การเลี้ยงไก่เนื้อ ฟาร์มไก่ ให้กำไร รุ่นละ1.35 ล้านตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเลี้ยงไก่เนื้อ ฟาร์มไก่ ให้กำไร รุ่นละ1.35 ล้านตัว

ประเทศไทยมีการเลี้ยงไก่เนื้อแบบ ”คอนแทรคฟาร์มมิ่ง” มีอยู่หลากหลายบริษัท โดยเกษตรกรเองก็มีสิทธิ์ในการเลือกบริษัทคู่ค้า เพราะมีปัจจัยหลายอย่าง ทั้งมาตรฐาน ชื่อเสียงของบริษัท ความน่าเชื่อถือของแต่ละบริษัท ทุกอย่างล้วนเป็นปัจจัยให้เกษตรกรได้ตัดสินใจเพื่อประกอบธุรกิจ การที่จะเริ่มทำฟาร์มนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับเกษตรกรผู้เริ่มเลี้ยง

ครั้งนี้นิตยสารสัตว์บกได้มีโอกาส สัมภาษณ์ คุณณัฐพล ธนสมบูรณ์ หรือคุณเอส เจ้าของฟาร์มไก่เนื้อที่มีอยู่ในเครือจำนวน 5 ฟาร์ม ทั้งๆ ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งได้แค่ 7 ปี แต่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 1.35 ล้านตัว ซึ่งเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตั้งแต่ก่อสร้างฟาร์มแห่งแรกซึ่งถือว่าคุณเอสได้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงไก่เนื้อแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง และได้ให้เกียรติมาบอกเล่าเรื่องราวดังต่อไปนี้

“การเลี้ยงไก่มันไม่ได้ง่าย แต่ก็ไม่ได้ยาก ถ้าเราเข้าใจปัญหา ปัญหาที่เยอะก็อาจจะน้อยลง” ตัวอย่างบทความที่คุณเอสได้บอกเล่าแนวคิดที่น่าสนใจ ซึ่งปัจจุบันนี้เกษตรกรหลายท่านอาจจะพบปัญหาหลากหลายอย่างที่เข้ามา อาจจะเหนื่อยกับปัญหา แค่เพียงเริ่มทำความเข้าใจ เริ่มแก้ไขปัญหา อาจจะพบเจอทางออกได้

1.การเลี้ยงไก่เนื้อ ฟาร์มไก่
1.การเลี้ยงไก่เนื้อ ฟาร์มไก่

คุณณัฐพล ธนสมบูรณ์ หรือคุณเอส เจ้าของฟาร์มไก่เนื้อได้ขอเจ้าของฟาร์มอีกแห่งหนึ่งที่ทำมาก่อน ด้วยความใจดี และเป็นที่น่านับถือ ท่านได้อนุญาตให้เข้าไปศึกษาวิธีการเลี้ยงไก่เนื้อจากสัตวบาล จากการทดลองเข้าคลุกคลีเลี้ยงไก่เป็นเวลาเพียง 3 เดือน ก็คิดว่าสามารถทำอาชีพนี้ได้ เพราะรู้สึกชอบ และมองภาพในอนาคตออก

คุณเอสก็ลงมือก่อสร้างฟาร์มแห่งแรกจากทุนที่ตนเองมีอยู่ส่วนหนึ่ง และอีกท่านหนึ่งที่ไม่กล่าวถึงคงไม่ได้ คือ ท่านผู้ใหญ่ประวิทย์ เพราะจากได้เข้าไปเรียนรู้จากฟาร์มคุณอาทร คุณเอสได้ขอเข้าไปดูงานก่อสร้าง และศึกษาเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมจากฟาร์มผู้ใหญ่ประวิทย์ และถือว่าเป็นคนที่ให้แรงบันดาลใจ (IDOl)ในการทำธุรกิจเป็นอย่างมาก

จุดเริ่มต้นการเลี้ยงไก่เนื้อ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เริ่มต้นเลี้ยงไก่เนื้อกับ บริษัท บี อาร์ เอฟฯ (BRF ) หรือบริษัท โกลเด้น ฟู้ดส์ สยาม จำกัด แล้วต่อมาก็เริ่มเลี้ยงกับ บริษัท เบทาโกรฯ ด้วย โดยเลี้ยงกับ BRF จำนวน 3 ฟาร์ม ได้แก่ เอแคร์ไก่ขาว อินฟินิตี้ และเจ้าสัวน้อยฟาร์ม ส่วนของเบทาโกรฯ จะมี 2 ฟาร์ม คือ บิ๊กบอสฟาร์ม และเต็งหนึ่งฟาร์ม ปัจจัยที่เลือกทั้ง 2 บริษัท ก็คือ เป็นบริษัทที่มั่นคง ใกล้กับพื้นที่ที่อาศัยอยู่ มีความเหมาะสมทั้งสองที่ ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรือนทั้งหมด 49 หลัง ซึ่งได้แก่

  • ฟาร์มเอแคร์ไก่ขาว 12 โรงเรือน
  • ฟาร์มบิ๊กบอส 12 โรงเรือน
  • ฟาร์มเต็งหนึ่ง 12 โรงเรือน
  • อินฟินิตี้ฟาร์ม 6 โรงเรือน
  • เจ้าสัวน้อยฟาร์ม 7 โรงเรือน

จำนวนการผลิตทั้งหมดประมาณ 1,350,000 ตัว

จำนวนการผลิตทั้งหมดประมาณ 1,350,000 ตัว ขนาดโรงเรือนใกล้เคียงกัน คือ 21×120 เมตร หรือประมาณ 2,500 ตารางเมตร โรงเรือนละ 30,000 ตัว ความแตกต่างของทั้งสองบริษัทก็คือ น้ำหนักไก่ที่จับ BRF จะมีตลาดที่เป็นไก่ขนาดใหญ่ อาจจะต้องการเนื้อหน้าอกที่ใหญ่ น้ำหนักจับตัวผู้มากกว่า 3 กิโลกรัม เวลาการเลี้ยงประมาณ 42 วัน

ส่วนบริษัทเบทาโกรฯ จะจับไก่ตัวผู้ ตัวเมีย เฉลี่ยอยู่ที่ 2.6 กิโลกรัม เวลาการเลี้ยงประมาณ 40 วัน ส่วนเรื่องสายพันธุ์ทั้งสอง บริษัทจะไม่แตกต่างกันมาก ก็จะมี Ross Cobb ArborAcres แต่ บริษัท เบทาโกรฯ จะมีพันธุ์ฮาฟบาท การให้ยา วัคซีน และวิตามิน ขึ้นอยู่กับการบริหาร

แต่มีข้อกำหนดมาบางอย่าง เช่น การทำวัคซีน บริษัทมีค่าตัวเลขของภูมิคุ้มกันอยู่ ก็จะกำหนดการทำวัคซีน และระยะการหยุดยา ซึ่งยาบางตัวต้องหยุดก่อนจับ 14 วัน และ 21 วัน แล้วแต่ชนิดของยา ถ้าใช้หลังจากนี้จะมีโอกาสยาตกค้างในเนื้อไก่สูง จะทำให้โดนโทษปรับ หรือยกเลิกสัญญาได้ เพราะบริษัทกำหนดเอาไว้ชัดเจน

4.การให้อาหาร-ให้น้ำ
4.การให้อาหาร-ให้น้ำ

การให้อาหาร-ให้น้ำ

การจัดการภายในฟาร์ม ในแต่ละฟาร์มจะมีสัตวบาล 2-3 คน พนักงานเฉลี่ยแล้วอยู่โรงเรือนละ 1 คน การบริหารจะเปิดกว้างให้สัตวบาลได้ใช้ความคิด ซึ่งการบริหารจะคล้ายคลึงกัน แต่บางอย่างก็ไม่เหมือนกันหมด เพราะสัตวบาลเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งเป็นคนที่ดูแลฟาร์มแทนเกือบทั้งหมด

การวางแผนและประชุมแก้ปัญหาจะสั่งงานผ่านสัตวบาลแต่ละฟาร์ม ให้อำนาจกับสัตวบาลอย่างเต็มที่ ทั้งเรื่องการใช้ยา ทำงานครบทุกอย่าง เพราะทุกอย่างมีผลต่อโบนัส  ถ้ามีสัตวบาลคนเดียวจะมีปัญหาได้ ช่วงเวลาที่มีไก่ สัตวบาลจะหยุดได้ แต่ต้องสลับวันหยุดกัน เพื่อคอยดูแลการทำงานการเลี้ยงของพนักงาน และระยะเวลาพักเล้าอยู่ที่ 25-30 วัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จะมีการขนมูลไก่ออกจากเล้า ซึ่งมีทีมงานประจำอยู่แล้ว ส่วนพนักงานภายในฟาร์มจะล้างเล้า ตัดหญ้า ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ทุกอย่าง การเตรียมโรงเรือนจะใช้แกลบอยู่ที่ตารางเมตรละ 5 กิโลกรัม หรือทั้งโรงเรือนอยู่ที่ 10-11 ตัน ส่วนเรื่องอาหารจะใช้ระบบอัตโนมัติ มีการเสริมถังอาหารในช่วงกกไก่ เพื่อเพิ่มพื้นที่กินให้กับลูกไก่ และมีการเสริมกระติกน้ำให้ไก่สามารถเข้าถึงได้ง่าย

ถ้าลูกไก่ที่มาเกิดการสูญเสียจำนวนมากก็จะมีการเคลมจากบริษัท แต่ต้องพิสูจน์ให้ชัดเจนว่าความเสียหายนี้เกิดจากบริษัทเอง การดูแลในระหว่างการเลี้ยงอุณหภูมิก็มีส่วนสำคัญ ตั้งแต่เริ่มกกจนถึงเริ่มจับ เพราะเมื่อการดูแลไม่ดีจะก่อให้เกิดการสูญเสียอย่างมาก

คุณเอสเปิดเผยว่า “อากาศร้อนจะมีผลต่อการเลี้ยง โดยเฉพาะช่วงไก่ใหญ่ ถ้าประสิทธิภาพของเล้าทำได้ไม่ดีพอจะเกิดการสูญเสียช่วงท้ายเยอะ ไก่จะร้อนตาย ส่วนในฤดูหนาวอุณหภูมิกกไม่ได้ตามที่กำหนดจะมีปัญหาด้านสุขภาพของไก่จะตามมา”

5.ถังไซโลบรรจุอาหาร
5.ถังไซโลบรรจุอาหาร

การเลือกใช้อุปกรณ์ของ บ.เค.เอส.พี อุปกรณ์ จก.

ปัจจุบันคุณเอสเลือกใช้อุปกรณ์ของ บริษัท เค.เอส.พี.อุปกรณ์ จำกัด เกือบทั้งระบบการเลี้ยง ได้แก่ ระบบให้อาหารอัตโนมัติแบบจานพลาสติก-KSP โดยมีขอบจานที่ไม่สูงมาก ทำให้อาหารไม่ตกหล่น  สามารถใช้เลี้ยงไก่ได้ตั้งแต่วันแรกๆ และในแต่ละจานอาหารสามารถปิด-เปิดอาหาร และปรับการไหลของอาหารได้ตามช่วงอายุของไก่

ไซโลบรรจุอาหาร CHORE-TIME และชุดสกรูดึงอาหารจากไซโล พร้อมชุดตาชั่งอาหารไซโลรุ่น RSW-2 (LOAD CELL)  ซึ่งทำให้ทราบจำนวนอาหารที่เติมลงถังไซโล รวมถึงทราบจำนวนการกินของไก่ และสามารถรู้ว่าอาหารจำนวนที่เหลืออย่างแน่นอน

ระบบน้ำนิปเปิ้ลเป็นของยี่ห้อ LUBING จะมีตัวปรับแรงดันน้ำให้เหมาะสมกับการกินของอายุไก่ในแต่ละช่วง และหัวนิปเปิ้ล LUBING จะช่วยให้ไก่กินน้ำได้สะดวก เพราะหัวนิปเปิ้ลสวิงได้ 360°และสามารถใช้ได้ตั้งแต่อายุไก่วันแรกๆ 1 วัน (ไก่เล็ก) และไม่มีปัญหาน้ำหยด เพราะถ้าน้ำหยดลงพื้นเล้าจะทำให้ในเล้าไก่เปียกชื้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และเกิดแก๊สแอมโมเนีย สุขภาพไก่จะไม่ดี หรือเสียหายได้ ระบบการกกลูกไก่ จะใช้เครื่องกกลูกไก่ L.B.WHITE ขนาด 250,000BTU สามารถกกลูกไก่ได้ 8,000ตัว-11,000ตัว สามารถใช้งานได้ทั้งแบบ AUTO และ MANURE

นอกจากนี้ยังมีวาล์วบังคับอัตราการไหล ซึ่งจะช่วยในเรื่องการประหยัดแก๊ส  ระบบทำความเย็น และระบายอากาศภายในโรงเรือน จะมีเยื่อกระดาษติดตั้งหน้าเล้า และมีพัดลมท้ายเล้าในการดูดอากาศ และควบคุมอุณหภูมิภายในเล้า ด้วยระบบการควบคุมอุณหภูมิ ROTEM  รุ่น AC2000 Plus   จะสั่งงานเป็นแบบอัตโนมัติ

และดึงสัญญาณผ่านระบบคอมพิวเตอร์มาที่ออฟฟิตฟาร์ม ช่วยประหยัดเวลา แทนที่คนจะต้องเดินปรับค่าแต่ละหลัง แต่อุปกรณ์นี้ปรับได้ที่ออฟฟิศเลย และสามารถแจ้งเตือนความผิดปกติได้ ทำให้หาสาเหตุและแก้ปัญหาได้ทันที เพราะกว่าจะเจออาจเกิดความเสียหายเยอะแล้ว

ระบบนี้ยังมีการร้องเตือนทั้งภายหน้าเล้าและที่ออฟฟิศด้วย ช่วยในเรื่องข้อมูลอีกด้วย เพราะระบบจะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลค่อนข้างละเอียด สามารถดูได้เลยว่าพนักงานทำตามที่สั่งหรือไม่ อย่างเช่น อุณหภูมิจะบอกย้อนหลังไป 24 ชม. บางทีพนักงานไม่ทำตาม ในช่วงกกลูกไก่แก๊สหมดไม่ได้เปลี่ยน

ทำให้อากาศเย็น ก็สามารถทราบและสืบหาสาเหตุได้ เมื่ออุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ช่วงกกลูกไก่ระบบจะทำงานไม่เต็มที่ พนักงานต้องเดินเปิด-ปิดอาหาร ก็สามารถตรวจสอบได้เช่นกัน การทำงานง่ายขึ้น ช่วยลดความผิดพลาดได้มาก

ฟาร์มแรกที่เลี้ยง ใช้อุปกรณ์การเลี้ยงของ บริษัท เค.เอส.พี.อุปกรณ์ ทั้งหมด และฟาร์มที่ 2-3 ได้ลองเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ของบริษัทอื่นๆ เนื่องจากราคาต่ำกว่าที่เคยซื้อ แต่พบปัญหามาก และเมื่อเทียบราคากับคุณภาพแล้ว จึงได้ตัดสินใจหันกลับมาใช้สินค้าของบริษัท เค.เอส.พี.อุปกรณ์ ใหม่ ในหลังที่ 4 และ 5  ซึ่งดีกว่า มั่นใจกว่า ทั้งคุณภาพสินค้า การติดตั้ง และการให้บริการหลังการขาย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
การตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า
6.การตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า

การตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า

ส่วนเรื่องไฟฟ้าก็สำคัญเช่นกัน บางพื้นที่ไฟฟ้าดับบ่อย ถ้าเครื่องปั่นไฟไม่พร้อมมีความเสี่ยงสูงมาก เพราะถ้าไก่โดนโรคเข้ายังสูญเสียแค่ 10-20% แต่ถ้าเกิดไฟดับแล้ว เครื่องปั่นไฟไม่ทำงาน อาจจะเหลือไก่แค่ 10% สำหรับวิธีการแก้ไข คือ ตรวจเช็คอุปกรณ์ให้พร้อมอยู่เสมอ และมีสำรองอุปกรณ์ไว้

คุณเอสยังเล่าถึงประสบการณ์ปัญหาเรื่องไฟฟ้าที่หนักที่สุด “ เคยเจอปัญหาที่หนักที่สุด ก็คือ เบรกเกอร์ไหม้ โรงเรือนนั้นเป็นไก่ใหญ่โตแล้ว สูญเสียไปเกือบ 7,000 ตัว ไก่ขายได้ประมาณตัวละ 100 บาท ตอนนั้นสูญเสียไปประมาณ 600,000 บาท”

 “เทคโนโลยี ช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น กันความผิดพลาดได้เยอะ อุณหภูมิสูง-ต่ำ มีผลต่อไก่ บางทีกว่าที่เรามาเจอไม่ใช่แค่ 1 ชม. สมมุติว่าอุณหภูมิขึ้นไปถึง 34 องศา ถ้าปั๊มน้ำไม่ทำงานจะส่งผลทำให้อุณหภูมิในเล้าสูง และไก่ทนไม่ไหว ไก่ใหญ่ที่เลี้ยงไว้น่าจะตายหลายพันตัว

การที่เอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในฟาร์มอาจจะเป็นต้นทุนที่สูง แต่เมื่อเทียบกับคุณค่าและมาตรฐานนี้เหมาะสมกับเงินที่ลงทุนไป ในสมัยนี้มีระบบที่อัพเกรดในแต่ละรุ่น สามารถควบคุมผ่านโทรศัพท์ Smart Phone ได้ ทำให้การใช้งานสะดวกมากขึ้น

7.การป้องกันโรคระบาดในไก่เนื้อ
7.การป้องกันโรคระบาดในไก่เนื้อ

การป้องกันโรคระบาดในไก่เนื้อ

เรื่องโรคต้องมีการป้องกัน ทั้งการทำวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และไบโอซิเคียวริตี้ (Biosecurity) ถ้าภายนอกฟาร์มมีโรคระบาดจะไม่อนุญาตให้เข้า-ออกจากฟาร์มโดยไม่จำเป็น และบุคคลภายนอกห้ามเข้ามาภายในฟาร์มเช่นกัน ส่วนในสภาวะปกติจะมีการจัดการ กำหนดวันให้ออกจากฟาร์มได้อาทิตย์ละครั้ง เพื่อให้มีการสูญเสียน้อยลง

เรื่องด้านแรงงานมีพนักงานคนไทยและต่างชาติทำ MOU ที่เข้ามาอย่างถูกต้อง ค่าตอบแทนเป็นแรงงานขั้นต่ำตามที่รัฐบาลกำหนด มีโบนัสเพิ่มเพื่อแรงจูงใจให้พนักงาน ค่าตอบแทนจะกำหนดไว้หมดเลยว่าตารางเมตรละเท่าใด ส่วนที่พักจะจัดเตรียมไว้ภายในฟาร์ม กำหนดปริมาณน้ำ ไฟฟ้า ให้เพียงพอต่อการใช้งานของพนักงาน  หากพนักงานใช้เกินก็จะมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่ม การที่ให้ฟรีหมดทุกอย่างไม่เกิดการเสียดาย ทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ และไม่ช่วยกันรักษา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณเอสยังบอกกับทางทีมงานอีกว่า “ตนเองไม่ใช่คนเก่ง สิ่งที่ตนเองคิดว่าต่างก็คือ แนววิธีการคิด คือ ต้องคิดให้ถูกต้องในทุกๆ เรื่องที่เราจะทำ”

“การหาความรู้เพิ่มเติมจากที่ต่างๆ เช่น เข้าฟังสัมมนาที่บริษัทต่างๆ จัดขึ้น การอ่าน การปรึกษาจากผู้มีประสบการณ์ และความรู้นี้สามารถนำมาปรับใช้ได้กับที่ฟาร์มได้

8.ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงไก่เนื้อ
8.ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงไก่เนื้อ

ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงไก่เนื้อ

สุดท้ายคุณเอสก็ฝากถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ “ทุกอย่างมีการลงทุน ในธุรกิจนี้มีความเสี่ยงสูงมาก เจอหลายปัญหา ทั้งเรื่องแรงงาน วัสดุอุปกรณ์ที่แพงขึ้น ถ้าการบริหารไม่ดีอาจจะแย่ได้ การที่จะเลี้ยงไก่ให้ประสบความสำเร็จต้องพัฒนาตนเองขึ้นทุกๆ วันเพราะการเลี้ยงไก่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ต้องทำความเข้าใจกับปัญหา

ปัญหาที่เยอะอาจจะน้อยลงได้ ถ้ามีวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้องและต้องไม่ประมาท เพราะการกู้สินเชื่อจากธนาคารมีการกำหนดระยะเวลา ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นจะทำให้ขาดสภาพคล่องได้” และที่สำคัญ คือ ทีมงานที่ดี คุณเอสฝากขอบคุณทีมงานทุกส่วนงาน เช่น สัตวบาล ที่ดูแลฟาร์ม พนักงานที่อยู่ในฟาร์มทุกฟาร์ม รวมถึงทีมช่างก่อสร้าง และร้านค้าต่างๆ ที่เป็นพันธมิตรที่ดีกันเสมอมา

ขอขอบคุณ คุณณัฐพล ธนสมบูรณ์ 223 ม.9 ต.รางหวาย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

การเลี้ยงไก่เนื้อ ไก่เนื้อ ฟาร์มไก่เนื้อ อาหารไก่ โรงเรือนเลี้ยงไก่ อาหารไก่เนื้อ ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ ฟาร์มไก่ อุปกรณ์ให้อาหารไก่ การเลี้ยงไก่เนื้อกับบริษัท การจัดการฟาร์มไก่เนื้อ อุปกรณ์เลี้ยงไก่เนื้อ

โฆษณา
AP Chemical Thailand