แนวทางลดต้นทุน การเลี้ยงไก่เนื้อ อิสระรายย่อย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แนวทางลดต้นทุน การเลี้ยงไก่เนื้อ อิสระรายย่อย 

สถานการณ์ผู้ เลี้ยงไก่เนื้อ

ในสภาวะที่ผู้ เลี้ยงไก่เนื้อ ประสบปัญหาในขณะนี้ คือ การแบกรับต้นทุนการผลิต ทั้งค่าอาหารสัตว์และค่าลูกไก่ ที่มีราคาแพงขึ้น แต่ในทางกลับกันผลผลิตที่ได้จากการเลี้ยงมีราคาไม่สมดุลกับต้นทุน ทำให้เกษตรกรหรือผู้เลี้ยงจำเป็นต้องหาทางออกที่ดีที่สุดในการลดค่าใช้จ่ายในฟาร์ม เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าอาหาร และค่ายาปฏิชีวนะ เป็นต้น เพื่อให้ฟาร์มทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ อยู่รอดได้ ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้

คุณณัฐวุฒิ เรืองนิพนธ์กิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม โพลทรี จำกัด และประธานชมรมผู้ประกอบ ธุรกิจไก่เนื้อ อิสระรายย่อยไทย ผู้ที่คร่ำหวอดในวงการธุรกิจปศุสัตว์มากว่า 30 ปี จะมาเปิดเผยแนวทางการบริหารต้นทุนในภาวะเศรษฐกิจขาลง และการก่อตั้งชมรมผู้ประกอบ ธุรกิจไก่เนื้อ อิสระรายย่อยไทย เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และกำหนดแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน

ปรึกษาการเลี้ยงฟรี หากบอกว่ามาขาก นิตยสาร สัตว์บก โทร. 081-810-9429

1.ฟาร์มไก่เนื้อ
ฟาร์มไก่เนื้อ การเลี้ยงไก่เนื้อ

 

 

2.สถานการณ์ผู้เลี้ยงไก่เนื้อ
สถานการณ์ผู้ เลี้ยงไก่เนื้อ

การเลี้ยงไก่เนื้อ

ปัจจุบันบริษัทฯ เลี้ยงไก่จำนวน 600,000 ตัว โดยแบ่งบริหารออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่บริษัทดูแล 25% และฟาร์มเกษตรกรรับจ้างเลี้ยงอีก 75% “หลายปีที่ผ่านมามีเกษตรกรและเอเย่นต์เกิดขึ้นมากขึ้น รวมทั้งบริษัทอื่นๆ ที่ส่งเสริมเกษตรกรให้เลี้ยงไก่โดยตรงด้วย

ฉะนั้นหากเราไม่มีฟาร์มเป็นของตัวเองรองรับในส่วนนี้ บางช่วงลูกเล้าไม่พร้อมที่จะลงไก่ได้ ก็จะใช้ในส่วนนี้เป็นที่รองรับ เนื่องจากในปัจจุบันมีลูกค้าต้องการซื้อไก่โตประมาณวันละ 5,000-6,000 ตัว แต่ปัจจุบันทางบริษัทได้จัดเป็นระบบมากขึ้น ทั้งฟาร์มของบริษัทฯ และเกษตรกร เพื่อความเสถียรภาพของบริษัทด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยก่อนที่เกษตรกรจะเข้าร่วมกับบริษัทฯ จะมีสัตวบาลเข้าไปตรวจฟาร์มก่อนว่าโรงเรือนมีลักษณะอย่างไร และสามารถเลี้ยงไก่ได้กี่ตัว ดูศักยภาพของเขา หากไม่ได้ตามมาตรฐานกำหนดก็จะให้เกษตรกรปรับปรุงให้เรียบร้อยก่อน” คุณณัฐวุฒิกล่าวถึงการบริหารงานธุรกิจ การเลี้ยงไก่เนื้อ

 

3.คุณณัฐวุฒิ-กรรมการผู้จัดการบ.สยาม-โพลทรีฯ-คุณวิฑูรย์-เจ้าของวิฑูรย์ฟาร์ม
คุณณัฐวุฒิ-กรรมการผู้จัดการบ.สยาม-โพลทรีฯ-คุณวิฑูรย์-เจ้าของวิฑูรย์ฟาร์ม

จากผู้ค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์สู่เจ้าของธุรกิจ การเลี้ยงไก่เนื้อ

คุณณัฐวุฒิ เล่าถึงที่มา บริษัท สยาม โพลทรีฯ ว่าเดิมทีตนทำธุรกิจเกี่ยวกับการค้าขายด้านวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น รำข้าว และปลายข้าว โดยซื้อจากจังหวัดในแถบภาคเหนือและภาคกลาง จำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ด ไก่ และสุกร เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524 จากนั้นในปี 2525 เป็นตัวแทนจำหน่ายอาหารสัตว์สำเร็จรูปของบริษัทหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี

ซึ่งแต่ก่อนนั้นยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่ก็ทำควบคู่กับขายวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทำเรื่อยมาจนกระทั่งบริษัทแนะนำให้ทดลอง เลี้ยงไก่เนื้อ จึงนำมาให้เกษตรกรรับจ้างเลี้ยงจำนวน 500 ตัว พร้อมกับจำหน่ายอาหารสำเร็จรูป เลี้ยง 45 วัน จึงจับจำหน่ายให้กับคนในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง

ทำให้เกษตรกรท่านอื่นเกิดความสนใจเป็นจำนวนมาก ทำเรื่อยมาจนถึงปี 2558 จึงก่อตั้ง บริษัท สยาม โพลทรี จำกัด เลขที่ 209 หมู่ 1 ตำบลจรเข้ร้อง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง

4.การให้อาหาร
การให้อาหาร เลี้ยงไก่เนื้อ

การบริหารต้นทุนในภาวะเศรษฐกิจขาลงของการ เลี้ยงไก่เนื้อ 

ในการบริหารต้นทุนทางบริษัทจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลังตามความเหมาะสม ฉะนั้นเมื่อเกษตรกรที่เลี้ยงไก่กับบริษัทฯ จะต้องมีรายได้ที่มั่นคง แต่ต้องขึ้นอยู่กับการจัดการของแต่ละฟาร์มด้วยว่ามีประสิทธิภาพในการผลิตมากน้อยเพียงใด ซึ่งน้ำหนักตัวไก่จะเป็นตัวชี้วัด ที่สำคัญเปอร์เซ็นต์การสูญเสียจะต้องน้อยตามไปด้วย

ส่วนของการลดต้นทุนด้านไฟฟ้า ทางบริษัทฯ จะปิดการให้แสงสว่างในไก่อายุที่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป วันละประมาณ 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้ไก่ได้พักผ่อน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโต (FCR) แล้วไม่ต่างกันกับการเลี้ยงแบบเปิดไฟให้แสงสว่างตลอดเวลา อีกทั้งยังส่งผลให้ไก่ไม่เจ็บป่วยง่าย และมีสุขภาพแข็งแรงด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยลดต้นทุนด้านเวชภัณฑ์ยาอีกด้วย “อีกวิธีหนึ่งที่ทางบริษัทได้นำมาใช้ คือ การใช้สมุนไพร เช่น ฟ้าทลายโจร และขมิ้นชัน ผสมในสูตรอาหารให้ไก่ที่เลี้ยงกิน ซึ่งส่งผลค่อนข้างดี ทั้งการปลอดสารปนเปื้อนในเนื้อไก่ สุขภาพแข็งแรง และดีต่อผู้บริโภค  เพราะไม่มีการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ ซึ่งสอดคล้องกับหน่วยงานภาครัฐที่รณรงค์ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ” คุณณัฐวุฒิ ยืนยันถึงข้อดีของสมุนไพร

ปัจจุบัน การเลี้ยงไก่เนื้อ มีต้นทุนค่าไฟฟ้ามากกว่าตัวละ 1 บาท อนาคตอาจนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดเข้ามาใช้ เช่น การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาโรงเรือน เป็นต้น ขณะเดียวกันหลอดไฟฟ้าที่ใช้ภายในโรงเรือนก็จะใช้หลอดประหยัดพลังงาน เช่น หลอด LED เป็นต้น ซึ่งจะประหยัดพลังงานมากกว่า  และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

5.โรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ
โรงเรือน เลี้ยงไก่เนื้อ
6.การป้องกันโรคระบาด
การป้องกันโรคระบาด

การป้องกันโรคระบาด เลี้ยงไก่เนื้อ

ขณะเดียวกันเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ เลี้ยงไก่เนื้อ กับบริษัทฯ สามารถปรึกษาปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเลี้ยง สุขภาพสัตว์ หรือปัญหาใดก็ตามแต่ บริษัทฯ สามารถแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรได้ โดยมีทีมงานที่เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาแนะนำ รวมถึงการจัดสัมมนาให้ความรู้ต่างๆ เช่น โรคระบาด เป็นต้น แก่เกษตรกรจำนวน 2-3 เดือน/ครั้ง เพื่อหาแนวทางร่วมกัน หรือวิธีการป้องกัน

 

7.การลดต้นทุนด้านไฟฟ้า
การลดต้นทุนด้านไฟฟ้า

 

8.สายพันธุ์ไก่เนื้อ
สาย พันธุ์ไก่เนื้อ

พันธุ์ไก่เนื้อ เลี้ยงพันธุ์รอสส์ 308

ปัจจุบันบริษัทใช้ไก่เนื้อพันธุ์รอสส์ 308 เนื่องจากลูกค้าพึงพอใจมากที่สุดในขณะนี้ ซึ่งลักษณะเด่นของ พันธุ์ไก่เนื้อ นี้ คือ โตเร็ว มีเนื้อหน้าอกเยอะ ทนต่อสภาพอากาศและโรคได้ดี โดยจะเลี้ยงที่ 38 วัน แบบคละเพศทั้งตัวผู้และตัวเมีย น้ำหนักเฉลี่ยที่ 2.3 กิโลกรัม

9.การตั้งชมรมผู้ประกอบธุรกิจไก่เนื้อ
การตั้งชมรมผู้ประกอบ ธุรกิจไก่เนื้อ

ตั้งกลุ่มเพื่อเสถียรภาพราคาในตลาด

ในภาวะตลาดที่มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น การเลี้ยงไก่เนื้อ จำเป็นต้องรวมกลุ่มกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และสามารถกำหนดแนวทางไปในทิศทางเดียวกันได้ โดยการร่วมมือกับ บริษัท สตาร์ ฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานชำแหละและแปรรูปไก่เนื้อที่ได้มาตรฐาน มีอัตราการผลิตที่แน่นอน

โดยอาศัยซึ่งกันและกัน อีกอย่างกรมปศุสัตว์รับรองด้านความปลอดภัย ที่สำคัญถือเป็นความมั่นคงด้านการตลาดของกลุ่มผู้เลี้ยง ซึ่งเป็นที่มาของการตั้ง “ชมรมผู้ประกอบ ธุรกิจไก่เนื้อ อิสระรายย่อยไทย” มีคณะกรรมการจำนวน 9 ท่าน ได้แก่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

1.คุณณัฐวุฒิ เรืองนิพนธ์กิจ (ประธานชมรมฯ)

2.คุณวิฑูรย์ สุวรณวานิชกุล (เลขาธิการ)

  1. ร.ต.ศักดิ์ดา มณีพรรณ์ (กรรมการบริหาร ฝ่ายเพิ่มมูลค่าสินค้า)

4.คุณกฤต นามเกิด (กรรมการบริหารพื้นที่ภาคใต้)

5.คุณประจิน เข็มกลัด (กรรมการบริหารพื้นที่ภาคกลาง)

6.คุณสมบัติ ศรีก๊กเจริญ (กรรมการบริหารพื้นที่ภาคตะวันตก)

7.คุณสมเกียรติ อภิญญพานิชย์ (กรรมการบริหารพื้นที่ภาคตะวันออก)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

8.คุณมัทนพัทธ์ ทองก้อน (กรรมการบริหารภาคตะวันออก)

9.คุณบุญเลิศ อ่องไพบูลย์ (กรรมการบริหาร ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์) และมีสมาชิกกว่า 20 ราย

10.แนวโน้มการผลิตลูกไก่ในอนาคต
แนวโน้มการผลิตลูกไก่ในอนาคต พันธุ์ไก่เนื้อ

การลดต้นทุนในการซื้อลูกไก่คุณภาพ

แนวโน้มในอนาคตจะมีผู้สนใจเข้าร่วมเพิ่มขึ้น โดยมีจุดประสงค์ คือ การลดต้นทุนการผลิต ซึ่งปัจจัยหลักอยู่ที่ “ลูกไก่” เนื่องจากลูกไก่ที่ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นของบริษัทใดก็ตามจะถูกกำหนดราคาด้วยบริษัทใหญ่ไม่กี่บริษัท ฉะนั้นจึงรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคา และเป็นธรรม

โดยการสร้างฟาร์มพ่อแม่ พันธุ์ไก่เนื้อ ขึ้นเพื่อจำหน่ายลูกไก่ให้กับสมาชิกในกลุ่ม และลำดับต่อไป คือ สร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นแผนงานในอนาคต ตลอดจนการประกาศราคารับซื้อที่ยุติธรรมกับกลุ่มผู้เลี้ยง ดังนั้นสิ่งที่สมาชิกจะได้รับประโยชน์ คือ การลดต้นทุนในการซื้อลูกไก่ที่มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรง และค่าอาหารสัตว์ที่ถูกลง และได้คุณภาพ เพราะสามารถคัดสรรและควบคุมวัตถุดิบได้

“สำหรับอัตราการผลิตลูกไก่ เบื้องต้นตั้งเป้าหมายไว้ที่ สัปดาห์ละ 200,000 ตัว ส่วนในอนาคตจะผลิตมากกว่านี้หรือไม่นั้น ต้องดูศักยภาพของกลุ่มและตลาดด้วย ส่วนสาย พันธุ์ไก่เนื้อ ที่จะนำมาเลี้ยง คือ พันธุ์ร็อสส์ และพันธุ์คอปป์” คุณณัฐวุฒิ กล่าวถึงเป้าหมายในการผลิตลูกไก่ในเชิงธุรกิจ

11.ตลาดไก่เนื้อ
ตลาดไก่เนื้อ การเลี้ยงไก่เนื้อ

ตลาดไก่เนื้อ

ส่วนตลาดไก่เนื้อหากมองในภาพรวมพบว่าตลาดยังสามารถไปได้ดี เพราะเนื้อไก่เป็นโปรตีนที่หาซื้อได้ง่าย และราคาถูกกว่าเนื้อหมู เนื้อวัว หรืออาหารทะเล ซึ่งเรื่องนี้คุณณัฐวุฒิให้ความเห็นว่า “ การเลี้ยงไก่เนื้อ ถือเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างผลกำไรได้ค่อนข้างสูง และมั่นคง ยิ่งหากมีการจัดการที่ดีแล้วผลผลิตที่ได้ก็จะดีตามไปด้วย”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“การลดต้นทุนของกลุ่มที่รวมตัวกันเพื่อผลิตลูกไก่ และผลิตอาหารใช้เองในกลุ่ม ส่วนระบบการเลี้ยงจะต้องดูว่าในส่วนไหนสามารถลดต้นทุนได้ก็จะดำเนินการ ขณะเดียวกันการลดการใช้ยาปฏิชีวนะก็จะนำสมุนไพรเข้ามาใช้ทดแทน ส่วนเรื่องไฟฟ้าก็จะนำพลังงานทางเลือกเข้ามาใช้ ซึ่งเป็นแผนในอนาคต” คุณณัฐวุฒิ กล่าวสรุป และทิ้งท้ายว่า

“ปัจจัยหลักในการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์อยู่ที่การใส่ใจ หากมีการดูแลเอาใจใส่ที่ดี หรือขยันหมั่นเพียร สามารถลดต้นทุนได้ ไม่ว่าจะเป็น ค่ายา ค่าอาหาร หรือค่าใช้จ่ายในฟาร์ม ซึ่งขึ้นอยู่กับความใส่ใจของแต่ละฟาร์มด้วย เพราะแต่ละฟาร์มมีการบริหารจัดการแตกต่างกันไป”

ขอขอบคุณ คุณณัฐวุฒิ เรืองนิพนธ์กิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม โพลทรี จำกัด โทร. 081-810-9429 , Email : [email protected]

แนวทางการลดต้นทุน เลี้ยงไก่เนื้อ อิสระรายย่อย อุปกรณ์เลี้ยงไก่ การเลี้ยงไก่เนื้อ ฟาร์มไก่เนื้อ