เลี้ยงแพะ ปล่อยทุ่ง ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้เดือนละ 10,000 บาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การลดต้นทุนในการ เลี้ยงแพะ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้มีกำไรสูงสุด ซึ่งในแต่ละพื้นที่อาจมีรูปแบบที่ไม่เหมือนกัน เพราะความพร้อมของทรัพยากรที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการลดต้นทุนในเรื่องของอาหาร โดยอาศัยความได้เปรียบในพื้นที่ เช่น มีหญ้า หรือกระถิน ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงทำให้ลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารแพะลงไปได้

1.เลี้ยงแพะ ดูแลง่าย ต้านทานโรค
1.เลี้ยงแพะ ดูแลง่าย ต้านทานโรค

การเลี้ยงแพะ

คุณจรัญ ไชยราช เจ้าของฟาร์มแพะเนื้อ ที่มีการลดต้นทุนเรื่องอาหารแพะได้เป็นอย่างดี ณ บ้านเลขที่ 198/1 หมู่ 1 ตำบลแสลงพัน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี เมื่อเร็วๆ นี้ว่าได้เริ่มเลี้ยงแพะประมาณต้นปี 2550 จากการที่เห็นเพื่อนคนหนึ่งเลี้ยงอยู่แถวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แล้วใช้เวลาศึกษาการเลี้ยงแพะจากเพื่อนๆ ที่เลี้ยงแพะอยู่ประมาณ 1 ปี

ก็จะตัดสินใจซื้อแพะเข้ามาเลี้ยง ก่อนหน้านี้เลี้ยงวัว แต่วัวดูแลยาก และราคาไม่ค่อยดี จึงหันมาเลี้ยงแพะแทน โดยไปซื้อแม่พันธุ์มาจากคุณสุขฟาร์มของคุณเชาวรัตน์ หรือรู้จักกันดีในนามของลุงเป้ง แห่งชมรมส่งเสริมและพัฒนาพันธุ์แพะ-แกะ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี

2.สายพันธุ์แพะ
2.สายพันธุ์แพะ

สายพันธุ์แพะ

สายพันธุ์แพะที่นำเข้ามาเลี้ยงจะเป็นพันธุ์ลูกผสมแองโกล พ่อพันธุ์ก็จะใช้เป็นพันธ์ซาแนน แต่ตอนนี้มาใช้พ่อพันธุ์บอร์เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเลือดชิด และก็จะนำพ่อพันธุ์ซาแนนตัวใหม่มาผสมอีกครั้งหนึ่ง เพราะเห็นว่าพ่อพันธุ์บอร์ผสมกับแม่พันธุ์แพะทั่วทั้งฟาร์มแล้ว เพื่อเป็นการพัฒนาสายพันธุ์ไปเรื่อยๆ

เริ่มแรกที่มีการนำแพะเข้ามาเลี้ยง 30 ตัว พอเลี้ยงไปซักพักก็ซื้อเข้ามาเพิ่มอีก 30 ตัว ตอนนี้มีประมาณ 200 กว่าตัว ซึ่งในระหว่างที่เลี้ยงอยู่ก็มีแพะคลอดออกมาเรื่อย ซึ่งมีการคัดตัวผู้ขายออกไปบ้าง เมื่อตอนเป็นแพะหนุ่ม เพื่อไม่ให้มาผสมพันธุ์กับตัวเมีย มีการขายออกไปครั้งละ 10-20 ตัว ตัวผู้ที่ขายเป็นแพะเนื้อจะได้ราคากิโลกรัมละ 60 บาท ส่วนตัวเมียก็มีขายให้ญาติกันเอาไปทำเป็นสายพันธุ์ตัวละ 2,000 บาท ตั้งแต่เริ่มเลี้ยงก็ขายแม่พันธุ์ออกไปแล้ว 30 กว่าตัว

3.บริเวณพื้นที่เลี้ยงแพะ
3.บริเวณพื้นที่ เลี้ยงแพะ

สภาพพื้นที่ เลี้ยงแพะ

คุณจรัญได้เล่าต่ออีกว่าการลงทุนเริ่มแรกก็จะซื้อแพะมาในราคา 140,000 บาท และมีค่าสร้างโรงเรือนประมาณ 40,000 บาท แต่ต้นทุนค่าอาหารไม่มี เพราะกินหญ้าและกระถินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ให้แพะได้กินในพื้นที่ประมาณ 45 ไร่ และมีพื้นที่ใกล้เคียงของเพื่อนบ้านอีกหลายสิบไร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในด้านโรคภัยไข้เจ็บก็มีบ้าง จะมีอาการไข้ ซึ่งก็มีตายเกิดขึ้นในช่วงหน้าหนาวในปีที่ผ่านมาประมาณ 3-4 ตัว คือ อาจจะเป็นเพราะว่าแพะป่วยหนักเกินไปแล้วรักษาแพะเอาไว้ไม่ทัน บางทีไม่ค่อยได้อยู่ที่ฟาร์มก็จะให้คนในครอบครัวช่วยดู

แต่ถ้าติดธุระด้วยกันก็จะจ้างแรงงานมาเลี้ยงให้ ปัญหาเรื่องหมาเข้ามากัดแพะก็เคยมี ก็ต้องมีการระมัดระวังกันเป็นอย่างมาก ส่วนยาถ่ายพยาธิก็ไม่ค่อยได้ใช้ เพราะเคยมีคนเล่าให้ฟังว่าเมื่อแพะกินเปลือกกระถินแล้วจะทำให้ไปยับยั้งการเกิดพยาธิได้

4.สมบูรณ์แข็งแรง-ได้น้ำหนักดี
4.สมบูรณ์แข็งแรง-ได้น้ำหนักดี

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายแพะ

เป้าหมายด้านจำนวนแพะ คุณจรัญได้วางเอาไว้ประมาณ 300 ตัว เพราะว่าในหน้าแล้งอาหารจะไม่เพียงพอ  คาดว่าภายในปีนี้อาจจะมีจำนวนถึงตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะขายเป็นตัวผู้ออกไป น้ำหนักที่จะขายจะอยู่ในช่วง 17-18 กิโลกรัม

ถ้าตัวไหนสมบูรณ์ดีก็ 20 กิโลกรัม รายได้เฉลี่ยตกตัวละ 1,000 บาท เฉลี่ยแล้วขายเดือนละ 10 ตัว ก็มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 10,000 บาท ถือว่าเป็นรายได้เกือบทั้งหมด เพราะไม่ได้มีต้นทุนอะไรมาก แต่บางทีไปธุระก็จะจ้างคนมาดูแลแทนเป็นบางเวลา ซึ่งในแต่ละวันก็ใช้เวลาเลี้ยงไม่นาน ช่วงเช้า 2 ชั่วโมง จากเวลา 8 โมงเช้า ถึง 10 โมงเช้า ส่วนบ่ายก็ 2 ชั่วโมง เช่นเดียวกัน ตั้งแต่เวลาบ่าย 3 โมง จนถึง 5 โมงเย็น บางทีแพะมันอิ่มก็จะเดินเข้าคอกของมันเอง

ในช่วงสุดท้ายของการพูดคุย คุณจรัญได้กล่าวทิ้งท้ายว่า แพะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ดูแลง่าย ไม่ค่อยเป็นโรคอะไรมาก เพียงแต่มีการเอาใจใส่ดูแลให้ดี เรื่องการตลาดก็ไม่มีปัญหา มีพ่อค้าโทร.เข้ามาสอบถามเป็นประจำ ถ้ามีแพะก็จะเข้ามาซื้อตลอด

จะเห็นได้ว่าอาชีพการ เลี้ยงแพะ เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็ใช้ต้นทุนในการเลี้ยงที่ต่ำ ซึ่งเหมาะสมสำหรับการทดลองทำเป็นอาชีพเสริมก่อน และถ้าไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นก็สามารถเลี้ยงเป็นอาชีพหลักได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณจรัญ ไชยราช โทร.08-1947-7459