ฟาร์มออนไลน์ สั่งงานผ่านมือถือ ช่วย ลดการสูญเสียไก่เนื้อ และ ลดต้นทุนด้านอาหาร 

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า “เทคโนโลยี” ที่ทันสมัยมีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมไก่เนื้อเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัญหาด้านแรงงาน สายพันธุ์สัตว์ และการบริหารจัดการภายในฟาร์ม ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตทั้งสิ้น ดังนั้นเทคโนโลยีต่างๆ จึงถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยง และเพิ่มปริมาณการผลิต ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

คุณสุนิสา ตะกุด เจ้าของ “สุนิสาฟาร์ม” เลขที่ 139 หมู่ 6 ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี หนึ่งในเกษตรกรที่นำเทคโนโลยีการระบายอากาศของ บริษัท สค๊อฟ จำกัด มาใช้ในโรงเรือนอีแวป (Evap) โดยเลี้ยงไก่เนื้อในโครงการส่งเสริมเลี้ยงไก่เนื้อ (ประกันราคา) ของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ซึ่งได้ทำอาชีพนี้ต่อจากคุณพ่อมาร่วม 20 ปี

1.โรงเรือนไก่เนื้อ แบบ ฟาร์มออนไลน์
1.โรงเรือนไก่เนื้อ แบบ ฟาร์มออนไลน์
2.คุณสุนิสา-ตะกุด-ขวา-เจ้าของสุนิสาฟาร์ม
คุณสุนิสา-ตะกุด-ขวา-เจ้าของสุนิสาฟาร์ม ฟาร์มออนไลน์ ฟาร์มออนไลน์ ฟาร์มออนไลน์ ฟาร์มออนไลน์

คุณสุนิสาเล่าว่า “อาชีพเลี้ยงไก่เนื้อของครอบครัวเริ่มต้นโดยคุณพ่อเป็นผู้สร้างฟาร์มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เลี้ยงไก่จำนวน 7,000 ตัว ในระบบเปิดกับซีพีเอฟ ต่อมาในปี พ.ศ.2544 ตนได้เข้ามาดูแล และทำการปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงไก่มาเป็นโรงเรือนระบบปิด สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ หรือที่เรียกว่า ระบบอีแวป พร้อมกับขยายอัตราการเลี้ยงจากเดิมเป็น 20,000 กว่าตัว/หลัง ปัจจุบันมีโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อทั้งหมด 6 หลัง สามารถเลี้ยงไก่ได้ 100,000 กว่าตัว”

สาเหตุที่มีการขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ทั้งที่การลงทุนต้องใช้เงินค่อนข้างสูง เพราะเล็งเห็นว่าอาชีพเลี้ยงไก่เนื้อเป็นอาชีพที่มีความมั่นคง และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างดี อีกทั้งยังได้รับคำแนะนำและการช่วยเหลือจากซีพีเอฟ ทำให้คุณสุนิสาเกิดความเชื่อมั่น และกล้าตัดสินใจในการลงทุนขยายฟาร์มเพิ่ม

นอกจากนี้ยังได้นำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นระบบการให้อาหารแบบอัตโนมัติ ที่ช่วยลดแรงงานคน และระบบระบายอากาศของบริษัท สค๊อฟฯ ที่ช่วยลดอัตราสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นตลอดระยะการเลี้ยง และทำให้การจัดการภายในโรงเรือนง่ายขึ้น “เพราะมองว่าโลกของเราในอนาคตจะถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีมากขึ้น ระบบเก่าอย่างการเทอาหารที่ใช้แรงงานคน ซึ่งปัจจุบันก็เริ่มหายากขึ้นทุกขณะ และเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถลดการใช้แรงงานได้เพียงคนเดียว สามารถดูแลได้ถึง 2 โรงเรือน” คุณสุนิสากล่าวถึงเหตุผลที่นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้พัฒนาฟาร์ม

3.หน้าจอมอนิเตอร์
หน้าจอมอนิเตอร์
พัดลม
พัดลม

ข้อดีของการใช้ระบบระบายอากาศ

สำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อของสุนิสาฟาร์ม ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ น้ำ ไฟฟ้า และอากาศ ที่รวมถึงอุณหภูมิภายในโรงเรือน ซึ่งตลอดทั้งปีจะต้องมีน้ำไว้ใช้เลี้ยงไก่เนื้ออย่างเพียงพอ ถ้าหากขาดแคลนอาจส่งผลให้การเจริญเติบโตของไก่เนื้อไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนเรื่องไฟฟ้าในพื้นที่ตั้งฟาร์มค่อนข้างประสบปัญหาไฟฟ้าเกิดเหตุขัดข้องบ่อยครั้ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดังนั้นต้องเตรียมเครื่องสำรองไฟฟ้าให้พร้อม เพื่อป้องกันการเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ส่วนเรื่องอากาศ หรืออุณหภูมิภายในโรงเรือน ถ้าหากไม่มีความสม่ำเสมอก็จะทำให้สัตว์ที่เลี้ยงปรับตัวได้ยาก ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตได้ ซึ่งระบบระบายอากาศของบริษัท สค๊อฟฯ จะมีตัวควบคุมและประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้อากาศช่วงหน้าคูลลิ่งแพดกับท้ายโรงเรือนแตกต่างกันน้อยที่สุด โดยจะมีระบบช่องลมเปิด-ปิดตามความเหมาะสม เพื่อการถ่ายเทอากาศที่ดี และได้อุณหภูมิที่สม่ำเสมอ

“ตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่เลี้ยงไก่เนื้อในโรงเรือนระบบระบายอากาศของบริษัท สค๊อฟฯ สิ่งแรกที่ประทับใจ คือ การจัดการง่ายขึ้น อากาศในโรงเรือนค่อนข้างถ่ายเท ไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูร้อน หรือฤดูไหนๆ ไก่ก็สามารถอยู่ได้ ซึ่งระบบจะมีหลายโปรแกรมให้เลือกใช้ได้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม จึงทำให้การเลี้ยงไก่ในปริมาณมากเป็นเรื่องที่ง่าย แตกต่างจากการเลี้ยงไก่ในสมัยก่อนที่แทบจะไม่มีเวลาไปทำอย่างอื่น หรือพูดง่ายๆ ว่ากินนอนอยู่ที่นั่นเลย เพราะต้องคอยปรับอุณหภูมิขึ้น-ลงอยู่ตลอด ไม่เหมือนระบบอัตโนมัติดังเช่นปัจจุบัน” คุณสุนิสากล่าวเสริมถึงข้อดี

เมื่อถามถึงแผนอนาคตของสุนิสาฟาร์ม ได้รับคำตอบว่า “ถ้าหากมีเงินทุนจะขยายฟาร์มเพิ่ม โดยการสร้างโรงเรือนที่ใช้ระบบของบริษัท สค๊อฟฯ ที่ช่วยให้การบริหารจัดการง่ายขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่เนื้อเป็นไปตามความต้องการของตลาด และตนมั่นใจว่าเทคโนโลยีนี้สามารถตอบโจทย์เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อได้เป็นอย่างดี”

4.ดูรายละเอียดได้ง่ายบนหน้าจอมอนิเตอร์
ดูรายละเอียดได้ง่ายบนหน้าจอมอนิเตอร์
สายพันธุ์ไก่เนื้อ
สายพันธุ์ไก่เนื้อ

การบริหารจัดการโรงเรือนไก่เนื้อแบบ ฟาร์มออนไลน์

ด้านบริษัท สค๊อฟ จำกัด ผู้ผลิตสินค้าระบบระบายอากาศในธุรกิจปศุสัตว์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในส่วนของฟาร์มไก่เนื้อ ทางบริษัทฯ จะนำข้อมูลของลูกค้าว่าต้องการอะไรบ้าง โรงเรือนมีขนาดเท่าไหร่ เลี้ยงไก่จำนวนกี่ตัว น้ำหนักแรกเข้า และน้ำหนักไก่ออก เท่าไหร่ สายพันธุ์ที่เลี้ยง และทำเลที่ตั้ง เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาทำการออกแบบโรงเรือนว่าควรมีพัดลมกี่ตัว คูลลิ่งแพค และพัดลม ควรวางตำแหน่งไหน เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของโรงเรือน

ซึ่งบางฟาร์มมีการดีไซน์ไม่เหมือนกัน เนื่องจากต้องคำนวณทิศทางลม และสิ่งกีดขวางภายในโรงเรือน โดยการใช้วิธีทดสอบควัน หรือสโม๊คเทส (Smoke Test) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมกับโรงเรือนนั้นๆ การทำงานเริ่มจากห้องควบคุม หรือออฟฟิศ มีโปรแกรมที่เรียกว่า “ ฟาร์มออนไลน์ ” เป็นโปรแกรมที่รวบรวมข้อมูลจากในโรงเรือนมาบันทึกเป็นข้อมูล ให้สามารถดูรายละเอียดได้ง่ายที่สุดบนหน้าจอมอนิเตอร์ และสมาร์ทโฟน ว่ามีจำนวนสัตว์ที่เลี้ยง อุณหภูมิ และความชื้น เท่าไหร่ สามารถสั่งงานผ่านทางโปรแกรมดังกล่าวได้ ที่สำคัญสามารถรายงาน ADG และ FCR ได้ด้วย

ระบบของบริษัท สค๊อฟฯ จะมีโปรแกรมที่เซ็ตค่าไว้แล้วในแต่ละวัน เพื่อให้เหมาะสมกับช่วงฤดูของแต่ละปี เช่น กลางคืนหนาว ส่วนกลางวันร้อน ก็จะมีเซ็นเซอร์ที่เป็นมาตรวัดติดไว้ 3 ตำแหน่ง คือ ด้านหน้าคูลลิ่งแพด ด้านนอกโรงเรือน และตรงกลางโรงเรือน เพื่อนำเอาค่าที่วัดได้ทั้ง 3 ตำแหน่งนี้มาประมวลผลว่าเมื่ออากาศด้านนอกเริ่มร้อน อากาศด้านในจะต้องเตรียมตัวอย่างไร หรืออากาศด้านนอกมีอากาศเย็น ด้านในควรเตรียมตัวอย่างไร เป็นต้น เพราะฉะนั้นเซ็นเซอร์จะเป็นตัวประมวลผล และสั่งการระบบให้ทำงานตามความเหมาะสม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับการเทรนสินค้า หรือเซอร์วิส จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

  1. ส่วนของหน้างาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสัตวบาลประจำฟาร์ม หรือผู้ดูแล
  2. ผู้จัดการฟาร์ม
  3. เจ้าของฟาร์ม ซึ่งแต่ละคนจะเรียนรู้ฟังก์ชันที่ไม่เหมือนกัน อย่างเช่น สัตวบาลจะต้องเรียนรู้ในการปรับแต่งเพิ่มค่าความชื้น หรือเพิ่ม/ลดอุณหภูมิในแต่ละโรงเรือน เป็นต้น ส่วนการเซอร์วิสทางบริษัทมีแผนงานอยู่แล้ว และรับประกันสินค้า 2 ปี
5.ให้อาหารไก่เนื้อ
ให้อาหารไก่เนื้อ

การให้อาหารไก่เนื้อ

ในแง่ของการลดต้นทุนด้านอาหารจะมีชุดควบคุมปริมาณอาหาร ซึ่งการทำงานหลัก คือ ช่วยดูการเจริญเติบโตของไก่ว่าค่า ADG และ FCR ในแต่ละวันเป็นอย่างไร ได้ตามเกณฑ์หรือไม่ ผลพลอยได้ ก็คือ สามารถคำนวณว่าวันนี้ไก่จะกินอาหารปริมาณเท่าไหร่ และในรอบการเลี้ยงต่อไปจะสั่งอาหารปริมาณเท่าไหร่ เพื่อให้พอเหมาะกับปริมาณไก่ในโรงเรือน ซึ่งถ้าไม่มีตรงนี้ต้องคำนวณเอง อาจเกิดความผิดพลาดได้ จึงมุ่งเน้นผลิตสินค้าที่ช่วยในการลดการใช้แรงงาน และลดการใช้พลังงานในฟาร์ม เพื่อผลกำไรที่ดีของเกษตรกร ฟาร์มออนไลน์ ฟาร์มออนไลน์ ฟาร์มออนไลน์