การบริหารจัดการ ฟาร์มหมู คุณภาพ ด้วย อาหารหมักจากยีสต์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“วรรณพงษ์ฟาร์ม” เป็นอีกหนึ่งฟาร์มที่เลี้ยงหมูพ่อแม่พันธุ์ เพื่อผลิตสุกรขุน และลูกสุกร จำหน่าย ก่อตั้งมา 10 ปีเต็ม โดยเริ่มแรกเลี้ยงในระบบรับจ้างเลี้ยงกับบริษัทรายใหญ่ประมาณ 4 ปี จากนั้นเปลี่ยนเป็นระบบให้เช่ากับบริษัทเดิมประมาณ 3 ปี จึงได้เปลี่ยนระบบโดยหันมาเลี้ยงเองเป็นระบบอิสระ และลงทุนเอง บริหารงานโดย คุณกู้เกียรติ วรรณพงษ์ บัณฑิตจาก ม.วงษ์ชวลิตนครราชสีมา

เดิมทีคุณกู้เกียรติมีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง และได้ซื้อที่ดินจำนวน 16 ไร่ ในเขต อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ โดยมีเจตนาที่จะทำฟาร์มโค เพราะตนชอบโค และได้เลี้ยงโคสายพันธุ์บราห์มัน ด้วยเหตุที่โคราคาตกจึงได้ขายออกไป ต่อมามีโอกาสได้รับเหมางานของบริษัทเกี่ยวกับปศุสัตว์รายใหญ่ และมีรุ่นน้องที่รู้จักแนะนำให้ลองทำ ฟาร์มหมู ประกอบกับคุณกู้เกียรติกำลังคิดเรื่องการพักงานรับเหมาก่อสร้าง เพราะต้องเดินทางบ่อย จึงอยากจะอยู่เป็นหลัก จึงตัดสินใจเลี้ยงหมูเป็นอาชีพหลักจนถึงปัจจุบัน โดยจำหน่ายลูกสุกรขุนเป็นหลัก

2.คุณกู้เกียรติ-วรรณพงษ์-เลี้ยงสุกรขุน-จ.ชัยภูมิ
2.คุณกู้เกียรติ-วรรณพงษ์-เลี้ยงสุกรขุน-จ.ชัยภูมิ ฟาร์มหมู ฟาร์มหมู ฟาร์มหมู ฟาร์มหมู ฟาร์มหมู ฟาร์มหมู 

สภาพพื้นที่เลี้ยงสุกร

งบประมาณในการลงทุนครั้งแรก ในส่วนของโรงเรือน เมื่อ 10 ปีที่แล้ว รวมทั้งพื้นที่ประมาณ 11 ล้านบาท ทุนในการสร้างและขยายฟาร์มจะเป็นทุนของตนเอง ส่วนหนึ่งได้มาจากการกู้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) อนาคตอาจจะย้ายไปธนาคารออมสิน และอีกส่วนหนึ่งได้มาจาก คุณสกล วรรณพงษ์ รองผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย

จากที่เคยเลี้ยงในระบบรับจ้างเลี้ยงกับบริษัทรายใหญ่ เมื่อเปลี่ยนมาเลี้ยงแบบอิสระ แต่การดูแลและการจัดการยังคงเหมือนเดิม เนื่องจากคนดูแลเป็นชุดเดิม เพียงแต่ทางฟาร์มต้องลงทุนซื้อพ่อ-แม่พันธุ์เอง ซึ่งปัจจุบันมีแม่พันธุ์ประมาณ 300 แม่ ส่วนมากจะเป็นพันธุ์ของเดนมาร์ค โดยซื้อทั้งพันธุ์แท้ และพันธุ์สองสายเข้ามา

ส่วนพ่อพันธุ์จะเป็นพันธุ์ปากช่อง 5 ของกรมปศุสัตว์ ต่อมาได้ซื้อพ่อพันธุ์แลนด์เรซกับลาร์จไวท์เข้ามา เพื่อที่จะทำพันธุ์สองสายขึ้นมาเอง ก็คือ พันธุ์เดนมาร์ก และปากช่อง ปัจจุบันมีพ่อพันธุ์ทั้งหมด 7 ตัว มีแลนด์เรซและลาร์จไวท์อย่างละ 5 ตัว ปากช่อง 5 มี 2 ตัว และเริ่มที่จะทำแม่พันธุ์เองบ้างแล้ว

ปัจจุบันทางฟาร์มมีลูกเล้าทั้งหมด 6 ราย เป็นลูกค้ารายใหญ่เจ้าประจำ และมีเกษตรกรรายย่อยในชุมชนละแวกใกล้เคียงที่เลี้ยงกันในครอบครัวประมาณ 20-30 ตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.โรงเรือนสุกร
3.โรงเรือนสุกร
4.แม่พันธุ์สุกร
4.แม่พันธุ์สุกร

การบริหารจัดการ ฟาร์มหมู

การดูแลและการจัดการสุกรภายในฟาร์มจะมีการแบ่งชุดทำงาน คือ ฝั่งโรงเรือนแม่พันธุ์อุ้มท้องและพ่อพันธุ์ จะมีผู้ดูแล 2 คน ส่วนฝั่งเล้าคลอดและอนุบาล จะมีผู้ดูแล 3 คน สัตวบาล 1 คน ดูแลและให้คำแนะนำลูกเล้า ถ้ามีเวลาคุณกู้เกียรติจะเป็นคนไปดูเอง พนักงานส่วนมากจะเป็นคนเก่า

ผู้ที่ดูแลในเรื่องของรีดน้ำเชื้อ เงินเดือน 10,000-12,000 บาท ผู้ที่ดูแลในเรื่องหมูอุ้มท้อง 10,000 บาท และอีก 2 คน คนละ 8,500 บาท มีสวัสดิการ เช็คจำนวนลูกหมู/ปี และเปอร์เซ็นต์การผสมติด คิดเป็นชุด เป็นโบนัสแต่ละปี ปัญหาด้านแรงงานทางฟาร์มไม่ประสบปัญหานั้น

รูปแบบโรงเรือนของทางฟาร์ม

รูปแบบโรงเรือนของทางฟาร์ม เดิมจะเป็นโรงเรือนแบบปิด (Evap) แต่ลูกเล้าของฟาร์มส่วนมากจะเป็นโรงเรือนเปิด คุณกู้เกียรติจึงมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับลูกเล้า เพราะมีปัญหาในกรณีที่เลี้ยงในระบบอีแวป เมื่อนำลูกหมูที่เลี้ยงในโรงเรือนอีแวปไปให้ลูกเล้าเลี้ยง ทำให้การเจริญเติบโตของลูกหมูหยุดชะงัก

เนื่องจากลูกหมูต้องใช้เวลาในการปรับตัวพอสมควร พอเปลี่ยนมาเลี้ยงในระบบเปิด เมื่อนำลูกหมูไปลงให้ลูกเล้า ปรากฏว่าการเจริญเติบโตของลูกหมูในช่วงแรกจะดีกว่า ส่วนทางฟาร์มมีโรงเรือน 4 หลัง จะแบ่งเป็นโรงเรือน โดยโรงเรือนแม่พันธุ์อุ้มท้องและพ่อพันธุ์ 2 หลัง  และมีโรงเรือนอนุบาลและโรงเรือนสำหรับคลอด 2 หลัง

5.อาหารสุกรระยะต่างๆ
5.อาหารสุกรระยะต่างๆ

การให้อาหารและน้ำสุกร

อาหารที่ใช้เลี้ยงลูกสุกรใช้ของ บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด ในลูกสุกรจะใช้อาหารเลียราง เบอร์1008 ใช้ได้ตั้งแต่ลูกสุกรมีอายุ 1 สัปดาห์ ให้ร่วมกับน้ำนมแม่  เมื่อลูกสุกรมีอายุครบ 3 สัปดาห์ จะให้อาหารเบอร์ 101 ผสมกับอาหารเลียราง เบอร์ 1008 ในกรณีที่ลูกค้ารับสุกรไซส์เล็กหลังหย่านม ทางฟาร์มจะมีอาหารสุกรถุงเล็ก เบอร์ 1003 ให้ไป 1 ถุง

อาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์ จะใช้อาหารสำเร็จรูปของ บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด ผสมกับอาหารที่ทางฟาร์มผสมเอง เช่น ปาล์มเนื้อในหมักยีสต์ หรือมันสำปะหลังหมักยีสต์ ผสม โดยใช้อาหารสำเร็จรูป 2 ถุง ใช้มันสำปะหลังหมักยีสต์ 4 ถุง และปาล์มเนื้อในหมักยีสต์ 2 ถุง ทางฟาร์มจะผสมให้สุกรกินวันต่อวัน ประมาณ 600-700 กก./วัน ในส่วนของแม่พันธุ์จะให้วันละ 3 กก./วัน แต่ถ้าเป็นแม่พันธุ์หลังคลอดจะมีการให้อาหารเพิ่ม โดยสังเกตขนาดตัวของแม่พันธุ์ ในบางตัวอาจจะได้กินถึง 6 กก./ตัว/วัน จะให้ 2 รอบ ตอน 7 โมงเช้า กับบ่าย 2 โมง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แหล่งน้ำที่ใช้ในฟาร์มจะเป็นน้ำบาดาลของฟาร์มเอง โดยจะมีการสุ่มตรวจตัวอย่างน้ำเป็นประจำ เอามาตรวจที่มหาวิทยาลัยสุรนารี จ.นครราชสีมา

6.ลูกสุกรแรกคลอด
6.ลูกสุกรแรกคลอด

การจำหน่ายลูกสุกรขุน

ลูกสุกรขุนที่จำหน่ายให้ลูกเล้าทางฟาร์มจะมีการคัดแยก โดยแบ่งเป็น 2 ไซส์ คือ ลูกสุกรหย่านม มีน้ำหนักตัวประมาณ 7 กก. และไซส์ที่หย่านม มีน้ำหนักประมาณ 9-10 กก. โดยราคาจำหน่ายจะอิงราคาประกาศจากรัฐบาล

ลูกสุกรไซส์เล็กทางฟาร์มจะทำวัคซีนไมโครฯ และ AD แต่ถ้าเป็นไซส์ใหญ่ขึ้นก็จะมีการตกลงกับลูกเล้าว่าต้องการให้ทางฟาร์มทำวัคซีนตัวไหนให้ ทางฟาร์มจะทำให้ โดยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มตามราคาที่กำหนด

ถ้าหากเป็นแม่พันธุ์ก็จะมีค่าสายพันธุ์ต่างหาก ส่วนมากจะขายแม่พันธุ์สองสายให้ลูกค้าเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงในจำนวนไม่มาก และแม่สุกรแต่ละตัวทางฟาร์มจะใช้ประมาณ 5-6 ครอก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะดูเปอร์เซ็นต์การให้ลูกด้วยว่ายังมีความสม่ำเสมอ หรือให้ลูกสุกรที่แข็งแรง ก็อาจจะยืดการปลดไปอีก อัตราการให้ลูกจะอยู่ที่ 12-14 ตัว/ครอก/แม่

อัตราการผลิตลูกสุกรตอนนี้อยู่ที่ 500-600 ตัว/เดือน เมื่อสุกรครบกำหนดจับ หากเกษตรกรใช้อาหาร (สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรโดยใช้อาหารสุกรของ บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด) ซึ่งทางฟาร์มเป็นตัวแทนจำหน่าย ทางบริษัทมีนโยบายจับสุกรขุน

โดยที่เกษตรกรผู้เลี้ยงไม่จำเป็นต้องหาตลาดในการจำหน่ายสุกรขุน ซึ่งถือว่าลดภาระในการหาตลาดมารองรับสุกรที่ตนเลี้ยง ส่วนเกษตรกรที่ไม่ร่วมโครงการ คือไม่ใช้อาหารของบริษัท มิตรภาพฯ หากถึงกำหนดจับ แต่หาพ่อค้าไม่ได้ ทางบริษัทก็สามารถช่วยได้ ราคาก็จะลดหลั่นกันไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.คอกกกสุกรแรกคลอด
7.คอกกกสุกรแรกคลอด

แนวโน้มในอนาคต

อนาคตก็อยากจะเลี้ยงโคด้วย แต่เป้าหมายที่วางไว้ต้องเพิ่มแม่หมูให้ได้ 500 แม่ และจะพัฒนาและผลิตสายพันธุ์สุกรขึ้นมา โดยนำมาใช้ภายในฟาร์ม และจำหน่ายเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ อีกแผนหนึ่งก็จะมีการเรียกลูกเล้ามาพูดคุยกันถึงแผนงานต่างๆ และทิศทางการเลี้ยงสุกร

อนาคตจะซื้อที่ดินบริเวณข้างฟาร์มประมาณ 16 ไร่ โดยจะเพิ่มแม่สุกรให้เต็ม 500 แม่ และในบางส่วนทางฟาร์มจะทำการขุนเอง โดยจะสร้างโรงเรือนใหม่สำหรับสุกรขุนจำนวน 5 หลัง เป็นโรงเรือนเปิดระบบปิด เนื่องจากทางฟาร์มตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากชุมชน และระยะห่างของแต่ละฟาร์มค่อนข้างไกลกัน จึงไม่ประสบเรื่องโรค และมีการจัดการป้องกันโรคได้ดี

8.พัดลมระบายอากาศ
8.พัดลมระบายอากาศ

ปัญหาและอุปสรรคในฟาร์มสุกร

ปัญหาและอุปสรรคในการทำฟาร์ม ในช่วงแรกของการเลี้ยงแบบอิสระจะมีปัญหาตรงที่ทางฟาร์มยังไม่มีลูกเล้า เพราะเดิมทำกับบริษัทรายใหญ่ ไม่ต้องหาลูกค้า เพราะเขาจะมารับลูกสุกร มีเท่าไหร่ก็ขายให้เขา ตอนแรกเราจะเหนื่อยกับการต้องวิ่งหาลูกค้า แต่ปัจจุบันลูกสุกรขุนในฟาร์มไม่พอกับความต้องการของเกษตรกร แก้ไขโดยวางแผนผลิตลูกสุกรเพิ่มจากเดิม

โดยวางแม่พันธุ์เดือนละ 60 แม่ เดิมจะแบ่งผสมต้นเดือนกับกลางเดือน คือ จะผสม 2 ชุด ชุดละ 30 แม่ โดยใช้วิธีการชะลอการหย่านมของลูกสุกร เพื่อให้แม่สุกรครบรอบการเป็นสัดพร้อมกัน แต่ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนเป็นผสมชุดเดียว 60 แม่ ในต้นเดือน เพราะเริ่มมีลูกค้าสั่งมากขึ้น

ปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ ในฤดูหนาวเล้าเปิดจะมีผลกระทบกับลูกสุกรแรกคลอด ดังนั้นต้องมีม่าน หรือมุ้ง คลุมโรงเรือนเพื่อป้องกันลมหนาว และต้องมีการกก เพื่อให้อุณหภูมิมีความสม่ำเสมอ ส่วนฤดูฝนจะไม่ค่อยเกิดปัญหา แต่ถ้าเป็นฤดูร้อนจะมีปัญหาเรื่องของน้ำ คือ ต้องใช้น้ำเยอะ ส่วนปัญหาด้านการดูแลไม่พบปัญหา เนื่องจากผู้เลี้ยงมีความชำนาญมากพอสมควร ปัญหาที่มีจะเป็นเรื่องของฟาร์มลูกเล้าอยู่ไกล และกระจายกันไปในเขตจังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดใกล้เคียง

การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม หลังจากให้อาหารทุกครั้งจะมีการเก็บมูล นำมูลมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง บรรจุถุงละประมาณ 25 กิโลกรัม จำหน่ายให้เกษตรในราคา 35 บาท/ถุง ซึ่ง 1 สัปดาห์ สามารถเก็บมูลสุกรได้ถึง 400 ถุง ในช่วงที่แม่สุกรคลอดทางฟาร์มไม่มีเวลา เกษตรกรจะมากรอกเอง ส่วนน้ำเสียที่เกิดจากการทำความสะอาด จากการอาบน้ำให้แม่สุกร และการหยดน้ำให้แม่สุกร รวมถึงฉี่ของสุกร โดยทางฟาร์มจะมีบ่อบำบัดน้ำเสีย 3 บ่อ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
9.เขตปลอดเชื้อ
9.เขตปลอดเชื้อ ฟาร์มหมู ฟาร์มหมู ฟาร์มหมู ฟาร์มหมู ฟาร์มหมู ฟาร์มหมู ฟาร์มหมู ฟาร์มหมู ฟาร์มหมู 

การป้องกันกำจัดโรคระบาด

การป้องกันโรคของทางฟาร์ม คือ การหาพันธุ์แลนด์เรซ หรือลาร์จไวท์ มาทำแม่สองสายเอง จะเป็นการป้องกันโรคได้ เพราะทางฟาร์มไม่เคยเกิดโรค เนื่องจากคนดูแลจะเป็นคนเดิม และเข้มงวดการเข้า-ออกฟาร์ม เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคติดมาจากคน เนื่องจากส่วนมากชาวบ้านเห็นอะไรแปลกๆ เช่น หมูตาย ก็จะมามุงดู นั่นอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการแพร่เชื้อ ส่วนการทำวัคซีนที่ทางฟาร์มทำเป็นประจำ คือ การถ่ายพยาธิ

อาหารสูตรหมักยีสต์ที่คุณกู้เกียรติทำนั้นสามารถลดต้นทุนได้จริง “ปกติทางฟาร์มต้องจ่ายค่าอาหารต่อประมาณ 280,000-300,000 บาท/เดือน ซึ่งได้ลองผิดลองถูกมาระยะหนึ่ง หลังๆ ได้นำตัวอย่างที่หมักส่งตรวจที่ปากช่อง พบว่ามีโปรตีนอยู่ 16-18% ทางฟาร์มจึงได้นำ ฟาร์มหมู ลูกเล้าเกี่ยวกับการผสมอาหารมันหมักยีสต์และรำข้าวในช่วงราคาหมูตกต่ำ”

10.สุกรขุน
10.สุกรขุน

ด้านตลาดสุกรขุน

สำหรับเกษตรกรรายย่อยปัจจุบันมีอยู่เยอะพอสมควร แต่ก็ดูรายที่มีศักยภาพที่ทำงานกันได้ และจะลดลูกเล้าลง แต่ปริมาณการเลี้ยงเพิ่มขึ้น เพราะจะทำงานได้ง่ายขึ้น เนื่องจากปัจจุบันลูกเล้าอยู่อย่างกระจาย และจะมีฟาร์มชื่อ ฝรั่งฟาร์ม สามารถเลี้ยงหมูขุนได้ 600-800 ตัว ซึ่งกำลังติดต่อกับทางวรรณพงษ์ฟาร์ม เพื่อลงหมู 240 ตัว/เดือน เดิมเขาลงลูกสุกรกับฟาร์มหนึ่งในเขตพื้นที่ใกล้เคียง แต่การจับสุกรของเขาไม่ค่อยเป็นระบบ พอสุกรราคาสูงเขาก็มาบ้าง ไม่มาบ้าง และที่สำคัญเขาจะนำสุกรจากหลายแหล่ง หลายไซส์ มาให้

กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันพยายามลดปัญหาของเกษตรกรรายย่อย ก็คือ พ่อค้าไม่มาจับ บางทีหมูน้ำหนักเกินไปถึง 130-150 กก. พอขายก็ขาดทุน ทีนี้อนาคตมองว่าถ้าเกษตรรายย่อยมีสุกรขุนไม่ถึง 60 ตัว ให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกัน เพื่อให้สุกรจำนวน 60 ตัว และใช้อาหารตามที่ทางฟาร์มจัดสรรให้ รายละเอียดและเงื่อนไขราคาต้องมาดูกันอีกที

นอกจากจำหน่ายลูกสุกรขุนแล้ว วรรณพงษ์ฟาร์มยังจำหน่ายน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ในราคาประมาณ 300 บาท/โด๊ส โดยส่วนมากจะเป็นพ่อพันธุ์ปากช่อง

11.คอกอนุบาลลูกสุกร
11.คอกอนุบาลลูกสุกร

เป้าหมายในการเลี้ยงสุกร

มุมมองต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมในช่วงแรกเจอปัญหาเรื่องการตลาด เนื่องจากลูกสุกรขายไม่ได้ เมื่อเริ่มเป็นระบบมากขึ้น ทุกอย่างจะง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดชุดคลอด และชุดผสมพันธุ์ เป็นต้น ปัจจุบันลูกค้าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 500-600 ตัว จากนั้นลดลูกเล้ารายย่อย เหลือแค่ลูกค้าประจำที่ทำกับทางฟาร์ม เพื่อทำงานง่ายขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรในเขตนี้ เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่มั่นใจในสายพันธุ์ของฟาร์ม และความสม่ำเสมอในการส่งลูกหมู ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล นอกจากนี้ยังไปติดตามดูแลและให้คำแนะนำเทคนิคต่างๆ และมีทีมงาน 2 คน ออกพื้นที่ เพื่อให้คำปรึกษาแก่เกษตรกร เรื่องของยา วัคซีน และอาหาร” ดั่งสโลแกนในการบริหารฟาร์ม “ไม่ว่าเกษตรกรจะอยู่ใกล้ หรืออยู่ไกล ยังไงเราก็ไปหา”

“ผมห่วงเรื่องราคา ถ้าเราไปมองที่เขียงหรือปลายน้ำก็บอกว่าราคาแพง อยากให้หันมาดูเกษตรกรผู้เลี้ยงบ้าง  อย่างเช่น ผม กว่าจะผลิตลูกหมูได้ต้องใช้เวลาถึง 4 เดือน จากนั้นก็อนุบาลลูกสุกรให้ได้ตัวที่แข็งแรง จนสามารถนำไปส่งให้ลูกเล้า ต้องให้เวลาอีกประมาณ 1 เดือน ในบางครั้งมีเรื่องของอุณหภูมิที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

จากนั้นจะส่งให้ลูกเล้าเลี้ยงต่อไปอีก 3-4 เดือน กว่าจะได้สุกรขุนที่มีคุณภาพ แต่ราคามีความไม่แน่นอน มิหนำซ้ำบางพื้นที่ยังโดนเขียงหมูกดราคาอีก แต่พอพ้นจากเขียงหมูไปแล้ว ราคากลับสูงขึ้นเกือบเท่าตัว อยากฝากถึงผู้ที่มีศักยภาพ ถ้าไม่เหนือบ่ากว่าแรงก็ให้ 70 บาท/กก. ถือว่าสงสารเกษตรกรที่อดทนสู้เลี้ยงมา 3-4 เดือน ” คุณกู้เกียรติได้ฝากทิ้งท้าย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณกู้เกียรติ วรรณพงษ์ วรรณพงษ์ฟาร์ม เลขที่ 444 ม.13 ต.กุดน้ำใส อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ 36130 โทร.088-373-5500