สายพันธุ์หมู กินน้อย โตไว ให้เนื้อแดงเยอะ แข็งแรง ทนต่อโรค และสภาพอากาศ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แม้ช่วงตอนนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทั่วประเทศไทยกำลังประสบปัญหากับราคาหมูตกต่ำอย่างที่สุด ดังนั้นการพัฒนาและการปรับปรุงสายพันธุ์ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก ยิ่งราคาอาหารแพงมากขึ้น การพัฒนาให้หมูของเรามีADG (สุกรที่มีอัตราการเจริญเติบโต) ให้มาก แต่ให้มี FCR (สุกรที่มีประสิทธิภาพการใช้อาหาร) ให้น้อย หุ่นดี มีความทนต่อโรคและสภาพแวดล้อมอย่างดี

ถ้าพูดถึงนักพัฒนาหมูสายพันธุ์ดีของเมืองราชบุรีแล้ว คนในวงการสุกรต้องคิดถึง “เฮียนึก” หรือคุณสมนึก นะชินรัฐกุล  เจ้าของ “ชินรัฐฟาร์ม” อย่างแน่นอน แฟนๆ นิตยสารสัตว์บก อาจได้อ่านเนื้อหาของคุณสมนึกมาแล้วในนิตยสารเล่มแรกๆ ของเราที่ได้ติดตามการพัฒนา สายพันธุ์หมู ของเฮีย

ส่วนท่านใดที่พลาดโอกาสไม่ได้ติดตามช่วงแรกๆ ทางทีมงานจะนำเรื่องย่อๆ มาเล่าให้ทุกท่านได้รู้ก่อน เฮียสมนึกเป็นนักพัฒนาสายพันธุ์สุกร ซึ่งในการพัฒนาในแต่ละสายพันธุ์นั้นจะนำน้ำเชื้อที่มีคุณภาพเข้ามาจากต่างประเทศเน้นจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวออกมาให้มากที่สุด และนำจุดดีของแต่ละสายพันธุ์มาผสมรวมกัน เพื่อให้ได้สายพันธ์ที่ดีออกมาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง

1.คุณสมนึก-นะชินรัฐกุล-เจ้าของชินรัฐฟาร์ม
1.คุณสมนึก-นะชินรัฐกุล-เจ้าของชินรัฐฟาร์ม
2.สายพันธุ์หมู กินน้อย โตไว ให้เนื้อแดงเยอะ แข็งแรง ทนต่อโรค และสภาพอากาศ
2.สายพันธุ์หมู กินน้อย โตไว ให้เนื้อแดงเยอะ แข็งแรง ทนต่อโรค และสภาพอากาศ
แม่พันธุ์หมูขาว-สวย
แม่พันธุ์หมูขาว-สวย

การพัฒนา สายพันธุ์หมู

เฮียสมนึกเล่าว่า ตอนนี้ฟาร์มชินรัฐเน้นการพัฒนาสายพันธุ์สุกรที่ โตไว เนื้อแดง กินน้อย ต้องได้ค่า ADG ที่ดี และค่า FCR ที่เหมาะสม เนื้อแดงเยอะๆ แข็งแรง ทนต่อโรค เลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพอากาศบ้านเรา ยังคงจุดเด่นตรงนี้ให้ได้ดี

เมื่อถามถึงข้อดีของการนำเข้าน้ำเชื้อจากต่างประเทศ เฮียสมนึกกล่าวว่าช่วยลดในเรื่องของโรคที่ติดมากับตัวของพ่อพันธุ์ เพราะส่วนใหญ่การนำพ่อพันธุ์เข้ามาจะนำโรคเข้ามาด้วย เป็นการลดปริมาณโรคได้ครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าเรานำตัวสุกรเข้ามาส่วนใหญ่จะเอาโรคเข้ามาด้วย และเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการพ่อพันธุ์

แล้วการใช้น้ำเชื้อ เรายังสามารถเปลี่ยนตัวได้ แต่ถ้าเอามาเป็นตัว เราจะต้องใช้เขาจนตาย ในส่วนของวิธีการคัดสรรสายพันธุ์ ก็จะต้องดูย้อนกลับไปตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ของหมูตัวนั้นๆ ว่าเหมาะสมกับการนำมาพัฒนาสายพันธุ์ไหม และพัฒนาขึ้นไปได้ถึงไหน ถึงจะเลือกซื้อมา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ชินรัฐฟาร์มตอนนี้มีแม่พันธุ์ 200-300 ตัว พ่อพันธุ์ 30 ตัว หมูที่จำหน่ายทางฟาร์มจะมีเป็นหมูอนุบาลขายให้เกษตรกร และเก็บไว้พัฒนาอีกส่วน แต่ถ้าหากหมูที่เกษตรกรเอาไปแล้วพบว่าใช้ไม่ได้ หรือถ้ามีปัญหาอะไร ทางฟาร์มก็จะรับเคลมคืนเงินให้ ในส่วนของราคาก็สามารถต่อรองกันได้

“การลดต้นทุน เราจะพยายามหาสายพันธุ์ที่กินน้อยลง และการเจริญเติบโตให้ดีขึ้น จะช่วยลดต้นทุนได้ อาหารเราจะมีทั้งที่ผสมเอง และสั่งซื้อที่เป็นอาหารเม็ดเข้ามา เรื่องยาก็จะใช้ยาเฉพาะที่จำเป็น ที่มันสำคัญเท่านั้น เพราะเป็นการลดการตกค้างของยาในเนื้อสัตว์ต่อคนกินด้วย และเพื่อลดต้นทน” คุณสมนึกกล่าว

3.โรงเรือนหมู
3.โรงเรือนหมู

ปัญหาและอุปสรรคจากการเลี้ยงหมู

คุณสมนึกเล่าว่า “เหมือนกันหมดทุกฟาร์ม ใครอยู่ได้จะต้องมีเงินทุนสำรองสูง ต้องรู้จักปรับตัว พัฒนาอย่างเร็ว หาเทคนิคต่างๆ เข้ามาช่วย หรือหาธุรกิจอื่นๆ มาเสริมธุรกิจทางด้านนี้ ตอนนี้หมูมีจำนวนมาก คนใช้อาหารก็เลยมาก ราคาอาหารย่อมสูง แต่ถ้าหมูมีจำนวนน้อย คนใช้อาหารน้อย ราคาอาหารมันก็จะต่ำลง แผนงานการผลิตในปีหน้าของทางฟาร์มช่วงนี้คงจะต้องลดปริมาณการผลิตลง แต่ต้องผลิตหมูที่มีคุณภาพให้ดีมากยิ่งขึ้น ”

4.หมูเตรียมประมูล
4.หมูเตรียมประมูล

การจัดงานประมูลหมู

วันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จัดงานประมูลสุกรพันธุ์ รุ่นที่ 44 ซึ่งทางชินรัฐฟาร์มก็ได้เข้าร่วมประมูลงานนี้มาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว คุณสมนึกเล่าว่า

ทางชินรัฐฟาร์มปีนี้นำหมูมาร่วมประมูลมากกว่าเพื่อน เราก็คาดหวังเพียง 90 % ถ้าหากหมูที่เรานำมาร่วมประมูลเหลือ ถ้าหากมีคนติดต่อมาขอซื้อทีหลัง ราคาก็จะอยู่ที่เราตกลงกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งงานนี้ราคาประมูลเริ่มที่ 9,000 บาท โดยการมาร่วมงานประมูลหลักเกณฑ์ในการตั้งราคาที่ประมูลนี้ เราไม่สามารถตั้งหลักเกณฑ์ได้

แต่ส่วนใหญ่คนที่เขามาร่วมประมูลจะให้ราคาสูงๆ เพราะต้องการหมูที่มีค่าดัชนีการเจริญเติบโตสูงและดี กินน้อย เนื้อแดงเยอะ และก็ดูหุ่นที่เหมาะสม ในปีนี้ทางฟาร์มก็ส่งหมูเข้าร่วมประมูลจำนวน 11 ตัว ซึ่งถือว่ามากที่สุดในงานประมูลครั้งนี้ เพราะเรื่องราคาหมูตก เราพยายามคัดตัวที่เหมาะสมกับราคาที่จะเอามาร่วมประมูล เราจะคัดเอาตัวที่ผ่านการทดสอบว่าดี เน้นที่คุณภาพ เพื่อเป็นการการันตีสิ่งดีๆ เพื่อให้เกษตรกรสามารถจับต้องหมูดีๆ มีคุณภาพ ถ้าเราเอาหมูไม่ดีมา เราจะสู้เขาไม่ได้ แล้วคราวหน้าเราจะพัฒนาไม่ทันเขา” คุณสมนึกให้ความเห็น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.พันธุ์ดูรอคเจอซี่
5.พันธุ์ดูรอคเจอซี่

สายพันธุ์ที่ได้รับการประมูล

มีมากเลยครับ 1.เรื่องราคาที่ต่ำลง 2.เรื่องจำนวนคนที่มีกำลังซื้อเข้ามาประมูลน้อยลง 3.น้อยฟาร์มที่หมูเข้ามาร่วมประมูล เนื่องจากถ้าส่งมาแล้วราคาต่ำก็ไม่สามารถนำเงินไปต่อยอดพัฒนาฟาร์มได้ ”

สุกรที่ได้รับการประมูลในราคาสูงสุดในคราวนี้ในราคา 26,000 บาท คือ สุกรพันธุ์ดูรอคเจอซี่ เพศผู้ 61010440025 จากชินรัฐฟาร์ม ประมูลโดย คุณเทอดศักดิ์  ธีรานุวัตน์ เป็นการการันตีคุณภาพหมูของทางชินรัฐฟาร์ม อย่างเห็นๆ ผู้คนที่เข้าร่วมประมูลต่างยกป้ายประมูลแข่งขันกันประมูล สุดท้ายความสำเร็จของทางฟาร์มก็ประมูลหมูออกไปได้ 10 ตัว แม้ราคาหมูจะมีปัญหาตกต่ำ เฮียสมนึกก็ยังพัฒนาหมูส่งเข้าร่วมประมูลต่อไป การประมูลในครั้งนี้น่าจะเกิน 90 % ที่เฮียสมนึกคาดไว้มากเลยทีเดียว

6.ลูกหมูพันธุ์เพียเทรน
6.ลูกหมูพันธุ์เพียเทรน

ฝากถึงเกษตรกรที่เลี้ยงหมู

“อยากให้เกษตรกรอดทนสู้ต่อไป แล้วก็ใช้จิตวิญญาณ หาช่องทางลดปริมาณ แต่ต้องคงคุณภาพไว้ ปีหน้าฟ้าใหม่ค่อยว่ากันใหม่ ทุกอย่างมันน่าจะดีขึ้น ตอนนี้เราอยู่จุดต่ำสุดแล้ว อนาคตมันคงจะดีขึ้นแน่ๆ”

ขอขอบคุณข้อมูล
คุณสมนึก นะชินรัฐกุล ชินรัฐฟาร์ม 18 หมู่ 3 ต.หนองโพ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120 โทร.032-389-060, 032-389-036 สายพันธุ์หมู สายพันธุ์หมู สายพันธุ์หมู สายพันธุ์หมู สายพันธุ์หมู สายพันธุ์หมู