ผลิตลูกไก่เนื้อ ,ธุรกิจไก่เนื้อ และแปรรูปไก่เนื้อ แบบครงวงจร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กระบวนการผลิตไก่เนื้อในระบบอุตสาหกรรม มีทั้งตลาดส่งออกและภายในประเทศ ซึ่งมีมูลค่ามหาศาล แต่การพัฒนาการเลี้ยงไก่เนื้อให้ดีทั้งระบบจะต้องมีอาหารที่มีคุณภาพ และการบริหารจัดการภายในฟาร์มที่ดี และสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ “พันธุ์สัตว์”

โรงเรือนไก่เนื้อ
โรงเรือนไก่เนื้อ
คุณสราวุธ-อยู่เชื้อ-ผู้จัดการทั่วไป
คุณสราวุธ-อยู่เชื้อ-ผู้จัดการทั่วไป
1.คุณประยงค์-เพิ่มพูน
1.คุณประยงค์-เพิ่มพูน

จุดเริ่มต้นการเลี้ยงไก่เนื้อผลิตลูกไก่เนื้อ

สำหรับการเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์เพื่อ ผลิตลูกไก่เนื้อ จำหน่ายให้เกษตรกรนำไปเลี้ยง เป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อเพื่อบริโภค ดังนั้นฉบับนี้นิตยสารสัตว์บกพาท่านมารู้จักกับ คุณสราวุธ อยู่เชื้อ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เพิ่มพูนฟาร์ม จำกัด เลขที่ 64/4 หมู่ 4 ตำบลวัดแค อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ที่คลุกคลีกับอุตสาหกรรมไก่เนื้อมาเกือบ 20 ปี

คุณสราวุธเผยถึงชีวิตก่อนการทำงานว่า ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2540 ตนเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ สาขาสัตวศาสตร์ โดยเริ่มทำงานกับบริษัทรายใหญ่ในวงการปศุสัตว์ด้านกิจการไก่พ่อแม่พันธุ์เนื้อ ผลิตลูกไก่เนื้อ เพื่อการส่งออกในฟาร์มระบบปิด ทำได้ระยะหนึ่ง

จากนั้นในปี พ.ศ.2555-2558 ถูกโยกย้ายมาช่วยในส่วนของการประสานงาน การตลาด และวิชาการ รับผิดชอบในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคตะวันตก พอกลางปี พ.ศ.2558 ได้พบกับ คุณประยงค์ เพิ่มพูน เจ้าของ “เพิ่มพูนฟาร์ม” ที่มีความตั้งใจจะทำฟาร์มไก่พ่อแม่พันธุ์เนื้อ เพื่อผลิตลูกไก่จำหน่ายให้กับคู่ค้าและใช้ในฟาร์ม จึงตัดสินใจลาออกจากงานมาช่วยดูแลฟาร์ม

หน้าที่หลัก คือ ดูแลกิจการไก่พ่อแม่พันธุ์เนื้อ ผลิตลูกไก่เนื้อ ส่งให้เกษตรกรเลี้ยงในระบบประกันราคาและรับจ้างเลี้ยง ซึ่ง บริษัท เพิ่มพูนฟาร์ม จำกัด ประกอบกิจการอยู่ 3 ส่วน คือ เพิ่มพูนฟาร์ม ( ผลิตลูกไก่เนื้อ ) เพิ่มพูนโพลทรี (ธุรกิจไก่เนื้อ) และเพิ่มพูนโพลทรีฟู้ดส์ (แปรรูปไก่เนื้อ)

“ผมดูแลในส่วนของการ ผลิตลูกไก่เนื้อ ทุกขั้นตอนกระบวนการผลิตจะเริ่มตั้งแต่การวางแผนฟาร์ม จัดไก่ให้เป็นฝูง การเข้าไก่พ่อแม่พันธุ์ จากนั้นเมื่อได้ ผลิตลูกไก่เนื้อ ได้แล้วก็จะวางแผนการขาย และบริการหลังการขาย”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนพันธุ์ไก่ที่เพิ่มพูนฟาร์มเลี้ยงมี พันธุ์รอส คอบบ์ อาร์เบอร์เอเคอร์ และอนาคตอันใกล้จะนำพันธุ์ฮับบาร์ดมาเลี้ยง เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าให้มากขึ้น อีกทั้งไก่พ่อแม่พันธุ์จะต้องมีการพัฒนาให้ได้ลูกไก่ที่มีคุณภาพ

2.ไข่เชื้อ
2.ไข่เชื้อ
โรงฟักไข่
โรงฟักไข่
ผลิตลูกไก่เนื้อ ลูกไก่แข็งแรงสมบูรณ์
ผลิตลูกไก่เนื้อ ลูกไก่แข็งแรงสมบูรณ์

ขั้นตอนการฟักไข่

ปัจจุบันที่ฟาร์มจะเลี้ยงแบบกึ่งอัตโนมัติ เป็นการผนวกธุรกิจเกษตรกับธุรกิจอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ไก่อยู่สบาย ไม่เครียด ใช้อัตราส่วนที่ 5 ตัว/ตารางเมตร สัดส่วนตัวผู้อยู่ที่ 8-11% ผสมพันธุ์กันตามธรรมชาติ ส่วนขั้นตอนจะเริ่มจากการเก็บไข่เชื้อ สต็อกและจัดเก็บประมาณ 3-7 วัน นำมาฟักในตู้ฟัก-ตู้เกิดใช้เวลา 21 วัน ส่วนอุณหภูมิในการฟักจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของตู้ฟัก สายพันธุ์ และอายุของพ่อแม่พันธุ์ จากนั้นก็จะคัดแยกลูกไก่ที่แข็งแรงให้กับเกษตรกรนำไปเลี้ยงต่อไป

ในการเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์จะต้องเก็บข้อมูล เพื่อวางแผนการผลิตให้ได้ลูกไก่ตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดจะต้องรับรู้ข่าวสารภายนอกที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจ จากนั้นก็ต้องพัฒนาการเลี้ยงและสายพันธุ์ควบคู่ไปด้วย

3.ให้อาหารไก่
3.ให้อาหารไก่

การบริหารจัดการฟาร์มไก่เนื้อ

ส่วนอาหารทางฟาร์มจะใช้จากหลายบริษัท เช่น บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) และบริษัท บี อาร์เอฟ (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นต้น ซึ่งจะคำนึงถึงต้นทุนการผลิตเป็นหลัก เพราะการเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ ต้นทุนด้านอาหารอยู่ที่ 60% ค่าบริหารจัดการ 10% ค่าแรง 10% พันธุ์สัตว์ 10% และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีก 10% ดังนั้นในการเลี้ยงไก่เนื้อจะต้องมีการวางแผนที่ดี

“การเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ หากมองว่ายากก็ยาก ง่ายก็ง่าย ขึ้นอยู่กับการดูแลเขาได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งคนกับไก่ไม่แตกต่างกัน แต่คนจะได้เปรียบกว่า เพราะไก่เมื่อเกิดมา คือ ลักษณะอุตสาหกรรมอาหาร ฉะนั้นจะทำอย่างไรก็ได้ เพื่อให้ไก่ได้อยู่สบาย เช่น สุขภาพของไก่ และอาหารที่มีคุณภาพ เป็นต้น”

สำหรับการเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์จะใช้ระยะเวลาประมาณ 18 เดือน หรือปีครึ่ง จึงจะปลดออกจากโรงเรือน แต่ต้องขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการผลิตด้วยว่าคุ้มทุนหรือไม่ หากไม่คุ้มทุนก็จะทำการปลดตามปกติ ปัจจุบันทางฟาร์มสามารถผลิตไข่ได้ประมาณเกือบ 200,000 ฟองต่อสัปดาห์ ส่วนลูกไก่ที่ผลิตได้อยู่ที่กว่า 100,000 ตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.ลูกไก่
4.ลูกไก่

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายไก่เนื้อ

ด้านการตลาดลูกค้าส่วนใหญ่จะมีทั้งรายใหญ่และรายย่อย ซึ่งเป็นคู่ค้ากันมานาน สำหรับรายย่อยก็จะเป็นเกษตรกรทั่วไปที่เลี้ยงแบบอิสระขายตลาดในพื้นที่

จุดแข็งของทางฟาร์มอันดับแรกอยู่ที่การคัดลูกไก่ที่มีคุณภาพ และการบริการหลังการขาย โดยการแนะนำความรู้หรือเทคนิคต่างๆ ที่ส่งผลให้การเลี้ยงไก่ของเกษตรกรมีผลผลิตที่ดีขึ้น ที่สำคัญคุณธรรมและความซื่อสัตย์ในการทำธุรกิจด้วย

เมื่อถามถึงภาพรวมของตลาดอุตสาหกรรมไก่เนื้อ คุณสราวุธเปิดเผยว่า “ปัจจุบันอาจมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการส่งออก ซึ่งในบ้านเราจะพึ่งการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ หากเจอกรณีที่ส่งออกไม่ได้ หรือโดนกีดกันทางการค้า ก็จะส่งผลกระทบกับตลาดโดยรวมในประเทศด้วย”แนวโน้มในอนาคต

5.ไก่เนื้อ
5.ไก่เนื้อ

แนวโน้มในอนาคต

อนาคตจะทำให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีการเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ ฟาร์มไก่เนื้อ การแปรรูป และการจำหน่าย ทั้งนี้มองว่าการทำธุรกิจให้ครบวงจรนั้นจะประสบความสำเร็จได้ ต้องมองย้อนไปดูที่การเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ (ต้นน้ำ)

ถ้าสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ก็จะส่งผลให้กระบวนการผลิตอื่นมีกำไรเพิ่มขึ้นไปด้วย และจะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นด้านแรงงาน และประสิทธิภาพของการผลิต

“ในการทำธุรกิจเกษตรอันดับแรกต้องผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อันดับสองสินค้าที่ผลิตจะต้องตรงกับความต้องการของลูกค้า

ส่วนอันดับสามเมื่อจำหน่ายสินค้าไปแล้วจะต้องมีการบริการหลังการขาย เพื่อติดตามและประเมินผล ที่สำคัญควรซื่อสัตย์และจริงใจต่อองค์กรและคู่ค้า ไม่ว่าจะเป็นคนที่ซื้อสินค้าจากเรา หรือตัวแทนจำหน่าย

ดังนั้นในธุรกิจนี้จะเป็นเหมือนพันธมิตรที่คอยพึ่งพาอาศัยกัน จึงจะสามารถประกอบธุรกิจให้อยู่รอดได้” คุณสราวุธกล่าวทิ้งท้าย ขอขอบคุณ คุณสราวุธ อยู่เชื้อ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เพิ่มพูนฟาร์ม จำกัด โทร.091-575-8577