สุรศักดิ์ แซ่ลี้ ศิษย์เก่าแม่โจ้ รวยด้วย โคนม-โคเนื้อ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ผลไม้หล่นใต้ต้น แต่เติบโตให้ดอกผลดีกว่า “ต้นแม่” …คำเปรียบเปรย สุรศักดิ์ แซ่ลี้ ที่วันนี้กลายมาเป็นเซียน โคนม-โคเนื้อ ของจังหวัดราชบุรี

ความเป็น “เซียน” ก่อให้เกิดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ชนิดหาตัวจับยาก

1.คุณสุรศักดิ์ แซ่ลี้ เจ้าของฟาร์ม
1.คุณสุรศักดิ์ แซ่ลี้ เจ้าของฟาร์ม

การเลี้ยงวัว

เขาเกิดและเติบโตจากครอบครัวโคนม ที่พ่อ-แม่ยึดเป็นอาชีพหลัก จึงซึมซับประสบการณ์ตั้งแต่วัยเด็ก

แม้จะมีที่ดินเพียง 5 ไร่ แต่ถูกใช้ในการเลี้ยงโคนมไม่ต่ำกว่า 18 ตัว

เมื่อเขาเรียนจบปริญญาตรีจาก ม.แม่โจ้ เมื่อปี 42 ก็กลับมารับมรดกเลี้ยงโคนม 18 ตัว จากพ่อ-แม่ โดยมีโคที่กำลังรีดนม 5 ตัว ที่เหลือเป็นโครุ่นทั้งหมด

“เริ่มวางแผนว่าจะพัฒนาวัว 18 ตัว ยังไง ให้มันเจริญรุ่งเรือง ทีแรกให้ความสำคัญกับแปลงหญ้า เพราะโอกาสที่จะเลี้ยงวัวให้สำเร็จมีมากถึง 80% เรียกว่าต้องมีแหล่งอาหารหยาบที่ดีก่อน” คุณสุรศักดิ์ เปิดเผยถึงความจำเป็น คือ การลงทุนทำแปลงหญ้านั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.นมพาสเจอร์ไรส์
2.นมพาสเจอร์ไรส์

การผลิตและแปรรูปนม

เนื่องจากทางฟาร์มเป็นสมาชิก สหกรณ์โคนมหนองโพฯ สามารถสั่งซื้อปัจจัยการเลี้ยงโคนม เช่น อาหารเม็ด เป็นต้น ในราคาสมาชิก และขายน้ำนมดิบให้สหกรณ์ตามคุณภาพน้ำนม ซึ่งสหกรณ์ได้นำน้ำนมไปแปรรูปเป็น “ผลิตภัณฑ์นม” หลายอย่าง เช่น นมยูเอชที และ นมพาสเจอร์ไรส์ เป็นต้น แต่ละปีมีรายได้หลายล้านบาท สามารถจ่ายเงินปันผลให้สมาชิกทุกปี

ซึ่งสหกรณ์แห่งนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมีประวัติการพัฒนาอุตสาหกรรม ตั้งแต่ปี 2516 ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ และ ผลิตนมผง ด้วยเครื่องจักรใหม่ ใช้เงินกู้ของ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมฯ 8 ล้านบาท และทรงโปรดเกล้าให้โอนทรัพย์สินทั้งหมดของ บริษัท ผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จำกัด ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสหกรณ์ เมื่อ 16 ต.ค. 18 และทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

จากนั้นก็ย้ายสถานที่ทำการไปอยู่ในบริเวณโรงนมผงของบริษัท 17 ต.ค. 21 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จทรงเปิดโรงงานผลิตนมหลังใหม่ ทรงเยี่ยมชมกิจการของสหกรณ์ และได้พระราชทานเงินจัดตั้งมูลนิธิพระบารมีปกเกล้าในพระบรมราชูปถัมภ์ ช่วยเหลือการศึกษาแก่ บุตร หลาน สมาชิก และทรงโปรดเกล้าให้ใช้ “ดอกผล” อันเกิดจากหุ้นที่สหกรณ์ได้ทูลเกล้าถวาย

แต่วันนี้สหกรณ์ไม่ได้ผลิตนมผง แต่มุ่งผลิตภัณฑ์นม และ นมโรงเรียน เป็นหลัก ซึ่งการมีสหกรณ์ทำให้สมาชิกมีความมั่นใจที่จะปรับปรุงฟาร์มให้ได้ มาตรฐาน ของกรมปศุสัตว์ ซึ่งเรื่องนี้คุณสุรศักดิ์มองว่าเป็นเรื่องดี เพราะสหกรณ์จะซื้อน้ำนมดิบ โดยเพิ่ม 1 บาท/กก. ให้เป็นกำลังใจ ซึ่งมาตรฐานฟาร์มทำเพียง 60% ก็ได้ใบรับรองจากกรมปศุสัตว์แล้ว

3.คุณสุรศักดิ์ กับ หมออำนาจ
3.คุณสุรศักดิ์ กับ หมออำนาจ

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายวัว

คุณสมบัติของผู้จะได้ใบรับรองมาตรฐานจะต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์  ขึ้นทะเบียนกับกรม นำข้อมูลการเตรียมตัวจาก เจ้าหน้าที่ในเรื่อง การฝึกอบรม การแยกคอกลูกวัว โดยมีพื้นที่พอเพียง การจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบันบันทึกการเข้า-ออก บันทึกรายรับ-รายจ่าย บันทึกการรักษาวัว เทียบเป็นสมุดประจำตัววัว การตรวจเลือดวัวประจำปี วัวอายุ 1 ปีขึ้นไป ทุกตัว โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใบรับรอง มีอายุ 3 ปี

ในฐานะที่คุณสุรศักดิ์เรียนมาทางด้านปศุสัตว์ โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านปรับปรุงพันธุ์โค เมื่อมารับผิดชอบในฟาร์ม จึงพยายามพัฒนาโคนมให้น้ำนมคุณภาพ เมื่อให้นมเต็มที่แล้วก็ขายเป็นโคคัดทิ้ง ตัวละ 3 หมื่นกว่าบาท ขี้วัวก็ขายได้ราคา บริการรับผสมเทียม วัวเนื้อ วัวนม และ “วัวงาม” อินดูบราซิล วันละ 10 กว่าเคส ค่าผสมเทียมตัวละ 3,500 บาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ยังซื้อวัวสาวมาผสมจนท้อง แล้วขายได้ราคา ทำให้เกิดรายได้ 5 ทาง แล้วนำเงินไปซื้อวัวนม 70 ตัว ภายใน 5 ปี ซื้อที่/สร้างโรงเรือน และ อุปกรณ์ต่างๆ วัวงามลูกผสมอินดูฯ ขายตัวแสนกว่าบาท เป็นยุคทองของวงการวัวงาม ซึ่งคุณสุรศักดิ์ หรือ “หมอกั้ง” โกยเงินจนเพลิน

“ตอนนั้นน้ำนมราคา กก.ละ 7-8 บาท อาหารข้นไม่เกิน 3 บาท โดยซื้อจากสหกรณ์ แยกอาหารตามประเภทของวัว เช่น แรกเกิดถึง 3 เดือน หรือ 3-6 เดือน หรือ 6 เดือนขึ้นไป วัวสาวท้อง หรือ วัวก่อนคลอด หลังคลอด หรือ วัวพ่อพันธุ์ ก็กินสูตรใครสูตรมัน” คุณสุรศักดิ์ เปิดเผยถึงสูตรอาหารข้นของวัวนม

แม้แต่เรื่อง  “น้ำเชื้อพ่อพันธุ์”  ตัวดังๆ ที่แยกเพศจากต่างประเทศ  หมอกั้งก็นำมาผสมกับวัวสาวพร้อมผสม ที่มี เพดดีกรี ซึ่งน้ำเชื้อแยกเพศราคาโด้สละ 1,500-2,500 บาท แม้จะสูง แต่ก็มีความแม่นยำ ผสมติดถึง 93%

ในการเลี้ยงโคนมนั้นถือว่าเป็นงานสำคัญ เพราะมีรายได้ 5 ทาง แต่หมอกั้งก็ลงทุนเลี้ยง “โคเนื้อ” หลายพันธุ์ ประมาณ 30 ตัว มีทั้ง บราห์มัน 10 ตัว ชาร์โรเลส์ 8 ตัว บีฟมาสเตอร์ 4 ตัว แองกัส อินดูบราซิล และ โคพื้นเมือง ขายแต่ตัวผู้ ตัวเมียเก็บไว้เป็นแม่พันธุ์ ราคาหย่านม ตัวผู้ 35,000-50,000 บาท มีเพดดีกรีทุกตัว สามารถนำไปผสมพันธุ์ได้เลย รายได้จากโคเนื้อตัวละไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท

4.โรงเรือนวัว
4.โรงเรือนวัว

การบริหารจัดการฟาร์มวัว

การเลี้ยง โคนม และ โคเนื้อ “แปลงหญ้า” สำคัญมาก คุณสุรศักดิ์ต้องซื้อที่เพิ่มอีก 10 ไร่ๆ ละ 2.5 แสนบาท และที่เตี่ย 10 ไร่ วัวนมที่หลากหลาย แต่ลูกผสมขาวดำทุกตัว จะต้องมีเลือดซาฮิวาลปนอยู่

ขณะนี้ทางฟาร์มรีดนม 31 แม่ วันละ 500 กว่ากก. เฉลี่ย 18 กก./ตัว/วัน รายได้ประมาณวันละ 10,300 บาท ทำให้ได้กำไรเดือนละ 2 แสนบาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โคนมหลายตัวถูกปล่อยให้อิสระ หลังอาบน้ำเสร็จ แต่ตัวที่เครียดจะถูกผูกให้ กิน นอน ในคอก เพราะถ้าป่วย อัตราการผสมติดจะต่ำ คุณภาพน้ำนมต่ำ ตรงกันข้ามกับวัวปล่อย สุขภาพดี ผสมติดง่าย น้ำนมดี

ในส่วนของ “แรงงาน” ในฟาร์ม มีคนเดียว แต่เปิดกว้างให้นักศึกษาหลายสถาบันเข้าฝึกงานในฟาร์ม เพราะเป็น “ศูนย์ปลูกหญ้าแพงโกล่า” 17 ไร่ อีก 3 ไร่ ปลูกหญ้าหวานอิสราเอล ปรากฏว่าเมื่อหญ้าได้น้ำจากมูลโค แค่ใส่ปุ๋ยเคมีปีละครั้ง จึงตัดได้ทุกๆ 45 วัน เฉลี่ยไร่ละ 5 ตัน ใช้เลี้ยงโคทั้งหมด ประหยัดอาหารข้นได้มากทีเดียว

ในนาม “หมอกั้งเดลีฟาร์ม” ฟาร์มสาธิตของกรมปศุสัตว์ ที่บริหารจัดการด้วยการจัดฟาร์มด้วยมาตรฐาน แต่ที่นี่เลี้ยงทั้ง โคนม โคเนื้อ หลากหลายสายพันธุ์ อย่าง โคนม ก็มีพันธุ์ขาวดำ โฮลสไตน์ฯ นิเจอร์ซี่ เป็นต้น “ทำไมมีมากมาย เพราะแต่ละพันธุ์มี ข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกัน ผมจึงต้องทดลองไปในตัว เอาพันธุ์นั้นมาใส่พันธุ์นี้ เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำนม ปรับปรุงเรื่องทนอากาศร้อน ทนโรค/แมลง ผลที่ออกมาค่อนข้างดี” คุณสุรศักดิ์ ยืนยันถึงการปรับปรุงพันธุ์ “รู้” ของกรมปศุสัตว์ เป็นปีที่ 4 เพราะการพลวัตของ โคเนื้อ โคนม 170 ตัว แต่ละวันน่าสนใจมากๆ

5.วัวแข็งแรง สมบูรณ์
5.วัวแข็งแรง สมบูรณ์

การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ การเลี้ยงวัว

“นอกจากเป็นศูนย์การเรียนรู้แล้ว ยังเปิดรับนิสิตนักศึกษามาฝึกงานจากหลายสถาบัน ช่วงนี้มี 6 คน จากเกษตรกำแพงแสน จากวิทยาลัยเกษตร และ แม่โจ้” คุณสุรศักดิ์ เปิดเผย และ ยืนยันว่า ผู้ฝึกงานจะได้รับการฝึกทุกอย่าง เช่น การทำคลอด การอนุบาล การเลี้ยงวัวรุ่น วัวสาวพร้อมผสม วัวป่วย วัวคลอด คือ สอนทุกอย่างจนเข้าใจอย่างลึกซึ้ง คนที่ฝึกงานจบไป เลี้ยงโคนมก็มี ขณะฝึกงานมี ที่พัก อาหาร ฟรี แถมมีเงินติดตัว

ขณะนี้คุณสุรศักดิ์ได้รวมกลุ่มชาวนา ต.เขาขลุง อ.บ้านโป่ง เพื่อรวมที่ดินให้ได้ 50 ไร่ ส่งเสริมให้ปลูกหญ้า เพื่อปลูกหญ้าแพงโกล่าขาย มีรายได้เสริมจากการทำนา เพราะมั่นใจว่าหญ้าแพงโกล่า แพะ วัว ต้องการมากขึ้น

เมื่อถามว่าการเลี้ยงวัวนมมีกำไรในธุรกิจได้อย่างไร คุณสุรศักดิ์ยืนยันว่า ต้องอดทน อย่าท้อ เพราะปีแรกลำบากมาก ปี 4-5 รายได้จะดีขึ้น พอปีที่ 6 จะกำไรหลายทาง ซึ่งตนประสบมาแล้ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จึงไม่ต้องแปลกใจที่ฟาร์มของเขาจะมีทั้ง คนไทย และ ชาวต่างชาติ มาดูงานเป็นประจำ เพราะเป็นแหล่งปั๊มเงินจากเนื้อและนมนั่นเอง โทร.064-954-2824

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 349