เลี้ยงไก่อินทรีย์ ปลอดยาและอาหารสำเร็จรูป แบบปล่อย พรีเมียมเกรด มาตรฐานออแกนิคไทยแลนด์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

วงการอุตสาหกรรมการผลิตอาหารตระหนักถึงเรื่องสุขภาพและสารตกค้างในอาหารเป็นสำคัญ ซึ่งปัจจุบันแนวหน้าด้านอุตสาหกรรมอาหารเติบโตและแข่งขันกันในเรื่องอาหารอินทรีย์ (Organic Food) ยิ่งอาหารที่ผลิตออกมานั้นปลอดภัยมากเท่าไร ความต้องการบริโภคก็ยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น เลี้ยงไก่อินทรีย์

แต่ใช่ว่าปลายน้ำ และกลางน้ำ เท่านั้นที่จะต้องปรับตัว ผู้ผลิตต้นน้ำอย่างเกษตรกรย่อมต้องพัฒนาและปรับปรุงเช่นกัน เพื่อให้ผลผลิตที่ออกมานั้นเป็นไปตามความต้องการของตลาด

1.คุณทรงพจน์ อ่อนแช่ม เจ้าของไร่สินประสิทธิ์
1.คุณทรงพจน์ อ่อนแช่ม เจ้าของไร่สินประสิทธิ์

การเลี้ยงไก่เนื้อ

หนึ่งต้นแบบเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ผู้ได้รับการรับรองมาตรฐานสัตว์ปีกเลี้ยงปล่อย และปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะจากกรมปศุสัตว์ บนเนื้อที่กว่า 5 ไร่ อย่าง คุณทรงพจน์ อ่อนแช่ม เจ้าของไร่สินประสิทธิ์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี หรือเรียกสั้นๆ ว่า คุณมด ผู้ซึ่งอดีตเป็นผู้จัดการฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อเพื่อส่งออกกว่า 18 ปี รู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าการเลี้ยงไก่เนื้อนั้นต้องผ่านอะไรมาบ้าง กว่าจะเป็นเนื้อไก่ที่บริโภคกันทุกวันนี้

ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน ซึ่งระบบป้องกันหรือระบบเซฟตี้บุคคลนั้นไม่ดีเท่าปัจจุบัน ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้เลี้ยง จึงคิดอยากจะลาออก แต่ชีวิตก็ต้องดิ้นรนกันต่อไป

2.โรงเรือนเลี้ยงไก่ และกั้นตาข่ายรอบพื้นที่
2.โรงเรือนเลี้ยงไก่ และกั้นตาข่ายรอบพื้นที่

จุดเริ่มต้นการ เลี้ยงไก่อินทรีย์

คุณมดจึงเริ่มวางแผนปลูกป่าทิ้งไว้ที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อถึงเวลาคุณมดก็ลาออกจากบริษัท และหันมาทำฟาร์มเลี้ยงไก่เองเพื่อส่งขายภายในประเทศ บนพื้นที่ที่ปลูกป่าทิ้งไว้ แต่ด้วยความที่ยังเป็นมือใหม่ ไม่มีสัตวแพทย์ที่คอยให้คำปรึกษา ทำให้สัตว์ป่วยง่าย และมีการใช้ยาในสัตว์มาก “มันไม่ใช่เรื่องดีที่ผลผลิตของเราจะทำให้ผู้บริโภคไม่ปลอดภัย ทุกคนก็ต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง” สิ่งที่คุณมดค้นพบจากการเริ่มต้นเลี้ยงไก่

คุณมดยังเปิดเผยอีกว่าแรกเริ่มตนนำลูกไก่มาเลี้ยงจำนวนกว่า 400 ตัว มีโรงเรือนและการกั้นตาข่ายรอบพื้นที่เท่านั้น แต่พอเลี้ยงไปกลับเหลือลูกไก่ไม่ถึง 300 ตัว ด้วยความที่ตนไม่มีประสบการณ์จัดการดูแล การกก และการเลี้ยงแบบปล่อย ทำให้ไก่หลุดออกไปข้างนอก และหายไปเลย เป็นการสูญเสียที่มากในตอนนั้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อลองเลี้ยงรุ่นที่ 2 จึงนำเป็นไก่สาวอายุ 16 สัปดาห์ จำนวน 400 ตัว  เข้ามาเลี้ยงเลย เพื่อตัดปัญหาเรื่องไก่หาย โดยคุณมดไปเลือกด้วยตัวเองที่บริษัท ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานและเชื่อถือได้อยู่แล้ว

3.ให้อาหารไก่เนื้อ
3.ให้อาหารไก่เนื้อ

การให้อาหารไก่เนื้อ

จุดเด่นของไร่สินประสิทธิ์แห่งนี้ คือ ไม่มีการใช้อาหารสำเร็จรูป แต่จะให้อาหารที่ผสมเองเท่านั้น ส่วนผสมในอาหารหลักประกอบด้วยข้าวโพด รำ กากถั่วเหลือง เปลือกหอย หินป่น ใบกระถินป่น (ถ้าหาได้) ในส่วนที่เป็นอาหารเสริมจะมีพวกต้นกล้วย หญ้า ผลไม้ในไร่ของตนเอง ซึ่งก็ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และรองรับแบบ PGS แล้ว และวัตถุดิบอื่นก็มาจากแหล่งที่มั่นใจได้ว่าไม่มีสารพิษ เช่น ข้าวโพด ซื้อมาจากไร่ใน อ.ไทรโยค ซึ่งนำขี้ไก่จากฟาร์มไปเป็นปุ๋ย จึงมั่นใจได้ว่าไม่มีสารพิษแน่นอน

นอกเหนือจากนี้ยังมีการเสริมหญ้าหมัก และสมุนไพรไทย เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน และบอระเพ็ด เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภายในตัวไก่ด้วย และสมุนไพรบางตัวก็มีส่วนช่วยในเรื่องการกระตุ้นการกินอาหารและการย่อยอาหารอีกด้วย แต่ก็ไม่ก่ออันตรายต่อผู้บริโภค

คุณมดยังเปิดเผยกับทีมข่าวเพิ่มเติมอีกว่า “เราให้อาหาร 2 เวลา คือ เช้า (8.00 น.) และเย็น (16.00 น.) ช่วงเที่ยงจะมีการเสริมพวกหญ้า/ผัก เพื่อไม่ให้ไก่เครียด โดยอัตราการกินอาหารของไก่ประมาณ 100-110 กรัม/ตัว/วัน ใช้เวลาเลี้ยงนานกว่า 2 เดือน แต่เรื่องคุณภาพนี้สูงกว่าไก่ซึ่งเลี้ยงในระบบอีแวปแน่นอน”

4.เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงแบบปล่อยอิสระ
4.เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงแบบปล่อยอิสระ

สภาพพื้นที่เลี้ยงไก่เนื้อ

คุณมดเปิดเผยว่า “ไก่ของเราส่วนใหญ่เลี้ยงแบบพื้นๆ ตามธรรมชาติ ดังนั้นไก่จะมีภูมิคุ้มกันด้วยตัวไก่เอง เหมือนกับการเลี้ยงเด็กในเมืองกับเด็กบ้านนอก ซึ่งเด็กบ้านนอกจะเจ็บป่วยน้อยและหายได้เอง แต่ในเมืองไม่ ไก่ก็เช่นกัน และเราก็มีการจัดการเสริมภูมิโดยผสมฟ้าทะลายโจรในสูตรอาหาร และการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ ไก่ก็จะจิกกินดิน/แร่ธาตุ/เศษหินต่างๆ และได้รับแสงแดดที่เพียงพอ

การวิ่งเล่นก็เป็นการออกกำลังอย่างหนึ่ง ซึ่งโดยรวมแล้วทำให้พวกมันแข็งแรงและเจ็บป่วยน้อยมาก แต่หากไก่ป่วยจริงๆ จะมีการคัดแยกออกมาเพื่อสังเกตอาการ แต่ก็ไม่มีการให้ยารักษา/ใช้ยาใดๆ หากไก่หายเองได้ก็รอด แต่หากไม่มันก็ตายลงไป”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัจจุบันคุณมดทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก ได้แก่ ไก่ไข่ ไก่เนื้อ ไก่เบรส และเป็ดไข่ ซึ่งได้รับการรับรองจากทางกรมปศุสัตว์ สัตว์ทุกประเภทถูกจัดโซนแบ่งแยกกันอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ โซนที่ให้เนื้อ และโซนที่ให้ไข่ การจัดการด้านอาหาร ปลอดยาปฏิชีวนะ และการปล่อยอิสระเหมือนกัน มีข้อแตกต่างเพียงเก็บผลผลิต และอายุการเลี้ยงเท่านั้น

5.สด สะอาด ปลอดสาร
5.สด สะอาด ปลอดสาร

การเก็บไข่ไก่

ไก่ไข่ที่เลี้ยงจะเริ่มให้ผลผลิตไข่เมื่อไก่สาวอายุ 5 เดือนขึ้นไป  ช่วงเวลาเก็บไข่ คือ 14.00-15.00 น. ของทุกวัน ปริมาณไข่เคยเก็บได้สูงถึง 65 % แต่ก็เป็นธรรมดาเมื่อไก่อายุมากขึ้นปริมาณไข่ต่อวันย่อมน้อยลง ตอนนี้แม่ไก่อายุประมาณ 2 ปี ซึ่งเปอร์เซ็นต์การให้ไข่ต่ำแค่ 70 ฟอง/วัน เท่านั้น คุณมดเปิดเผยว่าที่ยังไม่ปลดขายเพราะรอแม่ไก่รุ่นต่อไปอยู่ จึงต้องเลี้ยงต่อไปก่อน และความต้องการลูกค้าก็มีอยู่ทุกวัน

การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยหลายคนอาจคิดว่าเปอร์เซ็นต์สูญเสียต้องสูง เนื่องจากไข่ทับกัน ไข่บุบร้าวมาก แต่ที่ฟาร์มแห่งนี้มีเปอร์เซ็นต์สูญเสียเพียงแค่ 1 % เท่านั้น ถือว่าน้อยมากๆ คุณมดเปิดเผยว่าตนทำที่ออกไข่ให้ไก่เป็นเหมือนบ้านคล้ายห้องแถวแบ่งเป็น 6 ช่อง หันหน้าเข้าหากัน ไก่ก็วิ่งเข้าไปไข่แล้วออกมา ถึงเวลาเก็บก็เข้าไปเก็บ

6.ได้น้ำหนัก คุณภาพดี
6.ได้น้ำหนัก คุณภาพดี
ฟองใหญ่ ไร้กลิ่นคาว
ฟองใหญ่ ไร้กลิ่นคาว

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายไข่ไก่

เมื่อถูกตีสินค้าในรูปปลอดสาร/ยาปฏิชีวนะแล้ว มูลค่าย่อมสูงขึ้นเป็นธรรมดา แต่คุณจะได้กินไข่สด สะอาด ปลอดสาร และไร้กลิ่นคาวโดยไข่ที่ได้จากไร่สินประสิทธิ์นี้จะมีราคาประมาณ 5-9 บาท/ฟอง ซึ่งแบ่งราคาตามขนาดไข่ดังนี้

-น้ำหนัก 45-54 g. ฟองละ 5 บาท

-น้ำหนัก 55-64 g. ฟองละ 6 บาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-น้ำหนัก 65-74 g. ฟองละ 7 บาท

-น้ำหนัก 75 g. ขึ้นไป ฟองละ 8-9 บาท

ช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้า 3 ช่องทาง คือ

1.ขายส่งกับบริษัทออแกนิคแกนโคจำกัด สำหรับส่งเข้าห้างสรรพสินค้า แต่ใช้โลโก้ของไร่สินประสิทธิ์ ในราคาไข่คละหน้าฟาร์ม 5.50 บาท/ฟอง

2.เปิดขายที่ตลาดสุขใจ อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยขายทุกวันเสาร์

3.ขายให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลรามาธิบดี จัดส่งอาทิตย์ละ 1 ครั้ง

เมื่อถามถึงการเปิดตลาดหลายทาง ก็ได้คำตอบว่า “ต้องการกระจายความเสี่ยง ไม่อยากให้สินค้าผูกขาดกับเจ้าใดเจ้าหนึ่ง เพราะหากมีปัญหาเกิดขึ้นจะได้สามารถขายไข่ต่อไปได้”

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.ไก่นอกกรอบ
7.ไก่นอกกรอบ เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงไก่อินทรีย์ 
ไก่ตุ๋นสมุนไพร
ไก่ตุ๋นสมุนไพร

การแปรรูปไก่เนื้อ

ในส่วนของไก่เนื้อ ได้รับการเรียกขานในอีกนามหนึ่งว่า “ไก่นอกกรอบ” ที่มา คือ เลี้ยงแบบไม่ใช้อาหารสำเร็จรูป มีการใช้พืชผัก และสมุนไพร ผสมในอาหารให้ไก่กิน มีการปล่อยให้วิ่งเล่น และไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งการเลี้ยงเช่นนี้จะทำให้ไก่มีคุณภาพเนื้อที่ดีกว่า เพื่อไก่ได้ออกกำลังกาย ได้สัมผัสแสงแดด ไม่ก่อให้เกิดโรคเกาต์

โดยมีผลงานวิจัยออกมาแล้วว่า ไก่ที่เลี้ยงแบบโตเร็วจะมี “สารพิวรีน” ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาต์ สารพิวรีนนี้จะลดลงตามอายุของไก่ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยไก่ในอุตสาหกรรมเลี้ยงประมาณ 35-40 วัน ก็จับขายแล้ว แต่ที่ฟาร์มแห่งนี้เลี้ยงนานถึง 2 เดือน หรือกว่า 60 วัน น้ำหนักจับขายเฉลี่ย 1.5 กก./ตัว ราคาขายส่ง 150 บาท/กก. ราคาขายปลีกประมาณ 220 บาท/กก. แต่ลูกค้าจะได้รสชาติไก่ที่แตกต่าง คือ เนื้อจะมีความนุ่มกว่า และไม่มีกลิ่นคาว

นอกเหนือจากการขายเป็นเนื้อแล้ว ยังมีการขายในรูปของสินค้าแปรรูป อย่างเช่น ไก่ตุ๋นสมุนไพร และไก่ย่าง ขั้นตอนการปรุงนั้นไม่มีการใส่ผงชูรส แต่เราจะใช้เกลือสินเธาว์ เป็นเกลือภูเขาซึ่งขุดมาจากพื้นดิน ส่วนใหญ่ไว้ใช้ทางการแพทย์ เพราะเป็นเกลือที่ไม่มีไอโอดีน แต่ให้รสเค็มเหมือนกัน ลักษณะจะเป็นดอกคล้ายรูปพีระมิด ให้รสเค็มหวานแตกต่างจากเกลือทั่วไป “ก็ไม่รู้ว่าที่อื่นทำด้วยวิธีใด แต่เราก็ทำด้วยวิธีของเราแบบนี้ เราใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพจริงๆ ดีจริง ทำให้สินค้าเรามีราคาสูง” คุณทรงพจน์ยืนยัน

8.สายพันธุ์ไก่
8.สายพันธุ์ไก่ เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงไก่อินทรีย์

ลักษณะเด่นของไก่เบรส

นำพาผู้อ่านให้รู้จัก “ไก่เบรส”ราชินิแห่งไก่เนื้อ ต้นกำเนิดที่ชาวเมืองน้ำหอมภาคภูมิใจ เนื่องด้วยลักษณะเด่นที่บังเอิญไปตรงกับสีธงชาติของฝรั่งเศส คือ บริเวณหงอนเป็นสีแดง, ลำตัว ขน เป็นสีขาว และมีแข้งเป็นสีน้ำเงิน ต้องเลี้ยงนานกว่า 4 เดือน จึงจะได้น้ำหนักประมาณ 1.3-1.5 กก./ตัว และเลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง

คุณมดเปิดใจว่าได้รับไก่เบรสมาจากเกษตรจังหวัดเมืองกาญจน์ฯ เมื่อ 3 ปีก่อน ได้มาทั้งหมด 5 ตัว เป็นเพศผู้ 2 ตัว เพศเมีย 3 ตัว พอลองมาเลี้ยงเห็นว่าโตดี เลี้ยงง่าย เหมือนไก่พื้นบ้าน/ไก่ชนทั่วไป จึงเอามาขยายพันธุ์ ปัจจุบันมีไก่เบรสกว่า 74 ตัว อาหารที่ให้ตอนนี้ คือ “ปลายข้าว” เป็นหลัก

คุณภาพของเนื้อไก่พันธุ์นี้ คือ เนื้อจะมีไขมันแทรก มีความแน่นและนุ่มกว่าเนื้อไก่ทั่วไป ราคาขายกิโลกรัมละ 300 บาท แต่คนส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงเป็นไก่สวยงามมากกว่า ด้วยลักษณะเด่นที่มีความสวยและสง่างามของมันเอง ซึ่งหากขายในราคาไก่สวยงามจะอยู่ที่ตัวละ 3,000 บาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

9.ปลอดการใช้ยาปฎิชีวนะ

มุมมองการเลี้ยงสัตว์ปีกในรูปแบบออแกนิค

มุมมองการเลี้ยงสัตว์ปีก (ไก่ และเป็ด) ของคุณมด แห่งไร่สินประสิทธิ์ จะไม่หยุดเพียงแค่มาตรฐานสัตว์ปีกเลี้ยงปล่อย และปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่จะยกระดับไปสู่มาตรฐานออแกนิคไทยแลนด์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และให้คนไทยมั่นใจในการเลือกบริโภคมากยิ่งขึ้นว่าผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นที่ออกจากไร่สินประสิทธิ์ฟาร์มแห่งนี้  สด สะอาด ปลอดสาร  และคุ้มค่า

พัฒนาระบบการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระเพื่อป้องกันการสูญหายของลูกไก่ และไก่ไข่รุ่นที่ 3 นี้จะเริ่มต้นการเลี้ยงตั้งแต่ลูกไก่อีกครั้ง  เพราะเริ่มมีประสบการณ์จากการเลี้ยงมาแล้วถึง  2  รุ่น  และทางฟาร์มอยู่ในช่วงทำเรื่องขอมาตรฐานออแกนิคไทยแลนด์ โดยเริ่มต้นจากไก่เบรสก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งดำเนินการไปกว่าครึ่งทางแล้ว และได้รับการผลักดันจากทางปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี ให้สินค้าจากฟาร์มเป็นสินค้าพิเศษรายแรกของ จ.ราชบุรี อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีการถมพื้นที่เพื่อรองรับการสร้างโรงเรือนมาตรฐานออแกนิคไทยแลนด์ โดยมีข้อกำหนด คือ ความหนาแน่นภายในโรงเรือน คือ 4 ตัว/ตร.ม.  และความหนาแน่นภายนอกโรงเรือน คือ 4 ตร.ม./ตัว  เพื่อให้ไก่มีสุขภาพที่แข็งแรงและอยู่สบาย อีกทั้งวัตถุดิบที่ใช้เป็นอาหารก็ต้องมาจากแหล่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้วยเช่นกัน

10.ฟาร์มไก่เนื้อแบบออแกนิค
10.ฟาร์มไก่เนื้อแบบออแกนิค เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงไก่อินทรีย์ เลี้ยงไก่อินทรีย์

ฝากถึงเกษตรกรที่สนใจทำฟาร์มแบบออแกนิค

สุดท้ายคุณมดยังฝากถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทุกคนว่า “สำหรับเกษตรกรที่สนใจการทำฟาร์มแบบออแกนิค หรือปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะนั้น ต้องมีใจรักที่จะทำจริง และคุณต้องซื่อสัตย์พอ อย่าคิดว่าผู้บริโภคจะไม่รู้ เพราะปัจจุบันผู้บริโภคยังคงเป็นคนกลุ่มที่รักสุขภาพ และเขามีความรู้มากพอที่จะแยกได้ว่าจริงหรือไม่อย่างไร”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณทรงพจน์ อ่อนแช่ม  ที่อยู่ ไร่สินประสิทธิ์ บ้านตระค้อ ซอย 13 หมู่ 12 ต.เบิกไพร อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี 70110

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 319/2562