เลี้ยงไก่พื้นเมือง มุ่งผลิตไก่ 3 สาย ลงทุนน้อย ตลาดนิยม ขายได้ทั้งไก่เก่ง และไก่แกง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ความเจริญก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและปศุสัตว์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากประชากรโลกมีความต้องการสินค้าเกษตรและปศุสัตว์เพื่อบริโภคเพิ่มขึ้น ทำให้บริษัท หรือองค์กรใหญ่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เริ่มมองหาช่องทางในการขยายตลาดและฐานการผลิตในประเทศนั้นๆ หรือแหล่งที่มีศักยภาพ

ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารและส่งออกธุรกิจทางด้านปศุสัตว์อันดับต้นๆ ของโลก นั่นคือ ธุรกิจอุตสาหกรรมระดับประเทศ แต่ในระดับครัวเรือนหรือที่เรียกว่า “เกษตรกรรายย่อย” ยังคงมีควบคู่กับธุรกิจบริษัทรายใหญ่ โดยมีตลาดท้องถิ่นและในประเทศรองรับ แต่การทำอาชีพเกษตรกรรมและปศุสัตว์ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามเศรษฐกิจและสถานการณ์บ้านเมือง การเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานจึงเป็นทางรอดของเกษตรกรรายย่อย

1.เลี้ยงไก่พื้นเมือง มุ่งผลิตไก่ 3 สาย ลงทุนน้อย ตลาดนิยม ขายได้ทั้งไก่เก่ง และไก่แกง
1.เลี้ยงไก่พื้นเมือง มุ่งผลิตไก่ 3 สาย ลงทุนน้อย ตลาดนิยม ขายได้ทั้งไก่เก่ง และไก่แกง
2.คุณชัชวาล-วงศ์รา-เลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน
2.คุณชัชวาล-วงศ์รา-เลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน เน้น เลี้ยงไก่พื้นเมือง

คุณชัชวาล วงศ์รา ชายหนุ่มผู้มีความมุ่งมั่นในการฟื้นฟูและอนุรักษ์พันธุ์ไก่พื้นเมืองไว้ศึกษาเพื่อไม่ให้ไก่พื้นเมืองสูญพันธุ์เร็ว จึงทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานขึ้น บนเนื้อที่เกือบ 100 ไร่ ในตำบลท่ากูบ อำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ และเลี้ยงสัตว์ ประมาณ 2 ไร่ บางส่วนปลูกพืชที่เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ใช้ในฟาร์ม เช่น หญ้าเนเปียร์ และหญ้ารูซี่

เริ่มเมื่ออายุ 15 ปี มีความสนใจในอาชีพเกษตรกรรม ประกอบกับมีชีวิตคลุกคลีเกี่ยวกับเกษตรมาตั้งแต่เกิด เห็นการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน เลี้ยงไก่พื้นเมือง แบบขาดการดูแลเอาใจใส่ ทั้งเรื่องอาหาร การป้องกันโรค และที่อยู่อาศัย โดยปล่อยให้ไก่นอนตามต้นไม้ ไม่มีโรงเรือนในรูปแบบชัดเจน ตลอดจนไม่สามารถควบคุมโรคได้ จนได้รับรางวัลชนะเลิศของจังหวัดชัยภูมิ ด้านฟาร์มปลอดโรค จึงคิดทำในรูปแบบฟาร์ม โดยใช้ชื่อว่า ส.ชัชวาลฟาร์ม

รางวัลด้านฟาร์มปลอดโรค
รางวัลด้านฟาร์มปลอดโรค
3.คอกไก่
3.คอกไก่

สภาพพื้นที่ เลี้ยงไก่พื้นเมือง

ฟาร์มมีโรงเลี้ยงไก่จำนวน 4 โรงเรือน โดยแยกรุ่นของไก่ ทำแบบง่ายๆ ใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ไม้ ไม้ไผ่ หญ้าคา แทนการใช้สังกะสี เนื่องจากความร้อนอาจทำให้เป็นปัญหาในการฟักไข่

คุณชัชวาลเล่าว่า “ทางฟาร์มมีการเลี้ยงไก่แบบผสมผสาน เช่นไก่พื้นเมือง ไก่เนื้อ ไก่ไข่ ไก่ชน และลูกผสมไก่ชน เกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์ให้ไก่พื้นเมืองมีลักษณะโตขึ้น แข็งแรงขึ้น ปัจจุบันนำไก่พันธุ์โรสแมรี่มาผสมกับไก่ชน เช่น พันธุ์ประดู่หางดำ เพื่อเตรียมสำหรับผลิตไก่สามสายพันธุ์”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนสาเหตุที่ทำไก่สามสายเพราะสามารถใช้เป็นไก่เนื้อ หรือไก่ไข่ ก็ได้ ข้อดี คือ ไก่เนื้อจะแน่น และให้ผลผลิตดี อีกอย่างสาเหตุที่เลือกเอาไก่ชนมาเป็นพ่อพันธุ์เพราะมีลักษณะแข็งแรง เหมาะกับการผสมพันธุ์ เป็นไก่สามสาย สามารถทนต่อสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ และอีกหนึ่งเหตุผล คือ เป็นที่ต้องการของตลาดในพื้นที่

การแบ่งพื้นที่ในการเลี้ยงไก่จะเลี้ยงแยกแต่ละสายพันธุ์ และแยกพ่อแม่พันธุ์ให้อยู่คนละที่ด้วย ในแต่ละสายพันธุ์จะใช้ระยะเวลาใกล้เคียงกัน ที่สำคัญคุณชัชวาลจะใช้การกกแบบธรรมชาติ คือ ให้แม่ไก่กกเอง เมื่อฟักออกเป็นตัวค่อยแยกออกมาดูแลเอง

ข้อดีของการให้แม่ไก่กกเอง คือ ลดความเสี่ยงเรื่องไข่ เพราะถ้าใช้ไฟฟ้าในการกก หากไฟฟ้าดับก็จะเกิดความเสียหายได้ แต่ถ้าเป็นแม่ไก่กกเอง แม่ไก่จะพลิกไข่เองทุกอย่าง และอุณหภูมิในการกกของแม่ไก่ก็เหมาะสมและดีที่สุด และลักษณะการเลี้ยงทุกสายพันธุ์จะคล้ายกัน ต่างกันที่การดูแลพ่อแม่พันธุ์ ต้องดูแลมากกว่าประเภทอื่น เพราะถ้าดูแลไม่ดีก็จะไม่ได้ไข่ตามที่ต้องการ

4.ให้อาหารและน้ำไก่
4.ให้อาหารและน้ำไก่

การให้อาหารและน้ำไก่

การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน เลี้ยงไก่พื้นเมือง ไก่มักหาอาหารกินเองตามธรรมชาติ และให้อาหารเพิ่มเติมในตอนเช้าและช่วงเย็น เป็นพวกปลายข้าว หัวอาหาร และรำ ผสมกัน จากนั้นค่อยสังเกตดูว่าตัวไหนที่ผิดปกติ ตัวไหนมีอาการซึม ไม่กินอาหาร ก็จะคัดแยกออกจากฝูง จากนั้นเฝ้าระวังอาการต่อไปเพื่อรักษา

ในลูกไก่เล็กอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ จะให้กินปลายข้าวผสมกับหัวอาหาร ในไก่แต่ละรุ่นก็จะมีหัวอาหารแต่ละสูตรที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะเพิ่มข้าวโพด ข้าวฟ่าง ในสูตรอาหาร เพื่อความหลากหลาย และตามฤดูกาล

ปัญหาที่พบส่วนมากจะเป็นปัญหาธรรมชาติ เช่น ในช่วงฤดูหนาวไก่จะไม่ค่อยไข่ ทำให้ไก่ขาดตลาด ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ส่วนฤดูร้อนวัตถุดิบจะขาดแคลน หายาก อาจต้องหาซื้อจากแหล่งอื่นนอกพื้นที่ ส่วนฤดูฝนเป็นช่วงที่ดีที่สุด เหมาะกับการเลี้ยงไก่แบบผสมผสาน เพราะมีอาหารที่เพียงพอ สามารถหากินเองได้ตามธรรมชาติ เช่น ปลวก หนอน เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การให้ไข่ที่เหมาะสม สำหรับแม่ไก่จะอยู่ที่ประมาณ 10 ฟอง ถ้าเยอะเกินแม่ไก่จะกกไข่ลำบาก ต้องหาแม่รับจ้างฟักมาฟักแทน แต่ต้องทำเครื่องหมายว่าเป็นไข่จากแม่ไก่ตัวไหน

แม่รับจ้างฟัก คือ แม่ไก่ที่ไม่ยอมไข่ แต่จะชอบไปกกไข่ของแม่ตัวอื่น

ส่วนน้ำที่ใช้ในฟาร์มจะเป็นน้ำประปาหมู่บ้าน อีกส่วนก็จะเป็นบ่อน้ำที่มีในฟาร์ม

5.ไก่ชนลักษณะดี-สีสวย
5.ไก่ชนลักษณะดี-สีสวย

ด้านตลาดไก่

ไก่ที่จับขายต้องมีน้ำหนักประมาณ 1.5-2 กก. ห้ามเกินกว่านี้ เพราะตลาดและชาวบ้านไม่ต้องการ ราคาขาย 70 บาท/กก. นี่เป็นราคาตายตัวที่ขายไป

ไก่ตัวผู้บางตัวที่พร้อมชน และมีลักษณะดี สีสวย อาจขายได้ราคาสูงถึง 500-1,000 บาท/ตัว โดยส่วนมากจะเป็นลูกที่ผสมจากพ่อประดู่หางดำ-แม่พันธุ์พม่า

ช่วงที่ไก่และเป็ดขายดีที่สุดจะเป็นช่วงปีใหม่ เพราะเป็นช่วงแห่งการเฉลิมฉลอง และช่วงเดือนตุลาคม เพราะเป็นช่วงที่เกษตรกรเริ่มทำไร่ เขาจะมาซื้อไก่ไปทำกับข้าวเลี้ยงลูกจ้าง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.โรงเก็บอาหาร-อุปกรณ์-และเวชภัณฑ์
6.โรงเก็บอาหาร-อุปกรณ์-และเวชภัณฑ์

การบริหารจัดการคอกไก่

การทำวัคซีน เมื่อไก่อายุครบ 7 วัน และทำซ้ำอีก 7 วัน จะทำวัคซีนนิวคาสเซิล ต่อมาประมาณ 3 เดือน ทำวัคซีนฝีดาษ ส่วนการตรวจโรคจะมีทีมสัตวแพทย์ของกรมปศุสัตว์มาตรวจให้

การจัดการเรื่องกลิ่น คือ จะเก็บมูลตลอด เพื่อไม่ให้เกิดการหมักหมม มูลที่ได้จะนำใส่ต้นไม้ ดอกไม้ และพืชผักที่ปลูกไว้

เรื่องแรงงานจะทำในครอบครัว จะมีคุณชัชวาล พ่อ แม่ และพี่สาว ช่วยกันดูแล

ต้นทุนในการเลี้ยง คำนวณได้จากค่าหัวอาหาร หรือวัตถุดิบอื่นๆ ที่ซื้อมา จะดูว่าในแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่ายไปประมาณกี่บาท จากนั้นจะนำไปคำนวณเวลาที่จับขายว่าขาดทุน หรือได้กำไร

7.คอกเป็ด
7.คอกเป็ด
วัวพันธุ์อินดูบราซิล
วัวพันธุ์อินดูบราซิล
ห่าน
ห่าน

การเลี้ยงเป็ด วัว และห่าน

นอกจากการเลี้ยงไก่ คุณชัชวาลยังมีการเลี้ยงเป็ด และเลี้ยงห่าน ด้วย เป็ดที่เลี้ยงเป็นพันธุ์บาร์บารี่ (barbary) ซึ่งเป็นเป็ดพันธุ์เนื้อ มีประมาณ 50 ตัว เพื่อรองรับตลาดกลุ่มต้องการเป็ด และการเลี้ยงโคขุน และสาเหตุที่เลี้ยงสัตว์หลายชนิด เพราะตลาดในพื้นที่ เช่น กลุ่มลูกค้าที่บริโภคไก่สามสาย ส่วนมากจะเป็นลูกค้า ชาวบ้าน ทั่วไป แม่ค้าในตลาดบางรายมาซื้อถึงฟาร์ม หากไก่ขาดตลาด คุณชัชวาลจะนำไก่กลุ่มเครือข่ายมาจำหน่ายให้

เพราะเมื่อก่อนได้สร้างเครือข่ายไว้ประมาณ 30 ราย ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่ราย สาเหตุที่เลิกเลี้ยงเป็นเพราะสมาชิกในเครือข่ายไม่มีเวลาดูแล และปัญหาเรื่องวัตถุดิบ อนาคตจะสร้างเครือข่ายขึ้นมาใหม่ เพราะคนในชุมชนหันมาสนใจกันมากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนการเลี้ยงวัว ซึ่งเกิดขึ้นก่อนเลี้ยงไก่ โดยเริ่มตั้งแต่รุ่นพ่อ-แม่ ในตอนนั้นเลี้ยงอยู่ประมาณ 80 กว่าตัว เป็นพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะแบบเลี้ยงแบ่งลูก และเลี้ยงแบบปล่อย ตอนนั้นอยู่ ม.3 จึงตัดสินใจมาช่วยพ่อกับแม่เลี้ยงวัว และก็เรียนไปด้วย พอประสบปัญหาราคาวัวตก ชาวบ้านจึงขายวัว

ในตอนนั้นจึงซื้อไว้ 4 ตัว จากวัว 4 ตัว ถือเป็นจุดเริ่มต้นเลยก็ว่าได้ และได้พัฒนามาเรื่อยๆ และขายไปแล้ว 2-3 ชุด ปัจจุบันวัวที่เลี้ยงมีเกือบ 20 ตัว “ตอนเขาฮิตวัวหูยาว หรืออินดูบราซิล ซึ่งเป็นวัวที่ราคาสูงพอสมควร ผมก็มีการพัฒนาด้วย เมื่อจบมัธยมศึกษาตอนปลายได้เข้าไปเรียนต่อ ปวส. สาขาการจัดการการผลิตสัตว์ และได้ทราบว่าเราสามารถพัฒนาสายพันธุ์เองได้ และได้ทราบถึงเทคนิคการเลี้ยงแบบใหม่ที่สามารถนำมาใช้ในฟาร์มของเราได้”

ปัจจุบันตลาดมีความต้องการโคเนื้อสูง คุณชัชวาลจึงได้พัฒนาสายพันธุ์ให้เข้ากับความต้องการของตลาด ที่เป็นลูกผสมบราห์มัน จึงเล็งเห็นว่าทางฟาร์มต้องมีพ่อพันธุ์บราห์มัน จึงได้ไปปรึกษากับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง จากนั้นเขาได้เสนอโครงการมาบอกว่าจะมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มโคเนื้อจึงจะได้พ่อพันธุ์ เมื่อได้พ่อพันธุ์แล้วจึงขอหญ้าพันธุ์เนเปียร์ปากช่อง2 มาปลูก ปัจจุบันก็ยังเลี้ยงแบบปล่อย โดยใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว คุมฝูง ปล่อยให้ผสมจริงในฟาร์ม ส่วนข้างนอกที่เกษตรกรติดต่อให้ไปผสมจะเป็นการผสมเทียม โดยใช้น้ำเชื้อของกรมปศุสัตว์

8.คอกวัว
8.คอกวัว

สภาพพื้นที่เลี้ยงวัว

ด้านโรงเรือนจะเป็นแบบเปิดโล่ง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก อาหารก็จะเป็นหญ้าอย่างเดียว โดยปล่อยในช่วงเที่ยงวันถึงหกโมงเย็น โดยคุณชัชวาลจะเป็นคนคุมไปกับวัวด้วย และช่วงหน้าแล้งจะไม่ค่อยมีหญ้า ทางฟาร์มก็จะซื้อฟางเข้ามาให้วัวกินเสริมในช่วงเย็น ส่วนน้ำใช้ก็จะเป็นระบบเดียวกันกับไก่ และการทำวัคซีนจะทำตามโปรแกรมของกรมปศุสัตว์ และใช้ยาของกรมปศุสัตว์ด้วย เช่น วัคซีนป้องกันปากเท้าเปื่อย ทุกๆ 6 เดือน และวัคซีนป้องกันโรคแท้งติดต่อ ทุกๆ 4 เดือน ในวัวเพศเมีย เป็นต้น

9.โคขุนในฟาร์ม
9.โคขุนในฟาร์ม

ด้านตลาดวัว

ตลาดที่ขายส่วนมากจะเป็นพ่อค้าที่เข้ามาติดต่อที่ฟาร์มเอง โดยขายยกเป็นครอกประมาณ 10 กว่าตัว ราคาขายจะเป็นราคาตามตลาด โดยคุณชัชวาลจะไปสำรวจราคาวัวที่ตลาดวัวก่อนว่าแต่สะพันธุ์ขายในราคาเท่าไหร่ เพื่อประกอบการตัดสินใจในเวลาขาย ในบางครั้งก็จะขายแยกเป็นตัว ใน 1 ปี จะจำหน่ายวัวขุน 1 รุ่น และเก็บแม่และลูกตัวเมียไว้ทำพันธุ์ครั้งต่อไป

ปัญหาในช่วงหน้าแล้งไม่ค่อยมีน้ำ เพราะน้ำในบ่อแห้ง เพราะเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน น้ำถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะสัตว์ก็เหมือนกับคนเรา เมื่อร้อนก็ต้องกินน้ำเพื่อคลายร้อน ทางฟาร์มจึงต่อประปาหมู่บ้านเข้ามาใช้ ส่วนเรื่องกลิ่นจะไม่มีปัญหา เพราะฟาร์มอยู่ห่างจากเขตชุมชนพอสมควร และมูลวัวกลิ่นจะไม่แรงเหมือนสัตว์อื่น มีการเก็บมูลตลอด มูลวัวจะนำไปใส่ในไร่มันสำปะหลัง อีกส่วนหนึ่งจะขายให้เกษตรกรในชุมชน ใช้เป็นปุ๋ยใส่ผัก ในราคาถุงละ 25 บาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เป้าหมาย คือ จะขยายโซนใหม่ เพราะการทำอาชีพเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน ต้องมีการจัดโซนของสัตว์แต่ละชนิดให้ชัดเจนขึ้น เช่น เป็ด ต้องมีสระน้ำให้เล่น และจะปรับปรุงคอกโคขุน และติดตามตลาดว่าต้องการโคชนิดไหนจะได้ผสมตามที่ตลาดต้องการ

10.พ่อพันธุ์วัว
10.พ่อพันธุ์วัว

แนวโน้มในอนาคต

อนาคตถ้ามีการขยายพันธุ์ แปลงหญ้า และมีการปรับเปลี่ยนโรงเรือน อาจจะเลี้ยงแบบอยู่ในคอก โดยไม่ต้องปล่อย แต่การลงทุนค่อนข้างสูง รวมถึงเครื่องสับหญ้าก็มีราคาสูงไม่แพ้กัน ปัจจุบันจึงค่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปทีละขั้นตอน เพราะต้องใช้ทุนของตัวเอง

และอีกอย่าง คือ ปัจจุบันเรื่องระบบน้ำ และระบบไฟฟ้า ยังไม่พร้อม และในระดับชุมชนต้องสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดความแข็งแรง หากมีปริมาณสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้น สามารถใช้ในการต่อรองราคาได้ หรือต่อรองในการกู้เงินธนาคารได้ เพราะการตั้งกลุ่มเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และเป็นการสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ หรือขอความช่วยเหลือจากราชการได้

11.คุณชัชวาลและครอบครัว
11.คุณชัชวาลและครอบครัว เลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงไก่พื้นเมือง

ฝากถึงเกษตรกรที่สนใจ เลี้ยงไก่พื้นเมือง

สโลแกนของคุณชัชวาล “ทำแล้วค่อยพูด คือ ลงมือทำให้เห็นภาพ แล้วค่อยพูด” จุดเด่นของฟาร์ม คือ ไก่ปลอดโรค และเนื้อไก่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

“อยากให้เกษตรกรที่เลี้ยงไก่คิดว่าการเลี้ยงไก่ไม่ใช่อาชีพเสริม เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ อนาคตอาจะเป็นอาชีพต้นๆ ที่คนอยากจะทำ มีพื้นที่เพียง 1 ไร่ ก็สามารถเลี้ยงไก่ได้ จะเลี้ยงในระบบปิด หรือระบบเปิด ก็สามารถทำได้ทั้งนั้น อย่างไรก็ตามก่อนที่จะทำต้องสำรวจตลาด และศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจเลี้ยง”

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณชัชวาล วงศ์รา เลขที่ 9 ม.6 ต.ท่ากูบ อ.ซับใหญ่ จ.ชัยภูมิ โทร.089-232-8328, 081-070-8017น เลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงไก่พื้นเมือง

โฆษณา
AP Chemical Thailand