สมุนไพร “ENCAP” ดีจริงหรือไม่?.. สำหรับเกษตรกร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

          ทีมงานนิตยสารสัตว์บกได้มีโอกาสสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรจาก ดร.มานิจ วิบูลย์พันธุ์ ถึงที่มา และกระบวนการทำงานของ “สมุนไพร” และแผนงานที่จะต่อยอดการพัฒนาสมุนไพรเพื่อวงการปศุสัตว์ต่อไป

ดร.มานิจ วิบูลย์พันธุ์
ดร.มานิจ วิบูลย์พันธุ์

ประเทศไทยโชคดีมาก ที่อยู่ในเขตร้อนชื้น มีความหลากหลายทางชีวภาพสมบูรณ์มาก เรานึกถึงธุรกิจ นึกถึงการผลิตแบบแมส (Mass) มากไป เรานึกถึงความสะดวกสบายมากไป อะไรคือสิ่งที่ต้องการ อะไรไม่ต้องการ เราก็ลืมนึก เราจึงตกอยู่ภายใต้อาณานิคมทางความคิดของของวิทยาการสมัยใหม่ เราลืมนึกถึงความต้องการที่แท้จริงของสิ่งมีชีวิต ธรรมชาติสร้างทุกสิ่งและทำลายทุกสิ่งด้วยตัวของธรรมชาติเอง ด้วยความฉลาดของมนุษย์คิดหาวิธีเร่งเพื่อกอบโกยเข้าหาตัวเอง แต่หารู้ไม่ว่าสิ่งที่เราเร่งอยู่เป็นอาวุธร้ายที่มาทำลายพวกเรากันเองอย่างไม่รู้ตัว หลักการทำงานของสมุนไพรเป็นการฟื้นระบบการทำงานของร่ายกายหมูให้ฟื้นกลับมาเป็นธรรมชาติมากที่สุด อะไรที่บกพร่องอยู่หรือถูกกดไว้ให้ฟื้นกลับมาทำงาน กระตุ้นสิ่งที่ขาดอยู่ให้เพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายสัตว์ สมุนไพรที่ผมพัฒนามานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเก่าที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ จัดให้เป็นระบบ เป็นหมวด เป็นหมู่ ง่ายต่อการใช้งาน พูดได้เลยว่าเป็น Back to the nature or Back to the past หรือการย้อนกลับไปสู่ธรรมชาติหรือการย้อนกลับไปสู่อดีตที่หวานชื่นปลอดภัย

ระบบการทำงานของร่างกายสัตว์ประกอบด้วย เอ็นไซม์ ไม่มีเอ็นไซม์ไม่มีชีวิต ในหมูมีการค้นพบแล้วมากกว่า 300 ชนิด เอ็นไซม์ทำหน้าที่ในการย่อยสิ่งที่เข้าสู่ร่างกายสัตว์ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อาหาร อากาศ แสงแดด หรืออื่นๆ ตามความจำเป็นของร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 กระบวนการใหญ่ๆ คือ การย่อยที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร และการย่อยสารอาหารที่ผ่านการดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารเพื่อไปใช้ประโยชน์ที่เราเรียกว่าการเผาผลาญ ร่างกายหมูจะถูกสร้างทุกระบบมาอย่างสมบูรณ์ แต่จะถูกกดหรือถูกทำลายจนไม่สามารถใช้งานได้ด้วยปัจจัยสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นโภชนะที่ไม่เหมาะสม สารเคมี ยาปฏิชีวนะ และอื่นๆ จนทำให้ร่างกายขาดสิ่งที่ต้องการและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้นๆมีชีวิตอยู่ได้แบบขาดๆ เกินๆ วัตถุดิบต่างๆ หรือยาที่ใช้กันในวงการหมู ทุกอย่างดีและมีประโยชน์ เพราะผ่านการกลั่นกรองและพิสูจน์กันแล้วว่าใช้ได้ผลไม่มากก็น้อย แต่ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้และผู้ขายอาจจะเป็นผู้ก่อปัญหากันเสียเอง บ้างใช้ไม่ถูกกับโรค บ้างใช้น้อยไป บ้างใช้มากไป ร่ายกายหมูทานไหวก็ดีไป บ้างทานไม่ไหวก็ตายไป บ้างใช้ไม่ถูกกับโรคก็ไม่ได้ผล ยังความอ่อนแอมาสู่ตัวหมู เปิดโอกาสให้เชื้อโรคเข้าทำลาย เพราะร่ายกายหมูไม่แข็งแรง การใส่เอ็นไซม์ กรด หรือตัวช่วยย่อยอื่นๆ เป็นทางออกของเกษตรกร แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหมูขาดเอ็นไซม์ที่เราใส่ลงไป ในปริมาณเท่าไหร่หรือช่วงไหน อย่างไรก็สู้ให้หมูผลิตจากตัวมันเองไม่ได้

ทดลองใช้กับสุกร
ทดลองใช้กับสุกร
สมุนไพร ENCAP
สมุนไพร ENCAP

การทำงานของสมุนไพร คือ การเข้าไปกระตุ้นระบบของร่างกายหมูให้มีความต้องการอาหาร ต้องการเผาผลาญ เพราะฉะนั้นเอ็นไซม์เกือบทุกชนิดที่ร่างกายหมูผลิตได้จะตื่นตัวขึ้นมาเพื่อที่จะเอาสารอาหารไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เพื่อที่จะให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงมากที่สุด สรุปได้ว่าสมุนไพรที่ ดร.มานิจฯ ทำมาไม่ใช่ยา ที่เหมือนยาปฏิชีวนะ เป็นแค่สารออกฤทธิ์ในจำนวนที่เหมาะสมที่เข้าไปทำงานอย่างเป็นระบบ สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นสมุนไพรประเภทเดียวที่คนกิน เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นอันตรายต่อตัวสัตว์และไม่ตกค้างมาถึงตัวผู้บริโภคเนื้อหมูได้ ความผิดปกติที่เกิดจากโภชนะที่ไม่เหมาะสมและสารเคมีจำพวกยาปฏิชีวนะจึงไม่มี

ในเรื่องการต่อยอดทางความคิดที่กำลังทำอยู่มี 2 ชิ้นใหญ่ๆ คือ การค้นหาสมุนไพรที่ช่วยลดพิวรีนหรือสารตั้งต้นของกรดยูริค ที่เป็นสาเหตุให้คนเป็นโรคเก๊าท์ โดยเริ่มต้นจากลดพิวรีนที่อยู่ในสัตว์ปีกจำพวกไก่เป็นอันดับแรก ซึ่งได้ขอความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งกำลังฟอร์มงานอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะถ้าเรามองไปที่พิวรีนจริงๆ พิวรีนคืออนุพันธ์หนึ่งของโปรตีนที่ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโต ขาดพิวรีนไก่โตช้า โตแบบไม่สมบูรณ์ โจทย์ คือ ทำอย่างไรที่เราจะเอาพิวรีนบางอนุพันธ์ที่มีผลน้อยเรื่องการเจริญเติบโตออกไป โดยไม่ใช้สารเคมี แต่ให้ไก่สุขภาพดี โตดี แข็งแรง พิวรีนต่ำ ซึ่งก้าวหน้าไปมาก จุดเริ่มต้นจากการพัฒนาพันธุ์ไก่ไทยเบตงลูกผสม เลยสมารถต่อยอดความคิดมาในเรื่องโรคเก๊าท์ ที่ทำให้หลายคนไม่อยากกินไก่ อาจจะเป็นข่าวดีของคนไทยเร็วๆ นี้

อีกเรื่องที่กำลังทำอยู่เรื่อง อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง ซึ่งซบเซาไปมาก เกือบจะไม่เหลือให้เห็น เพียงทิ้งซากความทุกข์ทรมานให้เห็น เป็นหลุมเป็นบ่อ ปลูกต้นไม้ไม่ได้ รอเวลาธรรมชาติปรับสมดุลอาจจะมากกว่า 100 ปี ซึ่งกำลังพัฒนาสูตรสมุนไพรเพื่อที่จะช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งให้ทำอาชีพนี้อย่างยั่งยืน รื้อฟื้นทรัพยากรที่เหลือแต่ซากให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง และที่สำคัญปลอดภัยกับคนกินกุ้ง ไทยจะกลับมาส่งออกกุ้งรายใหญ่อีกครั้งไม่เกิน 4 ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand
ลักษณะไข่ของพ่อพันธุ์สุกร
ลักษณะไข่ของพ่อพันธุ์สุกร

[wpdevart_like_box profile_id=”1414452475453135″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]