เปลี่ยนทัศนคติ มองโลกให้กว้าง แล้วชีวิตจะเปลี่ยน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ใครว่า!!! ทำอาชีพเกษตรกรรมหรือปศุสัตว์ ไม่มีเกียรติ ไม่รวย ทำแล้วเป็นหนี้ นั่นหมายถึงเป็นความคิดแบบเก่า ล้าหลัง ขาดวิสัยทัศน์ เพราะจริงๆแล้ว โลกหมุนอยู่ทุกวันปรับเปลี่ยนสรรพสิ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังคำกล่าวที่ว่า “ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ” ดังนั้นถ้าอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของอาชีพเกษตรกรรมหรือปศุสัตว์ จะต้องน้อมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทางทีมงานนิตยสารสัตว์บก ได้นำรูปแบบการทำฟาร์มของ “ดงประดู่ฟาร์ม” ฟาร์มที่รวบรวมความคิดสร้างสรรค์ของการดำเนินธุรกิจด้านปศุสัตว์ เพื่อความอยู่รอดและสร้างมูลค่าให้แก่ครอบครัว บนพื้นที่ 50 ไร่ โดยแบ่งเป็นที่อยู่อาศัย ฟาร์มและแปลงหญ้าสร้างความแตกต่างของการทำฟาร์มให้สอดคล้องตามแนวทาง “ธรรมชาติวิถี”

คุณเนติยะ

คุณเนติยะ ยอดเณร เจ้าของฟาร์ม เปิดเผยว่า เริ่มทำฟาร์มจากความชอบการเลี้ยงสัตว์เป็นทุนเดิม โดยเริ่มจากการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อปูทางให้กับการเลี้ยงโคนม แต่ด้วยความไม่มีประสบการณ์ทางด้านปศุสัตว์มาก่อนจึงศึกษาพฤติกรรมต่างๆของตัวสัตว์ วิธีการเลี้ยงและการจัดการต่างๆ จนสามารถพัฒนาและมีประสบการณ์ขึ้นเรื่อยๆ

จากนั้นได้พัฒนาการผสมพันธุ์โคเนื้อให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยและเกิดปัญหาน้อยที่สุด จนได้ “โคพันธุ์แบรงกัส ที่มีเลือดยุโรป 62.5%” มีลักษณะโตเร็ว เนื้อเยอะ ซากสวยและไขมันแทรกสูง สามารถตอบโจทย์ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ทางฟาร์มได้นำแนวคิดเกษตรเชิงท่องเที่ยว เข้ามาพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงหรือการทำฟาร์มแบบเดิม เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ชาวต่างชาติหรือนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นอันดับต้นๆของโลก และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของประเทศ

และ “ดงประดู่ฟาร์ม” ไม่ได้ยึดติดว่าจะต้องเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่ายเป็นตัวชำแหละเพียงเท่านั้น ยังมีช่องทางตลาดในรูปแบบอื่นเช่น ร้านกาแฟ นกยูง นกแก้วมาคอร์ แกะป้อนนม และอีกทางเลือกใหม่ตอบรับกระแสคนรักสัตว์เพื่อการถ่ายภาพอย่าง หมูแคระ (หมูจิ๋ว)และโคจิ๋ว ที่สามารถป้อนอาหาร ป้อนนม จูงเล่นและอุ้มหรือกอดถ่ายรูปได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โคจิ๋ว

“ไม่ว่าคุณจะเลี้ยงสัตว์อะไรก็ตาม ขอให้มีความอดทน ถึงแม้ว่าราคาจะตกต่ำก็ไม่ควรท้อหรือเลิก เพราะตราบใดที่การเลี้ยงแพะ แกะ โค หมูหรือสัตว์อื่นๆไม่หมดไปจากเมืองไทย เมื่อถึงช่วงเวลาของมันราคาก็จะกลับมาบูมอีกครั้ง ดังนั้นก็จะทำให้เกษตรกรมีกำไรและอยู่รอด”

หมูจิ๋ว

สอบถามเพิ่มเติมที่ กองบรรณาธิการ โทร 0-2745-4552

[wpdevart_like_box profile_id=”1414452475453135″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]