เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ ขายลูกสุกร กำไรตัวละ 300 บาท เผยเทคนิคลดต้นทุนโรงเรือนคลอด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สืบเนื่องจากโรค ASF เมื่อปี 2562 และการระบาดของ Corona Virus สายพันธุ์ใหม่ ในขณะนี้ (กุมภาพันธ์ 2563) ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจในหลายประเทศ และเป็นที่น่าจับตามองอย่างต่อเนื่องในวงการปศุสัตว์ไทย เลี้ยงหมูแม่พันธุ์

เมื่อราคาสุกรขายหน้าฟาร์มนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พุ่งสูงถึง 80 บาท/กก. (ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 63) สวนทางกับจำนวนผู้เลี้ยงสุกร ทำให้ปริมาณเนื้อสุกรทั้งบริโภคในประเทศและส่งออกไม่เพียงพอ

1.คุณชอบ-เอี่ยมเมือง-เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู
1.คุณชอบ-เอี่ยมเมือง-เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู

จุดเริ่มต้นของการเลี้ยงหมู

นิตยสารสัตว์บก ได้มาเยือน “ชอบฟาร์ม” เลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ แห่ง อ.ดอนเจดีย์ ประกอบอาชีพเลี้ยงหมูมานานถึง 17 ปี และได้พูดคุยกับ คุณชอบ เอี่ยมเมือง ถึงการจัดการฟาร์มแม่พันธุ์ในยุคที่ปศุสัตว์ไทยเต็มไปด้วยโรคระบาด และราคาที่แกว่งไปมาในปัจจุบัน โดยที่ชอบฟาร์มจะเลี้ยงเฉพาะแม่พันธุ์เท่านั้น และใช้วิธีการผสมเทียม เมื่อได้ลูกสุกรจึงนำออกขายเพื่อสร้างกำไร

คุณชอบปัจจุบันอายุ 54 ปี ย้อนกลับไปเมื่อปี 2546 คุณชอบได้เริ่มต้นก้าวเข้าสู่วงการคนเลี้ยงหมู ด้วยคำชักจูงจากสัตวบาลส่งเสริมของบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ จึงเปลี่ยนจากการทำไร่ ทำนา มาเลี้ยงหมูแทน และตั้งชื่อฟาร์มว่า “ชอบฟาร์ม เลี้ยงสุกรแม่พันธุ์”

เริ่มต้น เลี้ยงหมูแม่พันธุ์

เริ่มต้นจากการสร้างโรงเรือนเป็นระบบปิด หรือระบบ Evap ในปัจจุบัน  ลงแม่พันธุ์รุ่นแรก 120 แม่ คุณชอบยอมรับว่า ตนไม่มีความรู้เกี่ยวกับการทำฟาร์มมาก่อนเลย ได้รับคำแนะนำจากสัตวบาลและสัตวแพทย์ของบริษัท โดยบริษัทส่งทีมงานเข้ามาช่วยดูแลตลอด ทำให้คุณชอบได้ความรู้ไปด้วย จนปัจจุบันสามารถเลี้ยงเองได้อย่างสบาย และถูกต้องตามมาตรฐานที่กรมปศุสัตว์และบริษัทกำหนดทุกประการ

2.โรงเรือนหมู
2.โรงเรือนหมู

สภาพพื้นที่เลี้ยงหมู

หลังจากที่เริ่มมีความรู้ในการเลี้ยงเพิ่มขึ้น จึงตัดสินใจขยายฟาร์มเพิ่มจนตอนนี้มีแม่พันธุ์กว่า 300 แม่ มีโรงเรือนจำนวน 2 โรงเรือน  แบ่งออกเป็น  โรงเรือนคลอด  ขนาดหน้ากว้าง 18 เมตร  และโรงเรือนแม่พันธุ์  ขนาดหน้ากว้าง  8 เมตร อุปกรณ์ที่ใช้ทั้ง 2 โรงเรือน เป็นของ บริษัท การุณบราเธอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ และใช้งานได้ดี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ก่อนบ้านเกิดตั้งอยู่ที่  อ.เมืองสุพรรณบุรี  แต่ย้ายรกรากมาเลี้ยงหมูที่ดอนเจดีย์  และได้สร้างฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้ออีก  2 โรงเรือน ขนาด 40,000 ตัว ในรัศมีใกล้ๆ กัน ให้ลูกสาวเป็นคนดูแล ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ก็เป็นของการุณ ใช้มานานกว่า 11 ปี ตั้งแต่สร้างฟาร์มไก่เลย” คุณชอบเปิดเผยถึงเส้นทางธุรกิจฟาร์ม

นอกจากการสร้างโรงเรือนใหม่แล้ว ชอบฟาร์มยังมีบ่อไบโอแก๊สขนาด 120 คิวบิกเมตร โดยนำมูลและน้ำเสียจากการล้างคอกเป็นสารตั้งต้นในการผลิตไฟฟ้าใช้เองภายในฟาร์ม แต่ด้วยความที่เป็นฟาร์มแม่พันธุ์ไม่ใช่หมูขุน ทำให้ปริมาณแก๊สที่ผลิตมานั้นไม่เพียงพอต่อการใช้ภายในฟาร์ม และบริเวณฟาร์มกระแสไฟฟ้านั้นมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้มีเหตุการณ์ไฟดับบ่อยครั้ง คุณชอบจึงต้องมีเครื่องปั่นไฟสำรองขนาด 60 กิโลวัตต์ เพื่อใช้ภายในฟาร์มยามฉุกเฉิน

3.โรงเรือน เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ และ โรงเรือนคลอด
3.โรงเรือน เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ และ โรงเรือนคลอด

การบริหารจัดการโรงเรือนหมู 

การเลี้ยงสุกรจะประสบความสำเร็จหรือไม่? ขึ้นกับความใส่ใจในการเลี้ยง และการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสมควบคู่กัน ถึงแม้สายพันธุ์จะดีเพียงใด หากผู้เลี้ยงละเลย ขาดความใส่ใจ ก็ย่อมทำให้เกิดปัญหาขึ้นในภายหลังอยู่ดี ทางชอบฟาร์มจึงยึดหลักการจัดการแม่พันธุ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และมีการนำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

คุณชอบแบ่งการจัดการออกเป็น 2 โรงเรือน คือ โรงเรือนแม่พันธุ์ โรงเรือนนี้จะรับแม่พันธุ์สาวที่พร้อมผสมจากบริษัทเอกชนรายใหญ่ แต่ก่อนเคยใช้วิธีให้พ่อพันธุ์ขึ้นผสม แต่จะมีปัญหา คือ พ่อพันธุ์จะโทรมเร็ว ทำให้ทางฟาร์มเปลี่ยนมาใช้วิธีผสมเทียมแทน ทั้งประหยัดต้นทุนมากกว่า และการจัดการง่ายกว่า โดยสุกรสาวที่นำมาผสมจะมีน้ำหนัก 80-90 กิโลกรัม มีสุขภาพแข็งแรง ส่วนน้ำเชื้อทางบริษัทจะจัดส่งมาให้ตามเป้าที่กำหนดไว้

รับสุกรสาวมาไม่เกิน 1 อาทิตย์ ก็สามารถผสมเทียมได้ทันที  หลังจากการผสมติดเรียบร้อย แม่สุกรจะถูกย้ายไปอยู่ โรงเรือนคลอด ซึ่งเป็นโรงเรือนที่สะอาด และปลอดเชื้อที่สุด สำหรับรองรับสุกรใกล้คลอด และลูกสุกร ระยะเวลาตั้งท้องในสุกร คือ 115 วัน (นับตั้งแต่วันผสม) ภายหลังจากลูกสุกรคลอด จะให้อยู่กินนมแม่ประมาณ 18 วัน จึงจับแยก และทางบริษัทจะมารับลูกสุกรไปเลี้ยงต่อ

การจัดการแม่พันธุ์สำหรับผมนั้นไม่ยุ่งยากอะไร ในทุกๆ วัน จะมีลูกน้อง 4 คน ค่อยดูแลสุกรทั้ง 2 เล้า ดูแลเรื่องการให้อาหาร ซึ่งอาหารก็เป็นสูตรเฉพาะของทางบริษัท แบ่งออกเป็นระยะ ดังนี้ คือ แม่สุกรสาว สุกรท้อง 2 เดือน สุกรท้อง 3 เดือน และสุกรใกล้คลอด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทุกสูตรจะมีปริมาณการให้ที่แตกต่างกัน ขึ้นกับคำแนะนำของบริษัท อาทิ แม่สุกรหลังคลอดให้อาหาร 3 เวลา (เช้า กลางวัน และเย็น) แต่หากเป็นสุกรตั้งท้องจะให้อาหารเพียงวันละ 1 ครั้ง เท่านั้น และจะมีสัตวบาลเข้ามาดูแล ตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น

เมื่อเป็นระบบปิดทั้งหมด ดังนั้นการจัดการเรื่องอุณหภูมิและโรคระบาดจากภายนอก จึงไม่ค่อยพบปัญหา ถึงแม้อากาศแถวสุพรรณบุรีจะร้อนเป็นหลักก็ตาม เพราะการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรฐาน ซึ่งควรควบคุมอยู่ในช่วงระหว่าง 28-30 องศาเซลเซียส เพื่อให้แม่พันธุ์อยู่สบาย สุขภาพดี และเพิ่มอัตราการผสมติดด้วย

ในส่วนโรคระบาดนั้นมีบ้าง เช่น ท้องเสีย โรคเพิร์ส (PRRS) ซึ่งทางสัตวบาลเข้ามาช่วยจัดการ และมีการปูพรม ทำวัคซีนแม่สุกรอยู่สม่ำเสมอ เพื่อในร่างกายสุกรมีภูมิต้านทานเชื้อ”คุณชอบให้ความเห็นเพิ่มเกี่ยวกับการจัดการแม่พันธุ์สุกร

การ เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ จะใช้ระบบเข้า-ออกพร้อมกันเป็นชุด (ตามเป้าของบริษัท) กล่าวคือ แม่สุกร 300 ตัว จะแบ่งผสมครั้งละ 65 แม่ หนึ่งแม่ใช้ระยะเวลาท้องประมาณ 115 วัน ดังนั้นในหนึ่งรุ่นที่ผสมจะสามารถตั้งท้องได้ 4 รอบต่อปี

โดยมีอัตราการคลอด/ตัว/คอกประมาณ 10-14 ตัว บางครั้งอาจให้ลูกได้มากถึง 20 ตัว/คอก และไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นแม่ที่เคยคลอดแล้วหรือแม่ผสมใหม่ เพราะหากเป็นช่วงที่แม่สุกรมีการตกไข่มาก ลูกที่ได้จะยิ่งมีจำนวนมากขึ้นเช่นกัน ระยะเวลาที่ใช้แม่พันธุ์จนกระทั่งปลด คือ แม่สุกร 1 ตัว จะให้ลูกประมาณ 7 ครั้ง แล้วจึงเริ่มปลดออก เพื่อไปไม่ให้แม่พันธุ์โทรม และช่วยลดต้นทุน

ในช่วงระยะเวลาหลังคลอดจนถึงลูกสุกรอายุ 18 วัน จะให้ลูกสุกรกินนมแม่เป็นหลัก มีการป้อนน้ำนมเสริมบ้าง เพื่อให้ลูกสุกรแข็งแรง และสมบูรณ์ มีโอกาสรอดชีวิตทุกตัว ส่วนในแม่สุกรจะให้กินอาหารอย่างเต็มที่ เพื่อบำรุงแม่สุกรสำหรับการเป็นสัดครั้งต่อไป และเพิ่มปริมาณน้ำนมในการเลี้ยงลูก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.ลูกหมูแข็งแรง
4.ลูกหมูแข็งแรง เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ เลี้ยงหมูแม่พันธุ์

การจำหน่ายลูกหมู

ผลตอบแทนจากการรับจ้างเลี้ยงนั้น คุณชอบเปิดเผยว่า บริษัทจะมีเป้าหมายที่กำหนด เช่น อัตราการผสมติด จำนวนลูกรอดชีวิตที่คลอด อัตราการให้ลูกเฉลี่ย (ตัว/คอก) และน้ำหนักลูกสุกรหลัง 18 วัน เป็นต้น หากได้ครบตามเป้าที่กำหนดไว้จะได้เงินตามที่ตกลงกัน หากได้สูงกว่าเป้าที่กำหนดจะได้รับเป็นโบนัสในการเลี้ยงเพิ่มเติมอีก

ส่วนฟาร์มของคุณชอบเองมีรายได้จากการขายลูกสุกรหลัง 18 วัน น้ำหนักเฉลี่ย 9 กิโลกรัม/ตัว และได้ลูกต่อคอกเฉลี่ย 9 ตัวขึ้นไป ประมาณ 300 บาท/ตัว (เมื่อหักทุกอย่างแล้ว)

5.แอร์โร่ฟอยล์ ตัวผ้าไม่ฉีกขาดง่าย
5.แอร์โร่ฟอยล์ ตัวผ้าไม่ฉีกขาดง่าย เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ 

ข้อดีของแอร์โร่ฟอยล์

ด้วยความที่เป็นฟาร์มสุกรแม่พันธุ์ จึงไม่มีการพักเล้า พักโรค เหมือนในสุกรขุน ทำให้อุปกรณ์ภายในฟาร์มที่ใช้นั้นต้องมีความแข็งแรง คงทน และมีประสิทธิภาพจริง เพราะอุปกรณ์จะมีการใช้งานอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบทำความเย็น เช่น คูลลิ่งแพค พัดลม แผ่นฝ้าเพดาน เป็นต้น

คุณชอบยอมรับว่าแต่ก่อนใช้ผ้าพีวีซีแทนแผ่นฝ้าเพดาน ผลคือ ต้องมีการเปลี่ยนบ่อยครั้งด้วยแรงลมจากการดึงอากาศของพัดลมในทุกวัน ใช้ได้เพียง 1-2 ปี ก็ต้องเปลี่ยนแล้ว จนมีสัตวบาลคนเก่ามาแนะนำให้รู้จักกับแอร์โร่ฟอยล์ จึงตัดสินใจลองใช้ดู ปัจจุบันใช้มานาน 6 ปี ยังไม่ต้องเปลี่ยนหรือต้องซ่อมแต่อย่างใด

ต้องยอมรับว่าผ้าแอร์โร่ฟอยล์ใช้งานได้ดี ลดต้นทุน และแข็งแรง ทนทานจริง ตัวผ้าไม่ฉีกขาดง่าย ถึงแม้ราคาจะสูงอยู่บ้าง แต่ในแง่การใช้งานนับว่าคุ้มที่จะเสีย หากเปรียบเทียบผลการใช้งานหลังติดตั้งผ้าแอร์โร่ฟอยล์ ผลปรากฏว่า อุณหภูมิภายในเล้ามีความสม่ำเสมอมากยิ่งขึ้น ทำให้ประหยัดไฟได้เยอะ ลงทุนครั้งเดียวคุ้ม ไม่มีการซ่อม หรือมีรอยร่วงจากการทำความสะอาด  ขนาดเศษเหลือที่วางทิ้งไว้ยังไม่มีรอยกัดของสัตว์เลย”  คุณชอบยืนยันถึงการใช้งานผ้าแอร์โร่ฟอยล์แท้ จากบริษัท เด่นใหญ่ จำกัด

ด้วยคุณสมบัติพิเศษแอร์โร่ฟอยล์ ซึ่งผลิตจากแผ่นสะท้อนความร้อน (Heat reflective sheet) ชนิดอะลูมิเนียมฟอยล์บริสุทธิ์ทั้ง 2 ด้าน ซึ่งสามารถสะท้อนความร้อนได้สูงถึง 95% ไม่อมความร้อน ไม่ลามไฟ และกันความชื้นได้ดี เหมาะกับงานฟาร์ม ซึ่งจะมีการทำความสะอาดบ่อยครั้ง และทนทาน ไม่ขาดง่าย อายุการใช้งานยาวนาน ไม่หดตัว 100 % และรับประกันการใช้งานนานกว่า 5 ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.แอร์โร่ฟอยล์ที่ใช้ในโรงเรือนหมู
6.แอร์โร่ฟอยล์ที่ใช้ในโรงเรือน เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ เลี้ยงหมูแม่พันธุ์ 

ฝากถึงเกษตรกรที่เลี้ยงหมู

ในปี 2563 นี้ คุณชอบยังไม่ได้วางเป้าหมายใดเป็นพิเศษ อาจต้องดูตามทิศทางของตลาดในปัจจุบันเป็นหลัก แต่จะปรับปรุงและพัฒนาด้านการจัดการให้ดีขึ้น และยังฝากถึงเกษตรกรทุกคนว่า “ทุกอย่างคือการลงทุน และการลงทุนคือความเสี่ยง แต่สำหรับการลงทุนใช้แผ่นแอร์โร่ฟอยล์นี้นั้นคุ้มค่า ทั้งความแข็งแรง คงทน ไม่อมความร้อน ทำให้อุณหภูมิสม่ำเสมอ ประหยัดไฟ ถึงจะใช้มาแล้วกว่า 6 ปี ก็ยังสามารถใช้ต่อไปได้ หากกำลังมองหาวัสดุที่จะใช้แทนผ้าพีวีซี ให้แอร์โร่ฟอยล์เป็นหนึ่งในตัวเลือกหลักของคุณเถอะ

หากสนใจผลิตภัณฑ์แอร์โร่ฟอยล์สามารถดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่ Website : denyai.com และสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ เพจเฟสบุ๊ค : แอร์โร่ฟอยล์ อลูมิเนียมฟอยล์ของคนไทย

ขอขอบคุณ คุณชอบ เอี่ยมเมือง เจ้าของชอบฟาร์ม ที่อยู่ 87/3 ม.9 ต.สระกระโจม อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี โทร.086-001-1420 ที่ให้เกียรติแบ่งปันเรื่องราวดีๆ อันเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้ที่สนใจทุกท่าน

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 323