บัวงามฟาร์ม จับมือสองบริษัทอาหารสัตว์ ผลิต โคขุน คุณภาพ ป้อนโรงเชือดมาตรฐานครบวงจร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หัวใจสำคัญของการเลี้ยง โคขุน คือ เลี้ยงให้เจริญเติบโต ได้คุณภาพเนื้อดี ดังนั้นเคล็ดลับต้องอยู่ที่วิธีการจัดการโรงเรือน และเรื่องของ อาหาร ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องให้ความสำคัญควบคู่กันไป โดยเฉพาะเรื่องของอาหารควรเลือกใช้อาหารที่มีคุณค่าและมีประสิทธิภาพสูง

1.คุณแม่และคุณพ่อ
1.คุณแม่และคุณพ่อ

จุดเริ่มต้นการเลี้ยงโคขุน

นิตยสารสัตว์บกฉบับนี้จะพาไปรู้จักกับ คุณชลวิทย์ บรุกกิ้งค์ หรือ คุณชล ผู้จัดการบัวงามฟาร์ม ฟาร์มโคขุนที่มีจุดเริ่มต้นจากโคสวยงาม สู่การเป็นฟาร์มโคขุนมาตรฐานครบวงจรได้เผยเคล็ดลับการเลี้ยงโคขุน ให้มีอัตราการเจริญเติบโตดี และมีคุณภาพ กับการเลือกใช้อาหารสัตว์ 2 บริษัท

บัวงามฟาร์มเริ่มก่อตั้งปี 2547 โดยคุณพ่อและคุณแม่ แต่เดิมครอบครัวของคุณพ่อเคยทำธุรกิจฟาร์มโคนมมาก่อน  คุณพ่อจึงมีความผูกพันกับการเลี้ยงโค แต่ด้วยกระแสการเลี้ยงโคของประเทศไทยตอนนั้นกำลังนิยมวัวฮินดูบราซิล ทางฟาร์มจึงเริ่มจากการเลี้ยงโคสวยงามเพื่อขายสายพันธุ์มาก่อน

จริงๆ ก่อนจะมาทำฟาร์มโคขุนแบบจริงจัง เราก็เป็นเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงวัวทั่วไป 2-3ตัว และก็เริ่มขยายขึ้น จาก 2 ตัว เป็น 5 ตัว เป็น 10-15 ตัว พอขยายมาเรื่อยๆ คอกวัวที่มีอยู่มันไม่พอ ก็เริ่มขยายฟาร์ม ก่อตั้งเป็นบัวงามฟาร์มเมื่อปี 2547” คุณชลกล่าวเพิ่มเติม

ในปี 2547 ยังคงเลี้ยงเป็นโคสวยงามขายสายพันธุ์อยู่ เริ่มมาเลี้ยงเป็นโคขุนขายเนื้อเมื่อปี 2552 เริ่มมีการปรับเปลี่ยนจากโคแม่พันธุ์ผลิตลูกมาเป็นขุนขายเนื้อ สายพันธุ์โคที่เลี้ยงขุนของฟาร์มจะเป็นสายพันธุ์ชาร์โรเลส์ เป็นลูกโคที่มาจากโคแม่พันธุ์พื้นเมืองในฟาร์มที่มีการพัฒนาสายพันธุ์มาเรื่อยๆ ปัจจุบันเป็นโคชาร์โรเลส์รุ่นที่ 4 เลือด 75%

2.ลูกโคเนื้อ
2.ลูกโคเนื้อ

สายพันธุ์โค

ปัจจุบันบัวงามฟาร์มมีแม่พันธุ์อยู่ 30 ตัว โคสาวที่พร้อมผสมหรือสำหรับขายมี 7 ตัว ลูกโคหย่านม 10 ตัว ส่วนโคเข้าขุนปัจจุบันจะอยู่ที่ 150-200 ตัว แต่โดยปกติแล้วโคที่ฟาร์มจะเข้าขุนประมาณ 250-300 ตัว แต่ด้วยสถานการณ์ของโรคระบาดสัตว์ ทางฟาร์มจึงลดจำนวนลง และลดการซื้อโคจากเกษตรกรมาเข้าขุน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การขุนของที่ฟาร์มจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบโคขุนธรรมดาทั่วไป ที่จะใช้ระยะเวลา 4-6 เดือน น้ำหนักที่ได้ถ้าเป็นโคพื้นเมืองเฉลี่ยจะอยู่ที่ 330-350 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นชาร์โรเลส์เฉลี่ยจะอยู่ที่ 500 กิโลกรัม การขุนแบบที่สอง คือ แบบพรีเมี่ยม จะใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ ที่ฟาร์มจะมีขุนอยู่ประมาณ 10-20 ตัว

ฟาร์มเราช่วงแรกๆ ก็เริ่มจากการเลี้ยงวัวแบบประณีต หรือเป็นการขุนวัวระยะยาว แต่ก่อนเราจะเป็นสมาชิกของสหกรณ์หนองสูง โดยจะเลี้ยงประมาณ 18-25 เดือน เป็นสายพันธุ์ชาร์โรเลส์ คุณชลเผยถึงที่มาของการขุนแบบพรีเมี่ยม

ลูกโคจากที่ฟาร์มส่วนใหญ่จะเป็นขายสายพันธุ์ ไว้ให้เกษตรกรซื้อไปเลี้ยงเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ในฟาร์ม ส่วนโคที่เข้าขุนส่วนใหญ่จะเป็นลูกโคหย่านมที่ซื้อจากเกษตรกร จะซื้อมาจากตลาดนัดรับซื้อโค-กระบือ ส่วนสายพันธุ์ที่ทางฟาร์มเลือกซื้อจะเป็นชาร์โรเลส์ ต้องมีน้ำหนักเฉลี่ย 350 กิโลกรัม และบราห์มันประมาณ 200 กิโลกรัม

3.โรงเรือนโค
3.โรงเรือนโค

การบริหารจัดการฟาร์มโค ฉบับบัวงามฟาร์ม

สำหรับการจัดการลูกโคที่ซื้อเข้ามาจากข้างนอก จะทำการกักโรค 14วัน ให้วัคซีน ยาบำรุง ยาถ่ายพยาธิ และพักดูอาการ ส่วนระบบการจัดการอาหารจะดูเป็นรายตัว ซึ่งในทุกวันนี้การจัดการค่อนข้างง่ายขึ้น เพราะโคส่วนใหญ่ในตลาดหัดกินอาหารข้นมาบ้างแล้ว

ซึ่งจะต่างจากสมัยก่อน ที่ต้องเริ่มจากให้หญ้าแล้วเสริมอาหารข้น เพราะโคสมัยก่อนอาหารหลักจะเป็นหญ้าและฟาง อาหารข้นจะยังไม่ได้รับความนิยม ทางฟาร์มก็ต้องมาหัดให้โคกินอาหารข้น แต่ทุกวันนี้สามารถให้อาหารได้เกือบเต็มที่แล้ว ก็จะทำให้การจัดการและการปรับตัวของโคง่ายขึ้น

งานหลักๆ ที่ฟาร์มจะเป็นการให้อาหาร ในรอบเช้าจะให้อาหาร เก็บกวาดมูลโค รอบบ่ายจะตัดหญ้าและฟางให้โคสำหรับนอนเคี้ยวเอื้อง สำหรับงานด้านสุขาภิบาลจะเป็นการตรวจเช็คโค ตรวจสุขภาพ เช็คสัด และจะมีการชั่งน้ำหนักทุกๆ 1-2 เดือน เพื่อเช็คดูน้ำหนักที่เพิ่ม คำนวณการกินได้ เช็คดูรูปร่าง เพื่อคำนวณค่าที่จะโตขึ้นในอนาคต

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.โกดังเก็บอาหารโค
4.โกดังเก็บอาหารโค

การให้อาหารโค

ปัจจุบันทางฟาร์มเลือกใช้อาหารโคขุน มาสเตอร์มิกซ์ ผลิตโดย บริษัท ศักดิ์ อาหารสัตว์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดผง และใช้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดของ บริษัท เอพีเอ็มอะโกร จำกัด

โดยคุณชลได้ให้เหตุผลที่เลือกใช้อาหารสองบริษัทว่า รูปแบบการให้อาหารของที่ฟาร์มจะมีทั้งผสมอาหารชนิดผงและอาหารชนิดเม็ดเข้าด้วยกัน และให้แบบชนิดผงหรือชนิดเม็ดเพียงอย่างเดียว แต่ละสูตรก็เพื่อการผลิตเนื้อที่แตกต่างกัน ให้ตอบโจทย์ลูกค้าในแต่ละกลุ่ม

มาสเตอร์มิกซ์ อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผง เลี้ยงโคขุนให้โตไว จับได้น้ำหนัก ปลอดสารเร่งเนื้อแดง ไม่ใช้สารปฏิชีวนะ ผลิตจากเครื่องจักรที่ทันสมัย และวัตถุดิบคุณภาพเยี่ยม ผ่านการรับรองคุณภาพอาหารสัตว์จากกรมปศุสัตว์ ซึ่งมาสเตอร์มิกซ์เป็นอาหารคุณภาพดี ในราคาย่อมเยา ทางเกษตรกรผู้เลี้ยงหลายฟาร์มจึงเลือกใช้

และสำหรับคุณสมบัติอาหารของ APM อาหารโคเนื้อชนิดเม็ดเคลือบจุลินทรีย์ ที่ใช้ตัววัตถุดิบเกรดคุณภาพ เพื่อให้วัวซึ่งเป็นสัตว์ 4 กระเพาะ สามารถดูดซึมจุลินทรีย์จากอาหารเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย เพราะฉะนั้นอาหารที่ผสมจุลินทรีย์จึงตอบโจทย์ร่างกายวัว ผลลัพธ์ที่ออกมา คือ เนื้อและนมที่มีคุณภาพ

5.เนื้อสันในโคขุน
5.เนื้อสันในโคขุน

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่าย เนื้อโค

ในส่วนของโรงเชือดนั้นเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2561 จะเชือดเฉพาะโคที่ฟาร์มเท่านั้น มีอัตราการเชือดวันละตัว ยกเว้นวันพระ ในหนึ่งเดือนจะเข้าเชือดอยู่ที่ 22-23 ตัว แต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงด้วย ในช่วงเทศกาลอาจมีการเชือดวันละ 2-3 ตัว

การที่เรามาสร้างโรงเชือดก็เหมือนเป็นการรองรับตลาดตัวเองโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง และลดต้นทุนการขนวัวไปเชือดที่อื่นด้วย เพราะแต่ก่อนเราต้องส่งวัวไปเชือดที่โรงเชือดในตัวจังหวัด และก็มีค่าเดินทางขนเนื้อกลับมา ทำให้เราตัดสินใจสร้างโรงเชือดเอง และโรงเชือดของเราก็เป็นแห่งเดียวของอำเภอที่ได้มาตรฐานของกรมปศุสัตว์ คุณชลเผยถึงที่มาของการสร้างโรงเชือด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนเนื้อสดที่ได้จะมีช่องทางการจำหน่าย จะมีรูปแบบเนื้อสดชั่งกิโล จะจำหน่ายหน้าร้านของตัวเอง และมีแบ่งขายให้เขียงใกล้เคียง และมีแบบนำไปขึ้นรูปเพื่อทำเป็นเนื้อสไลด์ จำหน่ายตามร้านอาหาร ร้านชาบู และอีกกลุ่มจะนำมาแปรรูปเป็นเนื้อแดดเดียว

นอกจากนี้ทางฟาร์มยังมีมาตรฐานการปลอดสารเร่งเนื้อแดงที่ได้รับการตรวจจากกรมปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด และทางฟาร์มยังเป็นฟาร์มตัวอย่างที่อยู่ในการดูแลของกรมปศุสัตว์ เป็นฟาร์มตัวอย่างที่เปิดสำหรับเกษตรกรที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาดูงานได้

6.การให้ฟางสำหรับโค
6.การให้ฟางสำหรับโค

ปัญหาและอุปสรรคการเลี้ยงโคขุน

เมื่อถามถึงปัญหาและอุปสรรคที่เจอในธุรกิจโคขุน คุณชลได้เผยว่าปัญหาที่ฟาร์มเจอมี 2 แบบ ปัญหาหลักๆ ที่เจอในตอนแรกก็จะเป็นเรื่องของการตลาด ระบบตลาดในการเลี้ยงโคขุนของเราในตอนแรกก็ยังไม่นิ่งมาก ราคาต้นทุนวัว ราคาค่าอาหาร และราคาปลายทาง ที่ค่อนข้างแปรผัน เราจึงมาทำโรงเชือด ทำครบวงจรเพื่อมารองรับเรื่องราคารับซื้อปลายทางที่แปรผัน

และอีกปัญหา คือ เรื่องของโรคระบาด การป้องกันของทางฟาร์ม คือ เราจะงดซื้อวัวจากข้างนอกเข้า และงดการเดินทางไปข้างนอก ทั้งตัวเราเอง และคนงานในฟาร์ม เพื่อป้องกันการสัมผัสโรคจากข้างนอกเข้ามาในฟาร์ม ส่วนภายในฟาร์มจะมีการพ่นยาฆ่าเชื้อ

สุดท้ายคุณชลได้แนะนำทิ้งท้ายสำหรับเกษตรกรมือใหม่ที่สนใจอยากเลี้ยงโค ให้เริ่มเลี้ยงจากโคต้นน้ำก่อน คือ โคแม่พันธุ์ที่ผลิตลูกขาย จากประสบการณ์ที่เจอมาการเลี้ยงโคต้นน้ำผลิตลูก ยังไงขายได้แน่นอน หรือถ้าจะเลี้ยงเพื่อขุนต่อก็ได้อีกช่องทาง

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณชลวิทย์ บรุกกิ้งค์ หรือ คุณชล บัวงามฟาร์ม ที่อยู่ 110 ม.10 บ.บัวงาม ต.โพธิ์ใหญ่ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด 45140 โทร.081-226-4532

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 338