เลี้ยงหมู ในสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง หน้าร้อน หน้าหนาว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เลี้ยงหมู ในสภาพอากาศ เปลี่ยนแปลง

หมูเป็นสัตว์เลือดอุ่น ( Homeothermic animal ) จำเป็นต้องคงระดับอุณหภูมิของร่างกายไว้ที่ 38.8 – 39.2 °C และจะมีการปรับตัวเองเพื่อให้อยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำได้เช่นหากร้อนก็นอนแช่น้ำหรือหากอากาศเย็นก็จะกินอาหารมากขึ้นเพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานและนำไปใช้ต่อสู้กับความหนาวเย็น

นอกเหนือจากการนำไปใช้เพื่อดำรงค์ชีวิตและการให้ผลผลิต แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ต่างกันมากเกินไปในหนึ่งวัน เช่นจากข้อมูลการพยากรณ์อากาศข้างต้น

ซึ่งจะพบว่ามี ความแตกต่างอากาศที่หนาวที่สุดและร้อนที่สุดของวันมากกว่า 10°C 

อากาศร้อนในช่วงกลางวัน พอตกเย็นอุณหภูมิกลับลดต่ำลง จะส่งผลโดยตรงให้ เลี้ยงหมู ในสภาพอากาศ เปลี่ยนแปลง หมูเกิดความเครียด ก่อให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันโรค จึงไม่แปลกที่สัตว์มักจะป่วยได้ง่ายขึ้นในช่วงนี้ สิ่งสำคัญที่ชาวหมูควรคำนึงถึงคือ เลี้ยงหมู ที่มีการปรับสภาพโรงเรือนให้เหมาะสมในช่วงรอยต่อฤดูดังนี้

การจัดการสภาพอากาศในพ่อ-แม่สุกรพันธุ์-เลี้ยงหมู
การจัดการสภาพอากาศในพ่อ-แม่สุกรพันธุ์-เลี้ยงหมู

การจัดการสภาพอากาศในพ่อ แม่สุกรพันธุ์

แม่สุกรเลี้ยงลูกต้องการอุณหภูมิในการดำรงชีพที่ 27 – 30 Cº ซึ่งในแม่พันธุ์มักจะไม่พบปัญหา ส่วนใหญ่จะกินอาหารได้มากขึ้นโดยเฉพาะในเล้าอีแว็ป ที่ควบคมอุณหภูมิได้สม่ำเสมอ แต่ในกรณีที่เป็นเล้าเปิด หรือสภาพอากาศมีความแปรปรวนที่รุนแรงมากๆควรมีการจัดการดังนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หากอากาศร้อน

  • เนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อเพื่อระบายความร้อน เมื่อสุกรร้อนจะระบายความร้อนด้วยการหอบ จึงต้องใช้น้ำในการระบายความร้อน เช่นการเปิดน้ำหยดเพื่อช่วยระบายความร้อนออกจากตัวสุกร หรือการอาบน้ำให้สุกรโดยอาบจนตัวสุกรเย็น หากอาบโดยที่สุกรยังไม่หายร้อน ส่งผลให้สุกรระบายความร้อนได้ยากมากขึ้นจากความชื้นที่ผิวหนัง อาจส่งผลให้สุกรป่วยได้
  • เพิ่มระบบระบายอากาศ เช่น เปิดม่าน เพิ่มพัดลมในโรงเรือนให้อากาศหมุนเวียน และระบายอากาศเสียออกจากโรงเรือน
  • คอยสังเกตุอาการของแม่สุกร หากอากาศร้อนแม่สุกรจะกินอาหารลดลง แต่กินน้ำมากขึ้น

หากอากาศเย็น

  • ใช้ม่านบังลมในทิศที่ลมพัดเข้าหาหมูโดยตรง โดยให้บังจากพื้นขึ้นมาสูงกว่าระดับที่หมูอยู่ประมาณ50-80เซนติเมตร  แต่ไม่ควรปิดให้มิดชิดเกินไป เพื่อให้มีการหมุนเวียนระหว่างอากาศดีอากาศเสียได้ ส่วนในโรงเรือนปิดควรลดการเปิดปั๊มน้ำรดเยื่อกระดาษลงเพื่อคงอุณหภูมิในโรงเรือนไม่ให้อุณหภูมิลดลงอีก แต่ไม่ควรลดจำนวนตัวเปิดพัดลม อาจทำให้มีการสะสมของแก๊สในโรงเรือนสูงมากยิ่งขึ้น
ลูกสุกรในเล้าคลอด
ลูกสุกรในเล้าคลอด

ลูกสุกรในเล้าคลอด

อุณหภูมิที่ลูกสุกรต้องการอยู่ที่ 32 – 34 Cº โดยจุดอ่อนของลูกสุกรคือ ไขมันใต้ผิวหนังบางมาก ทำให้ไม่สามารถทนทานต่ออากาศที่มีอุณหภูมิต่ำๆได้ โดยมีการจัดการดังนี้

หากอากาศเย็น

  • จะพบว่าลูกสุกรจะนอนกองสุมตัวในกก หรือนอนบนตัวแม่สุกร ซึ่งอาจทำให้แม่สุกรทับได้จึงควรมีการจัดการเพื่อให้ลูกสุกรอบอุ่นมีดังนี้
    • เตรียมกล่องกกโดยมีหลอดไฟกกขนาด  60  วัตต์  หรือหลอดไฟอินฟราเรด ห้อยในกก และมีม่านเพื่อป้องกันลมโกรก โดยกล่องกกต้องไม่บังลมแม่สุกร  ควรมีพื้นที่เปิดด้านข้างเพื่อให้อากาศสามารถระบายได้
    • วัสดุรองพื้นในกล่องกก  เช่น  กระสอบป่าน กระดานไม้ หรือวัสดุเก็บความร้อนที่ไม่อมน้ำ
    • หมั่นจับลูกสุกรให้เข้าไปนอนในกก เพื่อให้ลูกสุกรรู้ว่าในกล่องอุ่นกว่าภายนอก ก็จะลดโอกาศถูกแม่ทับได้ด้วย

ต้องคำนึงเสมอว่า แม่สุกรชอบเย็นสบาย แต่ลูกสุกรชอบอบอุ่น

สุกรอนุบาล-รุ่น-ขุน
สุกรอนุบาล-รุ่น-ขุน

สุกรอนุบาล รุ่น ขุน

ควรควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับลูกสุกรอบอุ่นโดยลูกสุกรต้องการอุณหภูมิ32-34 องศาเซลเซียสและเมื่ออายุสุกรมากขึ้นความต้องการอุณหภูมิจะลดลง 1 องศาเซลเซียสในทุกสัปดาห์

อายุเลี้ยง(สัปดาห์)

อุณหภูมิที่ต้องการ

(°C)

1-2

32-34

3-4

30

5-8

29

9-จับขาย

28

    

สุกรอนุบาล-รุ่นขุน
สุกรอนุบาล-รุ่นขุน

อากาศร้อน

จะพบว่าสุกรจะกินอาหารลดลง แต่กินน้ำมากขึ้นและแช่ตัวในน้ำหรือคลุกตัวกับอุจจาระ คอกเลอะ หายใจถี่เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย ควรเน้นเรื่องการระบายอากาศในโรงเรือน เพื่อให้อากาศถ่ายเท มีลมผ่านตัวสุกร และหมั่นเปลี่ยนส้วมน้ำทุกวัน เพื่อลดการสะสมแก๊สและของเสียในโรงเรือน

อากาศเย็น

โดยปกติการนอนของสุกรจะนอนตะแคงและเรียงต่อกันหากอากาศเย็นสุกรมักจะนอนหลบลมตามมุมคอกและนอนสุมกันโดยสุกรจะนอนบนขาเพื่อลดการสัมผัสพื้นและอาจพบสุกรเปลี่ยนท่านอนบ่อยเนื่องจากพื้นคอดเย็นจึงควรเพิ่มความอบอุ่นโดยเพิ่มไฟกกให้เพียงพอมีวัสดุรองนอนม่านป้องกันลมและในโรงเรือนปิดควรระวังเรื่องการลดจำนวนพัดลมอาจเพิ่มการสะสมแก๊สในโรงเรือน

ภาวะภัยแล้ง

ชาวหมูจึงต้องสำรองน้ำสำหรับให้สุกรดื่มอย่างเพียงพอตลอดฤดูแล้ง ซึ่งต้องเตรียมอุปกรณ์เก็บน้ำ เช่น สร้างแท้งค์เก็บน้ำ ถังสำรองน้ำ โดยความต้องการน้ำดื่มของสุกรแต่ละช่วงอายุตามตารางด้านล่างชาวหมูสามารถคำนวณว่าหมูในฟาร์มจะต้องน้ำเท่าใดเพื่อเตรียมตัวสำรองน้ำให้เพียงพอตลอดฤดูแล้ง ที่จะมาถึง และน้ำสำหรับให้สุกรดื่มควรเป็นน้ำ ที่ไม่ร้อน หากน้ำร้อนอาจส่งผลต่อการกินได้ของสุกรและปัญหาสุขภาพ ที่ตามมา ชาวหมูต้องหมั่นเช็คว่าน้ำสำหรับสุกรดื่มร้อนหรือไม่ ท่อน้ำไม่ควรตากแดดควรแก้ไขโดยอาจฝังลงดินไม่น้อยกว่า 60 ซม.หรือติดตั้งม่านกันแดดเพื่อป้องกันท่อน้ำสัมผัสแดดโดยตรง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปริมาณนำ้ ที่ต้องการต่อของสุกรในต่อล่ะระบะ

ระยะสุกร

ปริมาณน้ำ ที่ต้องการ(ลิตร/วัน)

แม่สุกรอุ้มท้อง

5 – 6

แม่สุกรเลี้ยงลูก

15 – 20

สุกรน้ำหนัก 15 กก.

1 – 2

สุกรน้ำหนัก 25-50 กก.

3 – 4

สุกรน้ำหนัก 50-100 กก.

5 – 6

ที่มา:กรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th

หากชาวหมูเตรียมตัวรับมือช่วงรอยต่อฤดูได้ดีก็คงผ่านไปได้อย่างราบรื่น

เลี้ยงหมู

ขอให้ชาวหมูโชคดีและร่ำรวยทุกคนครับ

ทีมบริการวิชาการสุกร

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)