เลี้ยงแพะขุน กินหญ้าตามธรรมชาติ ลงทุน 65,000บาท คืนกำไร 5 หมื่นบาท/เดือน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จุดเริ่มต้นการ เลี้ยงแพะขุน

คุณสุจินต์ อ่อนม่วง แห่งเจือจินต์ดาฟาร์ม ตั้งอยู่เลขที่ 165 หมู่ 5 ตำบลจรเข้เผือก อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นคนหนุ่มไฟแรงอีกท่านหนึ่งที่ได้ยึดอาชีพการ เลี้ยงแพะขุน เพื่อสร้างรายได้ เนื่องจากมีความรักอาชีพการเลี้ยงสัตว์เป็นทุนเดิม

จากการได้เรียนจบด้านสัตวบาลในระดับ ปวส.จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี และขณะเดียวกันในครอบครัวก็มีการเลี้ยงวัวอยู่แล้ว จึงทำให้การเลี้ยงแพะเป็นสิ่งที่ไม่ยากเย็นเท่าที่ควร เพราะสัตว์ทั้งสองชนิดนี้เป็นสัตว์ที่กระเพาะเหมือนกัน การเอาใจใส่ดูแลจึงคล้ายกัน แต่อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็ไม่มากมายนัก

1.แพะสมบูรณ์-แข็งแรง
1.แพะสมบูรณ์-แข็งแรง

คุณสุจินต์ได้เล่าว่าเริ่มเลี้ยงแพะโดยการซื้อแบบเหมาฝูงมาจำนวน 3 ฝูง แต่ละฝูงมีจำนวนประมาณ 20 ตัว ส่วนราคาจะตกฝูงละประมาณ 20,000-25,000 บาท รวมเงินลงทุนในครั้งแรก 65,000 บาท จากนั้นจึงได้ทำการคัดตัวผู้ขายออก ทำให้มีรายได้เข้ามาประมาณหมื่นกว่าบาท

ซึ่งขณะนั้นมี ไม่ได้ทำการขุนพอดี ช่วงนั้นทำงานประจำจึงไม่มีเวลาดูแลแพะเท่าที่ควร จึงฝากให้น้องเป็นคนเลี้ยงเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี ตลอดเวลาได้มีการคัดทั้งตัวผู้และตัวเมียขายออกไปเรื่อยๆ และพอออกจากงานประจำก็กลับเอาแพะมาเลี้ยงเอง ซึ่งได้มีการขายยกฝูงออกไปได้เงินประมาณ 50,000 บาท

จากนั้นเขาจึงได้เริ่มซื้อแพะเข้ามาเลี้ยงฝูงใหม่ และซื้อเข้ามาเรื่อยๆ ทำให้มีจำนวนแพะประมาณ 200 กว่าตัว จากนั้นได้ทำการขายออกไป 2 รอบ โดยรอบแรกมีรายได้ประมาณ 80,000 บาท และรอบที่สองอีกประมาณ 130,000 บาท ทำให้สามารถปลดหนี้จากการไปกู้ ธกส.มาประมาณ 200,000 กว่าบาท ได้อย่างสบาย

ในเวลานี้จึงสามารถพูดได้เต็มปากว่าเลี้ยงแพะแล้วก็สามารถปลดหนี้ได้ ซึ่งรายได้ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นแค่เพียงรายได้จากการขายแพะฝูง นอกเหนือจากนั้นเขายังมีแพะขุนที่ขายออกไปทุกๆ เดือนอีกประมาณเดือนละ 50,000 บาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.ให้แพะกินหญ้าตามธรรมชาติ
2.ให้แพะกินหญ้าตามธรรมชาติ

การเลี้ยงและบำรุงดูแลแพะ

ในด้านเทคนิคการเลี้ยงแพะนั้น คุณสุจินต์ได้เปิดเผยว่าจะพยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการปล่อยแพะฝูงให้กินหญ้าตามธรรมชาติ เช่น ตามริมถนน ริมคลอง บางวันอาจจะเดินไปไกลเป็นระยะทางถึง 2 กิโลเมตร ซึ่งถือว่ามีการจัดการค่อนข้างลำบาก 、

เพราะต้องมีการดูแลควบคุมตลอดเส้นทาง เพราะแพะอาจจะไปทำความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตรของเกษตรกรรายอื่นได้ บางครั้งอาจจะมีการใช้ลวดไฟฟ้าล้อมไว้แล้วเอาถังน้ำไปตั้งไว้ตรงกลางเพื่อให้แพะได้ดื่มกิน ในขณะเดียวกันเวลาที่ไม่ค่อยมีหญ้าตามธรรมชาติก็จะมีการปลูกหญ้าพันธุ์เนเปียร์เอาไว้ประมาณ 10 ไร่ แล้วนำมาสับโดยใช้เครื่อง แพะก็จะมีหญ้ากินตลอดทั้งปี

ส่วนการจัดการ เลี้ยงแพะขุน นั้นจะเน้นให้กินกระถินเป็นหลัก โดยจะออกไปตัดคราวละ 1 รถกระบะ แล้วนำมาให้แพะกินในเวลาเช้า 1 รอบ และเย็นอีก 1 รอบ นอกจากนั้นแล้วยังมีการเสริมด้วยอาหารข้นของซีพี ซึ่งเพียงเท่านี้ก็เพียงพอสำหรับ เลี้ยงแพะขุน

3.คอกแพะ
3.คอกแพะ

การบริหารจัดการโรงเรือนแพะ

สำหรับโรงเรือนนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 โรง และแพะมีจำนวนถึง 200 กว่าตัว จึงต้องมีพื้นที่เพียงพอกับจำนวนเพื่อไม่ให้เกิดความแออัดยัดเยียดกันจนเกินไป ซึ่งวัสดุที่ใช้ก็เป็นเพียงไม้และหลังคามุงสังกะสีธรรมดา เพียงแค่ให้แพะหลบแดด หลบฝน ก็ถือว่าใช้ได้

สำหรับเรื่องโรคภัยไข้เจ็บของแพะนั้น คุณสุจินต์บอกว่าก็มีบ้าง แต่ก็ไม่มาก ส่วนใหญ่แพะจะมีอาการขี้ไหล ท้องเสีย โดยใช้ยาฆ่าเชื้อธรรมดา แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นก็จะเปลี่ยนมาเป็นยาฉีด ในเรื่องพยาธิก็จะมีปัญหาน้อย เพราะมีการเปลี่ยนที่เลี้ยงไปเรื่อยๆ และมีการถ่ายพยาธิให้แพะทุกๆ 3 เดือน โดยการกรอกสลับกับการฉีด ซึ่งยาที่ใช้ก็จะเป็นพวกไฮเวอร์แม็ก เอฟ

4.สายพันธุ์แพะ
4.สายพันธุ์แพะ

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายแพะ

ในด้านการพัฒนาสายพันธุ์นั้นจะใช้พ่อพันธุ์บอร์ที่มีเลือดสูงๆ มาปรับปรุงกับแม่พันธุ์พื้นฐาน ซึ่งแพะพันธุ์แอลโกลพอลูกออกมาก็จะใช้พ่อพันธุ์บอร์เลือดร้อยสลับกับพ่อพันธุ์ซาแนนเลือดร้อยไปเรื่อยๆ ลูกที่ได้ก็จะออกมาเป็นลูกผสม 3 สายเลือด ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในขณะนี้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยในพื้นที่ใกล้เคียงก็จะมีเกษตรกรรายอื่นๆ มาซื้อสายพันธุ์แพะเพื่อนำไปเลี้ยง ซึ่งราคาของแม่พันธุ์แพะจะเริ่มต้นตั้งแต่ตัวละ 2,500 บาท ส่วนพ่อพันธุ์จะเริ่มที่ 3,500 บาท ถึง 10,000 กว่าบาท ขึ้นอยู่กับรูปร่างและลักษณะของแพะ

5.พ่อแม่พันธุ์แพะ เลี้ยงแพะขุน
5.พ่อแม่พันธุ์แพะ เลี้ยงแพะขุน

แนวโน้มในอนาคตของแพะ 

ในอนาคตคุณสุจินต์ได้วางแผนเอาไว้ว่าจะมีการพัฒนาให้ดีขึ้นกว่านี้ โดยการทำโรงเรือนใหม่เพื่อทำเป็นฟาร์มกักโรค การซื้อขายแพะก็จะสะดวกมากกว่านี้ และจะให้มีสมุดเยี่ยมฟาร์มเพื่อต้องการเอาเบอร์โทรศัพท์ไว้ แล้วต่อไปก็จะมีการติดต่อในด้านการซื้อขาย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนสายพันธุ์

หากท่านใดอยากติดต่อซื้อขายแพะ หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล สามารถติดต่อได้ที่ คุณสุจินต์ อ่อนม่วง โทร.08-1005-5690, 08-1005-0840