โครงการฝาก เลี้ยงหมูขุน กว่า 3,000 ตัว มีตลาดรองรับแน่นอน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โครงการฝาก เลี้ยงหมูขุน กว่า 3,000 ตัว มีตลาดรองรับแน่นอน

การ เลี้ยงหมูขุน บนเนื้อที่ 100 กว่าไร่ ในตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของ “หจก. สิณเพ็ชร ฟาร์ม” ฟาร์มสุกรระบบปิดที่ได้มาตรฐาน และการเลี้ยงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Farm) บริหารโดย คุณสุธี สกุลสินเพ็ชร เจ้าของร้านบุญชัยวัสดุก่อสร้าง ผู้ที่มองการณ์ไกล หรือ ที่รู้จักกันในนาม เสี่ยสุธี

และมีความชื่นชอบงานด้านเกษตรและปศุสัตว์เป็นทุนเดิม แม้รู้ว่าการเลี้ยงสุกรจะต้องลงทุนค่อนข้างสูง แต่ไม่สามารถทำให้การตัดสินใจของเขายุติลงได้ เพราะเล็งเห็นความสำเร็จและความมั่นคงในอาชีพกว่าการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น

การเลี้ยงหมูขุน
การเลี้ยงหมูขุน
คุณสุธี-สกุลสินเพ็ขร-เจ้าของบุญชัยวัสดุก่อสร้าง-เลี้ยงหมูขุน-บนเนื้อที่-100-กว่าไร่
คุณสุธี-สกุลสินเพ็ขร-เจ้าของบุญชัยวัสดุก่อสร้าง-เลี้ยงหมูขุน-บนเนื้อที่-100-กว่าไร่
โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกร-หรือโครงการฝากเลี้ยง
โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกร-หรือโครงการฝากเลี้ยง
Advertisement-กรุงเทพผลิตภัณฑ์สตาร์ฟีด
Advertisement-กรุงเทพผลิตภัณฑ์สตาร์ฟีด

โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกร หรือโครงการฝากเลี้ยง

“ผมทำอาชีพเลี้ยงไก่เนื้อมากว่า 15 ปี ได้กำไรบ้าง เสมอตัวบ้าง เป็นอยู่อย่างนี้มาโดยตลอด ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันไม่สู้ดีนัก จึงหยุดเลี้ยง และให้เกษตรกรเช่าฟาร์ม และดำเนินการต่อ ต่อมาได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้จัดการทั่วไปของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เมื่อต้นปีพ.ศ. 2558

จึงได้รับการแนะนำโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกร หรือโครงการฝากเลี้ยง ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของตนที่ว่าการทำฟาร์มเลี้ยงสุกรน่าจะเหมาะที่สุดในปัจจุบัน” คุณสุธีกล่าวถึงที่มาก่อนการตัดสินใจทำฟาร์มเลี้ยงสุกร

ส่วนสาเหตุที่เลือกทำฟาร์มเลี้ยงสุกรกับซีพีเอฟ เนื่องจากเชื่อมั่นในมาตรฐานของบริษัท รวมถึงรายได้ที่มั่นคง ระบบการเลี้ยง พันธุ์สุกร และอาหารที่มีคุณภาพ ทำให้การทำฟาร์มเลี้ยงสุกรง่ายขึ้น และทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น เนื่องจากมีรายได้ที่มั่นคง และมีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน

4.เลี้ยงหมูขุน2
4.เลี้ยงหมูขุน2

ต้นทุนระบบโรงเรือน การเลี้ยงหมูขุน การให้อาหารหมูขุน

หลังจากศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเป็นคอนแทรคฟาร์ม พบว่าการเริ่มต้นอาชีพไม่ยาก และไม่มีความเสี่ยง ทั้งในเรื่องของพันธุ์สัตว์ อาหารหมูขุน ยารักษาโรค และการใช้วัคซีนต่างๆ คุณสุธีจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการโดยใช้บริการสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง และเงินทุนส่วนตัวร่วม 13.5 ล้านบาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สร้างโรงเรือนที่ได้มาตรฐานจำนวน 5 หลัง ขนาดความกว้าง 13 เมตร ยาว 79 เมตร ในระบบอีแว็ป (Evap) ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับการเลี้ยงสุกรในแต่ละช่วงอายุ พร้อมด้วยระบบ การให้อาหารหมูขุน แบบอัตโนมัติ ปัจจุบันทางฟาร์มเลี้ยงสุกรจำนวน 3,000 กว่าตัว

การนำแก๊สชีวภาพไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ในฟาร์ม
การนำแก๊สชีวภาพไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ในฟาร์ม

การนำแก๊สชีวภาพไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ในฟาร์ม

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งชุมชนและการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่ ดังนั้นเจ้าของฟาร์มในปัจจุบันต่างก็หาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหากลิ่นเหม็น และสัตว์พาหะ อย่าง แมลงวัน โดยการนำ “ระบบไบโอแก๊ส” เข้ามาใช้ และที่สำคัญช่วยลดต้นทุนการผลิตด้านพลังงานได้ถึง 70-80%

การทำฟาร์มลักษณะนี้การบริหารจัดการฟาร์มจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี และมีความปลอดภัย จากโรคระบาดต่างๆ ตามมาตรฐานที่กรมปศุสัตว์กำหนด อีกทั้งการคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันในสังคม และการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการลดต้นทุนการผลิต

จึงนำเทคโนโลยีอย่าง “ระบบไบโอแก๊ส” มาใช้บำบัดของเสีย (ขี้หมู) และน้ำเสียที่เกิดจากการชำระล้างภายในโรงเรือน หรือกระบวนการผลิต ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการนำแก๊สชีวภาพที่ได้ไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ในฟาร์ม ซึ่งปัจจุบันที่ฟาร์มมีบ่อไบโอแก๊สจำนวน 3 บ่อ

กระบวนการหมักไบโอแก๊ส
กระบวนการหมักไบโอแก๊ส

กระบวนการหมักไบโอแก๊ส

นอกจากนี้กากของเสียที่เหลือจากกระบวนการหมักไบโอแก๊สสามารถนำไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์จำหน่ายให้กับเกษตรกรชาวไร่ และชาวสวน สร้างรายได้ให้กับฟาร์มอีกทาง ส่วนในอนาคตคุณสุธีกล่าวว่า “จะนำกากมูลที่ได้ไปทำเป็นปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดจำหน่าย และจะขยายไฟฟ้าส่องสว่างทางเข้าหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการช่วยเหลือด้านสังคมอีกทางหนึ่ง”

การควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนอีแว็ป
การควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนอีแว็ป

การควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนอีแว็ป

เมื่อถามถึงในช่วงวิกฤตภัยแล้งส่งผลกระทบต่อการทำฟาร์มอย่างไร คุณสุธีกล่าวว่า “เขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นพื้นที่ที่มีอากาศร้อนเป็นอันดับต้นๆของประเทศ ดังนั้นจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำใช้อุปโภค บริโภค ในภาคเกษตรและปศุสัตว์ ที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หากไม่มีมาตรการหรือแผนรองรับทั้งระบบ เกษตรกรก็จะเดือดร้อน ส่วนภาคปศุสัตว์ ฟาร์มที่ไม่ได้เลี้ยงในระบบโรงเรือนอีแว็ป อาจไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิที่มีความผันผวนตลอด ซึ่งอาจส่งผลให้สัตว์ที่เลี้ยงเจ็บป่วยได้”

การวางแผน-การเลี้ยงหมูขุน-ในอนาคต
การวางแผน-การเลี้ยงหมูขุน-ในอนาคต

การวางแผน การเลี้ยงหมูขุน ในอนาคต

สำหรับอนาคตทางฟาร์มจะขยายฟาร์มเพิ่มเติม และในส่วนของร้านค้าวัสดุก่อสร้างด้วย แต่อาจต้องดูแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศด้วยว่าจะมีทิศทางดีขึ้นหรือไม่  เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจ และยังกล่าวถึงความรู้สึกทิ้งท้ายว่า

“ซีพีเอฟเป็นพันธมิตรที่ดี และให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด อีกทั้งให้คำแนะนำและความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการลดต้นทุนการผลิต จากที่เมื่อก่อนไม่เคยทำฟาร์มหมู จนวันนี้ถือว่าประสบความสำเร็จมากในระดับหนึ่ง”

ขอขอบคุณ คุณสุธี สกุลสินเพ็ชร หจก.สิณเพ็ชร ฟาร์ม เลขที่111 ม.13 ต.ดอนแสลบ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี โทร.086-323-1761

เลี้ยงหมูขุน การเลี้ยงหมูขุน วิธีการเลี้ยงหมูขุน  การให้อาหารหมูขุน อาหารหมูขุน วิธีการเลี้ยงหมู  เลี้ยงหมูขาย