หัวอาหารเป็ดไข่ ได้ ไข่ดกและใหญ่ เสริมฟาร์ม เลี้ยง “เป็ดไข่” บนบ่อปลา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งควบคู่กับการทำนานั้นมีมาช้านานโดยเกษตรกรจะนำเป็ดรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 4 สัปดาห์ ไปปล่อยเลี้ยงตามทุ่งนาที่เก็บเกี่ยวเสร็จใหม่ๆ เพื่อให้เป็ดเก็บกินเมล็ดข้าวที่ตกหล่นตามท้องนา เมื่อเป็ดอายุ 5 เดือน ก็จะเริ่มให้ไข่ ซึ่งไข่เป็ดที่ได้จะเป็นไข่คุณภาพ ไข่แดงสวย นิยมนำมาทำเป็นไข่เค็ม หัวอาหารเป็ดไข่

1.คุณเสริม-สุขสำราญ-เจ้าของเสริมฟาร์ม
1.คุณเสริม-สุขสำราญ-เจ้าของเสริมฟาร์ม

การเลี้ยงเป็ดไข่บนบ่อปลา

ทีมงานนิตยสารสัตว์บก มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณเสริม สุขสำราญ เจ้าของเสริมฟาร์ม อดีตประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงเป็ดไข่สุพรรณบุรี จำกัด เกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดมานาน 10 กว่าปี ที่เริ่มต้นจากการทำปศุสัตว์ผสมผสาน โดยการเลี้ยงโคนมประมาณ 20 แม่ แกะประมาณ 70 ตัว โคไล่ทุ่ง และกบ แต่ด้วยการเลี้ยงสัตว์ที่หลากหลายชนิด ทำให้การจัดการเพิ่มขึ้น คุณเสริมจึงเลิกเลี้ยงทั้งหมด แล้วหันมาศึกษาการเลี้ยงเป็ดไข่อยู่ประมาณ 1 ปี

“เมื่อก่อนตอนที่เลี้ยงแบบผสมผสานมีลูกๆ คอยช่วยดูแล แต่พอลูกๆ เข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่มีคนช่วยดูแล ผมดูแลคนเดียวไม่ไหว เลยหาลู่ทางอื่นๆ จนมาเจอเป็ดไข่ ก็ได้ศึกษาเรียนรู้อยู่ประมาณ 1 ปี และได้เช่าที่ต่อจากฟาร์มเป็ดเก่า เลี้ยงมาประมาณ 6 ปี เริ่มจากเป็ด 1,500 ตัว” คุณเสริมเปิดเผยถึงที่มาของการเลี้ยงเป็ดไข่บนบ่อปลาเบญจพรรณ

2.โรงเรือนเป็ด
2.โรงเรือนเป็ด

สภาพพื้นที่เลี้ยงเป็ด

ต่อมาในปี 2552 คุณเสริมได้นำเงินที่ได้จากการเลี้ยงเป็ดมาลงทุนซื้อที่ประมาณ 40 ไร่ มีทำโรงเรือนเลี้ยงเป็ด โดยซื้อเป็ดสาวพร้อมไข่อายุประมาณ 5 เดือน ตัวละ 110 บาท (ราคาล่าสุด แต่บางครั้งก็แล้วแต่ช่วง) ปัจจุบันมีเป็ดไข่ทั้งหมด 3.2 หมื่นตัว จำนวน 5 โรงเรือน ซึ่งในช่วงแรกๆ ที่นำเข้ามาเลี้ยงอัตราการให้ไข่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากเป็นเป็ดไล่ทุ่ง เมื่อนำมาเลี้ยงบนโรงเรือนทำให้อยู่ผิดที่ จึงต้องใช้เวลาในการปรับตัว หลังจากนั้นจะเริ่มให้ไข่เพิ่มขึ้น

โดยที่ฟาร์มจะมีการจดบันทึกจำนวนไข่ประจำวันเพื่อเปรียบเทียบกันในแต่ละวัน จะทำให้ทราบได้ว่าเป็ดให้ไข่คงที่ มากขึ้น หรือน้อยลง หากเป็ดให้ไข่น้อยลงผิดปกติ ก็จะมาดูว่าเป็นเพราะสาเหตุใด สุขภาพ อาหาร หรือสภาพอากาศ

3.อาหารเป็ด เพอเฟคค์
3.อาหารเป็ด เพอเฟคค์ หัวอาหารเป็ดไข่ หัวอาหารเป็ดไข่ หัวอาหารเป็ดไข่ หัวอาหารเป็ดไข่ หัวอาหารเป็ดไข่ หัวอาหารเป็ดไข่ หัวอาหารเป็ดไข่ 

การเลือก หัวอาหารเป็ดไข่ 

เมื่อถามถึงเทคนิคการเลี้ยงเป็ดให้ได้ไข่คุณภาพดี ไข่ดี ไข่ดก ไข่แดงสีสวย คุณเสริมได้บอกว่าหัวใจสำคัญของการเลี้ยงเป็ดไข่ให้ได้ผลผลิตดีอยู่ที่ตัวคนเลี้ยง การดูแลเอาใจใส่ การจัดการฟาร์ม และอาหารที่ดี มีคุณภาพ โดยทางฟาร์มได้เลือกใช้อาหารเป็ดสำเร็จรูป “เพอเฟคค์” ของบริษัท อิน เทคค์ฟีด จำกัด เป็นบริษัทอาหารสัตว์ที่ผลิตและจัดจำหน่ายครบวงจร มีทั้งอาหารสัตว์บก สัตว์น้ำ อาหารเสริม วิตามิน และแร่ธาตุ ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO9001 GMP และ HACCP

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยทางบริษัทจะคำนวณปริมาณการให้อาหารต่อจำนวนเป็ดที่เลี้ยง และเป็ดในแต่ละช่วงจะมีสูตรอาหารที่ให้แตกต่างกันตามความเหมาะสม ในช่วงเป็ดสาวที่เพิ่งนำเข้ามาเลี้ยงใหม่ๆ ยังให้ผลผลิตไม่ดี ทางฟาร์มจะให้กินอาหารโปรตีนต่ำๆ ก่อน เพื่อเป็นการลดต้นทุน เมื่อผลผลิตเริ่มดีขึ้นจึงค่อยๆ ผสมอาหารสูตรโปรตีนสูง จะไม่เปลี่ยนทันที จะค่อยๆ ปรับสูตร เพื่อให้เป็ดได้ปรับตัว ถ้าเปลี่ยนทันทีเลยเป็ดอาจจะกินได้น้อย เพราะไม่คุ้นชินกับอาหาร

4.ไข่ฟองใหญ่ มีคุณภาพ
4.ไข่ฟองใหญ่ มีคุณภาพ

แม้ว่าเป็ดจะกินอาหารน้อย แต่ผลผลิตไข่เป็ดที่ได้มีคุณภาพดี ไข่ฟองใหญ่ ไข่ดก ไข่แดงสีสวย

คุณเสริมกล่าว “เมื่อใช้อาหารของเพอเฟคค์ช่วยให้ไข่เป็ดที่ได้มีคุณภาพดี ไข่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ไข่ดี ไข่ดก เปอร์เซ็นต์ไข่ที่ได้อยู่ที่ 75-80 % และเป็ดมีสุขภาพดี แข็งแรง เพราะใช้อาหารเพอเฟคค์ ทำให้ทุกวันนี้ไข่ที่ฟาร์มไม่พอขาย มีออเดอร์เข้ามาตลอด ทำให้ขายไข่สดหมดทุกวัน

อาหารเป็ด “เพอเฟคค์” นอกจากใช้แล้วได้ไข่เป็ดที่มีคุณภาพ ยังช่วยลดต้นทุนค่าอาหาร เนื่องจากแม้ว่าเป็ดจะกินอาหารน้อย แต่ผลผลิตไข่เป็ดที่ได้มีคุณภาพดี ไข่ฟองใหญ่ ไข่ดก ไข่แดงสีสวย เป็ดมีสุขภาพดี แข็งแรง เพราะสูตรอาหารที่เข้มข้น เน้นคุณค่าทางโภชนะที่เป็ดไข่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด เกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดมั่นใจได้เลยว่าใช้อาหารเป็ดเพอเฟคค์แล้วได้รับความคุ้มค่าแน่นอน

ทางฟาร์มจะเขียนบอกวันที่ของไข่ที่ได้ในแต่ละวัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าไข่ใบนี้ผลิตวันไหน ซึ่งไข่ที่ฟาร์มจะมี พ่อค้า แม่ค้า มารับโดยตรง และมีส่งขายที่สหกรณ์ส่วนหนึ่งด้วย

5.พื้นที่สำหรับให้เป็ดลงเล่นน้ำ
5.พื้นที่สำหรับให้เป็ดลงเล่นน้ำ

การบริหารจัดการฟาร์มเป็ด

นอกจากการจัดการที่ดี ให้อาหารที่มีคุณภาพแล้ว การเลี้ยงเป็ดให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศด้วย ซึ่งในช่วงเป็ดจะให้ผลผลิตดี คือ ช่วงที่อากาศหนาว ในช่วงที่อากาศร้อนเป็ดจะให้ผลผลิตลดลง ที่ฟาร์มจะติดตั้งสปริงเกลอร์ที่หลังคาโรงเรือน จะเปิดในช่วงที่อากาศร้อนเพื่อช่วยระบายความร้อนให้เป็ด

ส่วนการดูแลจัดการฟาร์มในแต่ละวันเป็นหน้าที่ของคนงาน เพราะคุณเสริมได้วางแผนขั้นตอนต่างๆ ให้คำแนะนำ และสอนวิธีการต่างๆ ไว้แล้ว หากมีอะไรผิดปกติหรือมีปัญหาอะไรคนงานจะแจ้ง คุณเสริมก็จะหาทางแก้ไข และดูแลในเรื่องของสุขภาพเป็ด โดยเฉพาะการทำวัคซีนตามโปรแกรมวัคซีนเป็ดไข่นั้นเขาจะทำเองทั้งหมด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.ผลผลิตไข่เป็ดพร้อมจำหน่าย
6.ผลผลิตไข่เป็ดพร้อมจำหน่าย หัวอาหารเป็ดไข่ หัวอาหารเป็ดไข่ หัวอาหารเป็ดไข่ หัวอาหารเป็ดไข่ หัวอาหารเป็ดไข่ หัวอาหารเป็ดไข่ 

การเก็บไข่เป็ด

โดยทางฟาร์มจะเก็บไข่ 2 รอบ ในช่วงเช้ามืด ประมาณตี 5 ถึง 6 โมงเช้า  และช่วง 7 โมงเช้า อีก 1 รอบ เพื่อเก็บตกไข่ที่เหลือ และในแต่ละโรงเรือนจะมีที่สำหรับให้เป็ดมาวางไข่ โดยจะเปิดประตูให้เป็ดวางไข่ประมาณเที่ยงคืน เพราะหลังจากเป็ดกินอาหารหมดในช่วงเย็น กระบวนการย่อยจะเสร็จที่ประมาณช่วง 2 ทุ่ม ถ้าปล่อยเร็วเกินไป เป็ดจะมาขี้ในบริเวณวางไข่ อาจทำให้บริเวณนั้นเปื้อนได้ และมีพื้นที่สำหรับให้เป็ดลงเล่นน้ำ

ไข่เป็ดที่เก็บมาจะนำเข้าเครื่องคัดไข่ เพื่อแยกขนาดในแต่ละเบอร์ ไข่ที่ฟาร์มส่วนมากจะเป็นขนาดใหญ่ เบอร์ 23 อัตราการทำงานของเครื่องคัดไข่อยู่ที่ 4,500ฟอง/ชม. ส่วนราคาไข่เป็ดช่วงนี้อยู่ที่เบอร์ 24 ราคา 3.9 บาท เบอร์ 23 ราคา 3.7 บาท เบอร์ 21 ราคา 3.2 บาท เบอร์ 20 ราคา 3 บาท (ราคา ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2563)

ส่วนระยะเวลาการเลี้ยงจะซื้อมาตอนเป็ดอายุ 5 เดือน แล้วเลี้ยงต่อไปจนเป็ดอายุ 15-20 เดือน จึงทำการปลด เป็ดที่ปลดจะขายได้ตัวละ 58-60 บาท เมื่อปลดเสร็จจะทำการพักเล้า เพื่อทำความสะอาดโรงเรือน พ่นยาฆ่าเชื้อ ก่อนนำเป็ดสาวชุดใหม่มาลง

ส่วนมูลเป็ดที่ได้จะให้ปลากิน เพราะที่ฟาร์มเลี้ยงเป็ดแบบเล้าลอยบนบ่อปลา จะเลี้ยงปลาเบญจพรรณ มีทั้งหมด 5 บ่อๆ ละประมาณ 3ไร่ ผลผลิตปลาที่ได้ต่อรอบอยู่ที่ประมาณรอบละ 10 ตัน ถือว่าเป็นการเลี้ยงแบบเกื้อกูลกัน เพราะปลาได้อาหารจากมูลเป็ด และรายได้จากการขายปลาช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงเป็ดได้

7.เป็ดแข็งแรงสมบูรณ์ ได้น้ำหนัก
7.เป็ดแข็งแรงสมบูรณ์ ได้น้ำหนัก

เป้าหมายในอนาคต

เมื่อถามถึงเป้าหมายในอนาคต คุณเสริมได้บอกว่า “จริงๆ ตั้งเป้าไว้ว่าภายในปีนี้ตั้งใจจะลงเป็ดให้ได้ครบ 4หมื่นตัว แต่มาเจอปัญหาของโควิดซะก่อน ตอนนี้จึงยังไม่ได้ขยายอะไรเพิ่ม แต่คิดว่าถ้าสถานการณ์เริ่มดีขึ้นอาจจะขยายได้ไม่เกินปีหน้า ตอนนี้ก็ดูแลจัดการในส่วนที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และสานต่ออาชีพนี้ให้ลูกๆ”

8.พื้นที่เลี้ยงเป็ด
8.พื้นที่เลี้ยงเป็ด

ฝากถึงเกษตรกรที่เลี้ยงเป็ดไข่

สุดท้ายคุณเสริมฝากถึงเกษตรกรคนเลี้ยงเป็ดไข่ว่า “หัวใจสำคัญของการเลี้ยงเป็ด คือ ใจเราต้องถึง ต้องดูแลเอาใจใส่ให้ดี ถ้าเป็ดไม่กินอาหารต้องหาสาเหตุแล้วว่าเพราะอะไร ถ้าเป็ดไม่กินก็จะไม่ไข่ อย่าไปคิดว่าถ้าเป็ดไม่กินก็ดี จะได้ไม่ต้องให้อาหารเยอะ หรือเห็นว่าเป็ดให้ไข่เยอะแล้วจะลดปริมาณอาหารไม่ได้ เคยให้เท่าไหร่ต้องให้เท่านั้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และฝากถึงผู้อ่านที่สนใจอาชีพเลี้ยงเป็ด ก็เป็นอีกอาชีพที่ดี สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ แต่ไม่ว่าจะอาชีพไหนก็ดีหมด อยู่ที่ความสนใจและความถนัดของแต่ละคน ความตั้งใจที่จะทำ และการดูแลเอาใจใส่ การเลือกทำในสิ่งที่ชอบ ทุกอย่างจะทำออกมาดีเอง”

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณเสริม สุขสำราญ ที่อยู่ 94/1 ม.2 ต.มะขามล้ม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 328