การเลี้ยงแพะเนื้อ เพาะเลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ดี ส่งทำลูกชิ้น แพะเนื้อ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในภาคการเกษตร ด้านการปศุสัตว์ของประเทศไทย ปัจจุบันไม่ใช่มีเพียงแค่การเลี้ยงโคเนื้อ โคนม ไก่ไข่ ไก่เนื้อ และสุกร ที่มีการพัฒนายกระดับการเลี้ยง การปรับปรุงสายพันธุ์ หรือการยกระดับมาตรฐานการผลิต และการแปรรูปจำหน่ายส่งออก และขายในประเทศเพียงแค่นี้เท่านั้น

ทว่าการ  “เลี้ยงแพะ” ในประเทศไทยปัจจุบัน สำหรับภาครัฐ โดยกรมปศุสัตว์ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคเอกชน หรือองค์กรอิสระอื่นๆ ต่างก็ให้ความสำคัญมาโดยตลอดเช่นกัน เนื่องจากเนื้อแพะ และน้ำนมดิบแพะ ที่ผ่านกระบวนการแปรรูป ต่างก็มีอัตราการเติบโต และได้รับความนิยมจากตลาด รวมไปถึงทางเลือกสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการบริโภคเนื้อ ซึ่งมีอัตราที่เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

ทั้งนี้การเลี้ยงแพะ ผลผลิตที่ได้ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ หรือน้ำนมดิบ แม้จะเป็นตลาดซึ่งยังถือได้ว่าเป็นกลุ่มเฉพาะ แต่นับว่ามีอนาคตที่สดใส ถ้าหากได้รับการพัฒนาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ซึ่งจะทำให้ตลาดแพะในประเทศไปได้ไกลจนถึงส่งออกไปยังหลายๆ ประเทศ  และเพื่อให้การเลี้ยงแพะในประเทศไทยยกระดับสู่มาตรฐานสากล มิใช่การเลี้ยงแพะปล่อยทุ่ง ตามวิถีการเลี้ยงแพะแบบเดิม

1.ฟาร์มแพะ
1.ฟาร์มแพะ
2.คุณวีระศักดิ์-เนตรเกื้อกูล-ประธานเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะแกะแห่งประเทศไทย
2.คุณวีระศักดิ์-เนตรเกื้อกูล-ประธานเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะแกะแห่งประเทศไทย

การจัดตั้งเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะแห่งประเทศไทย

ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิด “เครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะแห่งประเทศไทย” จัดตั้งขึ้นมา เพื่อคอยส่งเสริม สนับสนุน ในด้านองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะทั่วประเทศ ให้ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเลี้ยงแพะอย่างถูกต้อง เพื่อให้ขายได้น้ำหนัก ได้ราคา มีกำไรจากการประกอบอาชีพเลี้ยงแพะได้อย่างยาวนานและยั่งยืน

คุณวีระศักดิ์ เนตรเกื้อกูล ประธานเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะแกะแห่งประเทศไทย (ค.พ.ก.ท.)  กล่าวถึง 3  ข้อ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายหลักในการจัดตั้งเครือข่ายฯ ว่า

1.เครือข่ายฯ มุ่งมั่นเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสานงาน ระหว่างภาครัฐไปสู่เกษตรกรในเครือข่ายฯ ทั้งในเรื่ององค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการเห็นความเป็นอยู่ของทุกคนมีคุณภาพชีวิต และมีรายได้ที่ดีขึ้น จากการเลี้ยงแพะโดยการยกระดับไปสู่ฟาร์มที่ได้มาตรฐานพร้อมๆ กัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.เครือข่ายฯ มุ่งหวังให้สมาชิกเครือข่ายฯ รวมทั้งเกษตรกร ได้มีองค์ความรู้ในการเลี้ยงแพะอย่างถูกต้อง ด้วยการสนับสนุนจากกรมปศุสัตว์อีกทางหนึ่ง โดยจะมีโครงการ เช่น “ปศุสัตว์โอเค, มาตรฐานฟาร์ม, ฟาร์มปลอดโรค ซึ่งจะเป็นโครงการตรวจสอบคุณภาพของสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์มให้ได้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน กระทั่งส่งเข้าโรงเชือด (และต้องเป็นโรงเชือดที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GMP จึงสามารถส่งจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ หรือโมเดิร์นเทรดได้)

3.เครือข่ายฯ มุ่งเน้น และต้องการเห็นความสามัคคีของเกษตรกร ผ่านการทำกิจกรรมเป็นหมู่คณะ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมศึกษาดูงาน ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ร่วมอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อที่จะให้เกิดการทำงานเป็นทีม อันจะนำมาซึ่งการช่วยเหลือแบ่งปัน ความเห็นใจ เข้าใจ ซึ่งกันและกัน

3.แพะอยู่กันเป็นฝูง
3.แพะอยู่กันเป็นฝูง

การให้ความรู้ในการเลี้ยงแพะแก่เกษตรกร

“ในการคัดเลือกเกษตรกรเข้ามาเป็นสมาชิกในเครือข่ายฯ ตอนนี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์อะไรมาตัดสิน หรือใช้ข้อบังคับมากนัก  กล่าวคือ ต้องบอกก่อนว่าเรามีหน้าที่ส่งเสริมพี่น้องเกษตรกรเป็นหลัก เพราะฉะนั้นเกษตรกรที่เลี้ยงแพะทุกคนในประเทศไทยสามารถขึ้นทะเบียนที่ ปศ.ได้ แล้วมาเป็นสมาชิกของเครือข่ายฯ ได้ทั้งหมด

ซึ่งที่ผ่านมาโดยส่วนใหญ่แล้ววิถีชีวิตแต่ดั้งเดิมของเกษตรกรเลี้ยงสัตว์มาอย่างไรก็จะทำอย่างนั้น  เขาพึงพอใจในรายได้แค่ไหนเขาก็จะเอาแค่นั้น เพราะฉะนั้นการที่จะป้อนข้อมูลอะไรใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์นำไปบอกกับเกษตรกรเหล่านี้ จะต้องปฏิบัติหรือทำให้พวกเขาเห็นก่อน ว่าจะส่งผลดีต่อเกษตรกรอย่างไร หรือเกษตรกรจะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ซึ่งเมื่อเขาเห็นแล้วว่ามันดีจริง ได้ประโยชน์จริง แล้วเกษตรกรจึงจะเกิดการยอมรับ  

ดังนั้นการขับเคลื่อนการทำงานของเครือข่ายฯ ต้องค่อยๆ เริ่มทำให้สมาชิกฯ เห็นว่าเลี้ยงแพะแล้วได้อะไร เช่น พาเกษตรกรไปดูแปลงแพะตามฟาร์มสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ที่เขาทำแล้วประสบความสำเร็จ ให้เกษตรกรได้เรียนรู้นำไปปรับใช้ในการเลี้ยงของตนเอง เป็นต้น

ทั้งนี้สำหรับบทบาทหน้าที่ของการเป็นผู้นำเครือข่ายฯ ซึ่งก็หมายรวมถึง การเป็นผู้นำในทุกระดับ จะต้องมีความรู้ ความสามารถ ต้องกำหนดเป้าหมาย และมองความสำเร็จของกลุ่มฯ ได้  ต้องรู้ว่าแหล่งเงินทุนอยู่ที่ไหน เช่น งบยุทธศาสตร์จังหวัด งบยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และเขียนเสนอโครงการต่อส่วนราชการ เพื่อที่จะนำงบประมาณมาพัฒนาเกษตรกรในลำดับต่อไป” ประธาน ค.พ.ก.ท.กล่าว 

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.แม่แพะกับลูกๆ
4.แม่แพะกับลูกๆ การเลี้ยงแพะเนื้อ การเลี้ยงแพะเนื้อ การเลี้ยงแพะเนื้อ การเลี้ยงแพะเนื้อ การเลี้ยงแพะเนื้อ
ลูกแพะ
ลูกแพะ

รูปแบบของการเลี้ยงแพะ

เมื่อถามถึงรูปแบบการเลี้ยงแพะในประเทศไทย คุณวีระศักดิ์อธิบายว่าการเลี้ยงแพะในประเทศไทยโดยทั่วไปแล้ว ยกตัวอย่างที่เห็นชัด จำแนกดังนี้

รูปแบบที่ 1 การเลี้ยงแพะฝูงพันธุ์ กล่าวคือ เมื่อแพะที่เลี้ยงซึ่งเป็นแม่พันธุ์คลอดลูกออกมา ถ้าเป็นตัวผู้จะเลี้ยงไป 3-4 เดือน พอได้น้ำหนักที่ตลาดต้องการก็จะส่งขายให้พ่อค้าคนกลาง ซึ่งรูปแบบนี้เกษตรกรจะได้เงินจากการขายลูกแพะที่คลอดออกมานั่นเอง หรือถ้าเป็นแม่พันธุ์ที่มีลักษณะสมบูรณ์ แข็งแรงอยู่ เกษตรกรจะเก็บเอาไว้เพื่อเพาะพันธุ์ขยายฝูงต่อไป

รูปแบบที่ 2 คือ การเลี้ยงแพะรูปแบบขุน โดยการซื้อลูกแพะที่ได้น้ำหนักจากเกษตรกรผู้เลี้ยงเอาไปขุนให้ได้น้ำหนัก เมื่อได้น้ำหนักตามตลาดต้องการก็จะขายให้พ่อค้าคนกลาง

รูปแบบที่ 3 การเลี้ยงแพะนม ซึ่งแน่นอนว่าผู้เลี้ยงจะมีรายได้จากการขายน้ำนมดิบ ซึ่งจะถูกนำไปพัฒนาแปรรูปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง โลชั่น สบู่ นมพาสเจอร์ไรส์/นมสเตอริไลซ์ ฯลฯ บางส่วนก็แบ่งขายให้เพื่อนๆ เกษตรกรด้วยกัน เพื่อที่จะนำไปขยายพันธุ์ทำฝูงต่อไป เป็นต้น อย่างไรก็ตามกระบวนการและการทำงานในการเลี้ยงแพะนมนี้จะละเอียดทุกขั้นตอน เพราะน้ำนมจะไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง ดังนั้นในทุกๆ ขั้นตอนการผลิต เช่น  การรีดนมแพะ จะต้องมีมาตรฐาน และพิถีพิถันพอสมควร

รูปแบบที่ 4 การเลี้ยงแพะสายพันธุ์ คือ การที่เกษตรกรนำพ่อพันธุ์ดีๆ จากต่างประเทศนำมาพัฒนาพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อให้เกิดลูก และขายลูกออกไป หรือขายน้ำเชื้อให้กับเกษตรกร หรือผู้ที่สนใจนำไปเพาะขยายพันธุ์ต่อไป โดยแพะพวกนี้เราจะเห็นได้ตามสนามประกวดแข่งขันต่างๆ เป็นต้น

รูปแบบที่ 5 เรียกว่า การเลี้ยงแพะเชิงสันทนาการ หรือที่เห็นกันชัดๆ คือ แพะที่เอามาต้อนรับแขก นักท่องเที่ยว ซื้อนมป้อน ให้อาหาร ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในเมืองไทย เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.การเลี้ยงแพะเนื้อ เพาะเลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ดี ส่งทำลูกชิ้น แพะเนื้อ
5.การเลี้ยงแพะเนื้อ เพาะเลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ดี ส่งทำลูกชิ้น แพะเนื้อ

สายพันธุ์แพะ

ทั้งนี้การเลี้ยงแพะในประเทศไทยก็มีการเลี้ยงอยู่หลายสายพันธุ์ ขึ้นอยู่กับว่าผู้เลี้ยงต้องการเลี้ยงเพื่อตอบโจทย์ หรือความต้องการของตัวเอง และป้อนสู่ตลาดใด ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการจำหน่ายเนื้อแพะปริมาณมาก และเป็นที่นิยมของตลาด ก็ต้องเลี้ยงสายพันธุ์ “บอร์” หรือหากต้องการผลิตน้ำนมดิบส่งขาย ก็เลือกเลี้ยงแพะสายพันธุ์ “ซาแนน” ซึ่งให้ปริมาณน้ำนมดิบคุณภาพสูง เป็นต้น

สำหรับเครือข่าย ค.พ.ก.ท. ปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์แพะลูกผสม (Mixed breed) คือ การผสมระหว่างแพะเนื้อและแพะนมเข้าด้วยกัน เพื่อตอบโจทย์การให้เนื้อคุณภาพส่งขายในตลาด ในขณะเดียวกันก็ให้ปริมาณน้ำนมดิบ เพื่อให้เกษตรกรได้เก็บผลผลิตส่งขายได้อีกด้วย

6.ลูกชิ้นแพะ
6.ลูกชิ้นแพะ การเลี้ยงแพะเนื้อ การเลี้ยงแพะเนื้อ การเลี้ยงแพะเนื้อ การเลี้ยงแพะเนื้อ การเลี้ยงแพะเนื้อ 

การแปรรูปเนื้อแพะ

ทั้งนี้ปัจจุบันเครือข่าย ค.พ.ก.ท. ในส่วนสมาชิกเครือข่ายฯ ได้มีการพัฒนาแปรรูป “ลูกชิ้นแพะ” เพื่อส่งจำหน่ายในตลาดเฉพาะกลุ่ม ถือเป็นการเริ่มต้นการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากเนื้อแพะ ทว่ายังมีข้อจำกัดยังไม่สามารถจำหน่ายในตลาดระดับบน หรือขึ้นห้างฯ ได้ เพราะยังไม่ได้ผ่านกระบวนการที่ได้มาตรฐานทั้งหมด ตั้งแต่มาตรฐาน คนเลี้ยง-โรงเชือด-การแปรรูป จนไปถึงผู้บริโภค ซึ่งต้องได้รับมาตรฐาน GAP, GMP และจดแจ้งจาก อย. ทั้งหมด จึงสามารถจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำได้ ซึ่งคุณวีระศักดิ์กล่าวว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานทุกขั้นตอนอีกสักระยะ

อย่างไรก็ดีปัจจุบันประเทศไทยมีโรงเชือดแพะที่ได้มาตรฐาน GMP แล้ว อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เหลือเพียงการเข้าไปส่งเสริม การพัฒนา ปรับปรุงบริหารจัดการฟาร์มแพะให้ได้มาตรฐานภายใต้กรมปศุสัตว์กำหนด คาดว่าไม่เกินต้นปี 2562 จะสามารถยกระดับมาตรฐานของฟาร์มและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อแพะได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเมื่อถึงตอนนั้นเครือข่ายฯ เล็งเจาะกลุ่มตลาดโมเดิร์นเทรด ได้แก่ เทสโก้โลตัส และห้างแม็คโคร ซึ่งถือเป็นตลาดค้าปลีก-ส่งที่ใหญ่ที่สุดระดับประเทศ

7.โรงเรือนแพะ
7.โรงเรือนแพะ
แพะกินอาหารข้น
แพะกินอาหารข้น

การบริหารจัดการฟาร์มแพะ

ทั้งนี้คุณวีระศักดิ์กล่าวฝากด้วยว่า การเลี้ยงแพะในประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนผ่าน จากการเลี้ยงแพะในวิถีชีวิตเดิมๆ เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมแพะมากขึ้น คล้ายๆ ไก่เนื้อ, สุกร, โคนม จากระบบมาตรฐานปศุสัตว์ที่นานาประเทศนำมาใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นฟาร์มปลอดโรค, มาตรฐานการเลี้ยง (GFM), มาตรฐานฟาร์ม (GAP), โรงฆ่าแพะ, โรงแปรรูป (GMP) ฉะนั้นเกษตรกรจำเป็นที่ต้องปรับตัว และก้าวตามให้ทัน

ดังนั้นเครือข่ายฯ จึงมุ่งเน้นพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

1.พัฒนาเกษตรกร โดยการเพิ่มองค์ความรู้วิชาการสมัยใหม่ ประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาของตัวเกษตรกร เพื่อความเป็น smart farmers

2.พัฒนาพันธุ์แพะ จากพันธุ์แพะเดิมที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น เลี้ยงง่าย แข็งแรง โตไว ตอบโจทย์ตลาด

3.พัฒนาฟาร์ม ให้เป็นฟาร์มที่ได้มาตรฐาน มีระบบบริหารการเลี้ยง การป้องกันโรค และการจัดการที่ดี

4.พัฒนาการตลาด การสร้างตลาดผู้บริโภคใหม่ในประเทศ เพิ่มความสะดวกซื้อให้มากขึ้น ลดข้อกีดกันการส่งออกแพะไปต่างประเทศ เช่น การปรับลดค่าธรรมเนียม

อีกเรื่องที่สำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงแพะของเกษตรกร คือ โอกาสในการเข้าหาแหล่งทุน จึงขอฝากภาครัฐ สถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็น ธ.ก.ส. หรือ SME Bank ช่วยดูแลเกษตรกรเลี้ยงแพะ ช่วยจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ด้วย จะทำให้เกษตรกรเลี้ยงแพะสามารถพัฒนาการเลี้ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งประโยชน์แก่เกษตรกร และแพะประเทศไทยจะเทียบเคียงได้กับนานาอารยประเทศ

8.คุณสุรศักดิ์-พิพิธทอง-คนซ้าย-กับอาหารแพะ-ตรามะแมฟีด
8.คุณสุรศักดิ์-พิพิธทอง-คนซ้าย-กับอาหารแพะ-ตรามะแมฟีด

จุดเด่นของอาหารแพะ

ทั้งนี้กุญแจสำคัญที่จะนำพารูปแบบการเลี้ยงแพะของเมืองไทยไปสู่การส่งออกในเวทีโลกได้นั้น สิ่งสำคัญ คือ การให้ความสำคัญเรื่องของ “อาหารสัตว์” ด้วยเช่นกัน ซึ่งในตลาดปัจจุบันมีอาหารแพะสำเร็จรูปที่ได้มาตรฐาน จำหน่ายโดยบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ๆ อยู่หลายยี่ห้อ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่สำหรับ “เครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะแห่งประเทศไทย” หรือ ค.พ.ก.ท. อยากให้สมาชิกเครือข่ายฯ รวมถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะทั่วประเทศ ได้เปิดใจและทดลองนำไปใช้ คือ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดข้น (รูปแบบเม็ด) ตรา “มะแมฟีด”

คุณสุรศักดิ์ พิพิธทอง ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารเสริมข้น ตรา “มะแมฟีด” เปิดเผยว่า อาหารข้นสำหรับแพะชนิดเม็ดตัวนี้ เกิดจากการศึกษาวิจัยและพัฒนาสูตรสำหรับให้แพะกินโดยเฉพาะ ซึ่งใช้เวลาปรับปรุงสูตรอยู่ประมาณ 6 เดือน

โดย “มะแมฟีด” จุดเด่น คือ ไม่มียูเรียเป็นส่วนผสม อีกทั้งเป็นชนิดเม็ด เพื่อสะดวกต่อการกินของแพะ อีกทั้งอาหารเม็ดจะทำให้แพะกินหมดราง แตกต่างกับอาหารชนิดผงซึ่งจะเหลือตกค้าง โดยขนาดของเม็ดอาหารประมาณ 5 มิลลิเมตร ซึ่งเหมาะกับการกินของแพะมากที่สุด

ทั้งนี้ส่วนประกอบหลักๆ ของอาหาร “มะแมฟีด” อาทิเช่น สารจำพวกที่มีโปรตีน และไขมัน (พลังงาน) และวิตามิน เกลือแร่ต่างๆ รวมไปถึงกากถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ต่อแพะ ผ่านการทดลองในการปรับปรุงสูตร และผ่านการตรวจสอบจากกรมปศุสัตว์เป็นที่เรียบร้อย นอกจากนี้กระบวนการผลิตโรงงานได้มาตรฐาน มีใบรับรองการผลิตอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ และทุกอย่างตรวจสอบย้อนกลับได้ โดยอาหารเสริมข้น ตรา “มะแมฟีด” มีอยู่ด้วยกัน  2 สูตร คือ สูตรโปรตีน 14% (เหมาะสำหรับแม่พันธุ์ที่ตั้งท้องไม่เกิน 3 เดือน, แพะขุน)  และ สูตรโปรตีน 16% (เหมาะสำหรับแม่พันธุ์ที่ตั้งท้องเกิน 3 เดือนขึ้นไป จนถึงเลี้ยงลูก หรือแพะนม)

9.อาหารแพะรุ่นท้องไม่เกิน-3-เดือน
9.อาหารแพะรุ่นท้องไม่เกิน-3-เดือน
11.แพะในเล้า
11.แพะในเล้า

ฝากถึงเกษตรกรผู้ การเลี้ยงแพะเนื้อ

คุณสุรศักดิ์ยังฝากถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะทั่วประเทศด้วยว่า “ขอฝากประเด็นในการทำธุรกิจ แพะ-แกะในปัจจุบันในประเทศว่า ต้องยอมรับธุรกิจแพะ-แกะ มีผู้ให้ความสนใจมาทำกันมากขึ้น  สิ่งสำคัญที่อยากจะฝาก คือ เรื่องของเครือข่าย หรือการรวมกลุ่ม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรมีพลัง มีสิทธิ์ มีเสียง สร้างความเข้มแข็งมากขึ้น

เพราะประโยชน์ที่ได้จากการรวมกลุ่ม คือ  เกษตรกรจะมีเพื่อนคู่คิด โดยสมาชิกในเครือข่ายฯ ทุกคนพร้อมช่วยเหลือ ไม่ได้หวังผลกำไรอะไรตอบแทนทั้งนั้น  อยู่กันแบบพี่น้อง สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกรด้วยกันเอง  และถือเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล, ความรู้ที่มีประโยชน์และถูกต้อง  ซึ่งเกษตรกรไม่จำเป็นต้องไปเรียนผิดแล้ว แต่สามารถมาเรียนวิธีที่ถูกต้องในการเลี้ยงแพะอย่าง 100% จากเครือข่ายฯ ของเราได้เลย  เพราะเราทำกันมาแล้ว เห็นผลสำเร็จแล้ว จึงนำความสำเร็จนั้นมาเผยแพร่และบอกต่อนั่นเอง”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณ คุณวีระศักดิ์ เนตรเกื้อกูล  061-438-8588 ประธานเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะแกะแห่งประเทศไทย (ค.พ.ก.ท.) ที่อยู่ 9/1 หมู่ 5 ต.สนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000

คุณสุรศักดิ์ พิพิธทอง โทร.065-235-4242  , คุณเจนจิรา อรุณเจริญ โทร.094-423-2698 การเลี้ยงแพะเนื้อ การเลี้ยงแพะเนื้อ การเลี้ยงแพะเนื้อ การเลี้ยงแพะเนื้อ