฟาร์ม
ชะอมปลอดสารจากไร่รัศมีฟาร์ม

ข้อดีของการปลูกพืชแบบผสมผสาน

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ทางเกษตรจังหวัดเข้ามาส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้มีการจัดกิจกรรมเชิงเกษตรโดยเปิดให้เกษตรกรมาเปิดบูธขายสินค้าต่างๆ  อาทิ กาแฟ มะม่วง เงาะ และสับปะรด เป็นต้น  ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและชาวบ้านในพื้นที่อีกทางหนึ่งด้วย

คุณรัศมีทำการเกษตรผสมผสาน โดยมีการปลูกเงาะ ทุเรียน ฝรั่ง ลองกอง มะไฟ มะละกอ เสาวรส รวมทั้งพืชผักสวนครัวอื่น เช่น พริก ชะอม โหระพา มะเขือต่างๆ สะตอ เป็นต้น “ข้อดีของการปลูกพืชแบบผสมผสาน คือ  เราไม่ได้ปลูกไม้ใหญ่ แต่ปลูกพืชรายวัน ซึ่งการดูแลจัดการง่าย ให้ผลผลิตได้เร็ว ดูแลจัดการง่ายขึ้น เพราะต้นไม้ทุกต้นต้องการเหมือนกัน คือ น้ำ และปุ๋ย”

8.คุณรมญา-ทับทิมทอง-ผู้จัดการพรหมรัศมีฟาร์ม
8.คุณรมญา-ทับทิมทอง-ผู้จัดการพรหมรัศมีฟาร์ม
น้ำหมักหัวปลา
น้ำหมักหัวปลา

วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ

นอกจากการทำเกษตรผสมผสานแล้วยังมี การทำน้ำหมักชีวภาพ ด้วย ซึ่งคุณรัศมีมีน้ำหมักที่หมักขึ้นมาเองคือ น้ำหมักสูตรหัวปลาทะเล ซึ่งเป็นสูตรที่คุณรัศมีทำขึ้นมาเอง ส่วนประกอบหลักมาจากหัวปลา/ก้างปลาทะเล มูลค้างคาว EM สับปะรด มะม่วง และน้ำ ใช้เวลาหมักนานกว่า 5 เดือน

ซึ่งใช้แล้วใบจะสวยงาม และผลผลิตที่ได้จะมีรสชาติดีเป็นพิเศษ และยังมีน้ำหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงของ คุณรมญา ทับทิมทอง (คุณจุ๋ม) ซึ่งช่วยลดความเป็นกรดในดิน ทำให้รากแข็งแรง และสามารถหาอาหารได้ไกลขึ้น ดังนั้นภายในไร่ของคุณรัศมีจะเป็นการปลูกพืชแบบออแกนิค ปราศจากการใช้สารเคมี 100%

9.บรรยากาศรอบๆ-โฮมสเตย์
9.บรรยากาศรอบๆ-โฮมสเตย์

การบริหารจัดการโฮมสเตย์

ในส่วนของโฮมสเตย์มีทั้งหมด 9 ห้อง แบ่งเป็น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • ห้องแถว 3 ห้อง (900 บาท/คืน)
  • บ้านเดี่ยว 1 หลัง (1,200 บาท/คืน)
  • บ้านหลังใหญ่ 1 หลัง 4 ห้องนอน (3,000 บาท/หลัง/คืน) และ
  • มีลานกว้างสำหรับกางเต็นท์ (นำเต็นท์มาเอง 100 บาท/คน และเช่าเต็นท์ด้วย 200 บาท/คน)

เรื่องการบริการ คือ มีอาหารเช้า (กาแฟ และข้าวต้ม) อาหารเย็นจะเป็นวัตถุดิบที่ได้จากในไร่ ซึ่งต้องมีสั่งไว้ล่วงหน้า “เราไม่ได้ตั้งใจทำให้เป็นธุรกิจ แต่เน้นให้เห็นถึงวิถีชีวิตในแบบราชบุรี เป็นศูนย์เรียนรู้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา และให้ผู้ที่เข้าพักรู้สึกว่าที่จังหวัดราชบุรีมีสถานที่สวยงามเป็นธรรมชาติแบบนี้อยู่ ผู้คนอยู่กันแบบนี้ไม่ได้หวังผลกำไรมากมาย แต่อยู่แบบมีความสุขมากกว่า ได้มากินอาหารปลอดสารพิษ ได้รับอากาศดีๆ ที่นี่มากกว่า มาเถอะค่ะที่นี่มีทุกอย่างจริงๆ” คุณรัศมีกล่าวด้วยรอยยิ้มแห่งความสุข

10.ทีมเวิร์คพรมรัศมีฟาร์มไก่เนื้อ
10.ทีมเวิร์คพรมรัศมี การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ

แนวโน้มในอนาคต

ในอนาคตก็มีแนวคิดจะทำในเรื่องโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ซึ่งหากทำได้จะทำให้ประหยัดพลังงานได้มาก แต่เนื่องจากต้นทุนสูง ทำให้ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมมากกว่านี้ก่อน แต่นั่นก็เป็นเรื่องของอนาคตที่อาจจะได้เห็นการทำธุรกิจด้านเกษตรเชิงท่องเที่ยวแบบครบวงจรในพื้นที่แห่งนี้ก็เป็นได้

“ด้วยสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ การทำธุรกิจสักอย่างนั้นคงจะทำได้ยาก แต่คุณต้องกล้าที่จะเดิน ถึงแม้ไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นเช่นไรก็ตาม ต้องอย่ากลัวที่จะก้าวต่อไป หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เลี้ยงไก่ไข่แล้วมันไปไม่ได้จริงๆ ก็อยากให้ลองเปลี่ยน ถึงแม้ว่ามันจะต้องเป็นหนี้ แต่ถ้าทำออกมาแล้วมันคุ้มค่าแก่การลงทุนก็ย่อมดีกว่า มันอาจจะเหนื่อยในตอนเริ่มต้น แต่ใช่ว่าจะเหนื่อยตลอดไป ไก่เนื้อเลี้ยงไม่ยาก แค่เปิดใจและใส่ใจมันเท่านั้น” คุณรัศมีฝากถึงคนในวงการปศุสัตว์ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ

ขอขอบคุณ

คุณรัศมี ทับทิมทอง (เจ้าของพรหมรัศมีฟาร์มและฟาร์มสเตย์) และ คุณรมญา ทับทิมทอง (ผู้จัดการพรหมรัศมีฟาร์ม)

33/3 ม.3 ต.ห้วยยางโทน อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 70140

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 317/2562